http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือคำร้องของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบกรณีการระบาบข้าวในสต็อกของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์รวม 4 หน้ากระดาษ
ระบุว่า การดำเนินการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลในช่วงปี 2552-2553 มีการดำเนินการเป็นความลับ ไม่เปิดประมูลเป็นการทั่วไป มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการเพียงบางราย เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นไม่ให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม มีการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการจำหน่ายโดยมิชอบ และจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจำหน่ายได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือ ฮั้วประมูล และความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1 .เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบมติกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยเห็นชอบในหลักการให้พิจารณาระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยให้ระบายไปยังตลาดต่างประเทศที่นอกเหนือตลาดปกติของผู้ส่งออกข้าว และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้พิจารณาจำหน่ายข้าวสารในรูปแบบจีทูจี ด้วยความระมัดระวัง มิให้กระทบต่อระบบตลาดครั้งละไม่เกิน 300,000 ตัน และจำหน่ายแก่เอกชนเพื่อการส่งออกจำนวนไม่เกิน 100,000 ตัน แล้วรายงานให้กขช.ทราบก่อนลงนามสัญญากับคู่สัญญาต่อไป
2 .เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2553 ครม.ได้มีมติรับทราบกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินการระบายข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาลที่กขช.เสนอ และเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาระบาบข้าวกำหนดหลักเกณฑ์และกรอบยุทธศาสตร์ รวมถึงปริมาณการจำหน่ายด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อภาวะราคาตลาด และให้คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารเป็นผู้ดำเนินการและนำเสนอประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารพิจารณาอนุมัติ แล้วเสนอประธานกขช.หรือรองประธานกขช.พิจารณาให้ความเห็นสอบก่อนลงนามสัญญา โดยมีข้อสังเกตว่า มติครม. 29 มิ.ย.2553 ได้แก้ไขมติครม.วันที่ 18 พ.ค. 2553 ในประเด็นสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบจำหน่ายข้าวในสต็อกรัฐบาล จากคณะกรรมการกขช. เป็นประธาน หรือรองประธานกขช.
3 .ระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการระบายข้าวจากเดิม มาเป็นการให้เอกชนผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในปริมาณมาก ยื่นคำเสนอขอซื้อข้าวสารในสต็อกรัฐบาล โดยไม่มีการออกประกาศเชิญชวน เนื่องจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ ในฐานะรองประธาน กขช. ระบุว่าการจำหน่ายข้าวในสต็อกต้องทำเป็นความลับ ทั้งนี้เมื่อเอกชนผู้ส่งออกข้าวยื่นคำขอซื้อแล้ว คณะทำงานพิจารณาระบายข้าวจะนำเสนอผลการเจรจาให้รมว.พาณิชย์อนุมัติแล้วเสนอรองประธาน กขช. ให้ความเห็นชอบ จากนั้นอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศจะมีหนังสือแจ้งให้เอกชนที่ผ่านการพิจารณาเข้าทำสัญญากับอตก.หรืออคส. โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งออกข้าวไปต่างประเทศภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีเอกชนเข้าทำสัญญาเพียง 9 ราย จากจำนวนผู้ส่งออกที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 317 ราย โดยที่ผู้ส่งออกรายอื่นไม่ได้รับสิทธิเป็นคู่สัญญาเนื่องจากไม่ทราบเรื่อง ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีปริมาณข้าวที่ระบายออกจากสต็อกจำนวน 4,126,656 ตัน คิดเป็นมูลค่า 53,070,216,395 บาท
4 .ราคาจำหน่ายข้าวขาวชนิด 5% ที่จำหน่ายจากวิธีระบายข้าวดังกล่าว มีราคาเฉลี่ยตันละ 12,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดมากกว่า 10% และต่ำกว่าราคาที่ควรจะขาย โดยมีราคาต่างจากการระบายข้าวของรัฐบาลปัจจุบันตันละ 4,300 บาท จึงก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท 5 .การที่กขช.และครม.กำหนดนโยบายระบายข้าวโดยปล่อยให้มีการใช้วิธีระบายโดยให้เอกชนที่มีคำสั่งซื้อในปริมาณมากยื่นคำเสนอขอซื้อในสต็อกรัฐบาล เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับการระบายข้าวสามารถเลือกช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ได้โดยง่าย แม้จะกำหนดให้เป็นการขายแบบจีทูจี แต่ท้ายที่สุดไม่ได้มีการขายแบบจีทูจี แต่ขายให้เอกชนในประเทศเพื่อส่งออกแทน นอกจากนี้ในการทำสัญญามีการจำหน่ายข้าวมากกว่าสัญญาละ 100,000 ตัน ซึ่งไม่ตรงตามมติกขช.และมติครม. จึงเป็นการดำเนินการที่เกินอำนาจ
6 .พบว่าไม่มีการตรวจสอบคำสั่งซื้อข้าวของเอกชน เป็นผลให้เอกชนหลายรายที่เป็นคู่สัญญาไม่ส่งออกข้าวออกนอกประเทศภายในเวลาที่กำหนด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 25% ของสัญญาส่งออกข้าว และมีการคืนหลักประกันเนื่องจากเอกสารการส่งออกไม่ครบถ้วน ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย 7 .มีการจำหน่ายข้าวให้กับหนองลังกาฟาร์ม โดยทำสัญญาในนาม น.ส.เสาวลักษณ์ เย็นใส โดยน.ส.เสาวลักษณ์เป็นลูกจ้างของนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ โดยเมื่อได้รับข้าวสารแล้วได้นำส่งให้บริษัทกาญจนาอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นบริษัทของนางบุญยิ่ง โดยมีข้อสังเกตว่ามีการจำหน่ายในราคาถูกมากเพียง กิโลกรัมละ 5.50 บาท ต่ำกว่าราคาที่ควรจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมากกว่า 40 ล้านบาท
มีใครรู้ไหมว่า พรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่า โกงกินมานานแสนนานที่สุดในประเทศไทย คือพรรคไหน???
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือคำร้องของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบกรณีการระบาบข้าวในสต็อกของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์รวม 4 หน้ากระดาษ
ระบุว่า การดำเนินการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลในช่วงปี 2552-2553 มีการดำเนินการเป็นความลับ ไม่เปิดประมูลเป็นการทั่วไป มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการเพียงบางราย เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นไม่ให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม มีการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการจำหน่ายโดยมิชอบ และจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจำหน่ายได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือ ฮั้วประมูล และความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1 .เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบมติกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยเห็นชอบในหลักการให้พิจารณาระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยให้ระบายไปยังตลาดต่างประเทศที่นอกเหนือตลาดปกติของผู้ส่งออกข้าว และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้พิจารณาจำหน่ายข้าวสารในรูปแบบจีทูจี ด้วยความระมัดระวัง มิให้กระทบต่อระบบตลาดครั้งละไม่เกิน 300,000 ตัน และจำหน่ายแก่เอกชนเพื่อการส่งออกจำนวนไม่เกิน 100,000 ตัน แล้วรายงานให้กขช.ทราบก่อนลงนามสัญญากับคู่สัญญาต่อไป
2 .เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2553 ครม.ได้มีมติรับทราบกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินการระบายข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาลที่กขช.เสนอ และเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาระบาบข้าวกำหนดหลักเกณฑ์และกรอบยุทธศาสตร์ รวมถึงปริมาณการจำหน่ายด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อภาวะราคาตลาด และให้คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารเป็นผู้ดำเนินการและนำเสนอประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารพิจารณาอนุมัติ แล้วเสนอประธานกขช.หรือรองประธานกขช.พิจารณาให้ความเห็นสอบก่อนลงนามสัญญา โดยมีข้อสังเกตว่า มติครม. 29 มิ.ย.2553 ได้แก้ไขมติครม.วันที่ 18 พ.ค. 2553 ในประเด็นสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบจำหน่ายข้าวในสต็อกรัฐบาล จากคณะกรรมการกขช. เป็นประธาน หรือรองประธานกขช.
3 .ระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการระบายข้าวจากเดิม มาเป็นการให้เอกชนผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในปริมาณมาก ยื่นคำเสนอขอซื้อข้าวสารในสต็อกรัฐบาล โดยไม่มีการออกประกาศเชิญชวน เนื่องจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ ในฐานะรองประธาน กขช. ระบุว่าการจำหน่ายข้าวในสต็อกต้องทำเป็นความลับ ทั้งนี้เมื่อเอกชนผู้ส่งออกข้าวยื่นคำขอซื้อแล้ว คณะทำงานพิจารณาระบายข้าวจะนำเสนอผลการเจรจาให้รมว.พาณิชย์อนุมัติแล้วเสนอรองประธาน กขช. ให้ความเห็นชอบ จากนั้นอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศจะมีหนังสือแจ้งให้เอกชนที่ผ่านการพิจารณาเข้าทำสัญญากับอตก.หรืออคส. โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งออกข้าวไปต่างประเทศภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีเอกชนเข้าทำสัญญาเพียง 9 ราย จากจำนวนผู้ส่งออกที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 317 ราย โดยที่ผู้ส่งออกรายอื่นไม่ได้รับสิทธิเป็นคู่สัญญาเนื่องจากไม่ทราบเรื่อง ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีปริมาณข้าวที่ระบายออกจากสต็อกจำนวน 4,126,656 ตัน คิดเป็นมูลค่า 53,070,216,395 บาท
4 .ราคาจำหน่ายข้าวขาวชนิด 5% ที่จำหน่ายจากวิธีระบายข้าวดังกล่าว มีราคาเฉลี่ยตันละ 12,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดมากกว่า 10% และต่ำกว่าราคาที่ควรจะขาย โดยมีราคาต่างจากการระบายข้าวของรัฐบาลปัจจุบันตันละ 4,300 บาท จึงก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท 5 .การที่กขช.และครม.กำหนดนโยบายระบายข้าวโดยปล่อยให้มีการใช้วิธีระบายโดยให้เอกชนที่มีคำสั่งซื้อในปริมาณมากยื่นคำเสนอขอซื้อในสต็อกรัฐบาล เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับการระบายข้าวสามารถเลือกช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ได้โดยง่าย แม้จะกำหนดให้เป็นการขายแบบจีทูจี แต่ท้ายที่สุดไม่ได้มีการขายแบบจีทูจี แต่ขายให้เอกชนในประเทศเพื่อส่งออกแทน นอกจากนี้ในการทำสัญญามีการจำหน่ายข้าวมากกว่าสัญญาละ 100,000 ตัน ซึ่งไม่ตรงตามมติกขช.และมติครม. จึงเป็นการดำเนินการที่เกินอำนาจ
6 .พบว่าไม่มีการตรวจสอบคำสั่งซื้อข้าวของเอกชน เป็นผลให้เอกชนหลายรายที่เป็นคู่สัญญาไม่ส่งออกข้าวออกนอกประเทศภายในเวลาที่กำหนด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 25% ของสัญญาส่งออกข้าว และมีการคืนหลักประกันเนื่องจากเอกสารการส่งออกไม่ครบถ้วน ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย 7 .มีการจำหน่ายข้าวให้กับหนองลังกาฟาร์ม โดยทำสัญญาในนาม น.ส.เสาวลักษณ์ เย็นใส โดยน.ส.เสาวลักษณ์เป็นลูกจ้างของนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ โดยเมื่อได้รับข้าวสารแล้วได้นำส่งให้บริษัทกาญจนาอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นบริษัทของนางบุญยิ่ง โดยมีข้อสังเกตว่ามีการจำหน่ายในราคาถูกมากเพียง กิโลกรัมละ 5.50 บาท ต่ำกว่าราคาที่ควรจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมากกว่า 40 ล้านบาท