มันคือชายชู้ของ Angénieux เลนส์ราคาแพงที่รุ่นเหมาะสมและตัวพอจะเล่นได้ต้องมีสักสามหมื่นขึ้นไป แต่เลนส์ตัวนี้ไม่ขี้เหล่เลยมันให้ภาพแนวฝรั่งเศสได้ครบถ้วน จะบอกว่ามันเป็น Angénieux คนจนก็ว่าได้ แต่คนจนที่ว่านี่ต้องมีเงินหมื่นนะครับไม่อย่างนั้นไม่ได้เล่นมันหรอก
SOM Berthiot เกิดขึ้นมาร้อยกว่าปีแล้วในโรงงานเล็กของฝรั่งเศส ตอนแรกทำเลนส์กล้อง LF ไอ้โม่งผ้าคลุมหัว แต่ก็ออกกล้องของตัวเองบ้างเหมือนกันโดยให้ชาวบ้านทำกล่องไม้และชัตเตอร์ให้ จะบอกว่าเป็น OEM สมัยเมื่อร้อยปีก่อนก็ว่าได้ ต่อมาในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อร้อยปีก่อนท้องฟ้าของยุโรปมีเครื่องบิน Fokker Dr ปีกสามชั้นของเยอรมันไล่ยิงกันกับ Sopwith Camel ของอังกฤษให้ว่อน ประเทศฝรั่งเศสก็โดนยำเละเหมือนเดิม แต่หลังจากสงครามสงบเลนส์ที่คลองตลาดยุโรปเกือบทั้งหมดคือ SOM Berthiot เพราะว่ามันคือเลนส์ที่ดีมากยี่ห้อหนึ่ง ขนาดทำเลนส์ M39 ออกขายให้แฟน Leica ในราคาแพงกว่าเลนส์ค่ายเสียอีก เมื่อเดือนก่อนหลุดมาในอีเบย์ยังตั้งราคาตัวละแสนกว่าบาทสำหรับรุ่น collapsible ที่ลง Leica II กล้องรุ่นปู่อายุเจ็ดสิบกว่าปี
SOM Berthiot และ Angénieux ได้จับมือกันทำเลนส์มานานแล้วเพราะสาเหตุของสงครามสองรอบ ไม่จับมือกันมีได้ตายหมู่แน่เพราะรบกันที่ไรประเทศฝรั่งเศสเละทุกที จะบอกว่า Som คือชายชู้ของ Angénieux ก็ว่าได้ พอถึงยุค 50 Som ก็เปิดตัวเลนส์ Cine อย่างเป็นทางการของตัวเองสองสามรุ่นเพื่อจับตลาดหลายย่านราคา แต่ใส้ในของมันคือ Angénieux retrofocus ที่นาย Pierre Angénieux. ออกแบบมาลงกับเลนส์ Angénieux ของตัวเองนั่นแหละ
ผมถึงได้บอกไงว่ามันคือเลนส์ชายชู้ของ Angénieux ที่ออกแบรนด์จับตลาดสูงแล้วส่ง Som จับตลาดกลางบนไล่จนถึงระดับกลางล่าง ส่วนระดับล่างเงินน้อยไปซื้อเลนส์อเมริกันกับเยอรมันเล่น ชายชู้อย่าง Som ก็ไม่ได้แอ้มหรอกถ้ากระเป๋าเบา ต่อมา Som ได้ออกเลนส์เขย่าโลกออกมาในต้นปี 50's คือ Cine Zoom ตัวแรกของโลกที่วางตลาดขาย สมัยก่อนกล้อง Vidicon สำหรับ TV ยังมีเลนส์สามตัวหมุนสลับกันเหมือนกล้องถ่ายหนัง แต่พอเลนส์ซูมออกมาตลาดของ Som บุกเข้าไปถึงอุตสาหกรรม TV ได้แบบไม่ยากอะไรจนต่อมาอีกแปดปี Angénieux ถึงออกเลนส์ Zom ของตัวเองออกมาบ้างแต่จับตลาดสูงระดับกล้องฮอลีวูต ผมบอกได้เลยว่าฉากคิวบู๊ของ Jame Bond สมันปู่ณอนไม่มีเลนส์ซูมฝรั่งเศสก็ไม่สนุกอย่างที่เห็นหรอกครับ ต่อมาต้นยุค 60's SOM Berthiot ได้รวมตัวกับ OPL กลายเป็น SOPELEM เจ้าพ่อเลนส์และอีเล็กโทรนิกของฝรั้งเศสไปจนทุกวันนี้
วันนี้ผมที่ผมเอารุ่น Paris เรือธงของ Som มาให้ดูก่อนเพราะอยากให้คุ้นกับภาพสไตล์ SOM Berthiot เอาไว้งวดหน้าผมจะเอาตัวน้องรุ่น Lytar มาให้ดูภาพกัน
กล้องที่ใช้รีวิวยังเป็น GH1 ถนอมสายตาตัวโปรดอยู่เหมือนเดิม ภาพที่ได้มาไม่มีการแต่งเติม ย่อแล้ว USM ถือว่าจบ เรามาดูกันว่ามันจะให้ความสนุกกับเลนส์เมืองน้ำหอมต่างกับเลนส์ตัวอื่นอย่างไรบ้าง
เลนส์เก่าเราลืม #40 SOM Berthiot Paris 25mm F1.5 เลนส์เทพฝรั่งเศสในราคาพอจะตะกายถึง
SOM Berthiot เกิดขึ้นมาร้อยกว่าปีแล้วในโรงงานเล็กของฝรั่งเศส ตอนแรกทำเลนส์กล้อง LF ไอ้โม่งผ้าคลุมหัว แต่ก็ออกกล้องของตัวเองบ้างเหมือนกันโดยให้ชาวบ้านทำกล่องไม้และชัตเตอร์ให้ จะบอกว่าเป็น OEM สมัยเมื่อร้อยปีก่อนก็ว่าได้ ต่อมาในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อร้อยปีก่อนท้องฟ้าของยุโรปมีเครื่องบิน Fokker Dr ปีกสามชั้นของเยอรมันไล่ยิงกันกับ Sopwith Camel ของอังกฤษให้ว่อน ประเทศฝรั่งเศสก็โดนยำเละเหมือนเดิม แต่หลังจากสงครามสงบเลนส์ที่คลองตลาดยุโรปเกือบทั้งหมดคือ SOM Berthiot เพราะว่ามันคือเลนส์ที่ดีมากยี่ห้อหนึ่ง ขนาดทำเลนส์ M39 ออกขายให้แฟน Leica ในราคาแพงกว่าเลนส์ค่ายเสียอีก เมื่อเดือนก่อนหลุดมาในอีเบย์ยังตั้งราคาตัวละแสนกว่าบาทสำหรับรุ่น collapsible ที่ลง Leica II กล้องรุ่นปู่อายุเจ็ดสิบกว่าปี
SOM Berthiot และ Angénieux ได้จับมือกันทำเลนส์มานานแล้วเพราะสาเหตุของสงครามสองรอบ ไม่จับมือกันมีได้ตายหมู่แน่เพราะรบกันที่ไรประเทศฝรั่งเศสเละทุกที จะบอกว่า Som คือชายชู้ของ Angénieux ก็ว่าได้ พอถึงยุค 50 Som ก็เปิดตัวเลนส์ Cine อย่างเป็นทางการของตัวเองสองสามรุ่นเพื่อจับตลาดหลายย่านราคา แต่ใส้ในของมันคือ Angénieux retrofocus ที่นาย Pierre Angénieux. ออกแบบมาลงกับเลนส์ Angénieux ของตัวเองนั่นแหละ
ผมถึงได้บอกไงว่ามันคือเลนส์ชายชู้ของ Angénieux ที่ออกแบรนด์จับตลาดสูงแล้วส่ง Som จับตลาดกลางบนไล่จนถึงระดับกลางล่าง ส่วนระดับล่างเงินน้อยไปซื้อเลนส์อเมริกันกับเยอรมันเล่น ชายชู้อย่าง Som ก็ไม่ได้แอ้มหรอกถ้ากระเป๋าเบา ต่อมา Som ได้ออกเลนส์เขย่าโลกออกมาในต้นปี 50's คือ Cine Zoom ตัวแรกของโลกที่วางตลาดขาย สมัยก่อนกล้อง Vidicon สำหรับ TV ยังมีเลนส์สามตัวหมุนสลับกันเหมือนกล้องถ่ายหนัง แต่พอเลนส์ซูมออกมาตลาดของ Som บุกเข้าไปถึงอุตสาหกรรม TV ได้แบบไม่ยากอะไรจนต่อมาอีกแปดปี Angénieux ถึงออกเลนส์ Zom ของตัวเองออกมาบ้างแต่จับตลาดสูงระดับกล้องฮอลีวูต ผมบอกได้เลยว่าฉากคิวบู๊ของ Jame Bond สมันปู่ณอนไม่มีเลนส์ซูมฝรั่งเศสก็ไม่สนุกอย่างที่เห็นหรอกครับ ต่อมาต้นยุค 60's SOM Berthiot ได้รวมตัวกับ OPL กลายเป็น SOPELEM เจ้าพ่อเลนส์และอีเล็กโทรนิกของฝรั้งเศสไปจนทุกวันนี้
วันนี้ผมที่ผมเอารุ่น Paris เรือธงของ Som มาให้ดูก่อนเพราะอยากให้คุ้นกับภาพสไตล์ SOM Berthiot เอาไว้งวดหน้าผมจะเอาตัวน้องรุ่น Lytar มาให้ดูภาพกัน
กล้องที่ใช้รีวิวยังเป็น GH1 ถนอมสายตาตัวโปรดอยู่เหมือนเดิม ภาพที่ได้มาไม่มีการแต่งเติม ย่อแล้ว USM ถือว่าจบ เรามาดูกันว่ามันจะให้ความสนุกกับเลนส์เมืองน้ำหอมต่างกับเลนส์ตัวอื่นอย่างไรบ้าง