จีนแบนช่อง 'อดีตนักโทษที่สวยที่สุด' หลังเอา 'ชีวิตในคุก' มาเป็นจุดขาย//// ตัดภาพมาที่ไทย ทำกันฉ่ำ


จีนแบนช่อง 'อดีตนักโทษที่สวยที่สุด' หลังเอา 'ชีวิตในคุก' มาเป็นจุดขาย
.
ไม่นานมานี้ โลกออนไลน์ของจีนสั่นสะเทือน เมื่อหญิงสาวหน้าตาดีคนหนึ่งกลับมาปรากฏตัวในฐานะอินฟลูฯ คนใหม่ พร้อมเรื่อเล่าประสบการณ์ในคุกเป็นตัวชูโรง
.
เธอคือ ชิงเฉินจิ่งเลี่ยง หญิงวัย 26 ปีจากเมืองเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน ผู้เคยถูกหมายจับในปี 2018 จากคดีหลอกซื้อเครื่องดื่มราคาแพง ร่วมกับแฟนหนุ่มและพรรคพวกที่แอบอ้างตัวเป็นพนักงานบาร์ เพื่อล่อลวงเหยื่อทางออนไลน์ ผ่านการแสดงความรักปลอมๆ หรือตีซี้ทำเป็นสนิท และบังคับให้เหยื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยจะขู่หรือใช้ความรุนแรงหากเหยื่อปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน
.
หลังตำรวจออกใบประกาศจับตัวชิงและพวกพ้อง ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยสะดุดตาบนใบประกาศ เธอจึงกลายเป็นที่พูดถึงในชั่วข้ามคืน และได้รับฉายาจากชาวเน็ตว่า “ผู้ต้องหาที่สวยที่สุดในจีน” ก่อนเธอจะเข้ามอบตัวและถูกจำคุกเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน ในข้อหาฉ้อโกง
.
หลังพ้นโทษออกจากเรือนจำในปี 2021 เธอกลับมาใช้ชีวิตใหม่ เปิดร้านชานมเล็กๆ ในบ้านเกิด และเคยปรากฏตัวในคลิปวิดีโอร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ความรู้เรื่องการหลอกลวงบนโลกออนไลน์
.
เหมือนทุกอย่างดูจะเป็นไปด้วยดี จนกระทั่งเธอกลับมาไลฟ์อีกครั้ง ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คราวนี้ไม่ใช่เพื่อขายชานม แต่เพื่อขายเรื่องในคุก เธอเปิดบัญชีโซเชียลของตัวเอง โดยใช้ภาพจากใบประกาศจับเมื่อปี 2018 เป็นรูปโปรไฟล์ พร้อมข้อความโปรยว่า “เคยเป็นข่าวใหญ่ในปี 2018 ตอนนี้กลับตัวแล้ว”
.
เธอเริ่มไลฟ์สดทุกวัน วันละสองรอบ พูดถึงประสบการณ์ในคุก สอนวิธีหลีกเลี่ยงการโดนหลอก แชร์มุมมองด้านกฎหมาย และเตือนผู้ชมว่า “อย่าหลงเชื่อของฟรี”
.
แต่ขณะเดียวกัน เธอก็ชวนให้แฟนๆ ส่งของขวัญ และเข้ากลุ่มพิเศษเพื่อฟังเรื่องเล่าจากในคุกหรือเรื่องที่เธอเคยทำตอนเป็นมิจฉาชีพ
.
ภาพหญิงสาวที่เคยเป็น “ผู้ต้องหาที่สวยที่สุด” กลับมาพร้อมสโลแกน “หญิงที่เคยติดคุก” พร้อมเล่าเรื่องราวในเรือนจำแบบมีสีสัน และบางครั้งก็เจือด้วยอารมณ์ขัน นั่นทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า นี่คือการกลับตัวหรือคือการหาผลประโยชน์จากความผิดในอดีต
.
[img]https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t6b/1/16/25fe.png[/img] เมื่อสตอรี่ในอดีตกลายเป็นสินค้า
.
ไม่ผิดที่คนเคยทำผิดจะเริ่มต้นใหม่ นั่นคือหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และเป็นการคืนคนดีสู่สังคม แต่เมื่อการเริ่มต้นใหม่นั้น เริ่มด้วยการเอาความผิดในอดีตมาทำการตลาด สังคมจึงมีสิทธิที่จะตั้งคำถาม ซึ่งมีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์
.
“เธอชดใช้ความผิดแล้ว ทำไมจะกลับตัวไม่ได้”
.
“ถ้าคนกลับใจจริง ทำไมต้องเอาเรื่องคุกมาโปรโมตตัวเอง”
.
ในกรณีของชิงเฉินจิ่งเลี่ยง บางคอนเทนต์ของเธอไม่ได้เป็นการให้ความรู้ หรือเล่าถึงผลของการทำผิด แต่พยายามเล่าประสบการณ์การทำผิดให้ดูตื่นเต้น เป็นความบันเทิง และที่สำคัญคือใช้สร้างรายได้
.
สถิติจากแพลตฟอร์มหนึ่งเผยว่า บัญชีที่มีคีย์เวิร์ด “ผู้พ้นโทษ” มียอดรับชมเฉลี่ยมากกว่าบัญชีปกติถึง 3.2 เท่า แสดงให้เห็นถึงพลังความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชม แต่พลังนี้เองก็สามารถกลายเป็นดาบสองคมได้ หากถูกใช้ในทางที่ผิด
.
[img]https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t6b/1/16/25fe.png[/img] สังคมพร้อมให้โอกาส แต่ไม่ใช่กับคนที่ไม่สำนึกผิด
.
หลังจากเป็นข่าว แพลตฟอร์มโต่วอิน (TikTok จีน) ก็สั่งแบนบัญชีของเธอทันที พร้อมระบุเหตุผลว่า “ห้ามใช้ประสบการณ์ในเรือนจำหรือการกระทำผิดกฎหมายมาเป็นจุดขายหรือสร้างรายได้” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานกำกับดูแลสื่อของจีน ที่ออกประกาศห้ามบุคคลที่มีพฤติกรรมผิดกฎหมายหรือผิดจริยธรรม ใช้ช่องทางไลฟ์สดในการสื่อสารกับสาธารณะและรับผลประโยชน์โดยมิชอบ
.
นี่ไม่ใช่การปิดกั้นโอกาสของผู้พ้นโทษ แต่เป็นการปกป้องสังคมจากค่านิยมที่บิดเบี้ยว เพราะถ้าใครๆ ก็สามารถดังได้จากการทำความผิด แล้วเราจะสอนคนรุ่นใหม่อย่างไร?
.
[img]https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t6b/1/16/25fe.png[/img] เรื่องในคุก เล่าได้ แต่เล่าแล้วต้องรับผิดชอบ
.
ตามกฎหมายจีน ผู้ที่พ้นโทษมีสิทธิ์ทำงานเช่นเดียวกับพลเมืองทั่วไป ซึ่งในกรณีของชิงเฉินจิ่งเลี่ยงก็เช่นกัน หลังออกจากคุกในปี 2021 เธอเปิดร้านขายชานม และให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่หวนกลับไปทำผิดซ้ำอีก พร้อมยื่นมือร่วมรณรงค์ต่อต้านการหลอกลวง
.
หากเรื่องจบลงตรงนั้น มันคงเป็นเรื่องราวดีๆ ของคนที่สำนึกผิดและเริ่มต้นใหม่ แต่จุดเปลี่ยนคือ การหันมาใช้ด้านมืดของชีวิตเป็นจุดขายผ่านการไลฟ์สด เช่น “อย่าถามนะว่าอยู่ห้องเดียวกับดาราคนนั้นหรือเปล่า คุกหญิงกับชายแยกกันจ้ะ” “ถ้าอยากฟังต่อว่าฉันเคยทำอะไรบ้างตอนยังเป็นสิบแปดมงกุฎส่งของขวัญ และกดเข้ากลุ่มเฉพาะมาได้เลย”
.
ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว เธอกลับไลฟ์หลายครั้งในหัวข้อ “ผู้หญิงที่เพิ่งออกจากคุก” หรือ “สิบแปดมงกุฎที่สวยที่สุด” ซึ่งชัดเจนว่าไม่ใช่การสำนึกผิด แต่เป็นการขายความตื่นเต้นจากอดีต
.
สังคมไม่ปิดกั้นการพูดถึงเรือนจำ ไม่ห้ามการเล่าถึงอดีตที่ผิดพลาด ตรงกันข้าม ถ้าเล่าด้วยความจริงใจ และมีเป้าหมายเพื่อเตือนคนอื่นไม่ให้เดินทางผิด เพราะมันคือ “พลังบวก” ที่น่าชื่นชม
.
แต่หากเล่าเพียงเพื่อความสนุก เรียกยอดวิว หรือเพื่อขายความผิดให้ดูน่าสนใจ อย่างที่เกิดขึ้นในหลายคลิปของชิงเฉินจิ่งเลี่ยง ก็จะกลายเป็น "พลังลบ" ที่ไม่ควรถูกปล่อยผ่าน และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือผลกระทบทางอ้อมที่มองไม่เห็น เด็กบางคนอาจเข้าใจว่า “ติดคุกก็ไม่เป็นไร แค่มีคอนเทนต์ดีๆ ก็กลับมาดังได้”

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่