ยืนยันแล้ว Rafale อินเดียตกจริง โดน J-10 ของปากีสถานสอยร่วงคาบ้าน

มีภาพชิ้นส่วนชัดเจนทั้งส่วนของเครื่องยนต์และแพนหาง งานนี้จีนเอาไปโม้ได้ยาวๆ




ซากจรวดจีนที่ใช้สอย Rafale
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
อันนี้เป็นคลิปภาพรวมการสู้รบระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน ว่ามีความเป็นมายังไง ยุทธวิธีการรบเป็นยังไง ใช้อาวุธอะไรรบกัน คลิปนี้จะกล่าวถึงการโจมตีของอินเดียเป็นส่วนใหญ่ อินเดียมีกำลังเหนือกว่าอย่างไร ดูแล้วมีความเอนเอียงไปทางอินเดียนิดๆ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ซึ่งทั้งคู่ต่างใช้อาวุธที่มีพิสัยทำการไกลมาก โดยหลีกเลี่ยงการบินข้าม หรือล้ำพรมแดนไปยังฝั่งตรงข้าม
- อินเดียใช้จรวดร่อนระยะทำการไกลมาก ( 400-500 km ) มีความแม่นยำสูง เช่น SCALP และ BrahMos มีระบบนำวิถีที่ทันสมัยมาก เช่น นำวิถีด้วยดาวเทียม เซนเซอร์ภาพอินฟราเรด ผลคือ เป้าหมายภาคพื้นดินถูกทำลายอย่างแม่นยำ
- ปากีสถาน ใช้จรวด PL-15E นำวิถีด้วยเรดาห์แบบ AESA ซึ่งถือว่าเป็นระบบนำวิถีที่ล้ำสมัยมาก ระบบเรดาห์ AESA สามารถป้องกันการรบกวนด้วยคลื่นของระบบ EW ของฝั่งตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่องบิน Rafale ใช้ระบบที่เรียกว่า SPECTRA ของ Thales ซึ่งสามารถแจมเรดาห์ได้ทุกชนิด เรียกว่าล้ำยุคที่สุดในโลกแบบนึงเลย ยังป้องกันหรือแจมระบบนำวิถีของ PL-15E ไม่อยู่ จำได้ว่าในสงครามทางอากาศเมื่อไม่กี่ปีก่อน ที่อินเดียทำสงครามทางอากาศกับปากีสถาน แล้วเครื่องบิน Mig-21 ถูกยิงตกโดยจรวด AMRAAM จาก F-16 โดยครั้งนั้นอินเดียมีกระเปาะทำสงครามอิเลคทรอนิคส์ที่จัดหาจากอิสราเอลเพื่อป้องกันจรวด AMRAAM โดยเฉพาะ แต่ตอนนั้นดันไม่ได้ติดตั้งกับ Mig-21 เลยโดนสอยซะ ซึ่งจรวด AMRAAM ใช้เรดาห์แบบธรรมดาและมีโอกาสถูกแจมได้ แต่จรวด PL-15E นั้นใช้เทคโนโลยี่เรดาห์แบบ AESA ซึ่งแจมได้ยากมาก แถมจรวดยังมีความเร็วสูงมาก จำได้ว่าจรวดอากาศสู่อากาศที่ใช้เรดาห์แบบ AESA แบบแรกคือจรวด AAM4 ของญี่ปุ่น โดยเรดาห์แบบ AESA จะทำงานโดยเปลี่ยนความถี่ในการสแกนไปหลากหลายความถี่ด้วยความรวดเร็ว แล้วใช้คอมพิวเตอร์และระบบอัลกอริธึมของ DSP ในการประมวลผล มีผลทำให้ระบบ RWR ของเครื่องบินรบที่ถูกล็อคเป้าไม่สามารถทำงานได้ พูดง่ายๆคือโดนยิงแบบไม่รู้ตัว นึกไม่ถึงว่าจรวด PL-15E ของจีนจะติดตั้งระบบนำวิถีชนิดนี้ ตามข่าวต่างๆพบว่าอินเดียได้เตรียมการระบบการทำสงครามอิเลคทรอนิคส์มาอย่างดี ก่อนที่จะทำการบินโจมตี เรียกว่าติดตั้งระบบป้องกันตัวแบบเต็มสูบ แต่แล้วก็โดนสอยจนได้

นี่เป็นอีกฉากหนึ่งของการรบทางอากาศ ที่นอกจากเราจะเห็นการใช้โดรนโจมตี วันนี้เราได้เห็นระบบอาวุธที่ยังไม่เคยใช้ที่ไหนมาก่อน เห็นถึงความแม่นยำของระบบอาวุธที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี่ระดับสูง ทำให้เกิดความแม่นยำในการยิงทำลายเป้าหมาย

คำถามคือ จรวด AIM-120C5 ของ ทอ.ไทย ที่ใช้ระบบนำวิถีด้วย active radar รุ่นเก่า ยังสามารถรับมือกับภัยคุกคามของเครื่องบินรบที่ใช้อาวุธที่ล้ำสมัยหรือไม่ จรวดนำวิถีรุ่นใหม่สามารถยิงทำการได้ในระยะไกลมาก แถมยังมีความแม่นยำสูงแม้แต่อยู่ในสภาวะการทำสงครามอิเลคทรอนิคส์ที่เข้มข้น ซับซ้อน ก็ยังป้องกันมันไม่ได้ ก็ได้แต่หวังว่า เครื่องบิน Gripen E/F รุ่นใหม่ที่มีระบบ EW ที่ล้ำสมัยไม่น้อยหน้าใคร บวกกับจรวด Meteor จะรับมือกับภัยคุกคามของระบบอาวุธทางอากาศที่ล้ำยุคพวกนี้ได้ ส่วน AMRAAM รุ่นเก่าเชื่อว่าเป็นเทคโนโลยี่ที่ Outdate ไปแล้ว ไม่น่าจะรับมือไหวละ ซึ่งหวังว่าการจัดหาระบบอาวุธสำหรับรับมือภัยคุกคามในอนาคตหรือในปัจจุบันนี้ ต้องมั่นใจว่าสู้ได้หรือรับมือได้จริงๆ ไม่งั้นลำบากแน่ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่