"ศิริกัญญา" มั่นใจไทยยังไม่ได้รับคอนเฟิร์มวันเจรจากำแพงภาษีสหรัฐฯ
.
.
รัฐสภา 24 เม.ย.-“ศิริกัญญา” จี้รัฐบาลสื่อสารตรงไปตรงมา มั่นใจไทยยังไม่ได้รับคอนเฟิร์มวันเจรจากำแพงภาษีสหรัฐฯ ทำให้ต้องเลื่อน เชื่อปัญหาสิทธิเสรีภาพมีผลกระทบ ชี้ นายกฯ ยังไม่ยุบสภาฯ เพราะคะแนนความนิยมยังต่ำ บอกพร้อมให้ความร่วมมือหากต้องการข้อเสนอแนะ
.
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการส่งทีมรัฐบาลไทยไปเจรจากำแพงภาษีกับสหรัฐอเมริกา ว่า ตอนนี้เราได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะได้ติดตามความคืบหน้าการเจรจาของหลายประเทศด้วยเช่นกัน เช่น ก่อนหน้านี้ที่ได้เปิดเผยไปว่ามี 6 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก มีความคืบหน้าในการเจรจากับสหรัฐและกำหนดวันเรียบร้อยหมดแล้ว แต่เมื่อกลับมาดูทางการไทยพบว่ามีความสับสนมีความอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องกำหนดการเดินทางไปเจรจา และที่เลวร้ายกว่านั้นคือการที่นายกรัฐมนตรี กับนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพูดขัดกันเอง ที่นายกฯ บอกว่า การเลื่อนเป็นเพียงเพราะมีเอกสารข้อมูลบางอย่างที่ สหรัฐฯขอเพิ่มเติมเลยต้องเลื่อน แต่ ทางนายพิชัยบอกว่า ไม่รีบ จะรอเป็นคิวกลางๆ แต่ไม่ใช่คิวท้ายเพื่อดูการต่อรอง การเจรจาของประเทศอื่นก่อน
.
นางสาวศิริกัญญา กล่าวว่าก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีไม่พูดอะไรและฟังรัฐมนตรีคลังคนเดียว ก็อาจจะเชื่อว่าการเจรจา วางยุทธศาสตร์แบบนี้จริงที่อยากจะได้คิวกลางรอดูท่าทีประเทศอื่น และจะเชื่อมากกว่านี้หากนายพิชัยบอกว่าจะประชุมเจรจาวันไหน ซึ่งอาจจะเป็นเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายนก็ได้
นางสาวศิริกัญญา กล่าวว่า เมื่อ นายกฯ พูดอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพูดอย่าง และสุดท้ายยังไม่มีกำหนดวันที่ชัดเจน เป็นการเลื่อนแบบไม่มีกำหนดเช่นนี้ ยิ่งสร้างความสับสน จึงมั่นใจว่ารัฐบาล ยังไม่มีการคอนเฟิร์มวันนัดกับสหรัฐอเมริกา และเมื่อรัฐบาลไทยนัดสหรัฐฯไม่ตอบรับเมื่อใกล้วันจึงจำเป็นเลื่อนกำหนดการ ออกไปจนกว่าสหรัฐฯจะตอบกลับอีกที
.
“ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ ก็เรียกร้องให้รัฐบาลสื่อสารกับเราอย่างตรงไปตรงมาว่าตกลงติดปัญหาอะไร ทำไมสหรัฐถึงยังไม่ตอบรับการเจรจาเราอีก เพราะรอบบ้านเราก็ไปหมดแล้ว บางเจ้าได้เจรจาเข้ารอบสองไปแล้ว เราไม่ได้บอกให้รีบ เราเชื่อในกลยุทธ์ Wait and See ของรัฐบาลว่าอาจ work เหมือนกัน เพียงช่วยทำให้เรามั่นใจ ว่าที่ติดขัดจะแก้ไขได้ และยืนยันกำหนดการว่าควรไปเมื่อไหร่กันแน่” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
.
เมื่อถามว่านักวิชาการได้วิเคราะห์สาเหตุที่สหรัฐไม่ยอมตอบกลับเป็นเพราะปัญหาทางการเมืองของไทยที่ไม่มี สิทธิเสรีภาพเช่นเรื่องอุยกูร์ และกรณีนายพอล แชมเบอร์ หรือไม่นั้น น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า สิ่งที่นักวิชาการคาดทั้ง 2 เรื่องนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่ทำให้สหรัฐอเมริกามีท่าทีกับเราแบบนี้ ต้องอย่าลืมว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกัน หนึ่งในทีมที่อยู่ในชุดเจรจาแม้ไม่ได้อยู่ในโต๊ะเจรจาทุกครั้ง เช่น นายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ เป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่พอใจ ที่ไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ จึงคิดว่าส่วนนี้อาจเป็นปัจจัยให้สหรัฐฯ ไม่ยอมเดินหน้าเจรจากับไทย จนกว่าจะได้รับคำอธิบาย จากประเทศไทยก่อน
.
ส่วนจากการทำงานที่ผ่านมายังสามารถเชื่อมือรัฐบาลได้หรือไม่ว่าจะนำพาประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า หากตนบอกว่ายอมให้รัฐบาลกู้เงินได้ ก็มีหลายคนที่ไม่ไว้วางใจและไม่เชื่อมือว่าหากปล่อยให้รัฐบาลทำแบบนี้จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่อยากได้หรือไม่
.
“ส่วนตัวก็พยายามปลอบใจตัวเองว่า ในวันนี้ไม่มีทางเลือกมากนัก หากอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการยุบสภา คิดว่านายกจะไม่ยุบสภาเร็ว ๆ นี้แน่นอน เนื่องจากความนิยมยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ในส่วนของพรรคร่วมที่อาจนำสู่การเปลี่ยนแปลงตัวนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้นทางเลือกจึงมีอยู่น้อย จำเป็นต้องพึ่งพารัฐบาลแก้ปัญหาในการแก้ปัญหานี้ จึงพยายามเปิดใจให้กว้าง ให้รัฐบาลมีทางเลือกเท่าที่จะทำงานได้” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
.
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เราพร้อมให้ความเห็นและความร่วมมือเต็มที่หากรัฐบาลต้องการ ในสภาก็พร้อมทำหน้าที่ แน่นอนว่าต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้นหากให้รัฐบาลกู้เงิน ในวันนี้คงต้องให้รัฐบาลทำงาน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรังที่แก้ได้ไม่ง่าย.-319.-สำนักข่าวไทย
.
.
ศุภณัฐ แนะรัฐ รื้อระเบียบ เยียวยาแผ่นดินไหว ยันน้อยไป บางเคสซ่อมเป็นแสน ได้คืนไม่ถึงพัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5151477
.
‘ศุภณัฐ’ ร้องโห บางคนเสียหลายหลักแสน ได้เงินเยียวยาแผ่นดินไหว หลักพัน ซัด คงต้องมีสภาพแบบตึก สตง.ถึงได้เต็มสี่หมื่นเก้า ลั่น ต่ำไปไม่สอดคล้องความเป็นจริง จวก ขั้นตอน-เอกสารเยอะ แถมยื่นออนไลน์ไม่ได้ งง บัตรปชช.-ทะเบียนบ้าน รัฐมีอยู่แล้ว บอก แบบฟอร์มยื่น 1 ฉบับก็พอ ไม่ต้องมากถึง 6 ชุด จ่อ ขอยืดระยะเวลาขอเยียวยาไปอีก 1 เดือน
.
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 เมษายน 2568 ที่รัฐสภา นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีติดตามความคืบหน้าการเยียวยาประชาชนจากเหตุแผ่นดินไหวว่า ตนทราบมาว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯได้เรียกหน่วยงานไปสั่งการว่า ให้ราคาการประเมินให้สอดคล้องกับความเสียหายจริง โดยในส่วนของ กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจฯ ที่เราติดตาม คือในส่วนของกระบวนการก่อนการเยียวยา เช่น เรื่องที่จะต้องไปแจ้งความ ก่อนที่จะไปสำนักงานเขต เรื่องที่ต้องใช้เอกสารเยอะเกินไป หรือแม้กระทั่งการไม่เปิดให้มีการยื่นออนไลน์ ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกิดขึ้น
.
นายศุภณัฐ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็ต้องเดินทางมาประเมินสถานที่ ค่าดำเนินการต่างๆ อย่างต่ำอาจจะเป็น 1,000-2,000 บาท แต่สิ่งที่ได้รับกลับต่างกันไป โดยเงินที่รัฐบาลสนับสนุนมาเป็นค่าวัสดุอย่างเดียว ราคาอาจจะต่ำไปด้วยซ้ำ และค่าแรงนั้นไม่มีให้ จึงเป็นที่มาให้ตนนำเรื่องนี้เข้า กมธ.เพื่อเรียกหน่วยงานมาพูดคุยกันว่าหลักเกณฑ์เป็นเช่นไร สามารถปรับให้สอดคล้องกับความเสียหายของประชาชนได้หรือไม่
.
เมื่อถามว่า การปรับค่าเสียหายนั้น สามารถแก้ไขข้อกฎหมายได้หรือไม่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า จริงๆที่ตนเข้าใจคือเป็นเรื่องระเบียบ สามารถแก้ไขได้เลย รัฐมนตรีเซ็นก็ออกมาได้เลย ไม่ได้อยู่ในระดับพระราชบัญญัติ ดังนั้น สามารถดำเนินการได้เลย ตนก็เชียร์ให้ทำ และควรครอบคลุมค่าแรงบางส่วนด้วย ที่ควรมีเรื่องเงินเยียวยาขั้นต่ำ เพราะเรามีค่าดำเนินการก่อนที่จะได้รับเงินเยียวยาจำนวนมาก ซึ่งเงินที่เยียวยานั้น อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์
.
เมื่อถามว่า ค่าเยียวยาที่ตั้งไว้สูงสุด 49,500 บาท จากการสำรวจมีคนได้รับมากที่สุดเท่าไหร่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า “โห ผมเห็นบางคนเสียหายเป็นแสน แต่ได้มาไม่ถึงพัน พูดง่ายๆ คุณคงต้องมีสภาพคล้ายตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก่อน จึงจะได้ 49,500 บาท แต่เชื่อว่า ความตั้งใจที่สภาฯ ตั้งไว้ เราก็อยากให้รัฐบาลได้จ่ายจริง ในส่วนของคนที่มีความเสียหายเยอะ แต่เมื่อหลักเกณฑ์ไปออกโดยรัฐบาล ก็กลายเป็นว่าไปออกหลักเกณฑ์ที่กดราคาลงมา ทำให้สุดท้ายการจ่ายจริงอาจไม่ตรงตามเป้าประสงค์ที่สภาฯ ได้ออกไปก่อนหน้านี้”
.
เมื่อถามว่า ยอดตกค้างที่ยังไม่ได้ยื่นมีอีกเยอะหรือไม่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า สำหรับคนที่ยังไม่ได้ยื่น มีกรอบเวลาถึงวันที่ 27 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่กมธ. จะมีการพูดคุยกับหน่วยงานว่า อยากให้มีการขยายระยะเวลาที่ยื่นไปอีก 1 เดือนได้หรือไม่ เพื่อให้ประชาชนที่อาจจะไม่ทราบข่าวสามารถยื่นได้ทัน หรือหากไม่ทันจริงๆ รัฐบาลก็ต้องเร่งประชาสัมพันธ์หรือไม่ แต่หากเร่งประชาสัมพันธ์ก็จะขัดกันตรงที่ว่า เงินที่ประชาชนได้รับการเยียวยาในขณะนี้ไม่ตอบโจทย์ อาจจะทำให้ประชาชนเปลี่ยนใจ จากที่เห็นหลายคนรีวิวว่าได้เพียง 700 กว่าบาท ก็อาจจะเปลี่ยนใจไม่ยื่นแล้ว ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความมั่นใจว่าสามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้ทันหรือไม่ในช่วงระยะเวลาเดตไลน์ หรือหากจะปรับเปลี่ยนหลังจากนี้ สามารถมีผลย้อนหลังได้หรือไม่
.
เมื่อถามว่า การจ่ายเงินเยียวยาอาจจะไม่ทันกรอบ 3 เดือน มีข้อเสนอแนะใดหรือไม่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า ความโชคร้ายอย่างหนึ่งคือต้องให้เจ้าหน้าที่โยธาไปดูแต่ละบ้านเป็นจำนวนมาก ทำให้กว่าจะสามารถนัดกันได้ เวลาไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งตนคิดว่า หากดูในภาพรวมแล้ว ความเสียหายไม่ได้เยอะ อาจจะให้ส่งแค่คลิปวิดีโอไปได้หรือไม่ เพราะหลายคนซ่อมเรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ดูจากวิดีโอที่ส่งไปว่าใช่หลังเดียวกันหรือไม่ โดยหากอัดคลิปดีๆ ตั้งแต่หน้าห้อง ให้เห็นเลขห้องในกรณีที่ความเสียหายไม่เยอะ เจ้าหน้าที่ก็ไม่จำเป็นต้องไปพิสูจน์ที่หน้างานได้ ก็จะทำให้สามารถลดระยะเวลาการไปพิสูจน์ความเสียหายของเจ้าหน้าที่ได้ เช่น เขตจตุจักร คนยื่นเยอะมากประมาณ 5,000 เคส ซึ่งหากไม่ใช้คนอื่นเข้ามาช่วย จะได้รับการพิจารณานาน แต่ในบางเขต เช่น เขตบางเขน มีเคสแค่ไม่กี่ร้อย การพิจารณาก็ทัน
.
เมื่อถามว่า นอกจากในส่วนของ กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจแล้ว คณะกรรมการชุดใหญ่ที่พรรคปชน.ตั้งมาจะดำเนินการอะไรหรือไม่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า เรามีการติดตามและเรียกร้องไปตามสื่อมวลชน และอีกส่วนหนึ่งอาจจะต้องมีการทำหนังสือยื่นไปยังหน่วยงานต่างๆ ซึ่งตนได้ยื่นไปแล้ว เนื่องจากได้รับมอบหมายจากพรรคให้ดูแลเรื่องเงินเยียวยาโดยตรง
.
เมื่อถามถึง กรณีที่มีการเปิดเผยเรื่องแปลนตึก สตง.ก่อนหน้านี้ ความคืบหน้าในการตรวจสอบเป็นอย่างไรบ้าง นายศุภณัฐ กล่าวว่า เรื่องนี้นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชน. เป็นคนตรวจสอบ ไปหาใครมีข้อมูลอะไรก็ส่งไป เพราะเรามีคณะทำงานร่วมกัน
.
เมื่อถามว่า มองการทำงานหน้างานในการกู้ซากตึก สตง. เป็นอย่างไร นายศุภณัฐ กล่าวว่า ก็โอเค ผู้ว่าฯ กทม.ก็ทำงานได้ดี เพราะเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยมีใครเจอมาก่อน ถือเป็นงานยาก โดยที่เจ้าหน้าที่ต่างชาติที่เข้ามาช่วยก็บอกว่าเป็นเรื่องใหญ่มากที่อาคารทั้งหลังและมีขนาดใหญ่เช่นนี้จะร่วงลงมาทั้งหมด
ส่วนที่มีข้อวิจารณ์ว่า เศษปูนที่ถล่มลงมา เมื่อโดนฝนแล้ว ทำให้เกาะตัวกันมากขึ้น แล้วรื้อถอนได้ยาก มีข้อกังวลหรือไม่ นายศุภณัฐ กล่าวว่า ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่หน้างานเป็นคนดู แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อกังวลคือการสืบหาข้อเท็จจริง เพราะบางอย่างอาจต้องใช้หลักฐานอยู่หน้างาน เพราะหากไม่มีการแบ่งหน้าที่กันที่ชัดเจน สุดท้ายหลักฐานบางอย่างอาจได้รับผลกระทบ
JJNY : "ศิริกัญญา"มั่นใจไทยยังไม่ได้│ศุภณัฐแนะรบ.รื้อระเบียบ│ปชน.ชี้ไม่โปร่งใสเอื้อนายทุน│12รัฐมะกันจับมือฟ้อง ระงับภาษี
.
ศุภณัฐ แนะรัฐ รื้อระเบียบ เยียวยาแผ่นดินไหว ยันน้อยไป บางเคสซ่อมเป็นแสน ได้คืนไม่ถึงพัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5151477
.