โลหะวิทยาพระงั่ง ตอนที่ 4 (พระเฉลิมพล - พระงั่งหลวงพ่อเงิน)
Phra Ngang Metallurgy 4 (Phra Ngang LP.Ngern)
จากที่ได้ตรวจสอบพระงั่งมาหลายแบบทั้งพระงั่งแบบฐานดินและพระงั่งตาโปน พระงั่งตาแดงเนื้อต่างๆ
ผมได้เห็นส่วนผสมของพระงั่งที่มีโลหะหลากหลายแบบ ซึ่งที่ผ่านการตรวจสอบมานั้น ยังไม่มีพระงั่งแบบไหนที่มีส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้ครับ เนื่องจากพระงั่งที่เป็นเนื้อทองเหลือง ก็จะมีส่วนผสมที่เป็นทองแดงและสังกะสีเป็นหลัก ส่วนพระงั่งทองแดงเถื่อนก็จะมีส่วนผสมหลักเป็นทองแดง แต่ครั้งนี้การตรวจสอบส่วนผสมทางโลหะวิทยาของ "พระเฉลิมพล (พระงั่งหลวงพ่อเงิน)" พบว่ามีส่วนผสมพิเศษที่ไม่เจอจากการตรวจพระงั่งแบบอื่นๆ
ส่วนผสมที่พูดถึงนั้นก็คือ "เงิน" ซึ่งปริมาณในการผสมนั้นถือว่าเยอะครับ ดูแล้วเป็นการตั้งใจผสมในการหล่อครับ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ผมได้เคยเจอในนิตยสาร "ของดีจริง" ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2536 ที่มีบทความเรื่อง "พระเฉลิมพล - พระงั่งหลวงพ่อเงิน" โดยบทความในนิตยสารได้บอกว่า พระงั่งพิมพ์นี้นั้นเป็นเนื้อแก่เงิน และผลการตรวจก็พบโลหะเงินเป็นส่วนผสมอยู่ในพระงั่งพิมพ์นี้ตามที่ในบทความนั้นได้กล่าวถึง
ซึ่งในการตรวจรั้งนี้ ผมใช้พระงั่ง 2 องค์ ที่ได้มาจากคนละที่ (ได้มาไม่พร้อมกัน) นำมาตรวจ ซึ่งส่วนผสมทั้ง 2 องค์ ถึงแม้จะพบโละหะที่เป็นส่วนผสมมีไม่เท่ากัน องค์แรกพบโลหะ 5 ชนิด องค์ที่สองพบโลหะ 7 ชนิด แต่สัดส่วนการผสมนั้นใกล้เคียงกัน คือมีทองแดงเป็นโลหะหลัก และเงินเป็นโลหะรอง ที่เหลือก็จะเป็นส่วนผสมชนิดอื่นๆครับ

ผมขอไม่สรุปว่าผลที่ตรวจได้นั้นบอกว่าอะไร แต่ที่แน่ๆ พระงั่งพิมพ์นี้มีโลหะเงินเป็นส่วนผสม สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ครับ
#โลหะวิทยาพระงั่ง
#พระเฉลิมพล #พระงั่งหลวงพ่อเงิน
#PhraNgangMetallurgy
#PhraChaiMetallurgy
#โมเดิร์นเมจิค #MODERNMAJIK
โลหะวิทยาพระงั่ง ตอนที่ 4 (พระเฉลิมพล - พระงั่งหลวงพ่อเงิน)
Phra Ngang Metallurgy 4 (Phra Ngang LP.Ngern)
จากที่ได้ตรวจสอบพระงั่งมาหลายแบบทั้งพระงั่งแบบฐานดินและพระงั่งตาโปน พระงั่งตาแดงเนื้อต่างๆ
ผมได้เห็นส่วนผสมของพระงั่งที่มีโลหะหลากหลายแบบ ซึ่งที่ผ่านการตรวจสอบมานั้น ยังไม่มีพระงั่งแบบไหนที่มีส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้ครับ เนื่องจากพระงั่งที่เป็นเนื้อทองเหลือง ก็จะมีส่วนผสมที่เป็นทองแดงและสังกะสีเป็นหลัก ส่วนพระงั่งทองแดงเถื่อนก็จะมีส่วนผสมหลักเป็นทองแดง แต่ครั้งนี้การตรวจสอบส่วนผสมทางโลหะวิทยาของ "พระเฉลิมพล (พระงั่งหลวงพ่อเงิน)" พบว่ามีส่วนผสมพิเศษที่ไม่เจอจากการตรวจพระงั่งแบบอื่นๆ
ส่วนผสมที่พูดถึงนั้นก็คือ "เงิน" ซึ่งปริมาณในการผสมนั้นถือว่าเยอะครับ ดูแล้วเป็นการตั้งใจผสมในการหล่อครับ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ผมได้เคยเจอในนิตยสาร "ของดีจริง" ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2536 ที่มีบทความเรื่อง "พระเฉลิมพล - พระงั่งหลวงพ่อเงิน" โดยบทความในนิตยสารได้บอกว่า พระงั่งพิมพ์นี้นั้นเป็นเนื้อแก่เงิน และผลการตรวจก็พบโลหะเงินเป็นส่วนผสมอยู่ในพระงั่งพิมพ์นี้ตามที่ในบทความนั้นได้กล่าวถึง
ซึ่งในการตรวจรั้งนี้ ผมใช้พระงั่ง 2 องค์ ที่ได้มาจากคนละที่ (ได้มาไม่พร้อมกัน) นำมาตรวจ ซึ่งส่วนผสมทั้ง 2 องค์ ถึงแม้จะพบโละหะที่เป็นส่วนผสมมีไม่เท่ากัน องค์แรกพบโลหะ 5 ชนิด องค์ที่สองพบโลหะ 7 ชนิด แต่สัดส่วนการผสมนั้นใกล้เคียงกัน คือมีทองแดงเป็นโลหะหลัก และเงินเป็นโลหะรอง ที่เหลือก็จะเป็นส่วนผสมชนิดอื่นๆครับ
ผมขอไม่สรุปว่าผลที่ตรวจได้นั้นบอกว่าอะไร แต่ที่แน่ๆ พระงั่งพิมพ์นี้มีโลหะเงินเป็นส่วนผสม สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ครับ
#โลหะวิทยาพระงั่ง
#พระเฉลิมพล #พระงั่งหลวงพ่อเงิน
#PhraNgangMetallurgy
#PhraChaiMetallurgy
#โมเดิร์นเมจิค #MODERNMAJIK