ตามความเข้าใจของผม (ไม่รู้ถูกเปล่า) คือ พันธบัตรของสหรัฐ ออกขาย ให้แก่ประเทศอื่นๆ หรือกองทุนต่างๆ โดยวางขายในราคาส่วนลด (ต่ำกว่ามูลค่าไถ่ถอน) ส่วนต่างก็คือดอกเบี้ยพันธบัตร ที่คำนวณไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทีนี้ คนถือพันธบัตร ถ้าต้องการเงินสด ก็สามารถเอาพันธบัตรออกขายกันเองในตลาดพันธบัตร
ราคาซื้อขายก็อยู่ที่ ตลาดขณะนั้น จะให้ราคา
ถ้าพันธบัตรถูกขายต่ำกว่ามูลค่าไถ่ถอนมากเท่าไหร่ yield ของพันธบัตรนั้นก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
เหมือนกับหุ้นของบริษัทหนึ่ง ที่ให้เงินปันผลคงที่ สมมุติว่า 3% แต่พอราคาหุ้นตกไป ก็กลายเป็นว่า เงินปันผลมากขึ้น เช่นกลายเป็น 7%
แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับว่า มันไปเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐยังไง
เพราะการซื้อขายพันธบัตร ก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อผู้ขาย แต่รัฐบาลสหรัฐยังไม่ต้องควักเงินจ่าย เพราะยังไม่ถึง due
หรือเพราะว่า มันจะทำให้การออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงินครั้งต่อไป สหรัฐจะต้องเสนอดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ครับ (เพราะผลตอบแทนของพันธบัตรในขณะนั้นสูงอยู่แล้ว ถ้าจะยอมจ่ายเงินมาซื้อพันธบัตรออกใหม่ ก็ต้องได้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่แลกเปลี่ยนอยู่ในขณะนั้น)
แต่ก็ยังงงว่า สุดท้ายแล้ว สหรัฐจะเจ๊งได้ยังไงครับ
ขอถามผู้รู้เรื่องพันธบัตร ว่า ทำไมถ้าตลาดพันธบัตรของสหรัฐพัง เศรษฐกิจของสหรัฐจะพังไปด้วย มันเกี่ยวกันยังไงครับ
ทีนี้ คนถือพันธบัตร ถ้าต้องการเงินสด ก็สามารถเอาพันธบัตรออกขายกันเองในตลาดพันธบัตร
ราคาซื้อขายก็อยู่ที่ ตลาดขณะนั้น จะให้ราคา
ถ้าพันธบัตรถูกขายต่ำกว่ามูลค่าไถ่ถอนมากเท่าไหร่ yield ของพันธบัตรนั้นก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
เหมือนกับหุ้นของบริษัทหนึ่ง ที่ให้เงินปันผลคงที่ สมมุติว่า 3% แต่พอราคาหุ้นตกไป ก็กลายเป็นว่า เงินปันผลมากขึ้น เช่นกลายเป็น 7%
แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับว่า มันไปเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐยังไง
เพราะการซื้อขายพันธบัตร ก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อผู้ขาย แต่รัฐบาลสหรัฐยังไม่ต้องควักเงินจ่าย เพราะยังไม่ถึง due
หรือเพราะว่า มันจะทำให้การออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงินครั้งต่อไป สหรัฐจะต้องเสนอดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ครับ (เพราะผลตอบแทนของพันธบัตรในขณะนั้นสูงอยู่แล้ว ถ้าจะยอมจ่ายเงินมาซื้อพันธบัตรออกใหม่ ก็ต้องได้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่แลกเปลี่ยนอยู่ในขณะนั้น)
แต่ก็ยังงงว่า สุดท้ายแล้ว สหรัฐจะเจ๊งได้ยังไงครับ