เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://mgronline.com/crime/detail/9680000032242
วันนี้ (4 เม.ย.) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคดี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ตามความผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (นอมินี) กรณีอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เป็นคดีพิเศษที่ 32/2568 โดยมี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีดีเอสไอ, พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค, พ.ต.ท.อมร หงษ์ศรีทอง ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งสิ้น 36 ราย ร่วมประชุม
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ เผยว่า นอกจากความผิดคดีนอมินีรับเป็นคดีพิเศษ ก็ยังมีความผิดอื่นพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) ซึ่งจะต้องดูว่าในส่วนคนไทยที่ไปถือหุ้นนั้น ต้องพิสูจน์ว่าเป็นการถือหุ้นโดยอำพรางหรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้น พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้มีการไปตรวจสอบยังบ้านพักของ นายประจวบ ศิริเขตร (ผู้ถือหุ้น 10.20% หรือ 102,000 หุ้น ในบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) ที่ อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด แต่ไม่พบตัว เจอเพียงภรรยา ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า นายประจวบมีรายได้น้อยมาก ทำงานรับจ้างเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้เงินเดือนประมาณหมื่นกว่าบาทเท่านั้น
“อีกทั้ง นายประจวบ กลับมาถึงบ้านก็ไม่ได้พูดคุยถึงเรื่องตึก สตง. ถล่มให้ฟังว่าเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร ก่อนออกจากบ้านไปแล้ว 2-3 วันก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้แจ้งภรรยาว่าออกไปที่ไหนอย่างไร ซึ่งดูแนวโน้มเบื้องต้น มันไม่สอดคล้องกับการที่เขาไปถือหุ้นในนิติบุคคลหลายๆ แห่ง จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นการถือหุ้นอำพราง (นอมินี) นอกจากนี้ ในกรณีกรรมการผู้ถือหุ้นชาวไทยอีก 2 รายที่เหลือ คือ นายโสภณ มีชัย และ นายมานัส ศรีอนันท์ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างติดตามตัวเช่นเดียวกัน”
พ.ต.ต.ยุทธนา เผยต่อว่า ส่วนสัญญาที่บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมค้าและได้รับงานจากภาครัฐ ตั้งแต่ปี 2562-2567 จำนวน 29 สัญญา คณะพนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างการตรวจสอบเช่นเดียวกัน เพราะตอนนี้เรายังโฟกัสที่คดีนอมินีเป็นหลักก่อน
ขณะที่ น.ส.กนกไรวินท์ บุรินทร์นันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี กล่าวว่า จากการติดตามผู้ถือหุ้นชาวไทยทั้ง 3 ราย นายประจวบ นายโสภณ และนายมานัส ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ทั้ง 3 รายได้มาเป็นผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้ง ตั้งแต่มีการก่อตั้งนิติบุคคลเกิดขึ้น โดยกรณีของ นายมานัส ในช่วงแรกของการก่อตั้งนิติบุคคล เคยถือหุ้นถึง 360,000 หุ้น แต่ได้โอนหุ้นไปให้นายโสภณ ทำให้เหลือหุ้นเพียง 0.0003 โดยดีเอสไออยู่ระหว่างติดตามว่าการโอนหุ้นระหว่างสองคนนี้ เป็นการซื้อขายหุ้นแท้จริงหรือไม่ ประกอบกับบุคคลทั้งสามที่เป็นผู้ถือหุ้น เท่าที่ทราบในตอนนี้ยังไม่เคยประกอบอาชีพในเรื่องของการรับเหมาก่อสร้างมาก่อน แล้วเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งยังรับงานภาครัฐ รวมไปถึงนายโสภณ ยังเข้าไปเป็นผู้บริหารงานร่วมกับชาวจีนอีกหนึ่งราย ซึ่งตอนนี้ดีเอสไออยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ข้างต้น
DSI พบคนไทยเป็น “นอมินี” รายได้หลักหมื่น แต่ถือหุ้น บ.ไชน่า เรลเวย์ และบริษัทอื่นหลายแห่ง
https://mgronline.com/crime/detail/9680000032242
วันนี้ (4 เม.ย.) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคดี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ตามความผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (นอมินี) กรณีอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เป็นคดีพิเศษที่ 32/2568 โดยมี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีดีเอสไอ, พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค, พ.ต.ท.อมร หงษ์ศรีทอง ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งสิ้น 36 ราย ร่วมประชุม
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ เผยว่า นอกจากความผิดคดีนอมินีรับเป็นคดีพิเศษ ก็ยังมีความผิดอื่นพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) ซึ่งจะต้องดูว่าในส่วนคนไทยที่ไปถือหุ้นนั้น ต้องพิสูจน์ว่าเป็นการถือหุ้นโดยอำพรางหรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้น พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้มีการไปตรวจสอบยังบ้านพักของ นายประจวบ ศิริเขตร (ผู้ถือหุ้น 10.20% หรือ 102,000 หุ้น ในบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) ที่ อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด แต่ไม่พบตัว เจอเพียงภรรยา ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า นายประจวบมีรายได้น้อยมาก ทำงานรับจ้างเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้เงินเดือนประมาณหมื่นกว่าบาทเท่านั้น
“อีกทั้ง นายประจวบ กลับมาถึงบ้านก็ไม่ได้พูดคุยถึงเรื่องตึก สตง. ถล่มให้ฟังว่าเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร ก่อนออกจากบ้านไปแล้ว 2-3 วันก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้แจ้งภรรยาว่าออกไปที่ไหนอย่างไร ซึ่งดูแนวโน้มเบื้องต้น มันไม่สอดคล้องกับการที่เขาไปถือหุ้นในนิติบุคคลหลายๆ แห่ง จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นการถือหุ้นอำพราง (นอมินี) นอกจากนี้ ในกรณีกรรมการผู้ถือหุ้นชาวไทยอีก 2 รายที่เหลือ คือ นายโสภณ มีชัย และ นายมานัส ศรีอนันท์ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างติดตามตัวเช่นเดียวกัน”
พ.ต.ต.ยุทธนา เผยต่อว่า ส่วนสัญญาที่บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมค้าและได้รับงานจากภาครัฐ ตั้งแต่ปี 2562-2567 จำนวน 29 สัญญา คณะพนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างการตรวจสอบเช่นเดียวกัน เพราะตอนนี้เรายังโฟกัสที่คดีนอมินีเป็นหลักก่อน
ขณะที่ น.ส.กนกไรวินท์ บุรินทร์นันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี กล่าวว่า จากการติดตามผู้ถือหุ้นชาวไทยทั้ง 3 ราย นายประจวบ นายโสภณ และนายมานัส ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ทั้ง 3 รายได้มาเป็นผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้ง ตั้งแต่มีการก่อตั้งนิติบุคคลเกิดขึ้น โดยกรณีของ นายมานัส ในช่วงแรกของการก่อตั้งนิติบุคคล เคยถือหุ้นถึง 360,000 หุ้น แต่ได้โอนหุ้นไปให้นายโสภณ ทำให้เหลือหุ้นเพียง 0.0003 โดยดีเอสไออยู่ระหว่างติดตามว่าการโอนหุ้นระหว่างสองคนนี้ เป็นการซื้อขายหุ้นแท้จริงหรือไม่ ประกอบกับบุคคลทั้งสามที่เป็นผู้ถือหุ้น เท่าที่ทราบในตอนนี้ยังไม่เคยประกอบอาชีพในเรื่องของการรับเหมาก่อสร้างมาก่อน แล้วเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งยังรับงานภาครัฐ รวมไปถึงนายโสภณ ยังเข้าไปเป็นผู้บริหารงานร่วมกับชาวจีนอีกหนึ่งราย ซึ่งตอนนี้ดีเอสไออยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ข้างต้น