ประกันชีวิตแบบไหนดี? วิธีเลือกซื้อประกันชีวิตให้ได้สิทธิประโยชน์สูงสุด

การเจ็บป่วยและความตายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ไม่รู้ว่าทุกคนจะคิดแบบคุณน้ามั้ย? แต่สำหรับคุณน้า เรื่องเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ทำให้เราได้ลิ้มรสว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจริง ๆ ค่ะ และช่วงที่เราเจ็บป่วยนี้เองที่ทำให้เราเห็นคุณค่าของการทำประกันขึ้นมาบ้าง ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ประกันที่เหมาะกับเรานั้นเป็นแบบไหน?


ประกันภัย คืออะไร?
ประกันภัย คือ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงชนิดหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งผู้เอาประกันจะทำธุรกรรมไว้กับบริษัทประกันเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา

ประกันภัย มีกี่ประเภท?
1. ประกันภัยบุคคล (Insurance of the Person) : เป็นการทำประกันภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวบุคคล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพ

2. ประกันภัยที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน (Property Insurance) : เป็นการทำประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับความเสียหายของทรัพย์สินและให้การคุ้มครองสินทรัพย์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง, ประกันภัยรถยนต์, ประกันภัยทางอัคคีภัย และประกันภัยเบ็ดเตล็ด

3. ประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Insurance) : เป็นประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่เกิดจากความประมาทของผู้เอาประกัน ซึ่งทำให้คนอื่นบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประกันภัยความรับผิดชอบวิชาชีพ, ประกันภัยความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ และประกันภัยความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

ประกันชีวิต คืออะไร?
ประกันชีวิต หรือ Life Insurance คือ ประกันชนิดหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับชีวิต กล่าวคือ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตจากเหตุที่ระบุไว้ตามกรมธรรม์ บริษัทประกันจะมีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาที่ระบุไว้ ซึ่งประกันชีวิตจะมี 4 ประเภท ดังนี้

1. ประกันชีวิตตลอดชีพ : เป็นประกันชีวิตที่เน้นให้การคุ้มครองในระยะยาว ซึ่งประกันลักษณะนี้จะให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต


2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา : เป็นประกันที่เน้นให้ความคุ้มครองในระยะสั้น โดยประกันชีวิตลักษณะนี้จะให้ความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาให้ความคุ้มครอง แล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ก็จะถือว่ากรมธรรม์ฉบับนี้สิ้นสุดลงและผู้เอาประกันจะไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ

3. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ : เป็นประกันภัยที่เป็นส่วนผสมระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์

4. ประกันบำนาญ หรือประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ : เป็นประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันในจำนวนเงินเท่า ๆ กันในทุกปี เมื่อผู้เอาประกันเกษียณอายุหรือครบอายุครบตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา


" จากที่กล่าวไปจะเห็นว่า ประกันมีหลายประเภท แล้วอย่างนี้ เราควรเลือกซื้อประกันอย่างไรดีให้ได้สิทธิประโยชน์สูงสุด คุณน้ามองว่า เราต้องว่าแผนด้วยการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้ชีวิตของตนเองค่ะ "

1. ศึกษาประกันแต่ละประเภทอย่างละเอียด


2. พิจารณาอายุ
อายุ เป็นสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกประกันเป็นลำดับแรก ๆ เพราะอายุที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อเบี้ยประกันและตัวเลือกแผนประกันที่แตกต่างกัน อีกทั้ง อายุยังใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาภาระต่าง ๆ ได้ เพราะคนที่อายุยังน้อยส่วนมากจะไม่ค่อยมีภาระมากนัก ขณะที่อายุมากขึ้นจะเริ่มมีภาระต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน

3. พิจารณาความเสี่ยง
- ความเสี่ยงด้านสุขภาพ
- ความเสี่ยงด้านรายได้ 
- ความเสี่ยงด้านความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน

4. พิจารณาความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์
ประกันชีวิตแน่นอนว่าย่อมให้ความคุ้มครองชีวิต แต่อย่างไรก็ดี บริษัทประกันในปัจจุบันได้ออกแบบแผนประกันมาอย่างมากมายหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ประกันชีวิตควบการลงทุน และประกันชีวิตควบประกันสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรเลือกแผนประกันที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด แต่หากคุณมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ประกันชีวิตควบประกันสุขภาพก็ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรพิจารณาความเสี่ยงของตนเองให้รอบด้าน

สรุป
ประกันชีวิตถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารความเสี่ยง เพราะหากผู้เอาประกันเสียชีวิต ภาระต่าง ๆ จะไม่ไปหนักคนในครอบครัวค่ะ อย่างไรก็ดี แผนประกันจะส่งผลต่อความคุ้มครองและเงินทุนประกันด้วย  ดังนั้น เราจึงควรเลือกแผนประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ของตนเองให้ได้มากที่สุดค่ะ

"อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คน มีความคิดเห็นอย่างไรในการเลือกซื้อประกันให้คุ้มครองและคุ้มค่าที่สุดไหมคะ เผื่อยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่แน่ใจว่า ประกันที่เราถืออยู่ในมือนั้นดีแล้วจริงไหม? มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันค่ะ"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่