ช่วงนี้ เริ่มปิดเทอมแล้ว อากาศก้ร้อนอบอ้าว เด็กๆก็ชอบที่จะไปเล่นน้ำกัน แล้วข่าวเศร้าๆก็จะเกิดตามมาตลอด ว่าเด็กจมน้ำเสียชีวิต
วันนี้นั่งดูข่าวตอนเช้า ก็เห็นมีอย่างน้อย 2 ข่าว แล้ว ว่าเด็กเล่นน้ำ จมเสียชีวิต ไป 2 ศพ ซึ่งน่าสงสารมากๆ
ขอนำบทความของหมอจากกระทรวงสาธารณสุขมาฝากครับ
วันที่ 15 มีนาคม 2568 นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายโรงเรียนกำลังเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียน
"ปิดเทอม 2568" ซึ่งทำให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น ประกอบกับ
อากาศร้อน ทำให้เด็กออกไป
เล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่มีผู้ดูแล อาจนำไปสู่การเกิด
อุบัติเหตุทางน้ำ เช่น การลื่นตกน้ำ การจมน้ำ หรือเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ จากข้อมูลกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2567 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมถึง 173 คน หรือเฉลี่ยเกือบ 2 คนต่อวัน เฉพาะเดือนมีนาคมมีการจมน้ำมากที่สุด 70 คน รองลงมาคือเดือนเมษายน 58 คน และเดือนพฤษภาคม 45 คน
สำหรับ ข้อมูลการเสียชีวิตจากกรณี "เด็กจมน้ำ" พบว่า
กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี เสียชีวิตมากที่สุด ร้อยละ 39.3
อายุ 5 - 9 ปี ร้อยละ 32.4 และ
อายุ 0 - 4 ปี ร้อยละ 28.3
เพศชาย จมน้ำสูงกว่า เพศหญิง ถึง 2.8 เท่าตัว
จังหวัดที่มีการเสียชีวิตสูงที่สุด คือ
นครราชสีมา 13 คน
ปัตตานี 9 คน
ศรีสะเกษ และ อุดรธานี จังหวัดละ 8 คน
จากข้อมูลระบบรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการ ตกน้ำ จมน้ำ (Drowning Report) ของกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ปี 2567 พบว่า แหล่งน้ำที่พบเด็กจมน้ำมากที่สุด ได้แก่
.แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น บ่อขุด สระน้ำ คลอง แม่น้ำ ร้อยละ 72.3
.เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ร้อยละ 10.9 และสระว่ายน้ำ สวนน้ำ ร้อยละ 5.8
.สาเหตุเกิดจากการไปเล่นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 72.3 รองลงมาคือ พลัดตกลื่น ร้อยละ 14.9
นายอนุกูล กล่าวต่อว่า รัฐบาลห่วงใยต่อปัญหาการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กไทย ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุจากการจมน้ำ เพื่อให้เด็กๆ ได้ใช้ช่วงเวลาปิดเทอมอย่างปลอดภัยที่สุด แนะนำผู้ปกครองควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด สำหรับกลุ่มเด็กโต ควรสอนให้เด็กรู้กฎความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่เล่นใกล้แหล่งน้ำ ไม่เล่นน้ำคนเดียว ไม่เล่นน้ำกันเองโดยไม่มีผู้ใหญ่ไปด้วย ไม่แกล้งจมน้ำ รู้จักประเมินแหล่งน้ำเสี่ยง ใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งและตลอดเวลาที่ทำกิจกรรมทางน้ำหรือนั่งเรือ และหากพบเห็นคนตกน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ ควรใช้มาตรการ "ตะโกน โยน ยื่น" ในส่วนของชุมชนควรมีการเฝ้าระวังแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน ไม่ปล่อยให้เด็กลงไปเล่นน้ำ และมีการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงให้เกิดความปลอดภัย
สำหรับสถานที่ที่เปิดให้บริการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้
.ติดป้ายคำเตือน
.จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำบริเวณแหล่งน้ำ
.มีเสื้อชูชีพให้บริการและให้ใส่ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมทางน้ำ
.กำหนดบริเวณสำหรับเล่นน้ำแยกออกจากบริเวณสัญจรทางน้ำ
.มีเจ้าหน้าที่ lifeguard คอยดูแล
.การประชาสัมพันธ์ในการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
หมอเตือน ผู้ปกครองระวังเด็กจมน้ำช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ชวนบ้าน-ชุมชนเร่งจัดการแหล่งน้ำก่อนสูญเสีย
วันนี้นั่งดูข่าวตอนเช้า ก็เห็นมีอย่างน้อย 2 ข่าว แล้ว ว่าเด็กเล่นน้ำ จมเสียชีวิต ไป 2 ศพ ซึ่งน่าสงสารมากๆ
ขอนำบทความของหมอจากกระทรวงสาธารณสุขมาฝากครับ
วันที่ 15 มีนาคม 2568 นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายโรงเรียนกำลังเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียน "ปิดเทอม 2568" ซึ่งทำให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น ประกอบกับอากาศร้อน ทำให้เด็กออกไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่มีผู้ดูแล อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เช่น การลื่นตกน้ำ การจมน้ำ หรือเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ จากข้อมูลกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2567 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมถึง 173 คน หรือเฉลี่ยเกือบ 2 คนต่อวัน เฉพาะเดือนมีนาคมมีการจมน้ำมากที่สุด 70 คน รองลงมาคือเดือนเมษายน 58 คน และเดือนพฤษภาคม 45 คน