จับตา DSI พิจารณารับคดีพิเศษ 2 วาระใหญ่ โพยฮั้วสว.-สวมสิทธิ์ยางพาราไทยd
https://www.dailynews.co.th/news/4433081/
เปิด 2 วาระใหญ่ "สวมสิทธิ์ยางพาราไทย-โพยฮั้ว สว." ตีคู่เข้าบอร์ดดีเอสไอบ่ายครึ่งวันนี้ รับเป็นคดีพิเศษ ยอมรับมีขบวนการล็อบบี้สกัดเรื่องโพยฮั้วสว. ไม่ให้เป็นคดีพิเศษ แต่ดุลพินิจเป็นของคณะกรรมการฯ พิจารณาตามพยานหลักฐานที่คณะพนักงานสืบสวนนำเสนอ
จากกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นัดประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 2/2568 วันที่ 25 ก.พ. เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะกำกับหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นประธานกรรมการ ซึ่งการประชุมมีวาระสำคัญ คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 การร้องขอให้ตรวจสอบกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567 เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) หรือการเป็นคดีความผิดทางอาญาอื่น เหตุที่เสนอขอเป็นคดีพิเศษ เนื่องด้วยอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคดีพิเศษ
พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องนี้เป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (3) มาตรา 209 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 107 พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ตามที่มีการรายงานข่าวไปอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. “ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์” ได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวระดับสูง ว่า สำหรับวาระสำคัญบรรจุนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เพื่อรับเป็นคดีพิเศษในช่วงบ่ายวันนี้นั้น มี 2 วาระ คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 กรณี การคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่มีกระบวนการหรือพฤติการณ์ที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ซึ่งมีพฤติการณ์อันอาจเป็นความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และประมวลกฎหมายอาญา ส่วนอีกวาระ คือ เรื่องสืบสวนที่ 9/2568 กรณี การทุจริตสวมสิทธิ์ยางพาราไทย กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงของเกษตรกรไทย เพื่อขอมติเห็นชอบจากที่ประชุมในการรับดำเนินการไว้เป็นคดีพิเศษ ส่วนวาระอื่น คือ การแจ้งความคืบหน้าในคดีสำคัญซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย คดีหมอ
บุญ คดี
สตาร์ค และคดีดิไอคอน ภาค 2
แหล่งข่าว เผยต่อว่า สำหรับคดีฮั้ว สว. ทางคณะพนักงานสืบสวนเรื่องดังกล่าวจะมีการสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อแสดงข้อมูลข้อเท็จจริงให้กรรมการดูว่าเหตุใดจึงมีลักษณะที่จะรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนประเด็นที่สมาชิก สว. ตั้งข้อสงสัยว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ ใช้อำนาจใดในการเข้าไปดำเนินการดังกล่าว ต้องอธิบายว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้ามาดำเนินการในส่วนความผิดในอาญาอื่น ส่วนเรื่องอำนาจการยื่นการ
ถอดถอน การเพิกถอน การร้องขอใด ๆ จึงจะเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สังคมตั้งข้อสังเกตว่าในระหว่างที่ กกต. จะรับรองผลการเลือกสมาชิก สว. ในครั้งนั้น ได้มีขั้นตอนให้บุคคลได้เข้ายื่นร้องเรียนขอตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิก สว. ด้วยประการเคลือบแคลงสงสัย แต่ท้ายสุด กกต. ได้มีการประกาศรับรองผลการเลือกสมาชิก สว.ไปแล้วนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการที่บุคคลจะยื่นร้องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ในมาตรา 157 หรือไม่นั้น ตนให้ความเห็นว่าการรับรองดังกล่าวของ กกต. เป็นการรับรองตามกฎหมาย ซึ่งในตอนนั้น กกต. อาจยังไม่เจอเรื่องร้องเรียน
แหล่งข่าว เผยอีกว่า ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีบุคคลพยายามโทรศัพท์ล็อบบี้กรรมการในคณะกรรมการคดีพิเศษนั้น ยอมรับว่าเกิดขึ้นจริงตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อ แต่หลักการดำเนินการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก็เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ เเม้จะพยายามล็อบบี้อย่างไร คณะกรรมการฯ ก็ต้องพินิจจากพยานหลักฐานที่พนักงานสืบสวนจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุม ว่ามีรายละเอียดประกอบข้อเท็จจริงที่ตรงตามเงื่อนไขข้อกฎหมายอย่างไร ส่งผลกระทบเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ไม่อยากให้เป็นข้อวิตกมากนัก เพราะท้ายสุด กกต. สามารถเรียกเอาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งไปพิจารณาเองได้ตามกฎหมายของ กกต. ดังนั้น กกต. อาจจะรับไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส่วนหากดีเอสไอเห็นประเด็นคำร้องที่ผู้เสียหายได้ร้องในคดีอาญา เห็นการกระทำผิดในคดีอาญา ก็เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะตรวจสอบรายบุคคลที่กระทำผิด แค่ไม่ไปก้าวล่วงเรื่องของการเลือกตั้ง
แหล่งข่าว เผยด้วยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงกระทบต่อประเทศชาติ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการนิติบัญญัติ และสถานการณ์ประชาชนจะขาดความน่าเชื่อถือเพราะถ้าต่อไปสามารถฮั้วได้หมดก็จะเกิดการฮั้ว นอกจากนี้ กรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสมาชิก สว. จำนวน 138 รายที่ตรงกับโพยฮั้ว อยู่ในสังกัดค่ายสีน้ำเงินนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นจริง และถ้าหากบอร์ด กคพ. รับคดีฮั้ว สว. เป็นคดีพิเศษแล้วนั้น คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่แต่งตั้งขึ้นก็จะมีอำนาจในการเรียกสอบสวนปากคำพยานบุคคลในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยปรากฏในภาพถ่าย หรือข้องเกี่ยวในประเด็นใดที่มีบุคคลอื่นอ้างถึง ก็จะต้องมาให้ปากคำในฐานะพยานกับดีเอสไอ โดยจะเน้นการสอบสวนในคดีอาญาตามที่มีพยานหลักฐานชัดเจน ก่อนขยายผลต่อเนื่องไปจนกว่าจะเจอการกระทำความผิด ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ดีเอสไอมีหน้าที่ทำการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากคณะพนักงานสืบสวนได้มีการสอบปากคำพยานบุคคลไว้ก่อนแล้ว มีเส้นทางพยานหลักฐานการเงิน มีพยานเรื่องโพย คลิปวิดีโอก็มีแล้ว เรียกได้ว่ามีข้อมูลพอสมควร จึงต้องตั้งเป้าที่คดีอาญาไม่ใช่คดีการเลือกตั้ง
“
บางคนอาจมีรายชื่อปรากฏในโพย แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องในขั้นตอนอื่น หรือแม้เป็นผู้ที่เลือกตามโพย แต่ท้ายสุดมารู้ตัวว่าแบบนั้นเป็นการบล็อกโหวตตัวเอง ทั้งที่ควรจะได้รับเลือกโหวตแต่กลับกลายเป็นสถานะโหวตเตอร์อย่างเดียว เพราะมารู้ตัวทีหลัง แบบนี้ก็ถือว่ามิได้มีการสมคบตั้งแต่ต้น เพราะเห็นความไม่ถูกต้องความไม่ชอบมาพากล ก็จะถูกกันเป็นพยาน หรือแม้มีการรับเงินไปแล้ว โหวตตามโพยไปแล้ว แต่ได้เก็บพยานหลักฐานไว้เพื่อแจ้งการกระทำในลักษณะดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ ก็จะเป็นการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ไปขยายผลในเรื่องของเส้นทางการเงินว่าเชื่อมโยงไปถึงบุคคลใดบ้าง ซึ่งการสืบเสาะเส้นเงินจะทำให้เจ้าหน้าที่เห็นร่องรอยหลักฐานการเงินว่ามาจากกลุ่มคนกลุ่มใด และใครคือเจ้าของเงินตัวจริง” แหล่งข่าว อธิบาย.
แหล่งข่าว เผยอีกว่า สำหรับคดีสวมสิทธิ์ยางพาราไทย คณะพนักงานสืบสวน กองกิจการอำนวยความยุติธรรม ได้แสวงหาพยานหลักฐานและรวบรวมข้อเท็จจริงจนพบแผนประทุษกรรมชัดเจน โดยเฉพาะพฤติการณ์ของผู้ร่วมขบวนการมีลักษณะเป็นกองทัพมด มีการนำเอายางพาราของประเทศเมียนมา ซึ่งมีราคาถูกมาใช้สวมสิทธิ์แทนยางพาราไทย และขายในราคาบาทไทย ในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี แต่ตามกฎหมายแล้ว ยางพาราถือเป็นสินค้าห้ามนำเข้า เพราะต้องใช้ยางพาราไทย ซึ่งการสวมสิทธิ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ประเทศไทยและเกษตรกรพี่น้องสวนยางพาราได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะราคาตลาดยางพาราไทย ขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ยางสวมสิทธิ์กลับขายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จึงต้องเสนอเป็นคดีพิเศษเพื่อรับไปดำเนินการสอบสวนหาผู้ร่วมขบวนการ และพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
อ.ธงทอง ไขที่มา คำว่า อั้งยี่ ในกม.ไทย ยกไอลอว์ชี้ ลักษณะแบบไหนเข้าเกณฑ์กระทำผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5064722
อ.ธงทอง ไขที่มา คำว่า อั้งยี่ ในกม.ไทย ยกไอลอว์ชี้ ลักษณะแบบไหนเข้าเกณฑ์กระทำผิด
อั้งยี่ – สืบเนื่องจาก สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง ได้เดินหน้าตอบโต้กรณีที่มีการยื่นให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ รับคดีฮั้วเลือกตั้งสว.ปี 2567 เป็นคดีพิเศษว่า จะให้ฝ่ายกฎหมาย รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการแจ้งความผู้ที่กล่าวหาทั้งภาครัฐและเอกชน ฐานทำให้วุฒิสภาเสียหาย ถูกเข้าใจผิด และในส่วนของกรรมาธิการวุฒิสภาจะเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงถึงอำนาจหน้าที่ และที่มาที่ไป ของการมากล่าวหาวุฒิสภาร้ายแรง “
เรื่องอั้งยี่ซ่องโจร” อาชญากรรมและภัยต่อความมั่นคง ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น
ในขณะที่การดำเนินการดำเนินไป คำว่า “
อั้งยี่ซ่องโจร” ก็ได้กลายเป็นที่สนใจถึงที่มาที่ไป และความหมายว่าเป็นมาอย่างไรกันแน่
กับเรื่องนี้ ศ.พิเศษ
ธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษานายกฯ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า
“คำว่า อั้งยี่ ถึงแม้ว่า แรกทีเดียว คำนี้จะมาจากภาษาจีนและหมายถึงการก่อตั้งสมาคมลับเพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่ผิดกฎหมาย แต่ต่อมาประมวลกฎหมายอาญาของไทยเรา ได้นำคำนี้มาใช้เป็นฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 และมีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ฟังดูชื่อฐานความผิดแล้วเหมือนหนังจีนหรือหนังกำลังภายในอย่างไรก็ไม่รู้
ข้อมูลต่อไปนี้ผมนำมามาจากเฟซบุ๊กของ ไอลอว์ อ่านดูแล้วเห็นว่าเข้าท่าจึงขออนุญาตนำมาแบ่งปันครับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๒๐๙ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
โดยมาตราดังกล่าว มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
ตามวรรคหนึ่ง
(1) ผู้ใด
(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
(3) ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย และต้องมีเจตนาที่จะเข้าร่วม และรู้ว่าเป็นการเข้าร่วมกับคณะบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
คำว่า คณะบุคคล นั้นทางกฎหมายให้ความหมายไว้ว่า การรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันและการรวมตัวกันนั้นจะต้องรวมตัวกันในลักษณะถาวร
ปกปิดวิธีดำเนินการ หมายถึง รู้กันในหมู่สมาชิกไม่เปิดเผยแก่บุคคลอื่น เช่น ใช้นิ้วแสดงเป็นเครื่องหมายลับ (คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2457) หรือแสดงเครื่องหมายสมาคม (คำพิพากษาฎีกาที่ 301-303/2470) โดยรู้กันในหมู่สมาชิกเท่านั้น
มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำกัดไว้ว่าต้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น อาจเป็นละเมิดกฎหมาย หรือความผิดทางแพ่งก็ได้ (ความเห็น ศ.จิตติ ติงศภัทิย์) ซึ่งตีความได้กว้างขวางมาก และมาตรานี้ มุ่งหมายเอาผิดการ “เข้าเป็นสมาชิก” เท่านั้น
ดังนั้นเพียงเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลเท่านั้นก็เป็นความผิดสำเร็จทันทีโดยยังไม่จำต้องทำอะไรที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคณะบุคคลนั้นยังไม่ต้องลงมือทำอะไร ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว
ในวรรคสองนั้น เป็นเหตุเพิ่มโทษ หากผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นตำแหน่งตามกฎหมายระบุไว้ก็จะได้รับโทษเพิ่ม”
โดยภายหลักจากที่โพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีสมาชิกสังคมออนไลน์เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง
JJNY : จับตา DSI พิจารณารับคดี│อ.ธงทอง ไขที่มา คำว่า อั้งยี่│เตือน 45 จังหวัดฝนถล่มหนัก│ผู้นำฝรั่งเศสแถลงหลังคุยทรัมป์
https://www.dailynews.co.th/news/4433081/
เปิด 2 วาระใหญ่ "สวมสิทธิ์ยางพาราไทย-โพยฮั้ว สว." ตีคู่เข้าบอร์ดดีเอสไอบ่ายครึ่งวันนี้ รับเป็นคดีพิเศษ ยอมรับมีขบวนการล็อบบี้สกัดเรื่องโพยฮั้วสว. ไม่ให้เป็นคดีพิเศษ แต่ดุลพินิจเป็นของคณะกรรมการฯ พิจารณาตามพยานหลักฐานที่คณะพนักงานสืบสวนนำเสนอ
จากกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นัดประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 2/2568 วันที่ 25 ก.พ. เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะกำกับหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นประธานกรรมการ ซึ่งการประชุมมีวาระสำคัญ คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 การร้องขอให้ตรวจสอบกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567 เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) หรือการเป็นคดีความผิดทางอาญาอื่น เหตุที่เสนอขอเป็นคดีพิเศษ เนื่องด้วยอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคดีพิเศษ
พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องนี้เป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (3) มาตรา 209 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 107 พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ตามที่มีการรายงานข่าวไปอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. “ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์” ได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวระดับสูง ว่า สำหรับวาระสำคัญบรรจุนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เพื่อรับเป็นคดีพิเศษในช่วงบ่ายวันนี้นั้น มี 2 วาระ คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 กรณี การคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่มีกระบวนการหรือพฤติการณ์ที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ซึ่งมีพฤติการณ์อันอาจเป็นความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และประมวลกฎหมายอาญา ส่วนอีกวาระ คือ เรื่องสืบสวนที่ 9/2568 กรณี การทุจริตสวมสิทธิ์ยางพาราไทย กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงของเกษตรกรไทย เพื่อขอมติเห็นชอบจากที่ประชุมในการรับดำเนินการไว้เป็นคดีพิเศษ ส่วนวาระอื่น คือ การแจ้งความคืบหน้าในคดีสำคัญซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย คดีหมอบุญ คดีสตาร์ค และคดีดิไอคอน ภาค 2
แหล่งข่าว เผยต่อว่า สำหรับคดีฮั้ว สว. ทางคณะพนักงานสืบสวนเรื่องดังกล่าวจะมีการสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อแสดงข้อมูลข้อเท็จจริงให้กรรมการดูว่าเหตุใดจึงมีลักษณะที่จะรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนประเด็นที่สมาชิก สว. ตั้งข้อสงสัยว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ ใช้อำนาจใดในการเข้าไปดำเนินการดังกล่าว ต้องอธิบายว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้ามาดำเนินการในส่วนความผิดในอาญาอื่น ส่วนเรื่องอำนาจการยื่นการ
ถอดถอน การเพิกถอน การร้องขอใด ๆ จึงจะเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สังคมตั้งข้อสังเกตว่าในระหว่างที่ กกต. จะรับรองผลการเลือกสมาชิก สว. ในครั้งนั้น ได้มีขั้นตอนให้บุคคลได้เข้ายื่นร้องเรียนขอตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิก สว. ด้วยประการเคลือบแคลงสงสัย แต่ท้ายสุด กกต. ได้มีการประกาศรับรองผลการเลือกสมาชิก สว.ไปแล้วนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการที่บุคคลจะยื่นร้องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ในมาตรา 157 หรือไม่นั้น ตนให้ความเห็นว่าการรับรองดังกล่าวของ กกต. เป็นการรับรองตามกฎหมาย ซึ่งในตอนนั้น กกต. อาจยังไม่เจอเรื่องร้องเรียน
แหล่งข่าว เผยอีกว่า ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีบุคคลพยายามโทรศัพท์ล็อบบี้กรรมการในคณะกรรมการคดีพิเศษนั้น ยอมรับว่าเกิดขึ้นจริงตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อ แต่หลักการดำเนินการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก็เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ เเม้จะพยายามล็อบบี้อย่างไร คณะกรรมการฯ ก็ต้องพินิจจากพยานหลักฐานที่พนักงานสืบสวนจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุม ว่ามีรายละเอียดประกอบข้อเท็จจริงที่ตรงตามเงื่อนไขข้อกฎหมายอย่างไร ส่งผลกระทบเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ไม่อยากให้เป็นข้อวิตกมากนัก เพราะท้ายสุด กกต. สามารถเรียกเอาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งไปพิจารณาเองได้ตามกฎหมายของ กกต. ดังนั้น กกต. อาจจะรับไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส่วนหากดีเอสไอเห็นประเด็นคำร้องที่ผู้เสียหายได้ร้องในคดีอาญา เห็นการกระทำผิดในคดีอาญา ก็เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะตรวจสอบรายบุคคลที่กระทำผิด แค่ไม่ไปก้าวล่วงเรื่องของการเลือกตั้ง
แหล่งข่าว เผยด้วยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงกระทบต่อประเทศชาติ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการนิติบัญญัติ และสถานการณ์ประชาชนจะขาดความน่าเชื่อถือเพราะถ้าต่อไปสามารถฮั้วได้หมดก็จะเกิดการฮั้ว นอกจากนี้ กรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสมาชิก สว. จำนวน 138 รายที่ตรงกับโพยฮั้ว อยู่ในสังกัดค่ายสีน้ำเงินนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นจริง และถ้าหากบอร์ด กคพ. รับคดีฮั้ว สว. เป็นคดีพิเศษแล้วนั้น คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่แต่งตั้งขึ้นก็จะมีอำนาจในการเรียกสอบสวนปากคำพยานบุคคลในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยปรากฏในภาพถ่าย หรือข้องเกี่ยวในประเด็นใดที่มีบุคคลอื่นอ้างถึง ก็จะต้องมาให้ปากคำในฐานะพยานกับดีเอสไอ โดยจะเน้นการสอบสวนในคดีอาญาตามที่มีพยานหลักฐานชัดเจน ก่อนขยายผลต่อเนื่องไปจนกว่าจะเจอการกระทำความผิด ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ดีเอสไอมีหน้าที่ทำการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากคณะพนักงานสืบสวนได้มีการสอบปากคำพยานบุคคลไว้ก่อนแล้ว มีเส้นทางพยานหลักฐานการเงิน มีพยานเรื่องโพย คลิปวิดีโอก็มีแล้ว เรียกได้ว่ามีข้อมูลพอสมควร จึงต้องตั้งเป้าที่คดีอาญาไม่ใช่คดีการเลือกตั้ง
“บางคนอาจมีรายชื่อปรากฏในโพย แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องในขั้นตอนอื่น หรือแม้เป็นผู้ที่เลือกตามโพย แต่ท้ายสุดมารู้ตัวว่าแบบนั้นเป็นการบล็อกโหวตตัวเอง ทั้งที่ควรจะได้รับเลือกโหวตแต่กลับกลายเป็นสถานะโหวตเตอร์อย่างเดียว เพราะมารู้ตัวทีหลัง แบบนี้ก็ถือว่ามิได้มีการสมคบตั้งแต่ต้น เพราะเห็นความไม่ถูกต้องความไม่ชอบมาพากล ก็จะถูกกันเป็นพยาน หรือแม้มีการรับเงินไปแล้ว โหวตตามโพยไปแล้ว แต่ได้เก็บพยานหลักฐานไว้เพื่อแจ้งการกระทำในลักษณะดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ ก็จะเป็นการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ไปขยายผลในเรื่องของเส้นทางการเงินว่าเชื่อมโยงไปถึงบุคคลใดบ้าง ซึ่งการสืบเสาะเส้นเงินจะทำให้เจ้าหน้าที่เห็นร่องรอยหลักฐานการเงินว่ามาจากกลุ่มคนกลุ่มใด และใครคือเจ้าของเงินตัวจริง” แหล่งข่าว อธิบาย.
แหล่งข่าว เผยอีกว่า สำหรับคดีสวมสิทธิ์ยางพาราไทย คณะพนักงานสืบสวน กองกิจการอำนวยความยุติธรรม ได้แสวงหาพยานหลักฐานและรวบรวมข้อเท็จจริงจนพบแผนประทุษกรรมชัดเจน โดยเฉพาะพฤติการณ์ของผู้ร่วมขบวนการมีลักษณะเป็นกองทัพมด มีการนำเอายางพาราของประเทศเมียนมา ซึ่งมีราคาถูกมาใช้สวมสิทธิ์แทนยางพาราไทย และขายในราคาบาทไทย ในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี แต่ตามกฎหมายแล้ว ยางพาราถือเป็นสินค้าห้ามนำเข้า เพราะต้องใช้ยางพาราไทย ซึ่งการสวมสิทธิ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ประเทศไทยและเกษตรกรพี่น้องสวนยางพาราได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะราคาตลาดยางพาราไทย ขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ยางสวมสิทธิ์กลับขายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จึงต้องเสนอเป็นคดีพิเศษเพื่อรับไปดำเนินการสอบสวนหาผู้ร่วมขบวนการ และพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
อ.ธงทอง ไขที่มา คำว่า อั้งยี่ ในกม.ไทย ยกไอลอว์ชี้ ลักษณะแบบไหนเข้าเกณฑ์กระทำผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5064722
อ.ธงทอง ไขที่มา คำว่า อั้งยี่ ในกม.ไทย ยกไอลอว์ชี้ ลักษณะแบบไหนเข้าเกณฑ์กระทำผิด
อั้งยี่ – สืบเนื่องจาก สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง ได้เดินหน้าตอบโต้กรณีที่มีการยื่นให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ รับคดีฮั้วเลือกตั้งสว.ปี 2567 เป็นคดีพิเศษว่า จะให้ฝ่ายกฎหมาย รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการแจ้งความผู้ที่กล่าวหาทั้งภาครัฐและเอกชน ฐานทำให้วุฒิสภาเสียหาย ถูกเข้าใจผิด และในส่วนของกรรมาธิการวุฒิสภาจะเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงถึงอำนาจหน้าที่ และที่มาที่ไป ของการมากล่าวหาวุฒิสภาร้ายแรง “เรื่องอั้งยี่ซ่องโจร” อาชญากรรมและภัยต่อความมั่นคง ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น
ในขณะที่การดำเนินการดำเนินไป คำว่า “อั้งยี่ซ่องโจร” ก็ได้กลายเป็นที่สนใจถึงที่มาที่ไป และความหมายว่าเป็นมาอย่างไรกันแน่
กับเรื่องนี้ ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษานายกฯ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า
“คำว่า อั้งยี่ ถึงแม้ว่า แรกทีเดียว คำนี้จะมาจากภาษาจีนและหมายถึงการก่อตั้งสมาคมลับเพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่ผิดกฎหมาย แต่ต่อมาประมวลกฎหมายอาญาของไทยเรา ได้นำคำนี้มาใช้เป็นฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 และมีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ฟังดูชื่อฐานความผิดแล้วเหมือนหนังจีนหรือหนังกำลังภายในอย่างไรก็ไม่รู้
ข้อมูลต่อไปนี้ผมนำมามาจากเฟซบุ๊กของ ไอลอว์ อ่านดูแล้วเห็นว่าเข้าท่าจึงขออนุญาตนำมาแบ่งปันครับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๒๐๙ ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
โดยมาตราดังกล่าว มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
ตามวรรคหนึ่ง
(1) ผู้ใด
(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
(3) ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย และต้องมีเจตนาที่จะเข้าร่วม และรู้ว่าเป็นการเข้าร่วมกับคณะบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
คำว่า คณะบุคคล นั้นทางกฎหมายให้ความหมายไว้ว่า การรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันและการรวมตัวกันนั้นจะต้องรวมตัวกันในลักษณะถาวร
ปกปิดวิธีดำเนินการ หมายถึง รู้กันในหมู่สมาชิกไม่เปิดเผยแก่บุคคลอื่น เช่น ใช้นิ้วแสดงเป็นเครื่องหมายลับ (คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2457) หรือแสดงเครื่องหมายสมาคม (คำพิพากษาฎีกาที่ 301-303/2470) โดยรู้กันในหมู่สมาชิกเท่านั้น
มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำกัดไว้ว่าต้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น อาจเป็นละเมิดกฎหมาย หรือความผิดทางแพ่งก็ได้ (ความเห็น ศ.จิตติ ติงศภัทิย์) ซึ่งตีความได้กว้างขวางมาก และมาตรานี้ มุ่งหมายเอาผิดการ “เข้าเป็นสมาชิก” เท่านั้น
ดังนั้นเพียงเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลเท่านั้นก็เป็นความผิดสำเร็จทันทีโดยยังไม่จำต้องทำอะไรที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคณะบุคคลนั้นยังไม่ต้องลงมือทำอะไร ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว
ในวรรคสองนั้น เป็นเหตุเพิ่มโทษ หากผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นตำแหน่งตามกฎหมายระบุไว้ก็จะได้รับโทษเพิ่ม”
โดยภายหลักจากที่โพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีสมาชิกสังคมออนไลน์เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง