ใช้งบไม่เกิน 10% 
ปี 2567 ใช้ไป 3%นิดๆ
อนาคตของประกันสังคมจะเป็นอย่างไร? เมื่อการบริหารงบยังไม่พยายามลดค่าใช้จ่าย
Summary
หลังจากที่คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้จัดการประชุม ‘HACK งบประกันสังคม’ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่อาคารรัฐสภา โดยที่ประชุมเห็นว่าการจัดทำงบประมาณของสำนักงานประกันสังคมยังมีปัญหาในหลายประเด็น
รักชนก ศรีนอก สส. กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยต่อการใช้งบประมาณดังกล่าวที่ใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น การศึกษาดูงานในต่างประเทศที่นั่งเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส การใช้งบเพื่อสร้างแอปใหม่ 850 ล้านบาทหรืองบในการจัดทำปฏิทินปีละหลายสิบล้าน
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะออกมาชี้แจงในประเด็นต่างๆ แล้ว และยืนยันว่าการจัดทำงบประมาณดังกล่าวทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน แต่ผู้ประกันตนหลายคนก็ยังรู้สึกคลางแคลงใจต่อการใช้งบประมาณที่อาจมองได้ว่า ‘ฟุ่มเฟือย’
ไทยรัฐพลัสจึงรวบรวมข้อมูลการใช้งบประมาณของสำนักงานประกันสังคม เพื่อเปรียบเทียบการใช้งบประมาณตามสิทธิของผู้ประกันตนและงบประมาณการบริหารว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่?
ในทุกเดือนหลายคนต้องถูกหักเงินประกันสังคมออกจากเงินเดือนประมาณ 750 บาท ซึ่งทำให้ผู้มีเงินเดือนมีสิทธิรักษาพยาบาล ทำฟัน และสิทธิรับเงินช่วยเหลือต่างๆ ได้
แต่หลังจากที่คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้จัดการประชุม ‘HACK งบประกันสังคม’ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่อาคารรัฐสภา โดยที่ประชุมเห็นว่าการจัดทำงบประมาณของสำนักงานประกันสังคมยังมีปัญหาในหลายประเด็น ซึ่งรักชนก ศรีนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยต่อการใช้งบประมาณดังกล่าวที่ใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น การศึกษาดูงานในต่างประเทศที่นั่งเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส การใช้งบเพื่อสร้างแอปใหม่ 850 ล้านบาทหรืองบในการจัดทำปฏิทินปีละหลายสิบล้าน
ประเด็นนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมอย่างหนัก แม้ภายหลังทั้งพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทย, บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะออกมาชี้แจงในประเด็นต่างๆ แล้ว และยืนยันว่าการจัดทำงบประมาณดังกล่าวทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน
แต่ผู้ประกันตนหลายคนก็ยังรู้สึกคลางแคลงใจต่อการใช้งบประมาณที่อาจมองได้ว่า ‘ฟุ่มเฟือย’ ในขณะที่สิทธิต่างๆ ที่พวกเขาควรได้รับยังคงมีอย่างจำกัดและหลายคนยังไม่ทราบว่าพวกเขามีสิทธิอะไรบ้างด้วยซ้ำ
ไทยรัฐพลัสจึงรวบรวมข้อมูลการใช้งบประมาณของสำนักงานประกันสังคม เพื่อเปรียบเทียบการใช้งบประมาณตามสิทธิของผู้ประกันตนและงบประมาณการบริหารว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่?
งบผู้ประกันตนกับงบบริหารแบ่งสัดส่วนกันอย่างไร?
ปัจจุบันในข้อมูลปี 2567 มีผู้ประกันตนทั้งหมด 24.82 ล้านคน ในช่วง มกราคม – กันยายน 2567 กองทุนฯ มีรายรับรวม 235,306.09 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 146,589.99 ล้านบาท จำแนกเป็น
- เงินทดแทน (ค่ารักษาพยาบาล เงินสมทบ และอื่นๆ) จำนวน 97,019.47 ล้านบาท (66.18% ของค่าใช้จ่าย)
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน จำนวน 5,288.95 ล้านบาท (3.61% ของค่าใช้จ่าย)
- ค่าใช้จ่ายอื่น จำนวน 44,281.56 ล้านบาท (30.21% ของค่าใช้จ่าย)
โดยตามเอกสารผลเบิกจ่ายเงินกองทุนเพื่อบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 ณ 31 ตุลาคม 2567 ระบุว่ามีการเบิกจ่ายและผลผูกพันทั้งหมดรวม 4,180 ล้านบาท และ คงเหลืองบประมาณ 1,122 ล้านบาทจากงบที่ถูกจัดสรรให้ประมาณ 5,288.95 ล้านบาท
ซึ่งตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2553 ระบุให้จัดสรรงบแต่ละปีไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินสมทบประจำปี โดยมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงในเพจสำนักประกันสังคมว่าที่ผ่านมา สปส. ได้รับการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการบริหารงานไม่เกินปีละ 3 เปอร์เซ็นต์
แต่จะสังเกตเห็นว่าค่าใช้จ่ายของการบริหารมีส่วนต่างมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อย และหากตามกฎหมายกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าอาจมีการเพิ่มการใช้งบในส่วนบริหารมากกว่านี้ได้ในอนาคต
แม้งบส่วนบริหารจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ดูเป็นเพียงเล็กน้อยของเงินประกันสังคมและถือว่าประหยัดการใช้งบในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อย่างเงินทดแทนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในทุกปี หรือเกือบแสนล้านต่อปี งบประมาณการบริหารที่มีมากถึงระดับพันล้านก็ยังต้องพิจารณาการใช้งบทุกบาททุกสตางค์อย่างคุ้มค่าและวัดผลได้จริง
ปัจจุบันสถานะทางการเงินของ สปส. มีรายได้และค่าใช้จ่ายที่มากพอๆ กัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มเบี้ยประกันสังคมมากขึ้น เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่ไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นและอาจมีแรงงานน้อยลง
แต่ด้วยข้อคัดค้านมากมายทั้งสภาพเศรษฐกิจและรายได้ที่ยังไม่เพิ่มขึ้น การปรับอัตราเบี้ยนี้จึงยังต้องศึกษาผลกระทบต่างๆ อีกมากและต้องแก้ไขทั้งระบบ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน สปส. จึงต้องมีการบริหารจัดการงบประมาณที่โปร่งใสและชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะมาตรการ ‘ลดค่าใช้จ่าย’
สำนักงานประกันสังคมจะลดค่าใช้จ่ายอย่างไร?
การลดค่าใช้จ่ายเป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ หลายคนมองว่างบประมาณบริหารหลักพันล้านเหล่านั้นมีบางรายการที่สามารถตัดได้และไม่มีความจำเป็น แต่ความเป็นจริงผู้ที่จะมีส่วนตัดสินใจในกระบวนการสำคัญเหล่านั้นได้คือ ‘คณะกรรมการประกันสังคม’ หรือ ‘บอร์ดประกันสังคม’ ที่มีทั้งกรรมการที่มาจากการแต่งตั้งและกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งทั้งฝั่งนายจ้างและผู้ประกันตน
โดยกรรมการจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในรัฐบาลสมัยที่แล้วเป็นแพทย์ ทั้งหมด 16 คน ในขณะที่มีกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งทั้งฝั่งนายจ้างและผู้ประกันตนมีเพียง 14 คน บอร์ดแพทย์นี้จึงมีอำนาจตัดสินใจในการบริหาร สปส. เป็นส่วนใหญ่ และมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการบริหารงบประมาณ
แต่หลังจากมีการเปิดเผยว่าคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ สปส. ใช้งบประมาณเพื่อไปดูงานที่ต่างประเทศหลายสิบล้านทุกปี ทำให้หลายคนมองว่าการใช้งบประมาณเหล่านี้อาจไม่คุ้มค่าและถูกตั้งคำถามถึงผลงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เช่น ในช่วงปี 2567 เคยมีกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งว่าโรงพยาบาลเอกชนร่วมลงชื่อกันกว่า 70 แห่งเพื่อถอนตัวออกจากโรงพยาบาลคู่สัญญา สปส. ในปี 2568 หาก สปส.ไม่เพิ่มงบค่ารักษาผู้ประกันตน
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน อธิบายว่า เนื่องจากอัตราค่าบริการในบางรายการไม่ได้ปรับเพิ่มมานาน ในขณะที่อัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเท่าเดิม จากการหารือร่วมกับสปส. ได้กำหนดให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องอัตราการจ่ายเงินในเรื่องกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group : DRG) เพื่อหาทางออกเรื่องนี้
“ปัญหาหลักคือการพิจารณาสัดส่วนค่าดีอาร์จี ในอดีตจ่ายประมาณ 12,800 บาท แต่พอมาถึงปี 2565 เดือนสุดท้ายจ่ายเหลือแค่หมื่นเดียว พอมาปี 2566 จ่ายแค่ 7,200 บาท ตรงนี้เหตุผล เพราะเขาไม่ได้ปรับอัตราการรักษาโรคซับซ้อนในกลุ่ม DRGs มา 5 ปี แล้ว แต่อัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเท่าเดิม ทำให้อัตราต่อหน่วยลดลง นี่คือสิ่งที่ต้องแก้ เพราะอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี” นพ.เฉลิม กล่าว
ภายหลังประเด็นนี้ถูกนำเข้าไปในคณะอนุกรรมการและได้รับการเห็นชอบจากบอร์ดประกันสังคมแล้ว ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการจัดการงบประมาณที่ยังไม่เหมาะสมและล้าช้า
นอกจากนี้อัตราการบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีหรือเงินที่ผู้ประกันตนควรได่รับในอนาคตอย่างเงินบำนาญอาจต้องมีการจัดสรรงบเพื่อรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อลองคิดว่างบจะถูกนำไปใช้เพื่อพิมพ์ปฏิทิน 70 ล้านบาท หรือการศึกษาดูงานต่างประเทศด้วยงบหลายสิบล้านบาทต่อปีก็อาจทำให้ผู้ประกันตนหลายคนตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการใช้งบประมาณที่มาจากเงินเดือนของแรงงานทุกคน แม้การเบิกจ่ายงบเหล่านั้นจะทำอย่างถูกต้องตามระเบียบแล้วก็ตาม
การเลือกใช้งบเพื่อการบริหารในส่วนที่จำเป็นมากกว่าอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ สปส.จะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงในอนาคตได้
Cr.
https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/105202
เอกสารผลเบิกจ่ายเงินกองทุนเพื่อบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 ณ 31 ตุลาคม 2567
https://drive.google.com/drive/folders/1HKwO17vlV8v1Rb1OJ91WTmtZB6th8PIk
มาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2553 ระบุให้จัดสรรงบแต่ละปีไม่เกิน 10% ของเงินสมทบประจำปี
อนาคตของประกันสังคมจะเป็นอย่างไร? เมื่อการบริหารงบยังไม่พยายามลดค่าใช้จ่าย
Summary
หลังจากที่คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้จัดการประชุม ‘HACK งบประกันสังคม’ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่อาคารรัฐสภา โดยที่ประชุมเห็นว่าการจัดทำงบประมาณของสำนักงานประกันสังคมยังมีปัญหาในหลายประเด็น
รักชนก ศรีนอก สส. กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยต่อการใช้งบประมาณดังกล่าวที่ใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น การศึกษาดูงานในต่างประเทศที่นั่งเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส การใช้งบเพื่อสร้างแอปใหม่ 850 ล้านบาทหรืองบในการจัดทำปฏิทินปีละหลายสิบล้าน
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะออกมาชี้แจงในประเด็นต่างๆ แล้ว และยืนยันว่าการจัดทำงบประมาณดังกล่าวทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน แต่ผู้ประกันตนหลายคนก็ยังรู้สึกคลางแคลงใจต่อการใช้งบประมาณที่อาจมองได้ว่า ‘ฟุ่มเฟือย’
ไทยรัฐพลัสจึงรวบรวมข้อมูลการใช้งบประมาณของสำนักงานประกันสังคม เพื่อเปรียบเทียบการใช้งบประมาณตามสิทธิของผู้ประกันตนและงบประมาณการบริหารว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่?
ในทุกเดือนหลายคนต้องถูกหักเงินประกันสังคมออกจากเงินเดือนประมาณ 750 บาท ซึ่งทำให้ผู้มีเงินเดือนมีสิทธิรักษาพยาบาล ทำฟัน และสิทธิรับเงินช่วยเหลือต่างๆ ได้
แต่หลังจากที่คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ได้จัดการประชุม ‘HACK งบประกันสังคม’ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่อาคารรัฐสภา โดยที่ประชุมเห็นว่าการจัดทำงบประมาณของสำนักงานประกันสังคมยังมีปัญหาในหลายประเด็น ซึ่งรักชนก ศรีนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยต่อการใช้งบประมาณดังกล่าวที่ใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น การศึกษาดูงานในต่างประเทศที่นั่งเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส การใช้งบเพื่อสร้างแอปใหม่ 850 ล้านบาทหรืองบในการจัดทำปฏิทินปีละหลายสิบล้าน
ประเด็นนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมอย่างหนัก แม้ภายหลังทั้งพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทย, บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะออกมาชี้แจงในประเด็นต่างๆ แล้ว และยืนยันว่าการจัดทำงบประมาณดังกล่าวทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน
แต่ผู้ประกันตนหลายคนก็ยังรู้สึกคลางแคลงใจต่อการใช้งบประมาณที่อาจมองได้ว่า ‘ฟุ่มเฟือย’ ในขณะที่สิทธิต่างๆ ที่พวกเขาควรได้รับยังคงมีอย่างจำกัดและหลายคนยังไม่ทราบว่าพวกเขามีสิทธิอะไรบ้างด้วยซ้ำ
ไทยรัฐพลัสจึงรวบรวมข้อมูลการใช้งบประมาณของสำนักงานประกันสังคม เพื่อเปรียบเทียบการใช้งบประมาณตามสิทธิของผู้ประกันตนและงบประมาณการบริหารว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่?
งบผู้ประกันตนกับงบบริหารแบ่งสัดส่วนกันอย่างไร?
ปัจจุบันในข้อมูลปี 2567 มีผู้ประกันตนทั้งหมด 24.82 ล้านคน ในช่วง มกราคม – กันยายน 2567 กองทุนฯ มีรายรับรวม 235,306.09 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 146,589.99 ล้านบาท จำแนกเป็น
- เงินทดแทน (ค่ารักษาพยาบาล เงินสมทบ และอื่นๆ) จำนวน 97,019.47 ล้านบาท (66.18% ของค่าใช้จ่าย)
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน จำนวน 5,288.95 ล้านบาท (3.61% ของค่าใช้จ่าย)
- ค่าใช้จ่ายอื่น จำนวน 44,281.56 ล้านบาท (30.21% ของค่าใช้จ่าย)
โดยตามเอกสารผลเบิกจ่ายเงินกองทุนเพื่อบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 ณ 31 ตุลาคม 2567 ระบุว่ามีการเบิกจ่ายและผลผูกพันทั้งหมดรวม 4,180 ล้านบาท และ คงเหลืองบประมาณ 1,122 ล้านบาทจากงบที่ถูกจัดสรรให้ประมาณ 5,288.95 ล้านบาท
ซึ่งตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2553 ระบุให้จัดสรรงบแต่ละปีไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินสมทบประจำปี โดยมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงในเพจสำนักประกันสังคมว่าที่ผ่านมา สปส. ได้รับการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการบริหารงานไม่เกินปีละ 3 เปอร์เซ็นต์
แต่จะสังเกตเห็นว่าค่าใช้จ่ายของการบริหารมีส่วนต่างมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อย และหากตามกฎหมายกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าอาจมีการเพิ่มการใช้งบในส่วนบริหารมากกว่านี้ได้ในอนาคต
แม้งบส่วนบริหารจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ดูเป็นเพียงเล็กน้อยของเงินประกันสังคมและถือว่าประหยัดการใช้งบในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อย่างเงินทดแทนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในทุกปี หรือเกือบแสนล้านต่อปี งบประมาณการบริหารที่มีมากถึงระดับพันล้านก็ยังต้องพิจารณาการใช้งบทุกบาททุกสตางค์อย่างคุ้มค่าและวัดผลได้จริง
ปัจจุบันสถานะทางการเงินของ สปส. มีรายได้และค่าใช้จ่ายที่มากพอๆ กัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มเบี้ยประกันสังคมมากขึ้น เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่ไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นและอาจมีแรงงานน้อยลง
แต่ด้วยข้อคัดค้านมากมายทั้งสภาพเศรษฐกิจและรายได้ที่ยังไม่เพิ่มขึ้น การปรับอัตราเบี้ยนี้จึงยังต้องศึกษาผลกระทบต่างๆ อีกมากและต้องแก้ไขทั้งระบบ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน สปส. จึงต้องมีการบริหารจัดการงบประมาณที่โปร่งใสและชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะมาตรการ ‘ลดค่าใช้จ่าย’
สำนักงานประกันสังคมจะลดค่าใช้จ่ายอย่างไร?
การลดค่าใช้จ่ายเป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ หลายคนมองว่างบประมาณบริหารหลักพันล้านเหล่านั้นมีบางรายการที่สามารถตัดได้และไม่มีความจำเป็น แต่ความเป็นจริงผู้ที่จะมีส่วนตัดสินใจในกระบวนการสำคัญเหล่านั้นได้คือ ‘คณะกรรมการประกันสังคม’ หรือ ‘บอร์ดประกันสังคม’ ที่มีทั้งกรรมการที่มาจากการแต่งตั้งและกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งทั้งฝั่งนายจ้างและผู้ประกันตน
โดยกรรมการจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในรัฐบาลสมัยที่แล้วเป็นแพทย์ ทั้งหมด 16 คน ในขณะที่มีกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งทั้งฝั่งนายจ้างและผู้ประกันตนมีเพียง 14 คน บอร์ดแพทย์นี้จึงมีอำนาจตัดสินใจในการบริหาร สปส. เป็นส่วนใหญ่ และมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการบริหารงบประมาณ
แต่หลังจากมีการเปิดเผยว่าคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ สปส. ใช้งบประมาณเพื่อไปดูงานที่ต่างประเทศหลายสิบล้านทุกปี ทำให้หลายคนมองว่าการใช้งบประมาณเหล่านี้อาจไม่คุ้มค่าและถูกตั้งคำถามถึงผลงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เช่น ในช่วงปี 2567 เคยมีกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งว่าโรงพยาบาลเอกชนร่วมลงชื่อกันกว่า 70 แห่งเพื่อถอนตัวออกจากโรงพยาบาลคู่สัญญา สปส. ในปี 2568 หาก สปส.ไม่เพิ่มงบค่ารักษาผู้ประกันตน
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน อธิบายว่า เนื่องจากอัตราค่าบริการในบางรายการไม่ได้ปรับเพิ่มมานาน ในขณะที่อัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเท่าเดิม จากการหารือร่วมกับสปส. ได้กำหนดให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องอัตราการจ่ายเงินในเรื่องกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group : DRG) เพื่อหาทางออกเรื่องนี้
“ปัญหาหลักคือการพิจารณาสัดส่วนค่าดีอาร์จี ในอดีตจ่ายประมาณ 12,800 บาท แต่พอมาถึงปี 2565 เดือนสุดท้ายจ่ายเหลือแค่หมื่นเดียว พอมาปี 2566 จ่ายแค่ 7,200 บาท ตรงนี้เหตุผล เพราะเขาไม่ได้ปรับอัตราการรักษาโรคซับซ้อนในกลุ่ม DRGs มา 5 ปี แล้ว แต่อัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเท่าเดิม ทำให้อัตราต่อหน่วยลดลง นี่คือสิ่งที่ต้องแก้ เพราะอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี” นพ.เฉลิม กล่าว
ภายหลังประเด็นนี้ถูกนำเข้าไปในคณะอนุกรรมการและได้รับการเห็นชอบจากบอร์ดประกันสังคมแล้ว ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการจัดการงบประมาณที่ยังไม่เหมาะสมและล้าช้า
นอกจากนี้อัตราการบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีหรือเงินที่ผู้ประกันตนควรได่รับในอนาคตอย่างเงินบำนาญอาจต้องมีการจัดสรรงบเพื่อรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อลองคิดว่างบจะถูกนำไปใช้เพื่อพิมพ์ปฏิทิน 70 ล้านบาท หรือการศึกษาดูงานต่างประเทศด้วยงบหลายสิบล้านบาทต่อปีก็อาจทำให้ผู้ประกันตนหลายคนตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการใช้งบประมาณที่มาจากเงินเดือนของแรงงานทุกคน แม้การเบิกจ่ายงบเหล่านั้นจะทำอย่างถูกต้องตามระเบียบแล้วก็ตาม
การเลือกใช้งบเพื่อการบริหารในส่วนที่จำเป็นมากกว่าอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ สปส.จะสามารถลดค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงในอนาคตได้
Cr. https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/105202
เอกสารผลเบิกจ่ายเงินกองทุนเพื่อบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 ณ 31 ตุลาคม 2567 https://drive.google.com/drive/folders/1HKwO17vlV8v1Rb1OJ91WTmtZB6th8PIk