‘บัฟเฟตต์’ ซึ่งเคยฟันกำไรจากหุ้น BYD กว่า 40 เด้ง กำลังถอยห่างจากอุตสาหกรรมยานยนต์ หลังจากขายหุ้น BYD และ GM จนเกือบหมด ชี้ ‘อย่าไว้ใจ’ ในธุรกิจรถที่แข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะแม้แต่ผู้ชนะในวันนี้ ก็อาจเป็นผู้แพ้ในวันหน้า
ในสถานการณ์ที่ค่ายรถทั่วโลกเริ่มไปไม่รอดจากการรุกหนักของรถยนต์ไฟฟ้าจีน หลายคนหวนนึกถึงปู่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนระดับตำนานที่เคยได้กำไรจากหุ้นอีวี BYD กว่า 40 เด้ง และตอนนี้ได้ทยอยปล่อยของจนเกือบหมดแล้ว ปู่มองอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง
เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ที่รัฐเนบราสกาของสหรัฐ บัฟเฟตต์เคยพูดในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Berkshire เกี่ยวกับธุรกิจยานยนต์ว่า “ผมคงไม่รู้ว่า จะเลือกผู้ชนะในอุตสาหกรรมแบบนั้นได้อย่างไร”
สำหรับหุ้น BYD ที่เคยเข้ามาในพอร์ตปู่ บัฟเฟตต์ยกเครดิตให้กับ “ชาร์ลี มังเกอร์” เพื่อนคู่หูด้านการลงทุน ซึ่งถึงแก่กรรมในเดือนพฤศจิกายน 2023 ด้วยวัย 99 ปีว่า เป็นผู้ที่ยืนกรานให้ปู่ซื้อหุ้น BYD ของจีน ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นเพียงระดับสตาร์ทอัพ และเคยถูก “อีลอน มัสก์” ปรามาสไว้เมื่อปี 2011 ว่าคุณภาพและงานดีไซน์ไม่ได้เรื่อง
“ชาร์ลีเคยทุบโต๊ะต่อหน้าผมสองครั้งและพูดว่า ‘ซื้อเลย ๆ ๆ’ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ BYD และอีกอันคือ Costco (ห้างค้าส่ง-ปลีกของสหรัฐ)” บัฟเฟตต์เล่าย้อนความหลัง “เราซื้อ Costco มาจำนวนหนึ่ง และเราซื้อ BYD มาไม่น้อย
Berkshire เริ่มลงทุนใน BYD ในเดือนกันยายน 2008 โดยซื้อ 225 ล้านหุ้นในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 8 ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งในปัจจุบัน ราคาขึ้นไปอยู่ที่ราว 365 ดอลลาร์ฮ่องกง
ในขณะเดียวกัน General Motors (GM) ก็ปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Berkshire ในไตรมาสแรกของปี 2012 โดยบัฟเฟตต์ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์สหรัฐว่า ได้ซื้อหุ้น GM จำนวน 10 ล้านหุ้นในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 25.65 ดอลลาร์
ลงทุนในยานยนต์? บัฟเฟตต์แนะ ‘อย่าไว้ใจ’
แต่ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะ “ไม่ค่อยรู้สึกสบายใจ” กับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย Berkshire เริ่มลดสัดส่วนการถือหุ้นใน GM ลงในไตรมาสสองของปี 2022 และชื่อบริษัทนี้ก็หายไปจากรายชื่อของบัฟเฟตต์ในไตรมาสที่สามของปี 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่ GM กำลังสูญเสียการเติบโตในจีน
ในขณะเดียวกัน บัฟเฟตต์เริ่มขายหุ้น BYD ในเดือนสิงหาคม 2022 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการลดสัดส่วนหุ้น GM และทยอยขายออกเรื่อย ๆ จนการถือครองหุ้นลดลงต่ำกว่า 5% ซึ่งอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ไม่ต้องแจ้งตลาดอีกต่อไป
ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งล่าสุด บัฟเฟตต์เน้นย้ำถึงความยากในการเลือกหุ้นกลุ่มยานยนต์ว่า “อย่าหวังให้เราทำนายว่าใครจะเป็นผู้ชนะ และอย่าวางใจให้เราคาดการณ์ว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้”
นั่นเป็นการตอกย้ำถึงความเห็นในการประชุมครั้งก่อน ตอนที่บัฟเฟตต์เคยยกตัวอย่างชะตากรรมของเฮนรี ฟอร์ด ผู้คิดค้นรถยนต์ฟอร์ด Model T ซึ่งปฏิวัติการผลิตจำนวนมากและเคย “ครองโลก” อยู่ช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นเพียง 20 ปี “เขาก็ประสบภาวะขาดทุน”
“นี่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในระดับโลก” บัฟเฟตต์ให้ความเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งสุดท้าย ซึ่งร่วมกับมังเกอร์ในเดือนพฤษภาคม 2023 “คู่แข่งเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน และพวกเขาอาจดูเหมือนเป็นผู้ชนะได้ในบางช่วงเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะอยู่ในตำแหน่งนั้นได้อย่างถาวร”
บัฟเฟตต์เสริมอีกว่า “ผมไม่สามารถบอกได้ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์จะเป็นอย่างไรในอีก 5-10 ปีนับจากนี้”
ศึกหนักตลาดรถ เผชิญกำไรหด-ขาดทุนพุ่ง
แม้ว่าที่ผ่านมา บัฟเฟตต์ไม่ได้กล่าวต่อสาธารณะอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่ขายหุ้น BYD ออกเกือบหมด แต่จาก “ตลาดรถในจีน” ที่ผ่านมา จะเห็นว่า การทำกำไรของค่ายรถเริ่มลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยสภาวะตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง
เว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียรายงานว่า Honda กำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดรถในจีนอย่างรวดเร็ว แม้ว่าบริษัทรายงานผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 1.13 ล้านล้านเยน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีงบประมาณจนถึงเดือนธันวาคม แต่กำไรสุทธิกลับ “ลดลง 7%” เหลือเพียง 805,260 ล้านเยน
สำหรับ Nissan แล้ว สถานการณ์ดูยิ่งน่าเป็นห่วง โดยบริษัทคาดการณ์ว่า จะขาดทุนสุทธิถึง 8 หมื่นล้านเยนในปีงบประมาณนี้ที่สิ้นสุดเดือนมีนาคม
“ตลาดจีนยังคงเป็นเรื่องท้าทาย โดยยอดค้าปลีกของเราลดลง อันเป็นผลจากสถานการณ์ดังกล่าว” เจเรมี ปาแปง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของ Nissan กล่าว โดยเน้นย้ำว่ายอดค้าปลีกทั่วโลกในไตรมาสตุลาคมถึงธันวาคม เพิ่มขึ้น 2% หากไม่รวมจีนซึ่งมียอดขายลดลงเป็นเลขสองหลัก
ในส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟู มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและซีอีโอของ Nissan ยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วว่า บริษัทได้ปิดโรงงานในเมืองฉางโจว และลดกำลังการผลิตประจำปีในจีนลงเหลือ 1 ล้านคัน จากเดิม 1.5 ล้านคัน
ขณะที่ GM เมื่อเดือนที่แล้วได้ประกาศผลขาดทุนสุทธิรายไตรมาสที่ 2,960 ล้านดอลลาร์ จากที่เคยทำกำไรสุทธิ 2,100 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากขาดทุนในจีนไปถึง 4,060 ล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เคยกำไรได้ 93 ล้านดอลลาร์ก่อนหน้า โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการบันทึกด้อยค่า และส่วนที่เหลือเกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วในจีน
อ้างอิง: nikkei, cnn, qz
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/world/1167517
ทำไมบัฟเฟตต์ไม่ไว้ใจ ‘หุ้นกลุ่มยานยนต์’ แม้เคยสร้างกำไรให้ปู่กว่า 40 เด้ง
ในสถานการณ์ที่ค่ายรถทั่วโลกเริ่มไปไม่รอดจากการรุกหนักของรถยนต์ไฟฟ้าจีน หลายคนหวนนึกถึงปู่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนระดับตำนานที่เคยได้กำไรจากหุ้นอีวี BYD กว่า 40 เด้ง และตอนนี้ได้ทยอยปล่อยของจนเกือบหมดแล้ว ปู่มองอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง
เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ที่รัฐเนบราสกาของสหรัฐ บัฟเฟตต์เคยพูดในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Berkshire เกี่ยวกับธุรกิจยานยนต์ว่า “ผมคงไม่รู้ว่า จะเลือกผู้ชนะในอุตสาหกรรมแบบนั้นได้อย่างไร”
สำหรับหุ้น BYD ที่เคยเข้ามาในพอร์ตปู่ บัฟเฟตต์ยกเครดิตให้กับ “ชาร์ลี มังเกอร์” เพื่อนคู่หูด้านการลงทุน ซึ่งถึงแก่กรรมในเดือนพฤศจิกายน 2023 ด้วยวัย 99 ปีว่า เป็นผู้ที่ยืนกรานให้ปู่ซื้อหุ้น BYD ของจีน ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นเพียงระดับสตาร์ทอัพ และเคยถูก “อีลอน มัสก์” ปรามาสไว้เมื่อปี 2011 ว่าคุณภาพและงานดีไซน์ไม่ได้เรื่อง
“ชาร์ลีเคยทุบโต๊ะต่อหน้าผมสองครั้งและพูดว่า ‘ซื้อเลย ๆ ๆ’ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ BYD และอีกอันคือ Costco (ห้างค้าส่ง-ปลีกของสหรัฐ)” บัฟเฟตต์เล่าย้อนความหลัง “เราซื้อ Costco มาจำนวนหนึ่ง และเราซื้อ BYD มาไม่น้อย
Berkshire เริ่มลงทุนใน BYD ในเดือนกันยายน 2008 โดยซื้อ 225 ล้านหุ้นในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 8 ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งในปัจจุบัน ราคาขึ้นไปอยู่ที่ราว 365 ดอลลาร์ฮ่องกง
ในขณะเดียวกัน General Motors (GM) ก็ปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Berkshire ในไตรมาสแรกของปี 2012 โดยบัฟเฟตต์ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์สหรัฐว่า ได้ซื้อหุ้น GM จำนวน 10 ล้านหุ้นในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 25.65 ดอลลาร์
ลงทุนในยานยนต์? บัฟเฟตต์แนะ ‘อย่าไว้ใจ’
แต่ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะ “ไม่ค่อยรู้สึกสบายใจ” กับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย Berkshire เริ่มลดสัดส่วนการถือหุ้นใน GM ลงในไตรมาสสองของปี 2022 และชื่อบริษัทนี้ก็หายไปจากรายชื่อของบัฟเฟตต์ในไตรมาสที่สามของปี 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่ GM กำลังสูญเสียการเติบโตในจีน
ในขณะเดียวกัน บัฟเฟตต์เริ่มขายหุ้น BYD ในเดือนสิงหาคม 2022 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการลดสัดส่วนหุ้น GM และทยอยขายออกเรื่อย ๆ จนการถือครองหุ้นลดลงต่ำกว่า 5% ซึ่งอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ไม่ต้องแจ้งตลาดอีกต่อไป
ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งล่าสุด บัฟเฟตต์เน้นย้ำถึงความยากในการเลือกหุ้นกลุ่มยานยนต์ว่า “อย่าหวังให้เราทำนายว่าใครจะเป็นผู้ชนะ และอย่าวางใจให้เราคาดการณ์ว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้”
นั่นเป็นการตอกย้ำถึงความเห็นในการประชุมครั้งก่อน ตอนที่บัฟเฟตต์เคยยกตัวอย่างชะตากรรมของเฮนรี ฟอร์ด ผู้คิดค้นรถยนต์ฟอร์ด Model T ซึ่งปฏิวัติการผลิตจำนวนมากและเคย “ครองโลก” อยู่ช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นเพียง 20 ปี “เขาก็ประสบภาวะขาดทุน”
“นี่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในระดับโลก” บัฟเฟตต์ให้ความเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งสุดท้าย ซึ่งร่วมกับมังเกอร์ในเดือนพฤษภาคม 2023 “คู่แข่งเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน และพวกเขาอาจดูเหมือนเป็นผู้ชนะได้ในบางช่วงเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะอยู่ในตำแหน่งนั้นได้อย่างถาวร”
บัฟเฟตต์เสริมอีกว่า “ผมไม่สามารถบอกได้ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์จะเป็นอย่างไรในอีก 5-10 ปีนับจากนี้”
ศึกหนักตลาดรถ เผชิญกำไรหด-ขาดทุนพุ่ง
แม้ว่าที่ผ่านมา บัฟเฟตต์ไม่ได้กล่าวต่อสาธารณะอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่ขายหุ้น BYD ออกเกือบหมด แต่จาก “ตลาดรถในจีน” ที่ผ่านมา จะเห็นว่า การทำกำไรของค่ายรถเริ่มลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยสภาวะตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง
เว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียรายงานว่า Honda กำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดรถในจีนอย่างรวดเร็ว แม้ว่าบริษัทรายงานผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 1.13 ล้านล้านเยน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีงบประมาณจนถึงเดือนธันวาคม แต่กำไรสุทธิกลับ “ลดลง 7%” เหลือเพียง 805,260 ล้านเยน
สำหรับ Nissan แล้ว สถานการณ์ดูยิ่งน่าเป็นห่วง โดยบริษัทคาดการณ์ว่า จะขาดทุนสุทธิถึง 8 หมื่นล้านเยนในปีงบประมาณนี้ที่สิ้นสุดเดือนมีนาคม
“ตลาดจีนยังคงเป็นเรื่องท้าทาย โดยยอดค้าปลีกของเราลดลง อันเป็นผลจากสถานการณ์ดังกล่าว” เจเรมี ปาแปง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของ Nissan กล่าว โดยเน้นย้ำว่ายอดค้าปลีกทั่วโลกในไตรมาสตุลาคมถึงธันวาคม เพิ่มขึ้น 2% หากไม่รวมจีนซึ่งมียอดขายลดลงเป็นเลขสองหลัก
ในส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟู มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและซีอีโอของ Nissan ยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วว่า บริษัทได้ปิดโรงงานในเมืองฉางโจว และลดกำลังการผลิตประจำปีในจีนลงเหลือ 1 ล้านคัน จากเดิม 1.5 ล้านคัน
ขณะที่ GM เมื่อเดือนที่แล้วได้ประกาศผลขาดทุนสุทธิรายไตรมาสที่ 2,960 ล้านดอลลาร์ จากที่เคยทำกำไรสุทธิ 2,100 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากขาดทุนในจีนไปถึง 4,060 ล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เคยกำไรได้ 93 ล้านดอลลาร์ก่อนหน้า โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการบันทึกด้อยค่า และส่วนที่เหลือเกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วในจีน
อ้างอิง: nikkei, cnn, qz
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/world/1167517