A Real Pain (ในชื่อโปแลนด์ว่า Prawdziwy ból) เป็นภาพยนตร์ดราม่า เขียนบทและกำกับโดย Jesse Eisenberg
ผลงานผลิตร่วมกันระหว่างโปแลนด์และสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวของไอเซนเบิร์ก ก็ร่วมนำแสดงเองด้วยเช่นกันในบทนำ
คู่กับคีแรน คัลกิน ลูกพี่ลูกน้องที่ไม่ได้เจอหน้ากันมานาน แต่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในการไปเยือนโปแลนด์
ในภารกิจเพื่อระลึกถึงคุณยายที่เพิ่งล่วงลับ
หลังจากที่เคยฝากฝีมืองานกำกับครั้งแรกใน When You Finish Saving the World (2022)
และการร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับอีกหลายเรื่อง ไอเซนเบิร์กก็กลับมาอีกครั้งในหนังดราม่าครอบครัว
ลูกพี่ลูกน้องที่ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยสักนิด แต่ต้องมาใช้ชีวิตด้วยกันเป็นเวลา 7 วัน เพื่อตามรอยคุณยายที่จากไป
จากงบประมาณการผลิต 3 ล้านเหรียญฯ ตัวหนังทำรายได้ทั่วโลก 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ..
ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ภาพยนตร์ยอดนิยมประจำปี 2024 โดย National Board of Review และ American Film Institute
นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมถึงการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ครั้งล่าสุด 2 สาขา
4 รางวัลจากรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 82 ซึ่งคัลกิน คว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมไปครอง
ท่ามกลางบทสนทนามีมากมายในหลายซีน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังเฉพาะกลุ่ม
ที่ไม่เหมาะกับผู้ชมทั่วไปอย่างแน่นอนครับ ต้องเตือนก่อนว่านี่ไม่ใช่หนังบันเทิง
แต่มันมีความลุ่มลึกทางความรู้สึกในระดับที่สูงอย่างมาก และก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะอีกครั้ง
ของไอเซนเบิร์กที่ผลิตงานชั้นเยี่ยมแบบนี้ออกสู่สายตาแฟนหนังให้ได้ชมกัน
เหมือนเราได้ไปเที่ยวด้วยกันกับคนกลุ่มนี้ งานภาพสวยงาม จนอยากเก็บเงินไปเที่ยวเลยทีเดียว
อีก 1 จุดเด่นที่ต้องชื่นชมก็คือเพลงบรรเลงประกอบหนังเรื่องนี้ทั้งหมดนั้นเป็นเสียงเปียโนล้วนๆ
จากการประพันธ์ของเฟรเดอริก โชแปง นักเปียโนชื่อก้องโลกชาวโปแลนด์
บรรเลงโดย Tzvi Erez นักเปียโนชาวอิสราเอลแคนาเดี้ยน ซึ่งสร้างอารมณ์และความแปลกใหม่หลากหลายให้กับหนังเรื่องนี้อย่างมาก
ตัวหนังเล่าเรื่องผ่านภาพการท่องเที่ยวโปแลนด์ ดินแดนยุโรปตะวันออกที่สวยงาม แต่ก็ผสมไปด้วยความรู้สึกหดหู่เช่นกัน
เพราะทริปนี้คือการเดินทางตามรอยชาวยิวที่ถูกกองทัพนาซีสังหารหมู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งคุณยายของทั้งคู่ เป็น 1 ในผู้ที่รอดชีวิตและได้อพยพมาตั้งรกรากใหม่ที่สหรัฐอเมริกา
ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงเหมือนเป็นการตามรอยความเจ็บปวดของเหล่าผู้คนจำนวนมหาศาลที่เคยต้องแบกรับมันไว้ด้วยความไม่เต็มใจ
จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากคนตายสู่คนที่ยังอยู่ หลานๆทั้งสองที่มีความทรงจำกับคุณยายในวัยเด็ก (จนถึงวัยรุ่น)
ต่างเติบโตมีเส้นทางของตนเองที่ต้องเดิน เดวิด (ไอเซนเบิร์ก) ย้ายไปทำงานที่เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กในฐานะคนขายโฆษณาออนไลน์
เขาแต่งงานมีครอบครัวพร้อมกับมีลูกน้อยตัวเล็กๆ มีเรื่องต้องคิดและความรับผิดชอบมากมาย
ขณะที่เบนจิ (คีแรน) ยังไม่เปลี่ยนไปจากช่วงวัยรุ่น เขายังดูไร้แก่นสารไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน
ด้วยความที่โตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นมีหลายสิ่งที่ต้องคิดต้องทำ ส่งผลให้เดวิดเป็นคนจริงจังกับทุกเรื่อง
ซึ่งตรงกันข้ามกับเบนจิ ที่สนุกสนานกับเรื่องรอบตัวอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นคนที่ละเอียดอ่อนทางความรู้สึกชนิดที่คาดไม่ถึง
เบนจิเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์สูง สามารถพูดจาโน้มน้าวชักจูงใจคนอื่นได้ง่าย นั่นเป็นสิ่งที่เดวิดไม่มี
จะบอกเช่นนั้นก็ไม่ถูกนักเดวิดเคยเป็นแบบนั้น เพียงแต่เขาโตขึ้นแล้วบางอย่างทำให้เขาไม่กล้าแสดงออกทางความรู้สึกได้ตรงๆแบบที่เบนจิทำ
ด้วยความที่บุคลิกต่างกันสุดขั้วทำให้ทริปนี้จึงมีความวุ่นวายมากพอสมควร ถ้าเดินทางกันแค่สองคนยังพอไหว
แต่นี่พวกเขายังไปแฝงร่วมกลุ่มกับเพื่อนร่วมก๊วนอีก ความโกลาหลเล็กๆจึงตามมาอย่างช่วยไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะหนังต้องการจะให้เราได้สัมผัสถึงความรู้สึกของการเรียนรู้ถึงความเจ็บปวดที่ตัวละครต่างๆในเรื่องนั้นต้องแบกรับไว้
ด้วยประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละคนมีการรับมือกับความเจ็บปวดไม่เหมือนกัน
ตัวเอกของเราทั้งสองก็เป็นเช่นนั้น คนหนึ่งเลือกที่จะลืมมันไปและหันหน้าไปลุยกับสิ่งต่างๆที่เข้ามา
ส่วนอีกคนแสร้งทำเป็นเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ภายในจิตใจลึกๆนั้น เปราะบางอย่างยิ่ง
มีหลายซีนที่ผมประทับใจอย่างมาก แต่ก็อธิบายหรือบรรยายไม่ค่อยถูกเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ไกด์พยายามเล่าเรื่องสถานที่ต่างๆ และเบนจิพูดขัดขึ้นมาประมาณว่า
เขาไม่อยากให้ไกด์ต้องมาจดจ่อมุ่งเน้นแต่ข้อมูลทั่วๆไป ซึ่งจะเป็นอะไรนั้นตรงนี้น่าสนใจ
อีกประการก็คือจังหวะที่ทั้งหมดเข้าไปเดินชมในค่ายกักกัน ช่วงเวลานั้นไม่มีใครพูดอะไรกันเลย
นอกจากเสียงไกด์ที่บอกถึงแค่รายละเอียดสถานที่เพียงเล็กน้อย ที่เหลือเป็นเพียงความเงียบ
ที่เหมือนเป็นการไว้อาลัยให้กับผู้วายชนม์ ..เหมือนผมได้ไปอยู่ ณ ตรงนั้น..
และเป็นอีกครั้งที่ตอนจบของหนังเป็น impact ใหญ่ที่กระแทกใจคนดูอย่างมาก เหมือนเอาระเบิดเวลาลูกใหญ่มาให้ผู้ชมกอดไว้
ความรู้สึกของคนที่เหมือนซื่อสัตย์ต่อใจตนเองมีอะไรก็ปล่อยออกมาในทันที ไม่มีอะไรต้องกั๊กต้องปิดบัง
แต่ท้ายที่สุดแล้วเขาคงยังไม่สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความร้าวรานนั้น ได้แต่เพียงเฝ้ามองรอบข้างอย่างว่างเปล่า..
มันช่างเจ็บปวดและเปลี่ยวเหงาจนจับใจ.. สมแล้วที่คีแรนได้สมทบชายยอดเยี่ยมจากลูกโลกทองคำ ผมยอมรับจากหัวใจจริงๆ
แม้ผมจะเกริ่นไว้ว่าเป็นหนังที่อาจจะเฉพาะกลุ่มและดูยากไปสักนิด แต่ถ้ามีเวลาผมอยากให้คุณได้ลองเปิดใจ
ให้โอกาสตัวเองได้ชมหนังเรื่องนี้ดู ท่องเที่ยวไปกับพวกเขา ดื่มด่ำในช่วงเวลาที่มี เรียนรู้ไปด้วยกัน
เพราะว่าความเจ็บปวดมันคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันได้
นั่นล่ะคือความงดงามของความเจ็บปวดที่แท้จริง...
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== A Real Pain (2024) ความเจ็บปวด..ที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจ.. ==
A Real Pain (ในชื่อโปแลนด์ว่า Prawdziwy ból) เป็นภาพยนตร์ดราม่า เขียนบทและกำกับโดย Jesse Eisenberg
ผลงานผลิตร่วมกันระหว่างโปแลนด์และสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวของไอเซนเบิร์ก ก็ร่วมนำแสดงเองด้วยเช่นกันในบทนำ
คู่กับคีแรน คัลกิน ลูกพี่ลูกน้องที่ไม่ได้เจอหน้ากันมานาน แต่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในการไปเยือนโปแลนด์
ในภารกิจเพื่อระลึกถึงคุณยายที่เพิ่งล่วงลับ
หลังจากที่เคยฝากฝีมืองานกำกับครั้งแรกใน When You Finish Saving the World (2022)
และการร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับอีกหลายเรื่อง ไอเซนเบิร์กก็กลับมาอีกครั้งในหนังดราม่าครอบครัว
ลูกพี่ลูกน้องที่ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยสักนิด แต่ต้องมาใช้ชีวิตด้วยกันเป็นเวลา 7 วัน เพื่อตามรอยคุณยายที่จากไป
จากงบประมาณการผลิต 3 ล้านเหรียญฯ ตัวหนังทำรายได้ทั่วโลก 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ..
ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ภาพยนตร์ยอดนิยมประจำปี 2024 โดย National Board of Review และ American Film Institute
นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมถึงการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ครั้งล่าสุด 2 สาขา
4 รางวัลจากรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 82 ซึ่งคัลกิน คว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมไปครอง
ท่ามกลางบทสนทนามีมากมายในหลายซีน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังเฉพาะกลุ่ม
ที่ไม่เหมาะกับผู้ชมทั่วไปอย่างแน่นอนครับ ต้องเตือนก่อนว่านี่ไม่ใช่หนังบันเทิง
แต่มันมีความลุ่มลึกทางความรู้สึกในระดับที่สูงอย่างมาก และก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะอีกครั้ง
ของไอเซนเบิร์กที่ผลิตงานชั้นเยี่ยมแบบนี้ออกสู่สายตาแฟนหนังให้ได้ชมกัน
เหมือนเราได้ไปเที่ยวด้วยกันกับคนกลุ่มนี้ งานภาพสวยงาม จนอยากเก็บเงินไปเที่ยวเลยทีเดียว
อีก 1 จุดเด่นที่ต้องชื่นชมก็คือเพลงบรรเลงประกอบหนังเรื่องนี้ทั้งหมดนั้นเป็นเสียงเปียโนล้วนๆ
จากการประพันธ์ของเฟรเดอริก โชแปง นักเปียโนชื่อก้องโลกชาวโปแลนด์
บรรเลงโดย Tzvi Erez นักเปียโนชาวอิสราเอลแคนาเดี้ยน ซึ่งสร้างอารมณ์และความแปลกใหม่หลากหลายให้กับหนังเรื่องนี้อย่างมาก
ตัวหนังเล่าเรื่องผ่านภาพการท่องเที่ยวโปแลนด์ ดินแดนยุโรปตะวันออกที่สวยงาม แต่ก็ผสมไปด้วยความรู้สึกหดหู่เช่นกัน
เพราะทริปนี้คือการเดินทางตามรอยชาวยิวที่ถูกกองทัพนาซีสังหารหมู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งคุณยายของทั้งคู่ เป็น 1 ในผู้ที่รอดชีวิตและได้อพยพมาตั้งรกรากใหม่ที่สหรัฐอเมริกา
ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงเหมือนเป็นการตามรอยความเจ็บปวดของเหล่าผู้คนจำนวนมหาศาลที่เคยต้องแบกรับมันไว้ด้วยความไม่เต็มใจ
จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากคนตายสู่คนที่ยังอยู่ หลานๆทั้งสองที่มีความทรงจำกับคุณยายในวัยเด็ก (จนถึงวัยรุ่น)
ต่างเติบโตมีเส้นทางของตนเองที่ต้องเดิน เดวิด (ไอเซนเบิร์ก) ย้ายไปทำงานที่เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กในฐานะคนขายโฆษณาออนไลน์
เขาแต่งงานมีครอบครัวพร้อมกับมีลูกน้อยตัวเล็กๆ มีเรื่องต้องคิดและความรับผิดชอบมากมาย
ขณะที่เบนจิ (คีแรน) ยังไม่เปลี่ยนไปจากช่วงวัยรุ่น เขายังดูไร้แก่นสารไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน
ด้วยความที่โตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นมีหลายสิ่งที่ต้องคิดต้องทำ ส่งผลให้เดวิดเป็นคนจริงจังกับทุกเรื่อง
ซึ่งตรงกันข้ามกับเบนจิ ที่สนุกสนานกับเรื่องรอบตัวอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นคนที่ละเอียดอ่อนทางความรู้สึกชนิดที่คาดไม่ถึง
เบนจิเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์สูง สามารถพูดจาโน้มน้าวชักจูงใจคนอื่นได้ง่าย นั่นเป็นสิ่งที่เดวิดไม่มี
จะบอกเช่นนั้นก็ไม่ถูกนักเดวิดเคยเป็นแบบนั้น เพียงแต่เขาโตขึ้นแล้วบางอย่างทำให้เขาไม่กล้าแสดงออกทางความรู้สึกได้ตรงๆแบบที่เบนจิทำ
ด้วยความที่บุคลิกต่างกันสุดขั้วทำให้ทริปนี้จึงมีความวุ่นวายมากพอสมควร ถ้าเดินทางกันแค่สองคนยังพอไหว
แต่นี่พวกเขายังไปแฝงร่วมกลุ่มกับเพื่อนร่วมก๊วนอีก ความโกลาหลเล็กๆจึงตามมาอย่างช่วยไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะหนังต้องการจะให้เราได้สัมผัสถึงความรู้สึกของการเรียนรู้ถึงความเจ็บปวดที่ตัวละครต่างๆในเรื่องนั้นต้องแบกรับไว้
ด้วยประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละคนมีการรับมือกับความเจ็บปวดไม่เหมือนกัน
ตัวเอกของเราทั้งสองก็เป็นเช่นนั้น คนหนึ่งเลือกที่จะลืมมันไปและหันหน้าไปลุยกับสิ่งต่างๆที่เข้ามา
ส่วนอีกคนแสร้งทำเป็นเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ภายในจิตใจลึกๆนั้น เปราะบางอย่างยิ่ง
มีหลายซีนที่ผมประทับใจอย่างมาก แต่ก็อธิบายหรือบรรยายไม่ค่อยถูกเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ไกด์พยายามเล่าเรื่องสถานที่ต่างๆ และเบนจิพูดขัดขึ้นมาประมาณว่า
เขาไม่อยากให้ไกด์ต้องมาจดจ่อมุ่งเน้นแต่ข้อมูลทั่วๆไป ซึ่งจะเป็นอะไรนั้นตรงนี้น่าสนใจ
อีกประการก็คือจังหวะที่ทั้งหมดเข้าไปเดินชมในค่ายกักกัน ช่วงเวลานั้นไม่มีใครพูดอะไรกันเลย
นอกจากเสียงไกด์ที่บอกถึงแค่รายละเอียดสถานที่เพียงเล็กน้อย ที่เหลือเป็นเพียงความเงียบ
ที่เหมือนเป็นการไว้อาลัยให้กับผู้วายชนม์ ..เหมือนผมได้ไปอยู่ ณ ตรงนั้น..
และเป็นอีกครั้งที่ตอนจบของหนังเป็น impact ใหญ่ที่กระแทกใจคนดูอย่างมาก เหมือนเอาระเบิดเวลาลูกใหญ่มาให้ผู้ชมกอดไว้
ความรู้สึกของคนที่เหมือนซื่อสัตย์ต่อใจตนเองมีอะไรก็ปล่อยออกมาในทันที ไม่มีอะไรต้องกั๊กต้องปิดบัง
แต่ท้ายที่สุดแล้วเขาคงยังไม่สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความร้าวรานนั้น ได้แต่เพียงเฝ้ามองรอบข้างอย่างว่างเปล่า..
มันช่างเจ็บปวดและเปลี่ยวเหงาจนจับใจ.. สมแล้วที่คีแรนได้สมทบชายยอดเยี่ยมจากลูกโลกทองคำ ผมยอมรับจากหัวใจจริงๆ
แม้ผมจะเกริ่นไว้ว่าเป็นหนังที่อาจจะเฉพาะกลุ่มและดูยากไปสักนิด แต่ถ้ามีเวลาผมอยากให้คุณได้ลองเปิดใจ
ให้โอกาสตัวเองได้ชมหนังเรื่องนี้ดู ท่องเที่ยวไปกับพวกเขา ดื่มด่ำในช่วงเวลาที่มี เรียนรู้ไปด้วยกัน
เพราะว่าความเจ็บปวดมันคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันได้
นั่นล่ะคือความงดงามของความเจ็บปวดที่แท้จริง...
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===