กมธ.มั่นคง ลุยตรวจท่าข้ามเอกชน จี้ ทวี เร่งออกหมายจับ 'หม่องชิตตู่' เรียกความน่าเชื่อถือไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_5052798
โรม นำ กมธ.มั่นคง ดูงานท่าข้ามเอกชน รายใหญ่แม่สอด ปูดมีข้อมูลบางท่าขนย้าย สารตั้งต้นยาเสพติดล็อตใหญ่ จี้ ‘ทวี’ เร่งออกหมายจับ ‘หม่องชิตตู่’ เรียกความน่าเชื่อถือไทย มอง ‘หลิว จงอี’ ดอดลงช่วงเวลาเดียวกัน เพราะต้องปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง แนะหน่วยงานเกี่ยวข้องต้องคัดกรองเข้ม เอาข้อมูลมาปราบไทยเทา
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นาย
รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ. ลงพื้นที่ตรวจสอบท่าข้ามสินค้าหมายเลข 34 (ท่าศาลเจ้า) บจก.ห้าแยกกรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นท่าข้ามเอกชนขนาดใหญ่ลำดับต้น ๆ ของอำเภอแม่สอด
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ท่าขนส่งแห่งนี้จัดเป็นท่าที่มีขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากชเวโก๊กโก่ จังหวัดเมียวดี ประมาณ 5 กิโลเมตร มีแพยนต์สำหรับลำเลียงรถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ และท่อส่งน้ำมันเบนซิล ดีเซลจากบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศไทยไปประเทศเมียนมา ที่ผ่านมาท่าข้ามธรรมชาติเหล่านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นท่าที่อำนวยความสะดวกให้กลุ่มธุรกิจแก๊งคอลเซ็นเตอร์
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ทางกมธ. จึงตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูล ช่องว่าง ข้อมูลเชิงลึกจากคนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเพื่อหาทางออกว่าท่าข้ามธรรมชาติต้องผิดทำการเหมือนการตัดการจ่ายไฟ หรือน้ำมันหรือไม่ และหากท่าข้ามเหล่านี้เปิดต่อจะต้องมีแบบแผนอย่างไรไม่ให้ลักลอบขนย้ายของผิดกฎหมาย หรือเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจคอลเซ็นเตอร์โดยตรง
ส่วนในวงประชุมเมื่อวานนี้ (16 ก.พ. 68) ที่ทำการอำเภอแม่สอดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจท่าข้ามธรรมชาติ 59 ท่าในอำเภอแม่สอด ที่มีความเห็นว่าควรสั่งปิด ตนเองยืนยันว่าไม่ได้มีการเหมารวมการดำเนินธุรกิจทุกท่าว่าเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่จำเป็นที่จากนี้ต้องทำงานเชิงรุกหาเนื้อร้ายในท่าเหล่านี้ให้เจอ ส่วนระยะยาวคณะทำงานต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ทำให้ท่าข้ามธรรมชาติเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัย ไม่ลักลอบขนของผิดกฎหมาย
นาย
รังสิมันต์ ยอมรับว่า ตอนนี้มีข้อมูลท่าข่ามธรรมชาติที่ต้องจับตามองและเฝ้าระวัง เนื่องจากมีข้อมูลว่าขนย้ายของต้องสงสัยที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจเอื้อต่อการทำธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ อีกทั้งช่วงที่ไม่ให้ขนส่งน้ำมันแต่อาจมีการลักลอบ และจากข้อมูลล่าสุดมีข้อมูลว่ามีการขนย้ายเคมีภัณฑ์ที่เป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดล็อตใหญ่ แต่วันนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นท่าใด
เมื่อถามถึงกรณีการเดินทางมาของ นาย
หลิว จงอี ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะ นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ประเทศจีนต้องทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตัวเอง แต่ตนยังเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะร่วมมือป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จากนี้อยากให้หลายประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมร่วมแบ่งปันข้อมูล แต่ไทยสามารถเป็นเแนวหลัก และต้องไม่ใช่มุ่งแค่ที่จังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา แต่รวมถึง เมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชาด้วย ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ก็ควรใช้สัมพันธ์ที่ดีนั้นไปปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ณ ขณะนี้ ตนเองไม่อยากสรุปว่ารัฐบาลไม่จริงจังกับการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่สมควรอย่างยิ่งที่ต้องยกให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ
ส่วนกรณีตัวเลขเหยื่อ หรือ ผู้ที่เต็มใจไปทำงานฝั่งประเทศเพื่อนบ้านนั้น นาย
รังสิมันต์ ย้ำเหมือนเดิมว่ายังไม่ควรสรุป แต่ประเทศไทยควรเป็นคนคัดกรองเอง ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนเหล่านี้ในฐานะที่เราเป็นประเทศทางผ่าน โดยข้อมูลเหล่านี้สุดท้ายเพื่อนำมาปราบไทยเทา
“
ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือ กลุ่มคนที่สมัครใจ ยังไม่อยากให้สรุปเราต้องให้ความเป็นธรรม เอาพวกเขาเข้าระบบ” นาย
รังสิมันต์ กล่าว
สุดท้ายนี้ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นาย
ทวี สอดส่อง ให้ติดตามเรื่องหมายจับ
หม่องชิตตู เลขาธิการกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) หรือผู้บัญชาการกองทัพกะเหรี่ยงแห่งชาติ เพราะถือว่าการที่ออกหมายจับนี้มีความจำเป็นต่อการรักษาความน่าเชื่อถือต่อประเทศไทย
กมธ.สิ่งแวดล้อม กัดไม่ปล่อย เรียกแจง โค่นป่าเมืองจันท์ปลูกทุเรียน-ปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำ จ.ตราด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5052926
กมธ.สิ่งแวดล้อม กัดไม่ปล่อย เรียกแจง โค่นป่าเมืองจันท์ปลูกทุเรียน-ปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำ จ.ตราด
กรณีที่มีการตรวจพบ การลักลอบปลูกทุเรียนในพื้นที่เกาะแก่งของอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง โดยพบอยู่ทางทิศใต้ของอ่างเก็บน้ำ พบการปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นทุเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของชลประทาน อีกจุดอยู่ทางทิศตะวันตกของอ่างเก็บน้ำ ในเขตพื้นที่ชลประทาน พบการปลูกทุเรียนและมะละกอบนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พร้อมทั้งมีสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว 2 หลัง ซึ่งไม่พบตัวผู้บุกรุกในพื้นที่ดังกล่าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่างเก็บน้ำ พบการบุกรุกพื้นที่กว้าง โดยมีการปรับพื้นที่ป่าให้กลายเป็นสวนทุเรียน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 130 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างถาวร 2 หลัง แต่ไม่พบตัวผู้บุกรุก นั้น
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ นาย
ชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยกับ มติชนออนไลน์ว่า ในเวลา 15.30 น.วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ทางกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมฯจะเชิญ ตัวแทนจากกรมป่าไม้ ในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิม ที่มอบพื้นที่ ตามคำขอของกรมชลประทาน ที่จะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ กับ ตัวแทนจากกรมชลประทานมาให้ข้อมูลว่า เรื่องที่เกิดขึ้นมานั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไม ปล่อยให้ที่ดินถูกเอกชนบุกรุกเข้าไปปลูกทุเรียนได้ หลังจากนั้น ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ ทางคณะกรมาธิการจะลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง จ.ตราด
“
ที่เราเห็นจากภาพถ่ายทางอากาศนั้นชัดมากว่า ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำนั้นมีการปลูกทุเรียนชัดเจน เป็นการใช้พื้นที่ผิดประเภท และหากปล่อยให้ภาคเอกชนเข้าไปปลูกพืชผลอื่น ก็ยิ่งมีความผิดชัดเจนขึ้นอีก ทั้งนี้ทางกรรมาธิการตั้งประเด็นเอาไว้ 2 เรื่อง คือ 1.การใช้ที่ดินที่ขอจากกรมป่าไม้อย่างผิดวัตถุประสงค์ คือ จากเอามาเพื่อการเก็บน้ำ แต่กลับให้เอกชนเอาไปปลูกทุเรียน 2.ถ้ามีเงื่อนไขการจ่ายเงินพืชผลอาสิน เช่น ก่อนหน้าที่กรมป่าไม้จะมอบที่ดินให้ มีชาวบ้านอาศัยอยู่มาก่อนและมีการปลูกพืชผลเอาไว้ และมีการจ่ายเงินค่าพืชผล เพื่อให้ชาวบ้านย้ายออก กรมชลประทานดำเนินการเรื่องนี้ไปแล้วหรือไม่ อย่างไร” นายชีวะภาพ กล่าว และว่า นอกจากปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำแล้ว เรื่องการโค่นป่า 2 พันกว่าไร่ ที่ จ.จันทบุรี เพื่อปลูกทุเรียน ของนอมินี จีนเทา อีกด้วย ซึ่งจะเชิญ ตำรวจในท้องที่ ฝ่ายปกครอง จ.จันทบุรี มาชี้แจงด้วย
ทางด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า เห็นข่าวที่ออกมาแล้ว แต่กรมป่าไม้ ได้มอบที่ดินซึ่งทางกรมชลประทานขอใช้ที่ดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง เมื่อปี 2542 พื้นที่ 39,000 ไร่ ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 5 ตำบล 2 อำเภอ
เมื่อถามว่า กรณีที่กรมชลประทาน ไม่ได้ทำตามวัตถุประสงค์ที่ขอจากกรมป่าไม้ไป แต่กรมชลประทาน ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ กรมป่าไม้สามารถเอาที่ดินคืนมาได้หรือไม่ นายสุรชัย กล่าวว่า ที่ดินส่วนใหญ่ เป็นอ่างเก็บน้ำแล้ว การดำเนินการ เอาคืน อาจจะทำได้ แต่ก็มีขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้ ตนเห็นว่า กรมชลประทานเอง จะต้องจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อนว่าจะทำอย่างไร
สศช. เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 โต 3.2% ทั้งปี’67 โต 2.5% คาด ประเมินปี 68 ขยายตัว 2.8%
https://www.matichon.co.th/economy/news_5052740
สศช. เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 โต 3.2% ทั้งปี’67 โต 2.5% คาดประเมินปี 68 ขยายตัว 2.8%
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ทั้งปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2566 ขยายตัว 3.2% เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ที่ 0.4%
โดยเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2% ในปี 2566
ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5% ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP
ทั้งนี้ นาย
ดนุชา กล่าวว่า สภาพัฒน์ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3-3.3 (ค่ากลาง 2.8%) โดยคาดว่า การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.3% และ 3.2% ตามล่าดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5-1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP
โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ
1.การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน
2.การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน
3.การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง
และ 4. การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจาก ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและ การเงินโลก, ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และความผันผวนของผลผลิตและระดับราคาสินค้าเกษตร
นอกจากนี้ นาย
ดนุชา กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 ได้แก่ 1.การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า โดย (1) การเจรจาและเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ (2) การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม (3) การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ (4) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
2. การเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว โดย
(1) การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(2) การเร่งรัดนักลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2565-2567 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว
(3) การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
(4) การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
3. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่ให้ต่ากว่า 75% ของกรอบงบฯ ลงทุนรวม
4. การสร้างการรับรู้มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ลูกหนีโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ได้รับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้และสามารถชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ
5. การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM 2.5) ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว อาทิ สนามบิน/เที่ยวบิน
JJNY : กมธ.มั่นคงลุยตรวจท่าข้ามเอกชน│กมธ.กัดไม่ปล่อยโค่นป่าเมืองจันท์│สศช.คาด68 ขยายตัว 2.8%│ฝนตกหนัก-น้ำท่วมรัฐเคนทักกี
https://www.matichon.co.th/politics/news_5052798
โรม นำ กมธ.มั่นคง ดูงานท่าข้ามเอกชน รายใหญ่แม่สอด ปูดมีข้อมูลบางท่าขนย้าย สารตั้งต้นยาเสพติดล็อตใหญ่ จี้ ‘ทวี’ เร่งออกหมายจับ ‘หม่องชิตตู่’ เรียกความน่าเชื่อถือไทย มอง ‘หลิว จงอี’ ดอดลงช่วงเวลาเดียวกัน เพราะต้องปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง แนะหน่วยงานเกี่ยวข้องต้องคัดกรองเข้ม เอาข้อมูลมาปราบไทยเทา
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ. ลงพื้นที่ตรวจสอบท่าข้ามสินค้าหมายเลข 34 (ท่าศาลเจ้า) บจก.ห้าแยกกรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นท่าข้ามเอกชนขนาดใหญ่ลำดับต้น ๆ ของอำเภอแม่สอด
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ท่าขนส่งแห่งนี้จัดเป็นท่าที่มีขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากชเวโก๊กโก่ จังหวัดเมียวดี ประมาณ 5 กิโลเมตร มีแพยนต์สำหรับลำเลียงรถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ และท่อส่งน้ำมันเบนซิล ดีเซลจากบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศไทยไปประเทศเมียนมา ที่ผ่านมาท่าข้ามธรรมชาติเหล่านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นท่าที่อำนวยความสะดวกให้กลุ่มธุรกิจแก๊งคอลเซ็นเตอร์
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ทางกมธ. จึงตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูล ช่องว่าง ข้อมูลเชิงลึกจากคนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเพื่อหาทางออกว่าท่าข้ามธรรมชาติต้องผิดทำการเหมือนการตัดการจ่ายไฟ หรือน้ำมันหรือไม่ และหากท่าข้ามเหล่านี้เปิดต่อจะต้องมีแบบแผนอย่างไรไม่ให้ลักลอบขนย้ายของผิดกฎหมาย หรือเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจคอลเซ็นเตอร์โดยตรง
ส่วนในวงประชุมเมื่อวานนี้ (16 ก.พ. 68) ที่ทำการอำเภอแม่สอดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจท่าข้ามธรรมชาติ 59 ท่าในอำเภอแม่สอด ที่มีความเห็นว่าควรสั่งปิด ตนเองยืนยันว่าไม่ได้มีการเหมารวมการดำเนินธุรกิจทุกท่าว่าเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่จำเป็นที่จากนี้ต้องทำงานเชิงรุกหาเนื้อร้ายในท่าเหล่านี้ให้เจอ ส่วนระยะยาวคณะทำงานต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ทำให้ท่าข้ามธรรมชาติเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัย ไม่ลักลอบขนของผิดกฎหมาย
นายรังสิมันต์ ยอมรับว่า ตอนนี้มีข้อมูลท่าข่ามธรรมชาติที่ต้องจับตามองและเฝ้าระวัง เนื่องจากมีข้อมูลว่าขนย้ายของต้องสงสัยที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจเอื้อต่อการทำธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ อีกทั้งช่วงที่ไม่ให้ขนส่งน้ำมันแต่อาจมีการลักลอบ และจากข้อมูลล่าสุดมีข้อมูลว่ามีการขนย้ายเคมีภัณฑ์ที่เป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดล็อตใหญ่ แต่วันนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นท่าใด
เมื่อถามถึงกรณีการเดินทางมาของ นายหลิว จงอี ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ประเทศจีนต้องทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตัวเอง แต่ตนยังเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะร่วมมือป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จากนี้อยากให้หลายประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมร่วมแบ่งปันข้อมูล แต่ไทยสามารถเป็นเแนวหลัก และต้องไม่ใช่มุ่งแค่ที่จังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา แต่รวมถึง เมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชาด้วย ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ก็ควรใช้สัมพันธ์ที่ดีนั้นไปปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ณ ขณะนี้ ตนเองไม่อยากสรุปว่ารัฐบาลไม่จริงจังกับการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่สมควรอย่างยิ่งที่ต้องยกให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ
ส่วนกรณีตัวเลขเหยื่อ หรือ ผู้ที่เต็มใจไปทำงานฝั่งประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายรังสิมันต์ ย้ำเหมือนเดิมว่ายังไม่ควรสรุป แต่ประเทศไทยควรเป็นคนคัดกรองเอง ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนเหล่านี้ในฐานะที่เราเป็นประเทศทางผ่าน โดยข้อมูลเหล่านี้สุดท้ายเพื่อนำมาปราบไทยเทา
“ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อ หรือ กลุ่มคนที่สมัครใจ ยังไม่อยากให้สรุปเราต้องให้ความเป็นธรรม เอาพวกเขาเข้าระบบ” นายรังสิมันต์ กล่าว
สุดท้ายนี้ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายทวี สอดส่อง ให้ติดตามเรื่องหมายจับ หม่องชิตตู เลขาธิการกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) หรือผู้บัญชาการกองทัพกะเหรี่ยงแห่งชาติ เพราะถือว่าการที่ออกหมายจับนี้มีความจำเป็นต่อการรักษาความน่าเชื่อถือต่อประเทศไทย
กมธ.สิ่งแวดล้อม กัดไม่ปล่อย เรียกแจง โค่นป่าเมืองจันท์ปลูกทุเรียน-ปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำ จ.ตราด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5052926
กมธ.สิ่งแวดล้อม กัดไม่ปล่อย เรียกแจง โค่นป่าเมืองจันท์ปลูกทุเรียน-ปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำ จ.ตราด
กรณีที่มีการตรวจพบ การลักลอบปลูกทุเรียนในพื้นที่เกาะแก่งของอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง โดยพบอยู่ทางทิศใต้ของอ่างเก็บน้ำ พบการปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นทุเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของชลประทาน อีกจุดอยู่ทางทิศตะวันตกของอ่างเก็บน้ำ ในเขตพื้นที่ชลประทาน พบการปลูกทุเรียนและมะละกอบนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พร้อมทั้งมีสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว 2 หลัง ซึ่งไม่พบตัวผู้บุกรุกในพื้นที่ดังกล่าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่างเก็บน้ำ พบการบุกรุกพื้นที่กว้าง โดยมีการปรับพื้นที่ป่าให้กลายเป็นสวนทุเรียน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 130 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างถาวร 2 หลัง แต่ไม่พบตัวผู้บุกรุก นั้น
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยกับ มติชนออนไลน์ว่า ในเวลา 15.30 น.วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ทางกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมฯจะเชิญ ตัวแทนจากกรมป่าไม้ ในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิม ที่มอบพื้นที่ ตามคำขอของกรมชลประทาน ที่จะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ กับ ตัวแทนจากกรมชลประทานมาให้ข้อมูลว่า เรื่องที่เกิดขึ้นมานั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไม ปล่อยให้ที่ดินถูกเอกชนบุกรุกเข้าไปปลูกทุเรียนได้ หลังจากนั้น ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ ทางคณะกรมาธิการจะลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง จ.ตราด
“ที่เราเห็นจากภาพถ่ายทางอากาศนั้นชัดมากว่า ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำนั้นมีการปลูกทุเรียนชัดเจน เป็นการใช้พื้นที่ผิดประเภท และหากปล่อยให้ภาคเอกชนเข้าไปปลูกพืชผลอื่น ก็ยิ่งมีความผิดชัดเจนขึ้นอีก ทั้งนี้ทางกรรมาธิการตั้งประเด็นเอาไว้ 2 เรื่อง คือ 1.การใช้ที่ดินที่ขอจากกรมป่าไม้อย่างผิดวัตถุประสงค์ คือ จากเอามาเพื่อการเก็บน้ำ แต่กลับให้เอกชนเอาไปปลูกทุเรียน 2.ถ้ามีเงื่อนไขการจ่ายเงินพืชผลอาสิน เช่น ก่อนหน้าที่กรมป่าไม้จะมอบที่ดินให้ มีชาวบ้านอาศัยอยู่มาก่อนและมีการปลูกพืชผลเอาไว้ และมีการจ่ายเงินค่าพืชผล เพื่อให้ชาวบ้านย้ายออก กรมชลประทานดำเนินการเรื่องนี้ไปแล้วหรือไม่ อย่างไร” นายชีวะภาพ กล่าว และว่า นอกจากปลูกทุเรียนในอ่างเก็บน้ำแล้ว เรื่องการโค่นป่า 2 พันกว่าไร่ ที่ จ.จันทบุรี เพื่อปลูกทุเรียน ของนอมินี จีนเทา อีกด้วย ซึ่งจะเชิญ ตำรวจในท้องที่ ฝ่ายปกครอง จ.จันทบุรี มาชี้แจงด้วย
ทางด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า เห็นข่าวที่ออกมาแล้ว แต่กรมป่าไม้ ได้มอบที่ดินซึ่งทางกรมชลประทานขอใช้ที่ดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง เมื่อปี 2542 พื้นที่ 39,000 ไร่ ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 5 ตำบล 2 อำเภอ
เมื่อถามว่า กรณีที่กรมชลประทาน ไม่ได้ทำตามวัตถุประสงค์ที่ขอจากกรมป่าไม้ไป แต่กรมชลประทาน ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ กรมป่าไม้สามารถเอาที่ดินคืนมาได้หรือไม่ นายสุรชัย กล่าวว่า ที่ดินส่วนใหญ่ เป็นอ่างเก็บน้ำแล้ว การดำเนินการ เอาคืน อาจจะทำได้ แต่ก็มีขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้ ตนเห็นว่า กรมชลประทานเอง จะต้องจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อนว่าจะทำอย่างไร
สศช. เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 โต 3.2% ทั้งปี’67 โต 2.5% คาด ประเมินปี 68 ขยายตัว 2.8%
https://www.matichon.co.th/economy/news_5052740
สศช. เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 โต 3.2% ทั้งปี’67 โต 2.5% คาดประเมินปี 68 ขยายตัว 2.8%
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ทั้งปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2566 ขยายตัว 3.2% เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ที่ 0.4%
โดยเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2% ในปี 2566
ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5% ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP
ทั้งนี้ นายดนุชา กล่าวว่า สภาพัฒน์ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3-3.3 (ค่ากลาง 2.8%) โดยคาดว่า การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.3% และ 3.2% ตามล่าดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5-1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP
โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ
1.การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน
2.การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน
3.การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง
และ 4. การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจาก ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและ การเงินโลก, ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และความผันผวนของผลผลิตและระดับราคาสินค้าเกษตร
นอกจากนี้ นายดนุชา กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 ได้แก่ 1.การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า โดย (1) การเจรจาและเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ (2) การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม (3) การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ (4) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
2. การเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว โดย
(1) การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(2) การเร่งรัดนักลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2565-2567 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว
(3) การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
(4) การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
3. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่ให้ต่ากว่า 75% ของกรอบงบฯ ลงทุนรวม
4. การสร้างการรับรู้มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ลูกหนีโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ได้รับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้และสามารถชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ
5. การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM 2.5) ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว อาทิ สนามบิน/เที่ยวบิน