สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -14 ก.พ. 68 18:10 น.
AOT แจงเหตุรับข้อเสนอคิงเพาเวอร์ ปรับลดดอกเบี้ยค้างจ่ายผลตอบแทนดิวตี้ฟรีจาก 18% เหลือประมาณ 9% หลังเจอผลกระทบโควิด เผยตัวเลขค้างจ่ายมาตั้งแต่ส.ค.67 กว่า 4 พันลบ. ยันเป็นระดับที่เหมาะสม - ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมรายได้ ส่วนเรื่องหุ้นลงหนักชี้แล้วแต่มุมมองการประเมิน แต่ยังมั่นใจผลงานบริษัทยังเติบโตได้ดีและต่อเนื่อง
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จัดเก็บกับคู่สัญญากลุ่มคิงเพาเวอร์ ในการบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) จากกรณีที่คู่สัญญาดังกล่าวได้รับผลกระทบโควิด ทำให้คิงเพาวเวอร์ขาดสภาพคล่อง และค้างจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) ให้กับ AOT
โดยตามสัญญาระบุไว้ว่า AOT จะเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือน ในอัตรา 20% ของยอดรายได้ จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ทั้งนี้ คิงเพาเวอร์ค้างจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวมาตั้งแต่เดือน ส.ค. 67 โดยรวมกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่ง AOT ยังคงคิดดอกเบี้ยในอัตรา 18% ต่อปี หรือประมาณ 1.5% ต่อเดือน ของยอดหนี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งคิงเพาเวอร์ได้ขอให้ AOT ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่ง AOT จึงได้รับข้อเสนอดังกล่าว และพิจารณาใช้เกณฑ์อัตราดอกเบี้ย (Minimum Loan Rate) MLR+2% โดย MLR ของธนาคารอยู่ที่ระดับประมาณ 7% หรือปรับลดมาอยู่ที่ประมาณ 9% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของ AOT ที่เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี
“เราไม่ได้เอื้อประโยชน์เอกชนรายใดรายหนึ่ง เกณฑ์ของคิงเพาเวอร์ AOTนำมาปรับโครงสร้างให้กับผู้ประกอบการทุกราย เพราะประเมินแล้วว่าไม่ได้กระทบต่อรายได้ของบริษัท เพราะจำนวนหนี้ก็ยังคงค้างอยู่เช่นเดิม และ AOT ยังได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าต้นทุนทางการเงิน หรือ เงินกู้ที่บริษัทดำเนินการมา” นายกีรติ กล่าว
ทั้งนี้ ยังยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ AOT เพราะหากเอกชนจ่ายหนี้ช้า AOT ก็ยังคงรับรู้รายได้เท่าเดิม และยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อีกทั้งภายใต้สัญญาคิงเพาเวอร์ยังมีการวางแบงก์การันตีจำนวนหนึ่งด้วย
ส่วนกรณีเรื่องราคาหุ้นที่ปรับลดลงอย่างหนักในวันนี้ จากกระแสข่าวว่าผลประกอบการของ AOT ที่ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์นั้น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT ชี้แจงว่า เรื่องงบที่ออกมาต่ำกว่าคาดต้องดูด้วยว่า ใครคาดการณ์ แต่ถ้ามองในมุมของบริษัทตัวเลขที่ออกมาถือว่าสูงกว่าคาดการณ์ทั้งหมด ส่วนเรื่องความกังวลในการคืนพื้นที่คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อรายได้อยู่บ้าง แต่มองว่าภาพรวมธุรกิจของ AOT ก็ยังเติบโตจากส่วนอื่นๆ อยู่
สำหรับปริมาณผู้โดยสารในช่วงฤดูร้อน (31 มี.ค.68 - 25 ต.ค.68) ยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ผู้โดยสาร (passenger) ในภาพรวมจาก 66 ล้านคน เป็น 87 ล้านคน ซึ่งยังมีมุมมองอัตราผู้โดยสารเติบโตในระดับสูง โดยทิศทางทั้งปี 68 คาดว่าจะมีผู้โดยสารในระดับประมาณ 130 ล้านคน
ทั้งนี้ วันนี้ (14 ก.พ.67) AOT ปิดตลาดที่ระดับ 47 บาท ปรับตัวลดลง 7.50 บาท หรือ 13.76% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 8,718 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปี หลังจาก AOT ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 (ต.ค. - ธ.ค.67) อยู่ที่ระดับ 5,344 ล้านบาท โดยเป็นระดับที่ต่ำกว่าโบรกเกอร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ เนื่องจากรายได้จากสัมปทานที่ลดลง และมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่สูงเกินกว่าคาด
AOT กล่าวถึงรายงานผลประกอบการงวด 3 เดือนแรกปี 68 (ต.ค.-ธ.ค.67 ) ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) AOT มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 5,344.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 781.27 ล้านบาท คิดเป็น 17.12% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ AOT มีรายได้รวม 17,906.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.41% ซึ่งรายได้จากการขายหรือการให้บริการเพิ่มขึ้น 1,956.27 ล้านบาท คิดเป็น 12.45% แบ่งเป็น รายได้เกี่ยวกับกิจการการบินมีจํานวน 8,804.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,727.76 ล้านบาท คิดเป็น 24.41% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารของ AOT โดยเฉพาะจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 19.05% และ 21.52% ตามลำดับ และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินจํานวน 8,859.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 228.51 ล้านบาท คิดเป็น2.65% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวม 10,353.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,086.70 ล้านบาท หรือ 11.73% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT งวด 3 เดือน มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวม 33.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 16.41% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 20.85 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 12.77 ล้านคน ในขณะที่มีจำนวนเที่ยวบินรวม 204,549 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.78% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 117,333 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 87,216 เที่ยวบิน
ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นว่า เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจของภาครัฐ และวันหยุดยาว (Golden Week) ของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดระยะไกล (Long Haul) และตลาดระยะใกล้ (Short Haul) อีกทั้ง AOT ยังสนับสนุนนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมเส้นทางการบินใหม่โดยลดค่าธรรมเนียมสำหรับสายการบินที่เปิดเส้นทางใหม่ โครงการลดค่าเช่าสำหรับสายการบินที่ย้ายไปใช้อาคาร SAT-1 และโครงการสนับสนุนการตลาดสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่และเชียงราย โดยการให้เงินสนับสนุน 300 บาทต่อผู้โดยสารหนึ่งคนสำหรับเที่ยวบินที่เข้าเงื่อนไข เป็นต้น
AOT ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาท่าอากาศยานให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับโลก โดยมีการยกระดับมาตรฐานการให้บริการท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (SAT-1) ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน เป็น 65 ล้านคนต่อปี การสร้างระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและทางวิ่งเส้นที่ 3 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านคน เป็น 50 ล้านคนต่อปี รวมถึงโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และท่าอากาศยานหาดใหญ่ นอกจากนี้ AOT ยังได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาให้บริการเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่และความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้โดยสาร เช่น การนำระบบเช็กอินอัตโนมัติ ระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคล (Biometric Identification) ระบบตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (ABC) ที่รองรับ E-passport กว่า 90 ประเทศ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารและเวลาในการตรวจหนังสือเดินทาง ระบบการจัดการข้อมูลแบบ A-CDM และระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ (SBG) เป็นต้น
ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน AOT ได้ดำเนินงานโดยคำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรฐานสากล เช่น DJSI, GRI และ PDPA ทั้งยังได้รับการจัดอันดับเป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ติดต่อกัน 6 ปี และท่าอากาศยานภายใต้การดำเนินงานของ AOT ยังได้รับการรับรอง Airport Carbon Accreditation ครบทั้ง 6 แห่ง ทั้งนี้ AOT มุ่งเป้าให้ท่าอากาศยานเป็น Green Airport และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ Net Zero ภายในปี 2587 ในระดับนานาชาติ อาคาร SAT-1 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังได้รับรางวัล "ท่าอากาศยานสวยที่สุดในโลกปี 2567"จาก Prix Versailles ของ UNESCO ซึ่งเป็นการยืนยันความสำเร็จในการผสานเอกลักษณ์ไทยเข้ากับสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน
จากความมุ่งมั่นเหล่านี้ AOT ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคและเชื่อมโยงการเดินทางทางอากาศแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับท่าอากาศยานของไทยให้เป็น 1 ใน 20 ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกภายใน 5 ปี และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็น 1 ใน 10 ของโลก และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างยั่งยืน
https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=T1pQamowMkdiUXc9&security=AOT&fbclid=IwY2xjawIcGldleHRuA2FlbQIxMAABHTcY8DrO5QIYR5dqDy_oJkMa2ovZANPQltpJPOm4QZrFbT6Aj7y3eNnrjg_aem_yaAqfxCwuHzycX8dD2Y0QQ
AOT แจงช่วย `คิงเพาเวอร์` ลดดอกเบี้ยค้างจ่ายผลตอบแทนดิวตี้ฟรี
AOT แจงเหตุรับข้อเสนอคิงเพาเวอร์ ปรับลดดอกเบี้ยค้างจ่ายผลตอบแทนดิวตี้ฟรีจาก 18% เหลือประมาณ 9% หลังเจอผลกระทบโควิด เผยตัวเลขค้างจ่ายมาตั้งแต่ส.ค.67 กว่า 4 พันลบ. ยันเป็นระดับที่เหมาะสม - ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมรายได้ ส่วนเรื่องหุ้นลงหนักชี้แล้วแต่มุมมองการประเมิน แต่ยังมั่นใจผลงานบริษัทยังเติบโตได้ดีและต่อเนื่อง
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จัดเก็บกับคู่สัญญากลุ่มคิงเพาเวอร์ ในการบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) จากกรณีที่คู่สัญญาดังกล่าวได้รับผลกระทบโควิด ทำให้คิงเพาวเวอร์ขาดสภาพคล่อง และค้างจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) ให้กับ AOT
โดยตามสัญญาระบุไว้ว่า AOT จะเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือน ในอัตรา 20% ของยอดรายได้ จากการประกอบกิจการในรอบเดือนนั้นๆ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ทั้งนี้ คิงเพาเวอร์ค้างจ่ายค่าผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวมาตั้งแต่เดือน ส.ค. 67 โดยรวมกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่ง AOT ยังคงคิดดอกเบี้ยในอัตรา 18% ต่อปี หรือประมาณ 1.5% ต่อเดือน ของยอดหนี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งคิงเพาเวอร์ได้ขอให้ AOT ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่ง AOT จึงได้รับข้อเสนอดังกล่าว และพิจารณาใช้เกณฑ์อัตราดอกเบี้ย (Minimum Loan Rate) MLR+2% โดย MLR ของธนาคารอยู่ที่ระดับประมาณ 7% หรือปรับลดมาอยู่ที่ประมาณ 9% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของ AOT ที่เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี
“เราไม่ได้เอื้อประโยชน์เอกชนรายใดรายหนึ่ง เกณฑ์ของคิงเพาเวอร์ AOTนำมาปรับโครงสร้างให้กับผู้ประกอบการทุกราย เพราะประเมินแล้วว่าไม่ได้กระทบต่อรายได้ของบริษัท เพราะจำนวนหนี้ก็ยังคงค้างอยู่เช่นเดิม และ AOT ยังได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าต้นทุนทางการเงิน หรือ เงินกู้ที่บริษัทดำเนินการมา” นายกีรติ กล่าว
ทั้งนี้ ยังยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ AOT เพราะหากเอกชนจ่ายหนี้ช้า AOT ก็ยังคงรับรู้รายได้เท่าเดิม และยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อีกทั้งภายใต้สัญญาคิงเพาเวอร์ยังมีการวางแบงก์การันตีจำนวนหนึ่งด้วย
ส่วนกรณีเรื่องราคาหุ้นที่ปรับลดลงอย่างหนักในวันนี้ จากกระแสข่าวว่าผลประกอบการของ AOT ที่ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์นั้น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT ชี้แจงว่า เรื่องงบที่ออกมาต่ำกว่าคาดต้องดูด้วยว่า ใครคาดการณ์ แต่ถ้ามองในมุมของบริษัทตัวเลขที่ออกมาถือว่าสูงกว่าคาดการณ์ทั้งหมด ส่วนเรื่องความกังวลในการคืนพื้นที่คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อรายได้อยู่บ้าง แต่มองว่าภาพรวมธุรกิจของ AOT ก็ยังเติบโตจากส่วนอื่นๆ อยู่
สำหรับปริมาณผู้โดยสารในช่วงฤดูร้อน (31 มี.ค.68 - 25 ต.ค.68) ยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ผู้โดยสาร (passenger) ในภาพรวมจาก 66 ล้านคน เป็น 87 ล้านคน ซึ่งยังมีมุมมองอัตราผู้โดยสารเติบโตในระดับสูง โดยทิศทางทั้งปี 68 คาดว่าจะมีผู้โดยสารในระดับประมาณ 130 ล้านคน
ทั้งนี้ วันนี้ (14 ก.พ.67) AOT ปิดตลาดที่ระดับ 47 บาท ปรับตัวลดลง 7.50 บาท หรือ 13.76% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 8,718 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปี หลังจาก AOT ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 (ต.ค. - ธ.ค.67) อยู่ที่ระดับ 5,344 ล้านบาท โดยเป็นระดับที่ต่ำกว่าโบรกเกอร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ เนื่องจากรายได้จากสัมปทานที่ลดลง และมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่สูงเกินกว่าคาด
AOT กล่าวถึงรายงานผลประกอบการงวด 3 เดือนแรกปี 68 (ต.ค.-ธ.ค.67 ) ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) AOT มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 5,344.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 781.27 ล้านบาท คิดเป็น 17.12% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ AOT มีรายได้รวม 17,906.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.41% ซึ่งรายได้จากการขายหรือการให้บริการเพิ่มขึ้น 1,956.27 ล้านบาท คิดเป็น 12.45% แบ่งเป็น รายได้เกี่ยวกับกิจการการบินมีจํานวน 8,804.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,727.76 ล้านบาท คิดเป็น 24.41% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารของ AOT โดยเฉพาะจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 19.05% และ 21.52% ตามลำดับ และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินจํานวน 8,859.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 228.51 ล้านบาท คิดเป็น2.65% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวม 10,353.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,086.70 ล้านบาท หรือ 11.73% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT งวด 3 เดือน มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวม 33.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 16.41% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 20.85 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 12.77 ล้านคน ในขณะที่มีจำนวนเที่ยวบินรวม 204,549 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.78% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 117,333 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 87,216 เที่ยวบิน
ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นว่า เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจของภาครัฐ และวันหยุดยาว (Golden Week) ของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดระยะไกล (Long Haul) และตลาดระยะใกล้ (Short Haul) อีกทั้ง AOT ยังสนับสนุนนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมเส้นทางการบินใหม่โดยลดค่าธรรมเนียมสำหรับสายการบินที่เปิดเส้นทางใหม่ โครงการลดค่าเช่าสำหรับสายการบินที่ย้ายไปใช้อาคาร SAT-1 และโครงการสนับสนุนการตลาดสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่และเชียงราย โดยการให้เงินสนับสนุน 300 บาทต่อผู้โดยสารหนึ่งคนสำหรับเที่ยวบินที่เข้าเงื่อนไข เป็นต้น
AOT ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาท่าอากาศยานให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับโลก โดยมีการยกระดับมาตรฐานการให้บริการท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (SAT-1) ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน เป็น 65 ล้านคนต่อปี การสร้างระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและทางวิ่งเส้นที่ 3 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านคน เป็น 50 ล้านคนต่อปี รวมถึงโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และท่าอากาศยานหาดใหญ่ นอกจากนี้ AOT ยังได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาให้บริการเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่และความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้โดยสาร เช่น การนำระบบเช็กอินอัตโนมัติ ระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคล (Biometric Identification) ระบบตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (ABC) ที่รองรับ E-passport กว่า 90 ประเทศ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารและเวลาในการตรวจหนังสือเดินทาง ระบบการจัดการข้อมูลแบบ A-CDM และระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ (SBG) เป็นต้น
ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน AOT ได้ดำเนินงานโดยคำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรฐานสากล เช่น DJSI, GRI และ PDPA ทั้งยังได้รับการจัดอันดับเป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ติดต่อกัน 6 ปี และท่าอากาศยานภายใต้การดำเนินงานของ AOT ยังได้รับการรับรอง Airport Carbon Accreditation ครบทั้ง 6 แห่ง ทั้งนี้ AOT มุ่งเป้าให้ท่าอากาศยานเป็น Green Airport และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ Net Zero ภายในปี 2587 ในระดับนานาชาติ อาคาร SAT-1 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังได้รับรางวัล "ท่าอากาศยานสวยที่สุดในโลกปี 2567"จาก Prix Versailles ของ UNESCO ซึ่งเป็นการยืนยันความสำเร็จในการผสานเอกลักษณ์ไทยเข้ากับสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน
จากความมุ่งมั่นเหล่านี้ AOT ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคและเชื่อมโยงการเดินทางทางอากาศแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับท่าอากาศยานของไทยให้เป็น 1 ใน 20 ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกภายใน 5 ปี และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็น 1 ใน 10 ของโลก และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างยั่งยืน
https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=T1pQamowMkdiUXc9&security=AOT&fbclid=IwY2xjawIcGldleHRuA2FlbQIxMAABHTcY8DrO5QIYR5dqDy_oJkMa2ovZANPQltpJPOm4QZrFbT6Aj7y3eNnrjg_aem_yaAqfxCwuHzycX8dD2Y0QQ