กระทรวงวัฒนธรรมเดินหน้าส่งเสริมอัตลักษณ์ - วัฒนธรรม สร้างความเข้มแข็งสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้
ชูแนวทางขับเคลื่อนปี 68 เน้นบูรณาการการทำงานหน่วยงานในพื้นที่ - หน่วยงานสังกัด วธ.
สืบสานมรดกทางวัฒนธรรม - ดึง Soft Power แดนใต้ กระตุ้นเศรษฐกิจ
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม สร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน
นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้ถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่ง วธ.ได้นำมิติทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการดำเนินโครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจและความตระหนักในการอนุรักษ์ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข และเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ Soft Power หรือทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและนำมาพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ทำให้นักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่นำมาถอดบทเรียน ประกอบด้วย เทศกาลริเวร่าท้าลมร้อน จังหวัดปัตตานี เทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง จังหวัดยะลา และเทศกาลเรือกอและ ศิลปะสีและลวดลาย จังหวัดนราธิวาส ซึ่งจากการถอดบทเรียนฯ ได้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการขับเคลื่อนงานพหุวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อาทิ การจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ในพื้นที่ส่งผลให้ทุกคนรู้จัก Soft Power หรืออัตลักษณ์ท้องถิ่นมากขึ้น ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดการยอมรับประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสันติสุขบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย ที่สำคัญในปี 2568 จะเน้นการบูรณาการการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่และหน่วยงานในสังกัด วธ. อาทิ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ด้วยมิติทางวัฒนธรรมในพื้นที่ อาทิ การจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารและขนมไทย ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และการจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ ทั้งนี้ในการประชุมถอดบทเรียนดังกล่าวได้หารือถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยนำผลที่ได้จากการถอดบทเรียนฯ ไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม

นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
เดินหน้าส่งเสริมอัตลักษณ์ - วัฒนธรรม สร้างความเข้มแข็งสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ ชูแนวทางขับเคลื่อนปี 68 เน้นบูรณาการฯ
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่นำมาถอดบทเรียน ประกอบด้วย เทศกาลริเวร่าท้าลมร้อน จังหวัดปัตตานี เทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง จังหวัดยะลา และเทศกาลเรือกอและ ศิลปะสีและลวดลาย จังหวัดนราธิวาส ซึ่งจากการถอดบทเรียนฯ ได้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการขับเคลื่อนงานพหุวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อาทิ การจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ในพื้นที่ส่งผลให้ทุกคนรู้จัก Soft Power หรืออัตลักษณ์ท้องถิ่นมากขึ้น ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดการยอมรับประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสันติสุขบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย ที่สำคัญในปี 2568 จะเน้นการบูรณาการการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่และหน่วยงานในสังกัด วธ. อาทิ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ด้วยมิติทางวัฒนธรรมในพื้นที่ อาทิ การจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารและขนมไทย ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และการจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ ทั้งนี้ในการประชุมถอดบทเรียนดังกล่าวได้หารือถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยนำผลที่ได้จากการถอดบทเรียนฯ ไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม