
- ดูจบ คิดถึงตอนดูหนังสารคดี JFK : Revisited : Through the Looking Glass (2021) ในแง่การนำเสนอข้อมูลที่อิงตามแฟ้มคดีทางประวัติศาสตร์อย่างหนักแน่นเหมือนกันแต่ต่างตรงที่จังหวะการเล่ามีการพลิกแพลงหลายสิ่งไม่ว่าการใช้ดนตรีหรือการตัดต่อสุดชี้คที่ทำให้ตัวหนังพุ่งกระโดดด้วยความไวแสงจนแซงผมที่เพิ่งสตาร์ทเครื่องติดไปแบบไม่เห็นฝุ่น ความที่ภาพจำในหัวนึกเพียงว่าเป็นช่วงพักเบรกก่อนจะเข้าสู่สงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกากับฝ่ายคอมมิวนิสต์แบบเต็มระบบแค่นั้น พอหนังนำเสนอเรื่องราวที่ไม่เคยรู้จักอย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมาก่อน แน่นอนว่าเมื่อความรู้เป็นศูนย์ก็ต้องปรับพื้นฐานกันใหม่ตั้งแต่ต้นแต่การเล่าของมันนี่แหล่ะที่ไม่เปิดช่องว่างให้คิดมันเลยทำให้เราเอ๋อเหรอตั้งแต่ไม่ทันได้เบิ้ลเครื่อง

- ตามไม่ทันใช่ว่าจะไม่รู้เรื่อง ในความเอาแต่ใจก็มีส่วนที่ชอบคือการใช้ Sounds ประกอบที่นำเอาทำนองนิยมอย่าง Jazz , Blues ที่ขับร้องโดยนักร้องผิวสีชื่อดังมากหน้าในสมัยนั้นมาเสริมการบรรยายเนื้อหาไม่ให้บรรยากาศเงียบเหงาเป็นป่าช้า อีกทั้งมีการใช้สีฟ้า สีเหลือง และ สีครีมที่เห็นบน Poster เป็น Theme หลักตัดกับภาพขาว-ดำและสี หรือ การค่อยเผย Title รายชื่อทีมงานทีละช่วงตึกด้วยความใจเย็นก่อนจะโผล่ชื่อเรื่องตอนกลางเรื่องจนผมตะลึงก็ช่วยทำให้สไตล์การเล่ามีจังหวะทะเล้นและชีวิตชีวาในแบบ Classic พอสิ่งเหล่านี้มัน Run อย่างสามัคคีกลายเป็นช่วงเวลาการเสพสมรมย์รินที่แทรกอาการไมเกรนเป็นของแถม

- ถึง Timeline จะเน้นไปที่ปี ค.ศ 1960 ในช่วงที่คองโกได้รับเอกราชครั้งแรกหลังจากตกเป็นอาณานิคมของเบลเยียมมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 เป็นหลัก แต่ไม่ได้เล่าตรงดิ่งซะทีเดียว ระหว่างทางได้แวะย้อน Timeline ก่อนหน้านั้นว่าต้นเหตุมาจากอะไร ? ก่อนจะวกกลับมาดูในปีดังกล่าวพร้อมปัญหาตามมาอย่างการแบ่งแยกดินแดนจนได้ ปาทริส ลูมูมบา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การปรากฎบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องทั้งนักร้อง นักดนตรี นักการเมือง ยัน นักเคลื่อนไหวมากหน้าหลายตาสมัยนั้นโดยใช้วิธีการนำ Footage ที่หามาได้จากสื่อแจ้งและสื่อลับหลายสำนักแล้วแกะใจคำสำคัญที่ยาวเป็นหางว่าวร้อยเรียงเป็นเนื้อเดียวด้วยความยาวที่ล่อไปถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที

- ระหว่างที่คนในบ้านกำลังมีเรื่อง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีพี่ใหญ่อย่างอเมริกันกับรัสเซียมาเกี่ยวในฐานะประเทศมหาอำนาจที่ต้องการขยายอำนาจไปตามประเทศที่ 3 ก็สร้างความสั่นคลอนอุดมการณ์ภายในบ้านที่กำลังรับศึกหนักทุกรอบทางเป็นอย่างมากจนนำไปสู่การลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ปาทริส ลูมูมบา ในปี 1961 อย่างอุกอาจทำให้นักต่อสู้รวมตัวกันเรียกร้องต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ยกเลิกระบบอาณานิคมในเวลาต่อมารวมถึงการตกเป็นอาณานิคมของเบลเยียมอีกครั้ง จากที่มองว่ายุคนั้นเป็นสภาพอย่างไรพอดูเรื่องนี้ก็ยิ่งตอกย้ำให้ภาพจำในสมองมันชัดขึ้นอีกโดยเฉพาะในแง่ของสงครามที่เห็นการปะทะก็รู้เรื่องเลยว่ามันคือภาพจำของความรุนแรง

- แม้ไม่เข้าใจทุกคำเพราะเผลอวูบไป 2 ช่วงใหญ่แต่โดยรวมก็สามารถรับทราบในสิ่งที่เกิดขึ้นในคองโกไม่ยากจนหันไปมองสภาพดินแดนคนดีย์ก็ได้แต่ถอนหายใจที่สังคมยังคงอนุรักษ์ชุดความคิดคร่ำครึที่ล้าสมัยแล้วจนยากจะเปลี่ยนในเร็ววัน อีกทั้งก่อนดูคิดว่าเรื่องนี้ผู้กำกับเป็นชาวคองโก้แต่ที่ไหนได้กลับเป็นชาวเบลเยียมชื่อว่า Johan Grimonprez ถึงแง่นึงจะมองว่าเป็นความตลกร้ายเชิงเสียดสีชาติพันธุ์หรือมองว่าต้องการไถ่บาปเหมือนที่ Angelina Jolie กำกับเรื่อง First They Killed My Father (2017) หรือเปล่าก็สุดแท้แต่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสียหายมหาศาลล้วนมาจากผู้นำที่เห็นแก่ได้ อย่างเช่น Scene ท้ายที่หนังสับไปมาระหว่างนักร้องสาวบรรเลงเพลงกับภาพผู้คนวิ่งหนีจากสงครามพร้อมกับเสียงกลองตีรัว ๆ สุดเสียงแทบจะขาดใจตาย เป็นอะไรที่เจ็บปวดจนเผลอน้ำตาคลอเบ้าที่เห็นคนในชาติที่มีสีผิวเดียวกันต้องมาทำร้ายกันด้วยเพราะความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่มาจากชาติอื่นเพียงเพื่อแสวงผลประโยชน์ที่ชื่อว่าอำนาจตามยศฐาซึ่งแลกมาด้วยเลือดเนื้อจนลืมหรือมองข้ามในส่วนของศีลธรรมที่เป็นรากเหง้าของจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ : EMistique
[CR] ์์No.140 Soundtrack to a Coup d’Etat (2024) : ดนตรีบรรเลงอุดมการณ์ ทำนองบรรยายประวัติศาสตร์
- ดูจบ คิดถึงตอนดูหนังสารคดี JFK : Revisited : Through the Looking Glass (2021) ในแง่การนำเสนอข้อมูลที่อิงตามแฟ้มคดีทางประวัติศาสตร์อย่างหนักแน่นเหมือนกันแต่ต่างตรงที่จังหวะการเล่ามีการพลิกแพลงหลายสิ่งไม่ว่าการใช้ดนตรีหรือการตัดต่อสุดชี้คที่ทำให้ตัวหนังพุ่งกระโดดด้วยความไวแสงจนแซงผมที่เพิ่งสตาร์ทเครื่องติดไปแบบไม่เห็นฝุ่น ความที่ภาพจำในหัวนึกเพียงว่าเป็นช่วงพักเบรกก่อนจะเข้าสู่สงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกากับฝ่ายคอมมิวนิสต์แบบเต็มระบบแค่นั้น พอหนังนำเสนอเรื่องราวที่ไม่เคยรู้จักอย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมาก่อน แน่นอนว่าเมื่อความรู้เป็นศูนย์ก็ต้องปรับพื้นฐานกันใหม่ตั้งแต่ต้นแต่การเล่าของมันนี่แหล่ะที่ไม่เปิดช่องว่างให้คิดมันเลยทำให้เราเอ๋อเหรอตั้งแต่ไม่ทันได้เบิ้ลเครื่อง
- ตามไม่ทันใช่ว่าจะไม่รู้เรื่อง ในความเอาแต่ใจก็มีส่วนที่ชอบคือการใช้ Sounds ประกอบที่นำเอาทำนองนิยมอย่าง Jazz , Blues ที่ขับร้องโดยนักร้องผิวสีชื่อดังมากหน้าในสมัยนั้นมาเสริมการบรรยายเนื้อหาไม่ให้บรรยากาศเงียบเหงาเป็นป่าช้า อีกทั้งมีการใช้สีฟ้า สีเหลือง และ สีครีมที่เห็นบน Poster เป็น Theme หลักตัดกับภาพขาว-ดำและสี หรือ การค่อยเผย Title รายชื่อทีมงานทีละช่วงตึกด้วยความใจเย็นก่อนจะโผล่ชื่อเรื่องตอนกลางเรื่องจนผมตะลึงก็ช่วยทำให้สไตล์การเล่ามีจังหวะทะเล้นและชีวิตชีวาในแบบ Classic พอสิ่งเหล่านี้มัน Run อย่างสามัคคีกลายเป็นช่วงเวลาการเสพสมรมย์รินที่แทรกอาการไมเกรนเป็นของแถม
- ถึง Timeline จะเน้นไปที่ปี ค.ศ 1960 ในช่วงที่คองโกได้รับเอกราชครั้งแรกหลังจากตกเป็นอาณานิคมของเบลเยียมมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 เป็นหลัก แต่ไม่ได้เล่าตรงดิ่งซะทีเดียว ระหว่างทางได้แวะย้อน Timeline ก่อนหน้านั้นว่าต้นเหตุมาจากอะไร ? ก่อนจะวกกลับมาดูในปีดังกล่าวพร้อมปัญหาตามมาอย่างการแบ่งแยกดินแดนจนได้ ปาทริส ลูมูมบา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การปรากฎบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องทั้งนักร้อง นักดนตรี นักการเมือง ยัน นักเคลื่อนไหวมากหน้าหลายตาสมัยนั้นโดยใช้วิธีการนำ Footage ที่หามาได้จากสื่อแจ้งและสื่อลับหลายสำนักแล้วแกะใจคำสำคัญที่ยาวเป็นหางว่าวร้อยเรียงเป็นเนื้อเดียวด้วยความยาวที่ล่อไปถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที
- ระหว่างที่คนในบ้านกำลังมีเรื่อง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีพี่ใหญ่อย่างอเมริกันกับรัสเซียมาเกี่ยวในฐานะประเทศมหาอำนาจที่ต้องการขยายอำนาจไปตามประเทศที่ 3 ก็สร้างความสั่นคลอนอุดมการณ์ภายในบ้านที่กำลังรับศึกหนักทุกรอบทางเป็นอย่างมากจนนำไปสู่การลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ปาทริส ลูมูมบา ในปี 1961 อย่างอุกอาจทำให้นักต่อสู้รวมตัวกันเรียกร้องต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ยกเลิกระบบอาณานิคมในเวลาต่อมารวมถึงการตกเป็นอาณานิคมของเบลเยียมอีกครั้ง จากที่มองว่ายุคนั้นเป็นสภาพอย่างไรพอดูเรื่องนี้ก็ยิ่งตอกย้ำให้ภาพจำในสมองมันชัดขึ้นอีกโดยเฉพาะในแง่ของสงครามที่เห็นการปะทะก็รู้เรื่องเลยว่ามันคือภาพจำของความรุนแรง
- แม้ไม่เข้าใจทุกคำเพราะเผลอวูบไป 2 ช่วงใหญ่แต่โดยรวมก็สามารถรับทราบในสิ่งที่เกิดขึ้นในคองโกไม่ยากจนหันไปมองสภาพดินแดนคนดีย์ก็ได้แต่ถอนหายใจที่สังคมยังคงอนุรักษ์ชุดความคิดคร่ำครึที่ล้าสมัยแล้วจนยากจะเปลี่ยนในเร็ววัน อีกทั้งก่อนดูคิดว่าเรื่องนี้ผู้กำกับเป็นชาวคองโก้แต่ที่ไหนได้กลับเป็นชาวเบลเยียมชื่อว่า Johan Grimonprez ถึงแง่นึงจะมองว่าเป็นความตลกร้ายเชิงเสียดสีชาติพันธุ์หรือมองว่าต้องการไถ่บาปเหมือนที่ Angelina Jolie กำกับเรื่อง First They Killed My Father (2017) หรือเปล่าก็สุดแท้แต่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสียหายมหาศาลล้วนมาจากผู้นำที่เห็นแก่ได้ อย่างเช่น Scene ท้ายที่หนังสับไปมาระหว่างนักร้องสาวบรรเลงเพลงกับภาพผู้คนวิ่งหนีจากสงครามพร้อมกับเสียงกลองตีรัว ๆ สุดเสียงแทบจะขาดใจตาย เป็นอะไรที่เจ็บปวดจนเผลอน้ำตาคลอเบ้าที่เห็นคนในชาติที่มีสีผิวเดียวกันต้องมาทำร้ายกันด้วยเพราะความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่มาจากชาติอื่นเพียงเพื่อแสวงผลประโยชน์ที่ชื่อว่าอำนาจตามยศฐาซึ่งแลกมาด้วยเลือดเนื้อจนลืมหรือมองข้ามในส่วนของศีลธรรมที่เป็นรากเหง้าของจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ : EMistique
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้