ขอบคุณที่มา:
https://mgronline.com/around/detail/9680000013996
บรรดานักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินระดับโลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมอร์แกน สแตนลีย์ ไปจนถึงโนมูระ โฮลดิ้ง ระบุชื่อ อินเดีย และไทย เป็นหนึ่งในชาติที่เสี่ยงเป็นเป้าหมายลำดับถัดไป ในความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับบรรดาคู่หูทางการค้าทั้งหลาย
รายงานของบลูมเบิร์ก ระบุว่า ไทย และ อินเดีย ถูกล็อกเป้าในลำดับต้นๆ เพราะว่าการเรียกเก็บภาษีของพวกเขาที่กำหนดกับสหรัฐฯ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วถือว่าสูงกว่าอัตราภาษีที่อเมริกาเรียกเก็บจากทั้ง 2 ชาติ ค่อนข้างมาก อ้างอิงคำประเมินจากบรรดานักวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวเน้นย้ำว่า ทรัมป์ ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายที่จะดำเนินการ ในนั้นรวมถึงประเทศใดบ้างที่เป็นเป้าหมายและจะใช้มาตรการดังกล่าวบนพื้นฐานอะไร
"บรรดาชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้" พวกนักวิเคราะห์ของสถาบันการเงินโนมูระ ที่นำโดย โวนาล เวอร์มา กล่าวในบันทึกที่ส่งถึงลูกค้า "เราคาดหมายว่าบรรดาเศรษฐกิจเอเชียจะยกระดับเจรจากับทรัมป์"
เมื่อวันศุกร์ (7 ก.พ.) ทรัมป์แถลงแผนเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ เพื่อรับประกันว่าสหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ บ่งชี้ว่าเขาใช้เลือกใช้แนวทางนี้แทนคำขู่เดิมของเขาเกี่ยวกับการรีดภาษีกับทุกประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ ทรัมป์ เผยด้วยว่าจะมีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมในวันอังคาร (11 ก.พ.) และวันพุธ (12 ก.พ.) และมาตรการรีดภาษีจะมีผลบังคับใช้แทนทันทีหรือไม่นานหลังจากนั้น
คำขู่นี้จะถาโถมแรงกดดันเพิ่มเติมแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ทั่วเอเชีย ที่พยายามพะเน้าพะนอ ทรัมป์ ให้ละเว้นโหมกระพือวิกฤตในเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกของพวกเขา ผ่านสงครามการค้ารอบใหม่
มีรายงานว่าเวลานี้บรรดาผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวยักษ์ใหญ่สัญชาติอินเดีย กำลังเจรจาขอซื้อเชื้อเพลิงจากสหรัฐฯ เพิ่มเติม ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตระหว่างผู้นำทั้ง 2 ชาติในสัปดาห์นี้ ส่วน ไทย กำลังพิจารณาซื้อผลิตภัณฑ์ของอเมริกามากขึ้นเช่นกัน เพิ่มเติมจากการยกระดับนำเข้าอีเทนและสินค้าทางการเกษตรที่วางแผนไว้สำหรับปีนี้
แมวา คูซิน นักเศรษฐศาสตร์จากบลูมเบิร์ก และ จอร์จ ซาราเวลอส แห่งดอยช์แบงก์ เป็นหนึ่งในหลายคนที่เชื่อว่าระดับการเรียกเก็บภาษีของอินเดีย ที่แตกต่างกันอย่างมากกับสหรัฐฯ ส่งผลให้ประเทศแห่งนี้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกแก้แค้น
การวิเคราะห์ของคูซิน บอกว่าอัตราภาษีที่อินเดียเรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ สูงกว่าอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าจากอินเดีย เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 10%
อย่างไรก็ตาม ซาเวลอส ระบุในรายงานว่าจากการตีความอย่างกว้างๆ ของภาษีศุลกากรตอบโต้ ซึ่งอาจรวมถึงประเทศต่างๆ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ หรือเรียกเก็บภาษีบริษัทอเมริกา อาจก่อผลกระทบใหญ่หลวงแก่ทุกประเทศ
พวกนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ที่นำโดย ชีแทน อะห์ยา (Chetan Ahya) มองว่าอินเดียและไทย เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจเอเชียที่อาจต้องเจอกับการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมอีก 4% ถึง 6% บนสมมติฐานที่ว่าสหรัฐฯ กำหนดมาตรการเล่นงานภาษี เพื่อลดความแตกต่างระหว่าง 2 ฝ่าย พร้อมระบุว่ามันอาจกระตุ้นให้ อินเดีย ยกระดับการจัดซื้ออุปกรณ์กลาโหม พลังงานและเครื่องบินจากอเมริกา
ทั้งนี้ ระดับของผลกระทบของมาตรการรีดภาษีจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของนโยบายที่จะเกิดขึ้น ในนั้นรวมถึงกรณีที่ว่ารัฐบาลทรัมป์ล็อกเป้ารีดภาษีโดยเฉลี่ยทั้งประเทศ หรือเฉพาะเจาะจงกับบางอุตสาหกรรมหรือบางผลิตภัณฑ์ รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ ในการพิจารณาด้วย
ยกตัวอย่างเช่นในบางกรณี มีบางประเทศที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ โดยรวมแล้วค่อนข้างต่ำ แต่ขณะเดียวกันได้เรียกเก็บภาษีสินค้าบางรายการในระดับที่สูงมากๆ อย่างเช่นยานยนต์และสินค้าทางการเกษตร
"มาตรการทางภาษีศุลกากรได้มีความหนักหน่วงมากขึ้นกว่าครั้งระหว่างสงครามการค้าสมัยแรกของทรัมป์ ในช่วงปี 2018 ถึง 2019 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว" พวกนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์กล่าว พร้อมเตือนว่าความตึงเครียดทางการค้าอาจโหมกระพือหนักหน่วงขึ้นอีก "และพัฒนาการของสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง"
ตื่นๆ งานเข้าแล้ว! นักวิเคราะห์ต่างชาติชี้ ทรัมป์จ้องเล่น ’ไทย-อินเดีย‘ เป้าหมายต่อไปที่จะรีดภาษี
ขอบคุณที่มา: https://mgronline.com/around/detail/9680000013996
บรรดานักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินระดับโลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมอร์แกน สแตนลีย์ ไปจนถึงโนมูระ โฮลดิ้ง ระบุชื่อ อินเดีย และไทย เป็นหนึ่งในชาติที่เสี่ยงเป็นเป้าหมายลำดับถัดไป ในความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับบรรดาคู่หูทางการค้าทั้งหลาย
รายงานของบลูมเบิร์ก ระบุว่า ไทย และ อินเดีย ถูกล็อกเป้าในลำดับต้นๆ เพราะว่าการเรียกเก็บภาษีของพวกเขาที่กำหนดกับสหรัฐฯ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วถือว่าสูงกว่าอัตราภาษีที่อเมริกาเรียกเก็บจากทั้ง 2 ชาติ ค่อนข้างมาก อ้างอิงคำประเมินจากบรรดานักวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวเน้นย้ำว่า ทรัมป์ ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายที่จะดำเนินการ ในนั้นรวมถึงประเทศใดบ้างที่เป็นเป้าหมายและจะใช้มาตรการดังกล่าวบนพื้นฐานอะไร
"บรรดาชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้" พวกนักวิเคราะห์ของสถาบันการเงินโนมูระ ที่นำโดย โวนาล เวอร์มา กล่าวในบันทึกที่ส่งถึงลูกค้า "เราคาดหมายว่าบรรดาเศรษฐกิจเอเชียจะยกระดับเจรจากับทรัมป์"
เมื่อวันศุกร์ (7 ก.พ.) ทรัมป์แถลงแผนเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ เพื่อรับประกันว่าสหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ บ่งชี้ว่าเขาใช้เลือกใช้แนวทางนี้แทนคำขู่เดิมของเขาเกี่ยวกับการรีดภาษีกับทุกประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ ทรัมป์ เผยด้วยว่าจะมีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมในวันอังคาร (11 ก.พ.) และวันพุธ (12 ก.พ.) และมาตรการรีดภาษีจะมีผลบังคับใช้แทนทันทีหรือไม่นานหลังจากนั้น
คำขู่นี้จะถาโถมแรงกดดันเพิ่มเติมแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ทั่วเอเชีย ที่พยายามพะเน้าพะนอ ทรัมป์ ให้ละเว้นโหมกระพือวิกฤตในเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกของพวกเขา ผ่านสงครามการค้ารอบใหม่
มีรายงานว่าเวลานี้บรรดาผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวยักษ์ใหญ่สัญชาติอินเดีย กำลังเจรจาขอซื้อเชื้อเพลิงจากสหรัฐฯ เพิ่มเติม ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตระหว่างผู้นำทั้ง 2 ชาติในสัปดาห์นี้ ส่วน ไทย กำลังพิจารณาซื้อผลิตภัณฑ์ของอเมริกามากขึ้นเช่นกัน เพิ่มเติมจากการยกระดับนำเข้าอีเทนและสินค้าทางการเกษตรที่วางแผนไว้สำหรับปีนี้
แมวา คูซิน นักเศรษฐศาสตร์จากบลูมเบิร์ก และ จอร์จ ซาราเวลอส แห่งดอยช์แบงก์ เป็นหนึ่งในหลายคนที่เชื่อว่าระดับการเรียกเก็บภาษีของอินเดีย ที่แตกต่างกันอย่างมากกับสหรัฐฯ ส่งผลให้ประเทศแห่งนี้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกแก้แค้น
การวิเคราะห์ของคูซิน บอกว่าอัตราภาษีที่อินเดียเรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ สูงกว่าอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าจากอินเดีย เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 10%
อย่างไรก็ตาม ซาเวลอส ระบุในรายงานว่าจากการตีความอย่างกว้างๆ ของภาษีศุลกากรตอบโต้ ซึ่งอาจรวมถึงประเทศต่างๆ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ หรือเรียกเก็บภาษีบริษัทอเมริกา อาจก่อผลกระทบใหญ่หลวงแก่ทุกประเทศ
พวกนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ที่นำโดย ชีแทน อะห์ยา (Chetan Ahya) มองว่าอินเดียและไทย เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจเอเชียที่อาจต้องเจอกับการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมอีก 4% ถึง 6% บนสมมติฐานที่ว่าสหรัฐฯ กำหนดมาตรการเล่นงานภาษี เพื่อลดความแตกต่างระหว่าง 2 ฝ่าย พร้อมระบุว่ามันอาจกระตุ้นให้ อินเดีย ยกระดับการจัดซื้ออุปกรณ์กลาโหม พลังงานและเครื่องบินจากอเมริกา
ทั้งนี้ ระดับของผลกระทบของมาตรการรีดภาษีจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของนโยบายที่จะเกิดขึ้น ในนั้นรวมถึงกรณีที่ว่ารัฐบาลทรัมป์ล็อกเป้ารีดภาษีโดยเฉลี่ยทั้งประเทศ หรือเฉพาะเจาะจงกับบางอุตสาหกรรมหรือบางผลิตภัณฑ์ รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ ในการพิจารณาด้วย
ยกตัวอย่างเช่นในบางกรณี มีบางประเทศที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ โดยรวมแล้วค่อนข้างต่ำ แต่ขณะเดียวกันได้เรียกเก็บภาษีสินค้าบางรายการในระดับที่สูงมากๆ อย่างเช่นยานยนต์และสินค้าทางการเกษตร
"มาตรการทางภาษีศุลกากรได้มีความหนักหน่วงมากขึ้นกว่าครั้งระหว่างสงครามการค้าสมัยแรกของทรัมป์ ในช่วงปี 2018 ถึง 2019 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว" พวกนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์กล่าว พร้อมเตือนว่าความตึงเครียดทางการค้าอาจโหมกระพือหนักหน่วงขึ้นอีก "และพัฒนาการของสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง"