![](https://f.ptcdn.info/995/086/000/m6u46g68i501J5hqLCy-o.jpg)
ตามกฎหมาย น้อย และ ปลื้ม มีสิทธิคนในครึ่งในที่ดิน
A. ปี 2552 เปรมและครอบครัวย้ายไปอยู่อาศัยในที่ดิน
B. ปี 2559 สมศักดิ์เสียชีวิต
C. ปี 2563 นิดหน่อยเสียชีวิต สั่งเสียไว้กับน้อยว่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ครอบครัวเปรมให้เสร็จ
D. ปี 2564 สมศรี เสียชีวิต
E. ปี 2566 เปรม เสียชีวิต ระหว่างงานศพเปรม น้อยแจ้งแก่ปลื้มว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ปลื้มให้แล้วเสร็จตามคำสั่งนิดหน่อย
F. กลางปี 2567 น้อยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนิดหน่อย ระหว่างกระบวนการทางศาลยังพูดคุยกับปลื้มว่าจะไปจัดการโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จ ในระหว่างนั้นพูดคุยกันแบบลูกพี่ลูกน้องตามปกติ น้อยยังไม่มีความคิดจะเอาที่ดินไว้เอง
G. ปลายปี 2567 น้อยไม่ยอมรับโทรศัพท์ บ่ายเบี่ยงไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน จากการพูดคุยกันหลายครั้ง น้อยแจ้งว่าเดิมทีมารดาตนมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว ที่ดินจึงตกได้แก่ตนผู้เดียว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็ต้องมีแค่ชื่อตนผู้เดียว (ปลื้มอัดเสียงการสนทนาไว้ได้หลายครั้งที่มีการสนทนาในลักษณะนี้)
H. จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ในสำนักงานที่ดิน ทราบว่าน้อยได้นำคำสั่งศาลไปให้เจ้าหน้าที่ระบุชื่อน้อยเป็นผู้จัดการมรดกหลังโฉนด แต่ยังไม่ได้มาดำเนินการโอนที่ดินให้ผู้ใด
คำถาม 1. ปลื้มในฐานะผู้สืบสิทธิ ของสมศรี และ เปรม ต้องการจะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนิดหน่อยร่วมกับน้อย เช่นนี้สามารถยื่นคำร้องเข้าไปในคดีเดิมได้หรือไม่ และในการขอต่อศาลจะต้องมีเหตุแห่งการยื่นคำร้องหรือไม่ (ในกรณีนี้ เหตุแห่งการยื่นคำร้องคือน้อยแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว การแบ่งมรดกจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปลื้มจะต้องนำบทสนทนาที่อัดไว้ส่งศาล) ถามใจปลื้มไม่อยากใช้เทปเสียงที่อัดเพราะเป็นญาติกัน ไม่อยากกระทบกระทั่งกันมาก
คำถาม 2. ระหว่างนี้ปลื้มสามารถดำเนินการอย่างไรไม่ให้น้อยทำนิติกรรมโอนหรือขายให้แก่บุคคลอื่น หลังจากยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ปลื้มสามารถร้องขอไต่สวนฉุกเฉินให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำนิติกรรมในที่ดินได้หรือไม่
จะยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับญาติที่เป็นผู้จัดการมรดกคนปัจจุบัน
ตามกฎหมาย น้อย และ ปลื้ม มีสิทธิคนในครึ่งในที่ดิน
A. ปี 2552 เปรมและครอบครัวย้ายไปอยู่อาศัยในที่ดิน
B. ปี 2559 สมศักดิ์เสียชีวิต
C. ปี 2563 นิดหน่อยเสียชีวิต สั่งเสียไว้กับน้อยว่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ครอบครัวเปรมให้เสร็จ
D. ปี 2564 สมศรี เสียชีวิต
E. ปี 2566 เปรม เสียชีวิต ระหว่างงานศพเปรม น้อยแจ้งแก่ปลื้มว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ปลื้มให้แล้วเสร็จตามคำสั่งนิดหน่อย
F. กลางปี 2567 น้อยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนิดหน่อย ระหว่างกระบวนการทางศาลยังพูดคุยกับปลื้มว่าจะไปจัดการโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จ ในระหว่างนั้นพูดคุยกันแบบลูกพี่ลูกน้องตามปกติ น้อยยังไม่มีความคิดจะเอาที่ดินไว้เอง
G. ปลายปี 2567 น้อยไม่ยอมรับโทรศัพท์ บ่ายเบี่ยงไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน จากการพูดคุยกันหลายครั้ง น้อยแจ้งว่าเดิมทีมารดาตนมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว ที่ดินจึงตกได้แก่ตนผู้เดียว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็ต้องมีแค่ชื่อตนผู้เดียว (ปลื้มอัดเสียงการสนทนาไว้ได้หลายครั้งที่มีการสนทนาในลักษณะนี้)
H. จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ในสำนักงานที่ดิน ทราบว่าน้อยได้นำคำสั่งศาลไปให้เจ้าหน้าที่ระบุชื่อน้อยเป็นผู้จัดการมรดกหลังโฉนด แต่ยังไม่ได้มาดำเนินการโอนที่ดินให้ผู้ใด
คำถาม 1. ปลื้มในฐานะผู้สืบสิทธิ ของสมศรี และ เปรม ต้องการจะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนิดหน่อยร่วมกับน้อย เช่นนี้สามารถยื่นคำร้องเข้าไปในคดีเดิมได้หรือไม่ และในการขอต่อศาลจะต้องมีเหตุแห่งการยื่นคำร้องหรือไม่ (ในกรณีนี้ เหตุแห่งการยื่นคำร้องคือน้อยแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว การแบ่งมรดกจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปลื้มจะต้องนำบทสนทนาที่อัดไว้ส่งศาล) ถามใจปลื้มไม่อยากใช้เทปเสียงที่อัดเพราะเป็นญาติกัน ไม่อยากกระทบกระทั่งกันมาก
คำถาม 2. ระหว่างนี้ปลื้มสามารถดำเนินการอย่างไรไม่ให้น้อยทำนิติกรรมโอนหรือขายให้แก่บุคคลอื่น หลังจากยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ปลื้มสามารถร้องขอไต่สวนฉุกเฉินให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำนิติกรรมในที่ดินได้หรือไม่