ยิ่งรู้สึกกังวล-ซึมเศร้า ยิ่งต้องไปทำงาน ได้พบปะผู้คน ได้โฟกัสกับงาน มีรายได้ ช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตใจ
วัยทำงานที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า มักจะมีพฤติกรรมหนึ่งที่เห็นชัดคือ อาการกลัวสังคม แยกตัวเองออกจากสังคม อาจเพราะพวกเขารู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจพวกเขาอย่างแท้จริง รวมถึงรู้สึกหดหู่และวิจารณ์ตัวเองในเชิงลบจนไม่อยากพบเจอผู้คน นำมาสู่การขาดงาน-ลางานบ่อยเป็นประจำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลงตามไปด้วย
ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงในโลกการทำงานหลายครั้ง และก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ตรงกันว่า หากนายจ้างไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพจิตให้พนักงาน ก็อาจส่งผลให้ผลิตผลของบริษัทตกต่ำลง
ล่าสุด.. ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Psychiatric Research & Clinical Practice ยืนยันประเด็นนี้เช่นกัน โดยผลการวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความวิตกกังวลทางสังคมและภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะ “ทำงานได้น้อยชั่วโมงกว่าคนทั่วไป”
นาตาลี ดาติลโล (Natalie Datillo) นักจิตวิทยาคลินิกและอาจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด อธิบายภาพรวมของสุขภาพจิตวัยทำงานยุคนี้ว่า ทั้งซีอีโอและพนักงานต่างก็ได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัญหาสุขภาพจิตที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอาการที่พบบ่อยคือ “ภาวะซึมเศร้า” และ “ภาวะวิตกกังวล” ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว แยกตัวออกจากสังคม
แต่การแยกตัวหรือหลีกเลี่ยงสังคมการทำงาน ยิ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า-วิตกกังวลรู้สึกโดดเดี่ยว และถอนตัวออกจากสังคมมากขึ้น
.
ในทางกลับกัน การทำงานเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพจิตในแง่ของการช่วยให้ชีวิตมีระเบียบ มีกิจกรรมให้ทำ มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และที่สำคัญคือ มีรายได้ ซึ่งทำให้เราพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระคนอื่น อีกทั้งเมื่อเราได้โฟกัสกับงาน ก็ช่วยลดอาการฟุ่งซ่านหรือความคิดเชิงลบต่างๆ ลงได้
.
.
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1164996?anm=
.
#กรุงเทพธุรกิจ #InsightForOpportunities #กรุงเทพธุรกิจLifestyle #กรุงเทพธุรกิจWorklife
ยิ่งรู้สึกกังวล-ซึมเศร้า ยิ่งต้องไปทำงาน ได้พบปะผู้คน ได้โฟกัสกับงาน มีรายได้ ช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตใจ
วัยทำงานที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า มักจะมีพฤติกรรมหนึ่งที่เห็นชัดคือ อาการกลัวสังคม แยกตัวเองออกจากสังคม อาจเพราะพวกเขารู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจพวกเขาอย่างแท้จริง รวมถึงรู้สึกหดหู่และวิจารณ์ตัวเองในเชิงลบจนไม่อยากพบเจอผู้คน นำมาสู่การขาดงาน-ลางานบ่อยเป็นประจำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลงตามไปด้วย
ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงในโลกการทำงานหลายครั้ง และก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ตรงกันว่า หากนายจ้างไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพจิตให้พนักงาน ก็อาจส่งผลให้ผลิตผลของบริษัทตกต่ำลง
ล่าสุด.. ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Psychiatric Research & Clinical Practice ยืนยันประเด็นนี้เช่นกัน โดยผลการวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความวิตกกังวลทางสังคมและภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะ “ทำงานได้น้อยชั่วโมงกว่าคนทั่วไป”
นาตาลี ดาติลโล (Natalie Datillo) นักจิตวิทยาคลินิกและอาจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด อธิบายภาพรวมของสุขภาพจิตวัยทำงานยุคนี้ว่า ทั้งซีอีโอและพนักงานต่างก็ได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัญหาสุขภาพจิตที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอาการที่พบบ่อยคือ “ภาวะซึมเศร้า” และ “ภาวะวิตกกังวล” ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว แยกตัวออกจากสังคม
แต่การแยกตัวหรือหลีกเลี่ยงสังคมการทำงาน ยิ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า-วิตกกังวลรู้สึกโดดเดี่ยว และถอนตัวออกจากสังคมมากขึ้น
.
ในทางกลับกัน การทำงานเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพจิตในแง่ของการช่วยให้ชีวิตมีระเบียบ มีกิจกรรมให้ทำ มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และที่สำคัญคือ มีรายได้ ซึ่งทำให้เราพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระคนอื่น อีกทั้งเมื่อเราได้โฟกัสกับงาน ก็ช่วยลดอาการฟุ่งซ่านหรือความคิดเชิงลบต่างๆ ลงได้
.
.
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1164996?anm=
.
#กรุงเทพธุรกิจ #InsightForOpportunities #กรุงเทพธุรกิจLifestyle #กรุงเทพธุรกิจWorklife