(1) มีคำแนะนำว่า “ไม่ควรรู้อะไรเลย” ก่อนการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่ออรรถรสที่ดีที่สุด ซึ่งหากทำแบบนั้นได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี และแน่นอนว่าดีสำหรับภาพยนตร์แนวทริลเลอร์เกือบทุกเรื่องบนโลกใบนี้ แต่ปรากฏว่าสิ่งที่คาดว่าเป็น “หมัดเด็ด” หรือ “จุดพลิกผัน” ของเรื่องนั้น ถูกเปิดเผย(แบบเกือบจะโจ่งแจ้ง) ทั้งในโปสเตอร์หลักและในตัวอย่างหนัง จนอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเรื่องนี้ นอกเสียจากว่าจะได้ยินชื่อ Companion แล้วรู้สึกว่า “น่าสนใจดี” จึงพุ่งตัวกดตั๋วเข้าโรงแบบไม่สนสี่สนแปดใดๆ ก็น่าจะหลบเลี่ยงข้อมูลเหล่านั้นได้บ้าง
(2) แน่นอนว่าการที่ผู้สร้างจงใจไม่ปิดบังหมัดเด็ดของเรื่องนั้น คงเป็นสิ่งที่พวกเขาพิจารณามาแล้วเป็นอย่างดี และเป็นการเน้นย้ำว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ว่า ตัวละครหลักของเรื่องอย่าง “ไอริส” (Sophie Thatcher) เป็นหุ่นยนต์หรือไม่ หรือจะพูดให้ชัดกว่านั้นคือ เป็น “หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์” (humanoid robot) หรือไม่ เพราะจากตัวอย่างมันค่อนข้างชัดเจนมากๆ หรือกระทั่งโปสเตอร์หลักเราก็เห็นได้เลยว่าไอริสไม่น่าจะใช่คนปกติแน่นอน อาจจะเผื่อใจไว้สักประมาณ 10 เปอร์เซนต์ว่าหนังจะมีหักมุมอีกรอบรึเปล่าแค่นั้น
(3) สิ่งที่ยืนยันได้ว่าผู้สร้างไม่ได้ต้องการจะปิดบังอะไรมากนักกับประเด็นนี้ คือ พวกเขาเปิดเผยมันในช่วงก่อนเข้าองค์ที่สองเพื่อนำเรื่องไปสู่ประเด็นหลักของเรื่องด้วยซ้ำ หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ การเปิดเผยว่าไอริสเป็นหุ่นยนต์นั้น เป็นเพียงจุดเปลี่ยนเพื่อนำการเล่าเรื่องเข้าสู่เรื่องหลักเท่านั้นเอง หมายความว่า หากเรารู้เรื่องนี้ก่อนเข้ารับชมภาพยนตร์ มันก็อาจจะไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด ในอีกแง่หนึ่งการรู้เรื่องนี้ก่อน ก็ช่วยให้เรารู้สึกขำเล็กๆ ที่ตัวหนังพยายามปกปิดเรื่องนี้แบบก็ไม่ค่อยจะเนียนสักเท่าไหร่ด้วย
(4) ด้วยหน้าหนังของ Companion ที่มีความเป็นทริลเลอร์ตลกร้าย เราคาดหวังว่าจะได้เจออะไรที่ “ขำอย่างปวดร้าว” จากการเล่าเรื่องสุดตื่นเต้น ฉากสะบั้นเลือดสาดจอ บทสนทนาเฉียบคมทิ่มแทงใจ หรือตอนจบชวนอ้าปากค้าง แต่ปรากฏว่าภาพยนตร์ที่ดูแปลกๆ เรื่องนี้ ไม่ได้มีอะไรที่ใกล้เคียงกับอะไรที่ว่ามาเลย กลับกันมันกลับเรียบง่ายเป็นเส้นตรงมาก ไม่มีชั้นเชิงอะไรที่จะหลอกหรือตลบหลังคนดู มันทื่อจนขนาดว่า เมื่อตัวละครเล่าถึงความหลัง ก็มีฉากแฟลชแบ็คเข้ามาขยายความดื้อๆ หรือเมื่อต้องการเล่าความคิดของตัวละครพวกเขาก็ฉายภาพในความคิดนั้นออกมาให้เห็นแบบชัดเจน จนบอกได้เลยว่าการเล่าเรื่องการนำเสนอของ Companion มันธรรมดาสามัญเอามากๆ
(5) หรือหากคุณหวังความวินาศสันตะโรในทางใดก็ทางหนึ่ง แน่นอนว่า Companion ก็ยังไม่ได้ให้สิ่งนี้ได้ดีนัก ฉากที่ดูเหมือนตลกร้ายหรือรุนแรงในตัวอย่างหนัง เป็นเพียงแค่จุดเหตุการณ์เล็กๆ ที่ใส่มาเหมือนเป็นมุกตลกเท่านั้น ในร่างจริงของหนังยังคงเป็นทริลเลอร์ตามแบบฉบับที่ไม่ได้เน้นการจิกกัดหรือเสียดสี ด้วยท่าทีพิลักพิสดารในแบบที่ The Substance ทำอย่างถึงใจ หนำซ้ำความเป็นไซไฟที่เล่นกับประเด็นหุ่นยนต์ก็ยังเป็นสิ่งที่เชยและผิวเผิน อีกทั้งยังไร้ซึ่งความสมจริงใดๆ ทั้งนั้น มันเป็นแค่การนำคอนเซปต์ง่ายๆ มาขยายเรื่องให้มีความน่าสนใจเท่านั้นเอง ลองเปรียบเทียบกับ Ex Machina (2014) ดูแล้วจะเห็น “ฟ้ากับเหว”
(6) ถึงอย่างนั้นแล้วจุดประสงค์ที่แท้จริงของ Companion คือ การเข้าไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งถูกนำเสนอออกมาผ่าน 6 ตัวละคร ที่แบ่งเป็น 3 คู่ โดยคู่หลักของเรื่องอย่างไอริสและจอช (Jack Quaid) เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ Toxic ที่พบได้เห็นโดยทั่วไป โดยมุ่งไปที่ประเด็นของ “ชายเป็นใหญ่” ที่เป็นเชื้อร้ายกัดกินความสัมพันธ์ ไม่เพียงเท่านั้นการลดฐานะจากแฟนสาวไปเป็น “หุ่นยนต์แฟนสาว” ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนถึงอำนาจที่ต่างกันสุดขั้ว และความเจ็บปวดแบบที่ไม่มีทางขัดขืนที่ฝ่ายหญิงมักเป็นฝ่ายได้รับ ซึ่งความเจ็บปวดที่ไอริสได้รับน่าจะเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องแล้ว
(7) ยอมรับแต่โดยดีว่าเสน่ห์อันมากล้นของ “โซฟี แทตเชอร์” นักแสดงสาวที่เริ่มจะเฉิดฉายขึ้นมาหลังจากก่อนหน้านี้ก็รับบทซิสเตอร์บารนส์ ใน Heretic ที่เข้าฉายก่อนหน้าไม่นานนัก เป็นสิ่งที่ชูหนังให้น่าดูขึ้นมากอย่างไม่มีเหตุผล และเราพร้อมจะเอาใจช่วยเธอได้ไม่ยาก แม้ว่าความเป็นหุ่นยนต์จะแทบไม่มีอะไรน่าเชื่อถือเลยก็ตาม อีกคนที่รับลูกได้ดีอย่าง “แจ็ค เควต” ด้วยความเลวแบบบริสุทธิ์และไร้เดียงสาของเขาเป็นตัวละครที่ไม่น่าเอาใจช่วยด้วยประการทั้งปวง และคู่รัก LGBTQ อย่างอิไล (Harvey Guillén) และแพทริค (Lukas Gage) ที่เข้ามาเพิ่มความกลมกล่อมให้กับเรื่องได้อย่างมีนัยยะ
(8) ต้องชื่นชมการตลาดของ Companion ที่ทำให้ตัวหนังโดดเด่นตั้งแต่โปสเตอร์หนังแล้ว หนำซ้ำการพยายามปกปิดรายละเอียดของหนังเท่าที่ทำได้ แม้จะเป็นการตลาดที่สวนทางกับโลกยุคปัจจุบันแต่ก็เพียงพอที่จะเรียกร้องความสนใจได้ไม่น้อย คล้ายๆ กับที่ The Boy and the Heron (2023) ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ก็ต้องพูดกันตามตรงว่าตัวหนังเองยังไม่อาจจะไปถึงจุดที่เรียกได้ว่า “เป็นปรากฏการณ์” หรือถึงขั้นขึ้นไปปรากฏโฉมบนเวทีรางวัลต่างๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเสน่ห์ประหลาดบางอย่างที่ชวนให้หลงไหล ให้พูดตรงๆ ก็มาจากโซฟี แทตเชอร์ ประมาณ 90 เปอร์เซนต์!!!
Story Deocder
[รีวิว] Companion - จะรู้หรือไม่รู้อะไร ก็ไม่สู้รู้เสน่ห์ของโซฟี แทตเชอร์ ที่อบอวลจนล้นจอ
(2) แน่นอนว่าการที่ผู้สร้างจงใจไม่ปิดบังหมัดเด็ดของเรื่องนั้น คงเป็นสิ่งที่พวกเขาพิจารณามาแล้วเป็นอย่างดี และเป็นการเน้นย้ำว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ว่า ตัวละครหลักของเรื่องอย่าง “ไอริส” (Sophie Thatcher) เป็นหุ่นยนต์หรือไม่ หรือจะพูดให้ชัดกว่านั้นคือ เป็น “หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์” (humanoid robot) หรือไม่ เพราะจากตัวอย่างมันค่อนข้างชัดเจนมากๆ หรือกระทั่งโปสเตอร์หลักเราก็เห็นได้เลยว่าไอริสไม่น่าจะใช่คนปกติแน่นอน อาจจะเผื่อใจไว้สักประมาณ 10 เปอร์เซนต์ว่าหนังจะมีหักมุมอีกรอบรึเปล่าแค่นั้น
(3) สิ่งที่ยืนยันได้ว่าผู้สร้างไม่ได้ต้องการจะปิดบังอะไรมากนักกับประเด็นนี้ คือ พวกเขาเปิดเผยมันในช่วงก่อนเข้าองค์ที่สองเพื่อนำเรื่องไปสู่ประเด็นหลักของเรื่องด้วยซ้ำ หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ การเปิดเผยว่าไอริสเป็นหุ่นยนต์นั้น เป็นเพียงจุดเปลี่ยนเพื่อนำการเล่าเรื่องเข้าสู่เรื่องหลักเท่านั้นเอง หมายความว่า หากเรารู้เรื่องนี้ก่อนเข้ารับชมภาพยนตร์ มันก็อาจจะไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด ในอีกแง่หนึ่งการรู้เรื่องนี้ก่อน ก็ช่วยให้เรารู้สึกขำเล็กๆ ที่ตัวหนังพยายามปกปิดเรื่องนี้แบบก็ไม่ค่อยจะเนียนสักเท่าไหร่ด้วย
(4) ด้วยหน้าหนังของ Companion ที่มีความเป็นทริลเลอร์ตลกร้าย เราคาดหวังว่าจะได้เจออะไรที่ “ขำอย่างปวดร้าว” จากการเล่าเรื่องสุดตื่นเต้น ฉากสะบั้นเลือดสาดจอ บทสนทนาเฉียบคมทิ่มแทงใจ หรือตอนจบชวนอ้าปากค้าง แต่ปรากฏว่าภาพยนตร์ที่ดูแปลกๆ เรื่องนี้ ไม่ได้มีอะไรที่ใกล้เคียงกับอะไรที่ว่ามาเลย กลับกันมันกลับเรียบง่ายเป็นเส้นตรงมาก ไม่มีชั้นเชิงอะไรที่จะหลอกหรือตลบหลังคนดู มันทื่อจนขนาดว่า เมื่อตัวละครเล่าถึงความหลัง ก็มีฉากแฟลชแบ็คเข้ามาขยายความดื้อๆ หรือเมื่อต้องการเล่าความคิดของตัวละครพวกเขาก็ฉายภาพในความคิดนั้นออกมาให้เห็นแบบชัดเจน จนบอกได้เลยว่าการเล่าเรื่องการนำเสนอของ Companion มันธรรมดาสามัญเอามากๆ
(5) หรือหากคุณหวังความวินาศสันตะโรในทางใดก็ทางหนึ่ง แน่นอนว่า Companion ก็ยังไม่ได้ให้สิ่งนี้ได้ดีนัก ฉากที่ดูเหมือนตลกร้ายหรือรุนแรงในตัวอย่างหนัง เป็นเพียงแค่จุดเหตุการณ์เล็กๆ ที่ใส่มาเหมือนเป็นมุกตลกเท่านั้น ในร่างจริงของหนังยังคงเป็นทริลเลอร์ตามแบบฉบับที่ไม่ได้เน้นการจิกกัดหรือเสียดสี ด้วยท่าทีพิลักพิสดารในแบบที่ The Substance ทำอย่างถึงใจ หนำซ้ำความเป็นไซไฟที่เล่นกับประเด็นหุ่นยนต์ก็ยังเป็นสิ่งที่เชยและผิวเผิน อีกทั้งยังไร้ซึ่งความสมจริงใดๆ ทั้งนั้น มันเป็นแค่การนำคอนเซปต์ง่ายๆ มาขยายเรื่องให้มีความน่าสนใจเท่านั้นเอง ลองเปรียบเทียบกับ Ex Machina (2014) ดูแล้วจะเห็น “ฟ้ากับเหว”
(6) ถึงอย่างนั้นแล้วจุดประสงค์ที่แท้จริงของ Companion คือ การเข้าไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งถูกนำเสนอออกมาผ่าน 6 ตัวละคร ที่แบ่งเป็น 3 คู่ โดยคู่หลักของเรื่องอย่างไอริสและจอช (Jack Quaid) เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ Toxic ที่พบได้เห็นโดยทั่วไป โดยมุ่งไปที่ประเด็นของ “ชายเป็นใหญ่” ที่เป็นเชื้อร้ายกัดกินความสัมพันธ์ ไม่เพียงเท่านั้นการลดฐานะจากแฟนสาวไปเป็น “หุ่นยนต์แฟนสาว” ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนถึงอำนาจที่ต่างกันสุดขั้ว และความเจ็บปวดแบบที่ไม่มีทางขัดขืนที่ฝ่ายหญิงมักเป็นฝ่ายได้รับ ซึ่งความเจ็บปวดที่ไอริสได้รับน่าจะเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องแล้ว
(7) ยอมรับแต่โดยดีว่าเสน่ห์อันมากล้นของ “โซฟี แทตเชอร์” นักแสดงสาวที่เริ่มจะเฉิดฉายขึ้นมาหลังจากก่อนหน้านี้ก็รับบทซิสเตอร์บารนส์ ใน Heretic ที่เข้าฉายก่อนหน้าไม่นานนัก เป็นสิ่งที่ชูหนังให้น่าดูขึ้นมากอย่างไม่มีเหตุผล และเราพร้อมจะเอาใจช่วยเธอได้ไม่ยาก แม้ว่าความเป็นหุ่นยนต์จะแทบไม่มีอะไรน่าเชื่อถือเลยก็ตาม อีกคนที่รับลูกได้ดีอย่าง “แจ็ค เควต” ด้วยความเลวแบบบริสุทธิ์และไร้เดียงสาของเขาเป็นตัวละครที่ไม่น่าเอาใจช่วยด้วยประการทั้งปวง และคู่รัก LGBTQ อย่างอิไล (Harvey Guillén) และแพทริค (Lukas Gage) ที่เข้ามาเพิ่มความกลมกล่อมให้กับเรื่องได้อย่างมีนัยยะ
(8) ต้องชื่นชมการตลาดของ Companion ที่ทำให้ตัวหนังโดดเด่นตั้งแต่โปสเตอร์หนังแล้ว หนำซ้ำการพยายามปกปิดรายละเอียดของหนังเท่าที่ทำได้ แม้จะเป็นการตลาดที่สวนทางกับโลกยุคปัจจุบันแต่ก็เพียงพอที่จะเรียกร้องความสนใจได้ไม่น้อย คล้ายๆ กับที่ The Boy and the Heron (2023) ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ก็ต้องพูดกันตามตรงว่าตัวหนังเองยังไม่อาจจะไปถึงจุดที่เรียกได้ว่า “เป็นปรากฏการณ์” หรือถึงขั้นขึ้นไปปรากฏโฉมบนเวทีรางวัลต่างๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเสน่ห์ประหลาดบางอย่างที่ชวนให้หลงไหล ให้พูดตรงๆ ก็มาจากโซฟี แทตเชอร์ ประมาณ 90 เปอร์เซนต์!!!
Story Deocder