move นี้อยากให้ระวังกันไว้ เพราะอันตรายมากๆ ก่อนหน้านี้พี่บังเค้าจะไปโอนสัญชาติใคร จะไปซื้อทีมไหนในยุโรป จะจ้างใครมาเล่นมาเป็นโค้ช ทุ่มเงินเพื่อไปบอลโลก เราก็รู้ๆกันอยู่ว่ามันเป็นเกมระยะสั้น หมดรุ่นแล้วก็หมดกัน แต่ปัญหาคือเกมระยะยาวพี่บังเขาก็เอาด้วย แถมยังทำถึง ทุ่มทุนลีกเยาวชนทีเดียว 38 ลีก ทั่วประเทศ ถ้าโครงสร้างนี้สำเร็จแล้วไทยเรายังอยู่กันแบบเดิมๆ สมาคมไม่ลงทุนกับลีกเยาวชนแบบเขา บอกเลยว่าระยะยาวแซงไทยไปไกลแน่นอน เพราะด้วยจำนวนประชากร จำนวนเด็กเกิดใหม่ รวมถึงกระแสกีฬาฟุตบอลที่กำลังมาแรงในประเทศเค้าที่มีลุ้นไปบอลโลก ตอนนี้นักฟุตบอลทีมชาติกลายเป็นฮีโร่ของเด็กๆทุกย่อมหญ้า พ่อแม่ผู้ปกครองของคนทุกชนชั้นก็อยากให้ลูกหลานเป็นนักฟุตบอล ผมตั้งกระทู้เตือนมา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่บังฮีร์เข้ามารับตำแหน่งนายกใหม่ๆ และจะขอเตือนอีกครั้งว่าอย่าคิดว่าเขามีดีแค่โอนสัญชาติ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาลีก การพัฒนาเยาวชนต่างๆเขาก็ทำคู่ขนานกันไป เราจะประมาทไม่ได้เด็ดขาดครับ
ก่อตั้งลีกเยาวชนทั่วประเทศ
"บังฮีร์" เอริค ตอฮิร นายกฟุตบอลอินโด คนกีฬาตัวจริง จัดหนักจัดเต็ม ลบทุกข้อครหาเพื่อนบ้านอาเซี่ยนว่าดีแต่โอนสัญชาติ ไม่ยอมพัฒนาเยาวชน ระบบลีกและเยาวชนในประเทศเตรียมล่มสลายในอนาคต พี่บังเลยจัดลีกเยาวชนแบบทำถึง อุดขี้ปากชาวบ้านอาเซี่ยนซะเลย เมื่อพี่บังได้สร้างลีกใหม่ Liga 4 ให้เป็นลีกเยาวชนในระดับรากหญ้าประจำจังหวัด ประเทศอินโดมี 38 จังหวัด พี่บังก็จัดเต็มครบ 38 ลีก ทุ่มทุนกว่า 5,000 ล้านรูปี แบบไม่เคยมีสมาคมฟุตบอลอาเซี่ยนที่ไหนเคยทุ่มกับบอลระดับเยาวชนแบบนี้มาก่อน
กฏของการส่งทีมเข้าร่วม Liga 4
- จำกัดอายุผู้เล่นไม่เกิน 18 ปี
- ลงทะเบียนผู้เล่นอายุเกินได้ 7 คน
- ลงทะเบียนผู้เล่นได้ทั้งหมด 30 คน
-
โค้ชต้อง B License เป็นอย่างน้อย เอาครูพละมาคุมไม่ได้
- นักเตะที่เข้าร่วมต้องไม่ใช่นักเตะเยาวชนจากสโมสรอาชีพใน Liga 1
1 จังหวัด 1 ลีกเยาวชน อินโดนีเซีย มีลีกเยาวชน ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากกระแสกีฬาฟุตบอลในประเทศที่กำลังมาแรงจากการที่ทีมชาติชุดใหญ่เข้ารอบ 18 ทีมเอเชียและมีลุ้นไปบอลโลกในขณะนี้ ทำให้มีทีมรากหญ้าเกิดใหม่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด พี่บังเลยถือโอกาสนี้ตั้งเป็นลีกใหม่ Liga 4 เป็นพื้นที่พัฒนาเยาวชน
ฤดูกาลแรกมีสโมสรเข้าร่วมเกิน 300 ทีม และมีเยาวชนร่วมฟาดแข้งกว่า 5,000 คนเข้าไปแล้ว รูปแบบการแข่งขัน แต่ละจังหวัดสามารถไปสร้างสรรค์ได้เอง เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีจำนวนทีมเข้าร่วมไม่เท่ากัน บางจังหวัดใหญ่ๆ เช่น จังหวัดชะวามีทีมเข้าร่วมถึง 66 ทีม ก็มีการเตะลีกเป็นรอบแบ่งกลุ่มก่อน แล้วเอาแชมป์กลุ่มไปเตะรอบ knock out หาแชมป์ ส่วนจังหวัดที่มีทีมเข้าร่วมน้อย เช่น จังหวัดยอกยาการ์ตา มีเพียง 7 ทีม ก็เตะแบบลีกพบกันหมดได้ปกติ หลังจากหาแชมป์จาก 38 จังหวัดได้แล้วก็จะนำทีมแชมป์ทั้ง 38 ทีม มาเตะในรอบประเทศกันต่อไป
"บอลโลก 2026 และ 2030 เราจะยังใช้ผู้เล่นโอนสัญชาติ แต่ผมมั่นใจว่าบอลโลก 2034 เราจะใช้ผู้เล่นที่เราผลิตขึ้นมาเองได้แล้วครับ"
เป้าหมายของ Liga 4 คือ การหาเด็กที่มีพรสวรรค์ในทุกตารางนิ้วของประเทศอินโดนีเซีย หากเด็กคนไหนมีมีฝีเท้า ไม่ว่าจะอยู่บนเกาะ พื้นที่ห่างไกลที่ไหน อยู่ในซอกหลืบไหนของประเทศ เด็กทุกคนจะมีโอกาสให้โชว์ของใน Liga 4 ใกล้บ้าน เด็กๆทั้งประเทศไม่จำเป็นต้องแห่มาสมัครอะคาเดมี่ทีมใดทีมหนึ่งอยู่ทีมเดียว ซึ่งนี่คือลีกเยาวชนที่จัดเต็มที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอาเซี่ยน ยังไม่เคยมีประเทศไหนเคยทำแบบนี้มาก่อน
ปรับปรุงลีกเยาวชนของสโมสรอาชีพ
นอกจาก Liga 4 ที่เป็นลีกเยาวชนรากหญ้า พี่บังยังบังคับให้ลีก Liga 1 ลีกอาชีพสูงสุด ทุกสโมสรที่เข้าร่วมต้องมีทีมเยาวชนของตัวเองถึง 3 ลีก 3 ระดับ ต้องมีทีมเยาวชนจริงๆ ไม่ใช่มีแบบขำๆแค่ไปผูกพันธมิตรกับเด็กนักเรียนโรงเรียนแถวบ้านให้พอผ่านคลับไลเซ่น ลีกเยาวชนของสโมสรอาชีพใน Liga 1 มีชื่อว่า elite pro academy (EPG Liga 1) เป็นลีกเยาวชนในระดับ U16 , U18 , U20 ก็ยังสานต่องานอย่างต่อเนื่อง โดยฤดูกาลนี้จะลดจำนวนแมตช์ลง โดยการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม เตะกันในระบบ round robbin แล้วค่อยหาทีมมาชิงแชมป์ เตะกันในสนามปิด ไม่มีพ่อแม่ผู้ปกครองมากวน ไม่มีสาวๆมาเชียร์ ไม่มีใครเด็กคนไหนได้เป็นดาราในโลกโซเชี่ยลเหมือนชญานนท์บอล 7 สีของไทย เพื่อให้เด็กๆเยาวชนอะคาเดมี่มีสมาธิกับการแข่งขันมากที่สุด
ก่อตั้งบริษัทที่ดูแลบอลลีกเยาวชน
เมื่อการสร้างฟุตบอลเยาวชนคือเป้าหมายหลักของ PSSI สมาคมฟุตบอลอินโด จึงก่อตั้งบริษัท Liga Indonesia Baru (หรือ LIB) เพื่อเข้ามาดูแลการจัดลีกเยาวชน นำโดย
มุนนาฟรี อารีฟัดดิน หรือ "บังดิน" อีกหนึ่งตัวละครลับที่ตอนนี้คนไทยอาจจะยังรู้จักไม่มาก แต่นี่คือตัวจักรสำคัญในการพัฒนาเยาวชนอินโด เขาเป็นบอร์ดของ LIB ผู้สร้างลีกเยาวชนอินโด โปรไฟล์ของ "บังดิน" เรียบง่ายไม่มีอะไรซับซ้อน อธิบาย 1 พาราการ์ฟจบ
"บังดินเป็นทายาทของคนที่รวยที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย" อธิบายแค่นี้ก็รู้เลยทันทีว่าบังดินเป็นของจริง โดยใน ig ของบังดินยังชอบลงรูปโชว์ collection ของสะสมเป็นเสื้อแท้นักฟุตบอลดังยุค 90 อีกด้วย (ถือเป็นเรื่องโชคดีของวงการบอลอินโดที่คนรวยๆของประเทศนี้บ้าบอลกันทั้งนั้น) เมื่อคนรวยระดับนี้ลงมาพัฒนาฟุตบอลเยาวชนด้วยตัวเอง หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนก็พร้อมสนับสนุนทันที ใครที่หวังจะให้สมาคมฟุตบอลอินโดเงินหมดในเร็ววันนี้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่า เงินไม่มีหมดง่ายๆแน่นอนจากการเข้ามาเป็นบอร์ดบริหารของบังดิน
ก่อตั้งศูนย์ PSSI นอกประเทศ
ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นที่มีศูนย์ฟุตบอลสำหรับดูแลนักเตะที่อยู่นอกประเทศ อินโดนีเซียเป็นชาติแรกของอาเซี่ยนที่มีศูนย์ฟุตบอลอยู่นอกประเทศตามรอยญี่ปุ่นเช่นกัน เมื่ออินโดนีเซียกำลังจะเป็นชาติที่ 2 ของทวีปเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นที่สามารถจัดตัวผู้เล่น 11 ตัวจริงจากลีกสูงสุดยุโรปลงสนามได้ บังฮีร์จึงไปทำ MOU ร่วมกับสมาคมฟุตบอลในยุโรป เพื่อการดูแลเยาวชนที่มีเชื้อสายอินโดนีเซียในยุโรป (หรือพูดง่ายๆว่าขอจองตัวเด็กไว้ก่อนนั่นเอง) ไม่ว่าจะเป็นงานด้านเอกสารเพื่อส่งเรื่องโอนสัญชาติกับ fifa ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดด้านเอกสาร จนเยาวชนมาเล่นให้ทีมชาติอินโดนีเซียไม่ได้อย่างเด็ดขาด รวมถึงดูแลแนะแนวและเป็นเอเย่นในการหาทีมในยุโรปให้เล่นเมื่อขึ้นชุดใหญ่ (ห้ามเยาวชนอินโดจากยุโรปย้ายมาเล่นลีกในประเทศเหมือนลูกครึ่งไทยโดยเด็ดขาด) ซึ่งปัจจุบันมีการประเมินว่ามีเยาวชนเชื้อสายอินโดนีเซียในอะคาเดมี่ฟุตบอลยุโรปมากกว่า 1,000 คน การันตีว่าตัวยุโรปไม่มีทางหมดง่ายๆแน่นอน ใครที่หวังจะเห็นอินโดตัวหมดในเร็ววันนี้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่า ตัวยุโรปดีๆไม่มีหมดง่ายๆแน่นอน
การันตีเงินไม่มีหมด!! ตัวละครลับ "บังดิน" ทายาทแสนล้าน อีกหนึ่งคนรวยบ้าบอล (ที่รู้เรื่องบอล) เข้ารับตำแหน่งบอร์ด PSSI ลงลุยบอลลีกเยาวชนด้วยตัวเอง (ว่าที่นายกสมาคมคนต่อไป หากบังฮีร์วางมือ)
น้องๆเยาวชนจากลีกจังหวัดสุราเวสี แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็พร้อมล่าฝันในลีกเยาวชน Liga 4 ของสมาคม (ไม่ต้องไปเตะบอลเดินสาย)
อีกหนึ่งตัวละครลับ "ป๋ายู" ยูโตะ นากาโตโมะ ตัวเก๋าทีมชาติญี่ปุ่น ลูกน้องเก่าของบังฮีร์ที่อินเตอร์มิลาน นี่คือคนสนิทที่บังฮีร์มักจะมาปรึกษาเรื่องการพัฒนาบอลเยาวชนอยู่เสมอ ไม่แน่ว่าหลังจากที่เขาแขวนสตั๊ด เขาอาจจะมีตำแหน่งใน PSSI เป็น "บังโมะ" กับเค้าบ้างก็ได้
ปีๆนึงเสียเงินไปกับเด็กเยอะมากมาย ไม่มีนายกคนไหน รักเด็กเท่าพี่บังคนนี้อีกแล้ว
นายกฟุตบอล ผู้ทุ่มทุนกับบอลเยาวชนมากที่สุดในอาเซี่ยน ทั้งก่อตั้งบริษัทในประเทศ ก่อตั้งศูนย์นอกประเทศ ก่อตั้งลีกเยาวชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ
สรุป วิสัยทัศน์นายก
สมาคมฟุตบอลอินโด =
มีลีกเยาวชน 41 ลีก คือ 38 ลีกรากหญ้าทุกจังหวัดทั่วประเทศ (จำกัดอายุไม่เกิน 18 ปี+โค้ช B ไลเซ่น) และ 3 ลีกเยาวชนสโมสรอาชีพ U16 , U18 , U20 ทีมอาชีพทั้ง 18 ทีมใน Liga 1 ทุกทีมบังคับต้องส่งทีมเยาวชนทุกรุ่นอายุเข้าร่วมการแข่งขัน สโมสรไหนไม่มีทีมเยาวชนไม่ได้เด็ดขาด
สมาคมฟุตบอลไทย =
มีลีกเยาวชน 1 ลีก คือ ลีกเยาวชน U23 ของทีมอาชีพ แม้ไทยลีก T1-2 จะมีถึง 34 ทีม แต่บอลเยาวชนกลับส่งทีมมาเตะกันขำๆแค่ 7-8 ทีม ทีมไหนอยากส่งทีมก็ได้ ไม่อยากส่งก็ได้ (มาดามใจดีย์) ทดลองเตะขำๆ ฤดูกาลเดียว ฤดูกาลหน้าอาจไม่มีเตะอีกแล้วสำหรับลีกเยาวชนของไทยจะเปลี่ยนเป็นลีกทีมสำรองแทน
"วิสัยทัศน์มีเงินเท่าไหร่ก็หาซื้อไม่ได้" นี่ไม่ใช่การอวยอินโดเป็นไทยโดแต่อย่างใด แต่นี่คือการเตือนภัย จากข้อมูลจริงที่ว่าสมาคมฟุตบอลประเทศไหนจริงจังกับการพัฒนาเยาวชนมากกว่ากัน การพัฒนาลีก พัฒนาเยาวชน ส่งนักเตะไปต่างประเทศ อะไรที่เรารู้ อย่าคิดว่าเขาจะไม่รู้ อย่าคิดว่าเขาจะไม่ทำคู่ขนานไปกับการโอนสัญชาติ ความฝันของคนไทยที่หวังว่า อินโดไม่ยั่งยืนเดี๋ยวก็หมด เดี๋ยวก็เป็นเหมือนสิงคโปร์ เยาวชนอินโดเตรียมตัวล่มสลาย อนาคตบอลไทยเจริญกว่าแน่นอน แนวโน้มในปัจจุบันไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง จากการบริหารของนายกที่ชื่อ "บังฮีร์" ถ้าไทยยังมีลีกเยาวชนที่เตะกันแบบขำๆแค่ 1 ลีก จะเอาอะไรมาเจริญกว่าเขาในอนาคตล่ะครับ
อ้าว? ไหนว่าไม่พัฒนาเยาวชน! อินโดบ้าพลัง เปิดลีกเยาวชนใหม่ (38 จังหวัด 38 ลีก)
ก่อตั้งลีกเยาวชนทั่วประเทศ
"บังฮีร์" เอริค ตอฮิร นายกฟุตบอลอินโด คนกีฬาตัวจริง จัดหนักจัดเต็ม ลบทุกข้อครหาเพื่อนบ้านอาเซี่ยนว่าดีแต่โอนสัญชาติ ไม่ยอมพัฒนาเยาวชน ระบบลีกและเยาวชนในประเทศเตรียมล่มสลายในอนาคต พี่บังเลยจัดลีกเยาวชนแบบทำถึง อุดขี้ปากชาวบ้านอาเซี่ยนซะเลย เมื่อพี่บังได้สร้างลีกใหม่ Liga 4 ให้เป็นลีกเยาวชนในระดับรากหญ้าประจำจังหวัด ประเทศอินโดมี 38 จังหวัด พี่บังก็จัดเต็มครบ 38 ลีก ทุ่มทุนกว่า 5,000 ล้านรูปี แบบไม่เคยมีสมาคมฟุตบอลอาเซี่ยนที่ไหนเคยทุ่มกับบอลระดับเยาวชนแบบนี้มาก่อน
กฏของการส่งทีมเข้าร่วม Liga 4
- จำกัดอายุผู้เล่นไม่เกิน 18 ปี
- ลงทะเบียนผู้เล่นอายุเกินได้ 7 คน
- ลงทะเบียนผู้เล่นได้ทั้งหมด 30 คน
- โค้ชต้อง B License เป็นอย่างน้อย เอาครูพละมาคุมไม่ได้
- นักเตะที่เข้าร่วมต้องไม่ใช่นักเตะเยาวชนจากสโมสรอาชีพใน Liga 1
1 จังหวัด 1 ลีกเยาวชน อินโดนีเซีย มีลีกเยาวชน ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากกระแสกีฬาฟุตบอลในประเทศที่กำลังมาแรงจากการที่ทีมชาติชุดใหญ่เข้ารอบ 18 ทีมเอเชียและมีลุ้นไปบอลโลกในขณะนี้ ทำให้มีทีมรากหญ้าเกิดใหม่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด พี่บังเลยถือโอกาสนี้ตั้งเป็นลีกใหม่ Liga 4 เป็นพื้นที่พัฒนาเยาวชน ฤดูกาลแรกมีสโมสรเข้าร่วมเกิน 300 ทีม และมีเยาวชนร่วมฟาดแข้งกว่า 5,000 คนเข้าไปแล้ว รูปแบบการแข่งขัน แต่ละจังหวัดสามารถไปสร้างสรรค์ได้เอง เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีจำนวนทีมเข้าร่วมไม่เท่ากัน บางจังหวัดใหญ่ๆ เช่น จังหวัดชะวามีทีมเข้าร่วมถึง 66 ทีม ก็มีการเตะลีกเป็นรอบแบ่งกลุ่มก่อน แล้วเอาแชมป์กลุ่มไปเตะรอบ knock out หาแชมป์ ส่วนจังหวัดที่มีทีมเข้าร่วมน้อย เช่น จังหวัดยอกยาการ์ตา มีเพียง 7 ทีม ก็เตะแบบลีกพบกันหมดได้ปกติ หลังจากหาแชมป์จาก 38 จังหวัดได้แล้วก็จะนำทีมแชมป์ทั้ง 38 ทีม มาเตะในรอบประเทศกันต่อไป
"บอลโลก 2026 และ 2030 เราจะยังใช้ผู้เล่นโอนสัญชาติ แต่ผมมั่นใจว่าบอลโลก 2034 เราจะใช้ผู้เล่นที่เราผลิตขึ้นมาเองได้แล้วครับ"
เป้าหมายของ Liga 4 คือ การหาเด็กที่มีพรสวรรค์ในทุกตารางนิ้วของประเทศอินโดนีเซีย หากเด็กคนไหนมีมีฝีเท้า ไม่ว่าจะอยู่บนเกาะ พื้นที่ห่างไกลที่ไหน อยู่ในซอกหลืบไหนของประเทศ เด็กทุกคนจะมีโอกาสให้โชว์ของใน Liga 4 ใกล้บ้าน เด็กๆทั้งประเทศไม่จำเป็นต้องแห่มาสมัครอะคาเดมี่ทีมใดทีมหนึ่งอยู่ทีมเดียว ซึ่งนี่คือลีกเยาวชนที่จัดเต็มที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอาเซี่ยน ยังไม่เคยมีประเทศไหนเคยทำแบบนี้มาก่อน
ปรับปรุงลีกเยาวชนของสโมสรอาชีพ
นอกจาก Liga 4 ที่เป็นลีกเยาวชนรากหญ้า พี่บังยังบังคับให้ลีก Liga 1 ลีกอาชีพสูงสุด ทุกสโมสรที่เข้าร่วมต้องมีทีมเยาวชนของตัวเองถึง 3 ลีก 3 ระดับ ต้องมีทีมเยาวชนจริงๆ ไม่ใช่มีแบบขำๆแค่ไปผูกพันธมิตรกับเด็กนักเรียนโรงเรียนแถวบ้านให้พอผ่านคลับไลเซ่น ลีกเยาวชนของสโมสรอาชีพใน Liga 1 มีชื่อว่า elite pro academy (EPG Liga 1) เป็นลีกเยาวชนในระดับ U16 , U18 , U20 ก็ยังสานต่องานอย่างต่อเนื่อง โดยฤดูกาลนี้จะลดจำนวนแมตช์ลง โดยการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม เตะกันในระบบ round robbin แล้วค่อยหาทีมมาชิงแชมป์ เตะกันในสนามปิด ไม่มีพ่อแม่ผู้ปกครองมากวน ไม่มีสาวๆมาเชียร์ ไม่มีใครเด็กคนไหนได้เป็นดาราในโลกโซเชี่ยลเหมือนชญานนท์บอล 7 สีของไทย เพื่อให้เด็กๆเยาวชนอะคาเดมี่มีสมาธิกับการแข่งขันมากที่สุด
ก่อตั้งบริษัทที่ดูแลบอลลีกเยาวชน
เมื่อการสร้างฟุตบอลเยาวชนคือเป้าหมายหลักของ PSSI สมาคมฟุตบอลอินโด จึงก่อตั้งบริษัท Liga Indonesia Baru (หรือ LIB) เพื่อเข้ามาดูแลการจัดลีกเยาวชน นำโดย มุนนาฟรี อารีฟัดดิน หรือ "บังดิน" อีกหนึ่งตัวละครลับที่ตอนนี้คนไทยอาจจะยังรู้จักไม่มาก แต่นี่คือตัวจักรสำคัญในการพัฒนาเยาวชนอินโด เขาเป็นบอร์ดของ LIB ผู้สร้างลีกเยาวชนอินโด โปรไฟล์ของ "บังดิน" เรียบง่ายไม่มีอะไรซับซ้อน อธิบาย 1 พาราการ์ฟจบ "บังดินเป็นทายาทของคนที่รวยที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย" อธิบายแค่นี้ก็รู้เลยทันทีว่าบังดินเป็นของจริง โดยใน ig ของบังดินยังชอบลงรูปโชว์ collection ของสะสมเป็นเสื้อแท้นักฟุตบอลดังยุค 90 อีกด้วย (ถือเป็นเรื่องโชคดีของวงการบอลอินโดที่คนรวยๆของประเทศนี้บ้าบอลกันทั้งนั้น) เมื่อคนรวยระดับนี้ลงมาพัฒนาฟุตบอลเยาวชนด้วยตัวเอง หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนก็พร้อมสนับสนุนทันที ใครที่หวังจะให้สมาคมฟุตบอลอินโดเงินหมดในเร็ววันนี้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่า เงินไม่มีหมดง่ายๆแน่นอนจากการเข้ามาเป็นบอร์ดบริหารของบังดิน
ก่อตั้งศูนย์ PSSI นอกประเทศ
ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นที่มีศูนย์ฟุตบอลสำหรับดูแลนักเตะที่อยู่นอกประเทศ อินโดนีเซียเป็นชาติแรกของอาเซี่ยนที่มีศูนย์ฟุตบอลอยู่นอกประเทศตามรอยญี่ปุ่นเช่นกัน เมื่ออินโดนีเซียกำลังจะเป็นชาติที่ 2 ของทวีปเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นที่สามารถจัดตัวผู้เล่น 11 ตัวจริงจากลีกสูงสุดยุโรปลงสนามได้ บังฮีร์จึงไปทำ MOU ร่วมกับสมาคมฟุตบอลในยุโรป เพื่อการดูแลเยาวชนที่มีเชื้อสายอินโดนีเซียในยุโรป (หรือพูดง่ายๆว่าขอจองตัวเด็กไว้ก่อนนั่นเอง) ไม่ว่าจะเป็นงานด้านเอกสารเพื่อส่งเรื่องโอนสัญชาติกับ fifa ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดด้านเอกสาร จนเยาวชนมาเล่นให้ทีมชาติอินโดนีเซียไม่ได้อย่างเด็ดขาด รวมถึงดูแลแนะแนวและเป็นเอเย่นในการหาทีมในยุโรปให้เล่นเมื่อขึ้นชุดใหญ่ (ห้ามเยาวชนอินโดจากยุโรปย้ายมาเล่นลีกในประเทศเหมือนลูกครึ่งไทยโดยเด็ดขาด) ซึ่งปัจจุบันมีการประเมินว่ามีเยาวชนเชื้อสายอินโดนีเซียในอะคาเดมี่ฟุตบอลยุโรปมากกว่า 1,000 คน การันตีว่าตัวยุโรปไม่มีทางหมดง่ายๆแน่นอน ใครที่หวังจะเห็นอินโดตัวหมดในเร็ววันนี้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่า ตัวยุโรปดีๆไม่มีหมดง่ายๆแน่นอน
การันตีเงินไม่มีหมด!! ตัวละครลับ "บังดิน" ทายาทแสนล้าน อีกหนึ่งคนรวยบ้าบอล (ที่รู้เรื่องบอล) เข้ารับตำแหน่งบอร์ด PSSI ลงลุยบอลลีกเยาวชนด้วยตัวเอง (ว่าที่นายกสมาคมคนต่อไป หากบังฮีร์วางมือ)
น้องๆเยาวชนจากลีกจังหวัดสุราเวสี แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็พร้อมล่าฝันในลีกเยาวชน Liga 4 ของสมาคม (ไม่ต้องไปเตะบอลเดินสาย)
อีกหนึ่งตัวละครลับ "ป๋ายู" ยูโตะ นากาโตโมะ ตัวเก๋าทีมชาติญี่ปุ่น ลูกน้องเก่าของบังฮีร์ที่อินเตอร์มิลาน นี่คือคนสนิทที่บังฮีร์มักจะมาปรึกษาเรื่องการพัฒนาบอลเยาวชนอยู่เสมอ ไม่แน่ว่าหลังจากที่เขาแขวนสตั๊ด เขาอาจจะมีตำแหน่งใน PSSI เป็น "บังโมะ" กับเค้าบ้างก็ได้
ปีๆนึงเสียเงินไปกับเด็กเยอะมากมาย ไม่มีนายกคนไหน รักเด็กเท่าพี่บังคนนี้อีกแล้ว
นายกฟุตบอล ผู้ทุ่มทุนกับบอลเยาวชนมากที่สุดในอาเซี่ยน ทั้งก่อตั้งบริษัทในประเทศ ก่อตั้งศูนย์นอกประเทศ ก่อตั้งลีกเยาวชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ
สรุป วิสัยทัศน์นายก
สมาคมฟุตบอลอินโด = มีลีกเยาวชน 41 ลีก คือ 38 ลีกรากหญ้าทุกจังหวัดทั่วประเทศ (จำกัดอายุไม่เกิน 18 ปี+โค้ช B ไลเซ่น) และ 3 ลีกเยาวชนสโมสรอาชีพ U16 , U18 , U20 ทีมอาชีพทั้ง 18 ทีมใน Liga 1 ทุกทีมบังคับต้องส่งทีมเยาวชนทุกรุ่นอายุเข้าร่วมการแข่งขัน สโมสรไหนไม่มีทีมเยาวชนไม่ได้เด็ดขาด
สมาคมฟุตบอลไทย = มีลีกเยาวชน 1 ลีก คือ ลีกเยาวชน U23 ของทีมอาชีพ แม้ไทยลีก T1-2 จะมีถึง 34 ทีม แต่บอลเยาวชนกลับส่งทีมมาเตะกันขำๆแค่ 7-8 ทีม ทีมไหนอยากส่งทีมก็ได้ ไม่อยากส่งก็ได้ (มาดามใจดีย์) ทดลองเตะขำๆ ฤดูกาลเดียว ฤดูกาลหน้าอาจไม่มีเตะอีกแล้วสำหรับลีกเยาวชนของไทยจะเปลี่ยนเป็นลีกทีมสำรองแทน
"วิสัยทัศน์มีเงินเท่าไหร่ก็หาซื้อไม่ได้" นี่ไม่ใช่การอวยอินโดเป็นไทยโดแต่อย่างใด แต่นี่คือการเตือนภัย จากข้อมูลจริงที่ว่าสมาคมฟุตบอลประเทศไหนจริงจังกับการพัฒนาเยาวชนมากกว่ากัน การพัฒนาลีก พัฒนาเยาวชน ส่งนักเตะไปต่างประเทศ อะไรที่เรารู้ อย่าคิดว่าเขาจะไม่รู้ อย่าคิดว่าเขาจะไม่ทำคู่ขนานไปกับการโอนสัญชาติ ความฝันของคนไทยที่หวังว่า อินโดไม่ยั่งยืนเดี๋ยวก็หมด เดี๋ยวก็เป็นเหมือนสิงคโปร์ เยาวชนอินโดเตรียมตัวล่มสลาย อนาคตบอลไทยเจริญกว่าแน่นอน แนวโน้มในปัจจุบันไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง จากการบริหารของนายกที่ชื่อ "บังฮีร์" ถ้าไทยยังมีลีกเยาวชนที่เตะกันแบบขำๆแค่ 1 ลีก จะเอาอะไรมาเจริญกว่าเขาในอนาคตล่ะครับ