ถอดบทเรียนฟีฟ่าแบนอิเหนา : เส้นทางที่ไทยไม่ควรเลือกเดิน
จากกรณีที่ทีมชาติไทยมีโอกาสถูก ‘แบน’ เนื่องจากทำผิดข้อบังคับฟีฟ่า ด้วยการฟ้องร้องกันผ่านศาลปกครอง กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง เนื่องจากข้อบังคับของฟีฟ่านั้น ไม่อนุญาตให้นำข้อขัดแย้งเกี่ยวกับฟุตบอลไปร้องกับศาลยุติธรรมทั่วไป ยกเว้นช่องทางเฉพาะอย่างอนุญาโตตุลาการ หรือศาลกีฬาโลก มิเช่นนั้นจะนับเป็นการแทรกแซงจากหน่วยงานอื่น ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดข้อบังคับร้ายแรง
สำหรับการลงโทษจากกรณีดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อวาดตาไปไม่พ้นโซนอาเซียน เราจะพบอินโดนีเซีย เพื่อนบ้านของเราที่อยู่ระหว่างโทษดังกล่าวมาหลายเดือนแล้ว
ปัญหาของวงการลูกหนังอินโดนีเซียคงต้องย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2011 สมัยที่ ฟีฟ่า เคยสั่งแบน นูร์ดิน ฮาลิด อดีตนายกสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ด้วยเหตุที่ว่า ฮาลิด ติดคุกข้อหามีส่วนในการรับสินบน และคอรัปชั่นที่พัวพันกับภาคการเมือง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่
จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2011 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย (Indonesia Football Association, Indonesian: Persatuan Sepakbola Seluruh Indonesia, PSSI) ต้องถูกริบอำนาจ เนื่องจากหนึ่งในสามผู้เข้าชิงเก้าอี้จากการเลือกตั้งนายกสมาคมฯปีดังกล่าว(ฮาลิด) ยังถูกแบนจากฟีฟ่าอยู่ โดยทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติได้ตั้งคณะกรรมการหรือที่เรียกกันว่า เอ็นซี (Normalisation Committee, NC) ให้เข้ามาดูแลและควบคุมการเลือกตั้งแทน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้นายกสมาคมคนใหม่แล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่จบแค่นั้น เมื่อ โญฮาร อาริฟิน ฮูซิน นายกสมาคมคนใหม่ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนฟุตบอลของประเทศ เพราะไม่เห็นด้วยกับลีกการแข่งขันเดิมที่ยังต้องอาศัยเงินจากรัฐบาล
PSSI เริ่มเปลี่ยนแปลงที่การปลด อัลเฟรด รีเดิล ที่นั่งเก้าอี้กุนซือทีมชาติอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น แต่ปรากฎว่า มีบางกลุ่มที่ไม่พอใจ แล้วได้ก่อตั้งสมาคมใหม่ขึ้นมาเอง โดยให้เห็นผลว่า PSSI ได้ปลดโค้ชที่พาทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งออกไปแบบไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดความลังเลและไม่เชื่อมั่นในการทำงานของสมาคมที่มี ฮุซิน เป็นนายใหญ่
กลุ่มที่ตั้งตนขึ้นมาใหม่นั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการกอบกู้ฟุตบอลอินโดนีเซีย (Indonesian Football Rescue Committee, Indonesian : Komite Penyelamat Sepak Bola Indonesia, KPSI) ที่มีสมาชิกจากบอร์ดบริหารเก่าของ PSSI ที่แพ้การเลือกตั้งร่วมอยู่ด้วย และมีลีกการแข่งขันชื่อ อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ซึ่งหลายทีมจากลีกเดิมได้เข้าร่วมการแข่งขันเพราะยังอยู่ภายใต้อำนาจเก่านั่นเอง
สรุปคือ วงการลูกหนังอิเหนาในตอนนั้นมีลีกการแข่งขึ้นสูงสุดถึงสองลีกและมีถึงสองสมาคมในเวลาเดียวกัน แบ่งเป็นสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย หรือ PSSI มีลีกการแข่งขันชื่อ อินโดนีเซียน พรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นสมาคมและลีกที่ได้รับการยอมรับจากฟีฟ่า ส่วน KPSI หรือกลุ่มขั้วอำนาจเก่าที่ตั้งลีกใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก นั้นอยู่นอกสังกัดของฟีฟ่า โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับสมาคมนี้จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมทัวร์นาเมนต์ใดๆก็ตามที่ทางฟีฟ่าดูแลอยู่
นอกจากจะแยกลีกกันแล้ว ทั้งสองสมาคมยังทำการแยกทีมชาติจากกันอีกด้วย หรือพูดง่ายๆคือ สร้างทีมชาติของตัวเองขึ้นมานั่นเอง และความขัดแย้งในส่วนนี้ก็ส่งผลต่อทีมชาติอินโดนีเซียในศึกฟุตบอล 2014 โลกรอบคัดเลือกจนได้
อินโดนีเซียพ่ายให้กับบาห์เรนอย่างยับเยินถึง 10-0 ในปี 2012 ซึ่งในการแข่งขันครั้งนั้น KPSI ไม่ปล่อยตัวนักเตะที่ลงเล่นในอินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ของตัวเองเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งที่มีนักเตะเก่งๆอยู่มากมาย และแข้งทีมชาติตัวเก๋าค้าแข้งอยู่ด้วย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ฟีฟ่าต้องออกโรงเตือน และให้ทั้งสองฝ่ายเจราจาหาข้อตกลงกันให้ได้ โดยมีกระทรวงกีฬาเข้ามาเป็นหน่วยกลางของการพูดคุย พร้อมกับขีดเส้นตายว่า ถ้าการเจรจาครั้งนี้ไม่สำเร็จภายใน 3 มีนาคม 2013 อินโดนีเซีย จะถูกแบนจากทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติทันที
ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงกันได้ทันตามที่ฟีฟ่าได้กำหนด โดยรวมลีกเหลือแค่ลีกเดียว (อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ในปัจจุบัน) ส่วน KPSI ก็สลายตัวเข้าไปรวมกับ PSSI และจับมือทำงานร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความขัดแย้งในอดีตจะย้อนกลับมาอีกครั้งในปัจจุบัน เมื่อเหตุการณ์น่าเศร้าของวงการลูกหนังอินโดฯได้เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากมีการเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสมาคมฯโดยอำนาจของรัฐบาล ซึ่งผิดหลักของฟีฟ่าอย่างเห็นได้ชัด
เริ่มมาจากปัญหาความวุ่นวายภายในของฟุตบอลลีกประเทศอินโดนีเซียฤดูกาล 2015 เมื่อกระทรวงกีฬาของอินโดนีเซียได้ออกมาเบรกการแข่งขันฟุตบอลลีก และขอเรียกดูเอกสารรับรองต่างๆของทีมในลีกสูงสุดทั้งหมด พบว่า มีหลายทีมที่ไม่ได้ดำเนินเรื่องเอกสารให้สมบูรณ์ โดยทางกระทรวงกีฬามีมติให้เลื่อนการแข่งขันจากเดือนกุมภาพันธ์มาเป็นเดือนเมษายน และให้ทุกทีมส่งเอกสารที่จำเป็นให้เรียบร้อย
เมื่อถึงกำหนดที่ต้องส่งเอกสารให้ครบ ปรากฏว่า ยังมีบางทีมที่ยังไม่ได้ส่ง โดยทางกระทรวงกีฬาเคยแนะนำให้ทาง PSSI ทำการแข่งขันโดยตัดสองทีมที่ยังมีปัญหาออก แต่สมาคมลูกหนังอินโดฯ ยืนยันที่จะไม่ตัดทีมออกจากลีก และเปิดลีกแข่งขันต่อไปเช่นเดิม
นอกจาก PSSI จะดำเนินการแข่งขันต่อไปแล้ว ยังมีกรณีล้มบอลเกิดขึ้นอีกด้วยและไม่ได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว เกมที่เห็นได้ชัดที่สุดคงจะเป็น เกมที่ พีเอสเอส สเลมาน ชนะ พีเอสไอเอส เซมารัง ไป 3-2 โดยทั้ง 5 ประตูที่เกิดขึ้นเป็นการทำเข้าประตูตัวเองทั้งหมด
หลังจากเกมนัดนี้ แฟนบอลอินโดนีเซียออกมาเรียกร้องให้ปฏิวัติวงการฟุตบอลใหม่ให้หมด และยุติการคอรัปชั่นของนักการเมืองท้องถิ่นในเกมลูกหนัง จากเหตุการณ์ดังกล่าว กระทรวงกีฬาได้สั่งพักการแข่งขันฟุตบอลลีกรอบสอง พร้อมกับให้มีการลงโทษแบนสมาคมฯในที่สุด และได้มอบหมายให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเข้ามาดูแลควบคุมแทนที่สมาคมชั่วคราวทั้งในฟุตบอลลีกและทีมชาติ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนฟีฟ่าแบน
ในไม่ช้า ฟีฟ่า ก็ออกมาชี้ว่า สภาวะดังกล่าวเป็นการถูกแทรกแซงจากภาคการเมืองของสมาคมฟุตบอล ซึ่งขัดกับธรรมนูญของฟีฟ่า ตามมาตราที่ 13 และ 17 และได้ออกจดหมายเตือนมายังทางสมาคมฯ ต้องแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมกับขีดเส้นตายทุกอย่างต้องได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อยภายใน 29 พฤษภาคม 2015 ไม่เช่นนั้น PSSI จะถูกตัดสิทธิ์เข้าแข่งขันระดับนานาชาติที่ดูแลจัดการแข่งขันโดยฟีฟ่า
หลังจากเรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน ในที่สุด สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ มีคำตัดสินให้ทีมชาติอินโดนีเซียทุกชุดห้ามลงแข่งขันในรายการระดับนานาชาติทั้งหมด หลังจาก PSSI ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันตามกำหนด ทำให้ อินโดนีเซีย สูญเสียสถานะสมาชิกของฟีฟ่าชั่วคราว ขณะที่ทีมชาติอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึงทีมระดับสโมสร จะหมดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ฟีฟ่า และ เอเอฟซี
ทว่า เวลาผ่านไปเกือบ 7 เดือนแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์นี้จะได้รับการแก้ไขอย่างใด ผลกระทบต่อวงการลูกหนังอิเหนาที่ตามมาคือ ทีมชาติชุดใหญ่ต้องถอนตัวจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย และ เอเชียน คัพ 2019 รอบคัดเลือก ขณะที่สโมสรตัวแทนจากประเทศก็โดนตัดสิทธิ์ออกจากรายการ เอเอฟซี คัพ เช่นกัน
แม้ว่าจะมีเกมนัดกระชับมิตร ระหว่าง เปอร์ซิบ บันดุง ทีมดังของอินโดนีเซีย และทีมมาเลเซีย ออลสตาร์ส ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่ก็ถูกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ เอเอฟซี ดำเนินการสอบสวนแมตช์ดังกล่าวจนได้ เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นในระหว่างที่สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียยังติดโทษแบนจากฟีฟ่า
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่โอกาสลงแข่งทัวร์นาเมนต์ต่างๆที่หลุดลอยไปเท่านั้น แต่มันยังสร้างความเสียหายให้กับวงการลูกหนังอินโดนีเซียทั้งระบบอีกด้วย
ถึงตรงนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าอินโดนีเซียจะกลับสู่เวทีนานาชาติได้เมื่อไร และความขัดแย้งในฟุตบอลไทยจะลุกลามไปถึงจุดที่ฟีฟ่าจะต้องใช้มาตรการโหดร้ายนี่หรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่แฟนฟุตบอลทั้งสองประเทศบอกได้เหมือนๆกัน คือ นี่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่ทางที่พวกเขาเลือก และไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะได้เลือก แต่ต้องได้รับผลกระทบอย่างเจ็บช้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา : footballchannelasia.com
บทเรียนฟีฟ่าแบนอินโด : เส้นทางที่ทีมชาติไทยไม่ควรตามรอย
จากกรณีที่ทีมชาติไทยมีโอกาสถูก ‘แบน’ เนื่องจากทำผิดข้อบังคับฟีฟ่า ด้วยการฟ้องร้องกันผ่านศาลปกครอง กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง เนื่องจากข้อบังคับของฟีฟ่านั้น ไม่อนุญาตให้นำข้อขัดแย้งเกี่ยวกับฟุตบอลไปร้องกับศาลยุติธรรมทั่วไป ยกเว้นช่องทางเฉพาะอย่างอนุญาโตตุลาการ หรือศาลกีฬาโลก มิเช่นนั้นจะนับเป็นการแทรกแซงจากหน่วยงานอื่น ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดข้อบังคับร้ายแรง
สำหรับการลงโทษจากกรณีดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อวาดตาไปไม่พ้นโซนอาเซียน เราจะพบอินโดนีเซีย เพื่อนบ้านของเราที่อยู่ระหว่างโทษดังกล่าวมาหลายเดือนแล้ว
ปัญหาของวงการลูกหนังอินโดนีเซียคงต้องย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2011 สมัยที่ ฟีฟ่า เคยสั่งแบน นูร์ดิน ฮาลิด อดีตนายกสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ด้วยเหตุที่ว่า ฮาลิด ติดคุกข้อหามีส่วนในการรับสินบน และคอรัปชั่นที่พัวพันกับภาคการเมือง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่
จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2011 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย (Indonesia Football Association, Indonesian: Persatuan Sepakbola Seluruh Indonesia, PSSI) ต้องถูกริบอำนาจ เนื่องจากหนึ่งในสามผู้เข้าชิงเก้าอี้จากการเลือกตั้งนายกสมาคมฯปีดังกล่าว(ฮาลิด) ยังถูกแบนจากฟีฟ่าอยู่ โดยทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติได้ตั้งคณะกรรมการหรือที่เรียกกันว่า เอ็นซี (Normalisation Committee, NC) ให้เข้ามาดูแลและควบคุมการเลือกตั้งแทน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้นายกสมาคมคนใหม่แล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่จบแค่นั้น เมื่อ โญฮาร อาริฟิน ฮูซิน นายกสมาคมคนใหม่ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนฟุตบอลของประเทศ เพราะไม่เห็นด้วยกับลีกการแข่งขันเดิมที่ยังต้องอาศัยเงินจากรัฐบาล
PSSI เริ่มเปลี่ยนแปลงที่การปลด อัลเฟรด รีเดิล ที่นั่งเก้าอี้กุนซือทีมชาติอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น แต่ปรากฎว่า มีบางกลุ่มที่ไม่พอใจ แล้วได้ก่อตั้งสมาคมใหม่ขึ้นมาเอง โดยให้เห็นผลว่า PSSI ได้ปลดโค้ชที่พาทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งออกไปแบบไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดความลังเลและไม่เชื่อมั่นในการทำงานของสมาคมที่มี ฮุซิน เป็นนายใหญ่
กลุ่มที่ตั้งตนขึ้นมาใหม่นั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการกอบกู้ฟุตบอลอินโดนีเซีย (Indonesian Football Rescue Committee, Indonesian : Komite Penyelamat Sepak Bola Indonesia, KPSI) ที่มีสมาชิกจากบอร์ดบริหารเก่าของ PSSI ที่แพ้การเลือกตั้งร่วมอยู่ด้วย และมีลีกการแข่งขันชื่อ อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ซึ่งหลายทีมจากลีกเดิมได้เข้าร่วมการแข่งขันเพราะยังอยู่ภายใต้อำนาจเก่านั่นเอง
สรุปคือ วงการลูกหนังอิเหนาในตอนนั้นมีลีกการแข่งขึ้นสูงสุดถึงสองลีกและมีถึงสองสมาคมในเวลาเดียวกัน แบ่งเป็นสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย หรือ PSSI มีลีกการแข่งขันชื่อ อินโดนีเซียน พรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นสมาคมและลีกที่ได้รับการยอมรับจากฟีฟ่า ส่วน KPSI หรือกลุ่มขั้วอำนาจเก่าที่ตั้งลีกใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก นั้นอยู่นอกสังกัดของฟีฟ่า โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับสมาคมนี้จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมทัวร์นาเมนต์ใดๆก็ตามที่ทางฟีฟ่าดูแลอยู่
นอกจากจะแยกลีกกันแล้ว ทั้งสองสมาคมยังทำการแยกทีมชาติจากกันอีกด้วย หรือพูดง่ายๆคือ สร้างทีมชาติของตัวเองขึ้นมานั่นเอง และความขัดแย้งในส่วนนี้ก็ส่งผลต่อทีมชาติอินโดนีเซียในศึกฟุตบอล 2014 โลกรอบคัดเลือกจนได้
อินโดนีเซียพ่ายให้กับบาห์เรนอย่างยับเยินถึง 10-0 ในปี 2012 ซึ่งในการแข่งขันครั้งนั้น KPSI ไม่ปล่อยตัวนักเตะที่ลงเล่นในอินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ของตัวเองเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งที่มีนักเตะเก่งๆอยู่มากมาย และแข้งทีมชาติตัวเก๋าค้าแข้งอยู่ด้วย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ฟีฟ่าต้องออกโรงเตือน และให้ทั้งสองฝ่ายเจราจาหาข้อตกลงกันให้ได้ โดยมีกระทรวงกีฬาเข้ามาเป็นหน่วยกลางของการพูดคุย พร้อมกับขีดเส้นตายว่า ถ้าการเจรจาครั้งนี้ไม่สำเร็จภายใน 3 มีนาคม 2013 อินโดนีเซีย จะถูกแบนจากทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติทันที
ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงกันได้ทันตามที่ฟีฟ่าได้กำหนด โดยรวมลีกเหลือแค่ลีกเดียว (อินโดนีเซีย ซูเปอร์ลีก ในปัจจุบัน) ส่วน KPSI ก็สลายตัวเข้าไปรวมกับ PSSI และจับมือทำงานร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความขัดแย้งในอดีตจะย้อนกลับมาอีกครั้งในปัจจุบัน เมื่อเหตุการณ์น่าเศร้าของวงการลูกหนังอินโดฯได้เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากมีการเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสมาคมฯโดยอำนาจของรัฐบาล ซึ่งผิดหลักของฟีฟ่าอย่างเห็นได้ชัด
เริ่มมาจากปัญหาความวุ่นวายภายในของฟุตบอลลีกประเทศอินโดนีเซียฤดูกาล 2015 เมื่อกระทรวงกีฬาของอินโดนีเซียได้ออกมาเบรกการแข่งขันฟุตบอลลีก และขอเรียกดูเอกสารรับรองต่างๆของทีมในลีกสูงสุดทั้งหมด พบว่า มีหลายทีมที่ไม่ได้ดำเนินเรื่องเอกสารให้สมบูรณ์ โดยทางกระทรวงกีฬามีมติให้เลื่อนการแข่งขันจากเดือนกุมภาพันธ์มาเป็นเดือนเมษายน และให้ทุกทีมส่งเอกสารที่จำเป็นให้เรียบร้อย
เมื่อถึงกำหนดที่ต้องส่งเอกสารให้ครบ ปรากฏว่า ยังมีบางทีมที่ยังไม่ได้ส่ง โดยทางกระทรวงกีฬาเคยแนะนำให้ทาง PSSI ทำการแข่งขันโดยตัดสองทีมที่ยังมีปัญหาออก แต่สมาคมลูกหนังอินโดฯ ยืนยันที่จะไม่ตัดทีมออกจากลีก และเปิดลีกแข่งขันต่อไปเช่นเดิม
นอกจาก PSSI จะดำเนินการแข่งขันต่อไปแล้ว ยังมีกรณีล้มบอลเกิดขึ้นอีกด้วยและไม่ได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว เกมที่เห็นได้ชัดที่สุดคงจะเป็น เกมที่ พีเอสเอส สเลมาน ชนะ พีเอสไอเอส เซมารัง ไป 3-2 โดยทั้ง 5 ประตูที่เกิดขึ้นเป็นการทำเข้าประตูตัวเองทั้งหมด
หลังจากเกมนัดนี้ แฟนบอลอินโดนีเซียออกมาเรียกร้องให้ปฏิวัติวงการฟุตบอลใหม่ให้หมด และยุติการคอรัปชั่นของนักการเมืองท้องถิ่นในเกมลูกหนัง จากเหตุการณ์ดังกล่าว กระทรวงกีฬาได้สั่งพักการแข่งขันฟุตบอลลีกรอบสอง พร้อมกับให้มีการลงโทษแบนสมาคมฯในที่สุด และได้มอบหมายให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเข้ามาดูแลควบคุมแทนที่สมาคมชั่วคราวทั้งในฟุตบอลลีกและทีมชาติ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนฟีฟ่าแบน
ในไม่ช้า ฟีฟ่า ก็ออกมาชี้ว่า สภาวะดังกล่าวเป็นการถูกแทรกแซงจากภาคการเมืองของสมาคมฟุตบอล ซึ่งขัดกับธรรมนูญของฟีฟ่า ตามมาตราที่ 13 และ 17 และได้ออกจดหมายเตือนมายังทางสมาคมฯ ต้องแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมกับขีดเส้นตายทุกอย่างต้องได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อยภายใน 29 พฤษภาคม 2015 ไม่เช่นนั้น PSSI จะถูกตัดสิทธิ์เข้าแข่งขันระดับนานาชาติที่ดูแลจัดการแข่งขันโดยฟีฟ่า
หลังจากเรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน ในที่สุด สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ มีคำตัดสินให้ทีมชาติอินโดนีเซียทุกชุดห้ามลงแข่งขันในรายการระดับนานาชาติทั้งหมด หลังจาก PSSI ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันตามกำหนด ทำให้ อินโดนีเซีย สูญเสียสถานะสมาชิกของฟีฟ่าชั่วคราว ขณะที่ทีมชาติอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึงทีมระดับสโมสร จะหมดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ฟีฟ่า และ เอเอฟซี
ทว่า เวลาผ่านไปเกือบ 7 เดือนแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์นี้จะได้รับการแก้ไขอย่างใด ผลกระทบต่อวงการลูกหนังอิเหนาที่ตามมาคือ ทีมชาติชุดใหญ่ต้องถอนตัวจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย และ เอเชียน คัพ 2019 รอบคัดเลือก ขณะที่สโมสรตัวแทนจากประเทศก็โดนตัดสิทธิ์ออกจากรายการ เอเอฟซี คัพ เช่นกัน
แม้ว่าจะมีเกมนัดกระชับมิตร ระหว่าง เปอร์ซิบ บันดุง ทีมดังของอินโดนีเซีย และทีมมาเลเซีย ออลสตาร์ส ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่ก็ถูกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ เอเอฟซี ดำเนินการสอบสวนแมตช์ดังกล่าวจนได้ เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นในระหว่างที่สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียยังติดโทษแบนจากฟีฟ่า
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่โอกาสลงแข่งทัวร์นาเมนต์ต่างๆที่หลุดลอยไปเท่านั้น แต่มันยังสร้างความเสียหายให้กับวงการลูกหนังอินโดนีเซียทั้งระบบอีกด้วย
ถึงตรงนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าอินโดนีเซียจะกลับสู่เวทีนานาชาติได้เมื่อไร และความขัดแย้งในฟุตบอลไทยจะลุกลามไปถึงจุดที่ฟีฟ่าจะต้องใช้มาตรการโหดร้ายนี่หรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่แฟนฟุตบอลทั้งสองประเทศบอกได้เหมือนๆกัน คือ นี่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่ทางที่พวกเขาเลือก และไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะได้เลือก แต่ต้องได้รับผลกระทบอย่างเจ็บช้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา : footballchannelasia.com