ผมเป็นคนจัดการหมู่บ้านแห่งหนึ่ง (เรียกว่าคนจัดการก็แล้วกัน เพราะหมู่บ้านเก่า ไม่มีนิติบุคคล) ปัญหาสุนัขจรจัด ที่ผ่านมาก็จัดการได้ เรียกเทศบาลมาจับก็จบ แต่ปัจจุบัน ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว เพราะนโยบายใหม่ ที่จะมาแค่จับไปทำหมันแล้วส่งกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนเหมือนเดิม หมู่บ้านผมเป็นหมู่บ้านเล็กๆมีประมาณ 80 หลังคา ถนนตรงเส้นเดียว คนอยู่ประมาณ 80% เมื่อต้นปีที่แล้วมีสุนัขเข้ามาแล้วคลอดลูก 5 ตัว ซึ่งโอเคเค้าบอกให้จับไปทำหมัน ผมก็เรียกให้คนมาจับไปทำหมัน มีตัวนึงกลืนไม้ลูกชิ้นเข้าไปคาอยู่ในท้อง (เห้ย!! เป็นไปได้ไง... อันนี้แพทย์แจ้งมาตอนกำลังทำหมัน) ก็จัดการรักษาผ่าออกให้ แล้วทั้งหมดก็กลับมาอยู่ในหมู่บ้านเหมือนเดิม
จนลูกสุนัขทั้งหมดเริ่มโตขึ้น เพียงไม่กี่เดือน แค่ช่วงกลางปีมันก็เริ่มเข้าเป็นวัยรุ่น และซ่ามากๆ มันเดินรวมกลุ่มกันเดินเข้าเดินออกภายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นถนนทางตรงเส้นเดียว พฤติกรรมที่เริ่มสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้คนในหมู่บ้าน ตัวอย่างเช่น 1. การคุ้ยถังขยะเพื่อหาอาหาร ลากถุงขยะไปตามจุดต่างๆ บางครั้งก็กลางถนน ทำให้ถนนดูสกปรกไม่เรียบร้อย คือสภาพถนนแย่มาก มีแต่ขยะตามจุดต่างๆ 2. การแอบเข้าไปในบ้านคนแล้วคาบของออกมา แน่นอนมากที่สุดก็คือรองเท้า ซึ่งของถูกของแพงมันเอาหมด ทุกวันนี้บ้านบางหลังจะต้องทำม่านโซ่เหล็กบ้าง ต้องปิดประตู ราวกับว่าคนต้องเข้าไปอยู่ในกรงขังเสียเอง 3. การไล่เห่าคนเดินผ่านไปผ่านมา เคยมีกัดคนอยู่ครั้งหนึ่งเป็นชาวพม่าที่มาทำงานในหมู่บ้าน แต่ย้ายออกไปแล้ว 4. ทำลายข้าวของ รถที่จอดอยู่มันกัดมันข่วนจนเป็นรอยรอบคัน สรุปแล้วคือสร้างความเสียหายหนักมากๆ
ผมแจ้งไปทางท้องถิ่นเพื่อให้มาจับสุนัข แต่ก็ได้รับแจ้งอย่างที่บอกมาข้างต้นว่า ตอนนี้คือจะไม่จับไปศูนย์ควบคุมแล้ว แต่จะจับไปทำหมันแล้วส่งคืนที่เดิม ก็เป็นแบบที่ผู้ว่าได้เคยสัมภาษณ์เอาไว้ว่า "ให้เป็นสุนัขชุมชน" (ประชาชนจงอดทนกับความเสียหายต่อไป... อันนี้ผมคิดเอง) แจ้งไปกลางปี .. ประมาณเดือน 11 เข้ามาพร้อมมูลนิธิเอกชน เจ้าหน้าที่แจ้งกับผมเป็นการส่วนตัวว่า ลักษณะการทำงานปัจจุบัน เหมือนกับจะต้องขอใบอนุญาติจากเอกชนว่า สามารถจับไปได้หรือไม่? ต้องให้เอกชนอนุญาติ ไม่งั้นหน่วยงานรัฐจะโดนฟ้องเอา ผมว่ามันไม่ make sense เอาซะเลย ... คุณเป็นฝ่ายปกครองนะเห้ย!!
เอาละในเมื่อมาแล้ว ก็ดูกัน ... คนที่ทำเหมือนเป็นผู้รับผิดชอบคุยกับชาวบ้าน กลับเป็นเอกชน อย่างที่บอก.. ได้รับคำตอบส่งๆไปว่า เดี๋ยวจะหาบ้านให้ แล้วก็หายไป เบอร์ที่ให้ไว้ก็ติดต่อไม่ได้ หาเบอร์ส่วนตัวโทรไปก็ไม่รับสาย แจ้งร้องเรียนไปแล้ว ก็ปิดเคสซะอย่างนั้น ในขณะที่ความเสียหายก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ สุนัขก็เดินถนนส่วนคนก็อยู่ในกรงต่อไป ผมไปตามเรื่องเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า ให้ติดต่อเอกชนรายนั้น ผมว่ามันใช่เรื่องซะที่ไหน มันเป็นความเดือดร้อนของคนในปกครอง ฝ่ายปกครองก็ต้องเข้ามาดำเนินการ ฝ่ายปกครองท้องถิ่นก็ต้องเป็นคนคุย ไม่ใช่ให้ผมไปคุยกับเอกชนด้วยกันแบบนั้น
ปัญหานี้ ผมเข้าใจทางฝ่ายปกครอง เค้าก็ทำเพราะเป็นนโยบายที่สั่งลงมาให้ทำแบบนั้น ถ้าทำตามที่เราบอกแล้วโดนฟ้องมันก็ใช่เรื่อง แต่ที่ไม่เข้าใจคือ ไอ้พวกที่เข้ามาชี้ๆๆๆว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ จะทำแบบนั้นแบบนี้ ปากพูดไปแล้วก็ทำไม่ได้ ตัวเองทำไม่ได้ คนอื่นจะทำก็ไปฟ้องเค้า
ถ้าว่าไปตามกฏหมาย พรบ.สาธารณสุข มาตรา 30 ก็บอกว่าให้พนักงานจับไปกักขังไว้ แบบนี้ถ้าหากทำตามกฏหมาย ทำไมยังจะกลัวโดนฟ้อง?
อันที่จริง ถ้าหากจะเอามูลนิธิเอกชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดการหรือคนออกใบอนุญาติ ถ้าเอกชนจะทำตรงนี้ เอกชนควรไป connect กับทางหน่วยงานรัฐมากกว่าจะออกหน้าเป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐมาเจรจากับประชาชน.. ถ้าคุณมีความสามารถอย่างที่ว่ามาจริง ควรไปรับเลี้ยงหรือหาบ้านให้สุนัขที่ศูนย์ควบคุมมากกว่า ประชาชนกับประชาชนไม่ควรปะทะกันเอง และฝ่ายปกครองไม่ควรให้ประชาชนคนอื่นมาควบคุมบงการ
สุนัขจรจัด ปัญหาที่ถูกละเลย
จนลูกสุนัขทั้งหมดเริ่มโตขึ้น เพียงไม่กี่เดือน แค่ช่วงกลางปีมันก็เริ่มเข้าเป็นวัยรุ่น และซ่ามากๆ มันเดินรวมกลุ่มกันเดินเข้าเดินออกภายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นถนนทางตรงเส้นเดียว พฤติกรรมที่เริ่มสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้คนในหมู่บ้าน ตัวอย่างเช่น 1. การคุ้ยถังขยะเพื่อหาอาหาร ลากถุงขยะไปตามจุดต่างๆ บางครั้งก็กลางถนน ทำให้ถนนดูสกปรกไม่เรียบร้อย คือสภาพถนนแย่มาก มีแต่ขยะตามจุดต่างๆ 2. การแอบเข้าไปในบ้านคนแล้วคาบของออกมา แน่นอนมากที่สุดก็คือรองเท้า ซึ่งของถูกของแพงมันเอาหมด ทุกวันนี้บ้านบางหลังจะต้องทำม่านโซ่เหล็กบ้าง ต้องปิดประตู ราวกับว่าคนต้องเข้าไปอยู่ในกรงขังเสียเอง 3. การไล่เห่าคนเดินผ่านไปผ่านมา เคยมีกัดคนอยู่ครั้งหนึ่งเป็นชาวพม่าที่มาทำงานในหมู่บ้าน แต่ย้ายออกไปแล้ว 4. ทำลายข้าวของ รถที่จอดอยู่มันกัดมันข่วนจนเป็นรอยรอบคัน สรุปแล้วคือสร้างความเสียหายหนักมากๆ
ผมแจ้งไปทางท้องถิ่นเพื่อให้มาจับสุนัข แต่ก็ได้รับแจ้งอย่างที่บอกมาข้างต้นว่า ตอนนี้คือจะไม่จับไปศูนย์ควบคุมแล้ว แต่จะจับไปทำหมันแล้วส่งคืนที่เดิม ก็เป็นแบบที่ผู้ว่าได้เคยสัมภาษณ์เอาไว้ว่า "ให้เป็นสุนัขชุมชน" (ประชาชนจงอดทนกับความเสียหายต่อไป... อันนี้ผมคิดเอง) แจ้งไปกลางปี .. ประมาณเดือน 11 เข้ามาพร้อมมูลนิธิเอกชน เจ้าหน้าที่แจ้งกับผมเป็นการส่วนตัวว่า ลักษณะการทำงานปัจจุบัน เหมือนกับจะต้องขอใบอนุญาติจากเอกชนว่า สามารถจับไปได้หรือไม่? ต้องให้เอกชนอนุญาติ ไม่งั้นหน่วยงานรัฐจะโดนฟ้องเอา ผมว่ามันไม่ make sense เอาซะเลย ... คุณเป็นฝ่ายปกครองนะเห้ย!!
เอาละในเมื่อมาแล้ว ก็ดูกัน ... คนที่ทำเหมือนเป็นผู้รับผิดชอบคุยกับชาวบ้าน กลับเป็นเอกชน อย่างที่บอก.. ได้รับคำตอบส่งๆไปว่า เดี๋ยวจะหาบ้านให้ แล้วก็หายไป เบอร์ที่ให้ไว้ก็ติดต่อไม่ได้ หาเบอร์ส่วนตัวโทรไปก็ไม่รับสาย แจ้งร้องเรียนไปแล้ว ก็ปิดเคสซะอย่างนั้น ในขณะที่ความเสียหายก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ สุนัขก็เดินถนนส่วนคนก็อยู่ในกรงต่อไป ผมไปตามเรื่องเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า ให้ติดต่อเอกชนรายนั้น ผมว่ามันใช่เรื่องซะที่ไหน มันเป็นความเดือดร้อนของคนในปกครอง ฝ่ายปกครองก็ต้องเข้ามาดำเนินการ ฝ่ายปกครองท้องถิ่นก็ต้องเป็นคนคุย ไม่ใช่ให้ผมไปคุยกับเอกชนด้วยกันแบบนั้น
ปัญหานี้ ผมเข้าใจทางฝ่ายปกครอง เค้าก็ทำเพราะเป็นนโยบายที่สั่งลงมาให้ทำแบบนั้น ถ้าทำตามที่เราบอกแล้วโดนฟ้องมันก็ใช่เรื่อง แต่ที่ไม่เข้าใจคือ ไอ้พวกที่เข้ามาชี้ๆๆๆว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ จะทำแบบนั้นแบบนี้ ปากพูดไปแล้วก็ทำไม่ได้ ตัวเองทำไม่ได้ คนอื่นจะทำก็ไปฟ้องเค้า
ถ้าว่าไปตามกฏหมาย พรบ.สาธารณสุข มาตรา 30 ก็บอกว่าให้พนักงานจับไปกักขังไว้ แบบนี้ถ้าหากทำตามกฏหมาย ทำไมยังจะกลัวโดนฟ้อง?
อันที่จริง ถ้าหากจะเอามูลนิธิเอกชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดการหรือคนออกใบอนุญาติ ถ้าเอกชนจะทำตรงนี้ เอกชนควรไป connect กับทางหน่วยงานรัฐมากกว่าจะออกหน้าเป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐมาเจรจากับประชาชน.. ถ้าคุณมีความสามารถอย่างที่ว่ามาจริง ควรไปรับเลี้ยงหรือหาบ้านให้สุนัขที่ศูนย์ควบคุมมากกว่า ประชาชนกับประชาชนไม่ควรปะทะกันเอง และฝ่ายปกครองไม่ควรให้ประชาชนคนอื่นมาควบคุมบงการ