ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่าโอลิมปิกโปรแกรมก่อน (Olympic Program) “โอลิมปิกโปรแกรม” หมายถึง โปรแกรมการแข่งขันกีฬาทั้งหมดที่กำหนดโดย International Olympic Committee : IOC สำหรับแต่ละครั้งของโอลิมปิกเกมส์ (Olympic Game) ตามบทบัญญัติและบทเฉพาะกาลปัจจุบัน (บทบัญญัติที่ 45 ว่าด้วยเรื่องโอลิมปิกโปรแกรม Olympic Charter, 2024) หากจะอธิบายให้เข้าใจง่าย โอลิมปิกโปรแกรมคือ กีฬาที่มีแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย โอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน (Summer Olympic Game) และ โอลิมปิกฤดูหนาว (Winter Olympic Game) (บทบัญญัติที่ 6 “โอลิมปิกโปรแกรม” Olympic Charter, 2024) คำถามที่สำคัญคือ “มวยไทย” จะเข้าไปอยู่ในโปรแกรมโอลิมปิกได้อย่างไร
ทำอย่างไร “มวยไทย” จึงจะเป็นส่วนหนึ่งในโอลิมปิกโปรแกรม ก็ต้องกลับไปศึกษาธรรมนูญโอลิมปิก หรือ Olympic Charter หลายคนถามว่าทำไมจึงต้องศึกษาธรรมนูญโอลิมปิก ก็เพราะว่า ธรรมนูญโอลิมปิก คือ บทบัญญัติแห่งหลักพื้นฐานของอุดมการณ์โอลิมปิก เป็นข้อบังคับและบทเฉพาะกาลที่ยอมรับโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ซึ่งคลอบคุลมองค์กร การดำเนินงานและการปฏิบัติของยุทธศาสตร์โอลิมปิก (Olympic Movement) รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเฉลิมฉลอง โอลิมปิกเกมส์ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า “ธรรมนูญโอลิมปิก” เปรียบเป็นกฎหมายสูงสุดในการดำเนินงานของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ เพราะฉนั้นกิจกรรมใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นโดยเป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ จะต้องดำเนินการตามธรรมนูญโอลิมปิก เพราะฉะนั้นหากจะศึกษาเส้นทางหรือขั้นตอนในการนำ “มวยไทย” เข้าสู่กีฬาที่ถูกจัดการแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ก็ต้องไปพิจารณาในส่วนของบทบัญญัติเรื่องโอลิมปิกโปรแกรมในธรรมนูญโอลิมปิกว่าบัญญัติไว้อย่างไร ธรรมนูญโอลิมปิก บทบัญญัติที่ 45 “โปรแกรมโอลิมปิก” ข้อที่ 2 กล่าวว่า โปรแกรมโอลิมปิกประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ 1) โปรแกรมกีฬา (Sports Program) ซึ่งรวมทุกชนิดกีฬาสำหรับโอลิมปิกเกมส์เฉพาะครั้ง ตามกำหนดโดย Session เซสชั่น จากกีฬาที่ปกครองโดยสหพันธ์กีฬานานาชาติ (IFs) ที่รับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ 2) โปรแกรมรายการแข่งขัน (Event Program) ซึ่งรวมทุกรายการแข่งขันตามกำหนด โดยคณะผู้บริหาร (IOC Executive Board) สำหรับโอลิมปิกเกมส์ในแต่ละครั้ง เมื่อพิจารณาจากบัญญัติในธรรมนูญโอลิมปิกจะเห็นได้ว่า ชนิดกีฬาหรือ โปรแกรมกีฬา (Sports Program) ในโอลิมปิกเกมส์นั้นจะต้องถูกพิจารณาผ่านการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติที่เรียกว่า การประชุมโอลิมปิก (Olympic Session) ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ของสมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (IOC) มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์และยุทธศาสตร์โอลิมปิก การกำปรแกรมกีฬาที่จะเกิดขึ้นใน โอลิมปิก ลอสแองเจอลีส Los Angeles 2028 ได้ดำเนินการไปแล้วในการประชุม Olympic Session ครั้งที่ 141 เมื่อปี 2023 โดยจัดขึ้นที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย โดยมีสาระสำคัญในการประชุมครั้งนั้นคือการประกาศโปรแกรมกีฬาในการแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ Los Angeles 2028 ซึ่งได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 32 ชนิดกีฬาตามสหพันธ์กีฬานานาชาติที่คณะกรรมการโอลิมปิกรับรอง โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มแก่ กลุ่มกีฬาถาวร (Permanent Sports)ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน จำนวน 27 ชนิดกีฬา ตามสหพันธ์กีฬานานชาติ ซึ่งได้แก่ แบดมินตัน, ยกน้ำหนัก, ฟุตบอล, บาสเกตบอล, เรือแคนู, ฟันดาบ, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, ฮอกกี้, ยูโด, ยิงปืน, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, วอลเลย์บอล, มวยปล้ำ, ว่ายน้ำ (กระโดดน้ำ, โปโลน้ำ, ระบำใต้น้ำ), ยิงธนู, กรีฑา, พายเรือ, รักบี้ 7 คน, เรือใบ, สเก็ตบอร์ด, เทควันโด, ไตรกีฬา, ปีนผา และ จักรยาน ในกลุ่มที่ 2 กีฬาที่เมืองเจ้าภาพเสนอเพิ่มเติม อีก 5 ชนิดกีฬาได้แก่ คริกเก็ต, แฟลกฟุตบอล, เบสบอล/ซอฟต์บอล, ลาครอส และ สควอช อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นนี้ มวยสากลที่ปกครองโดย สหพันธ์กีฬามวยสากลนานาชาติ (International Boxing Association – IBA) นั้นไม่ปรากฏในโอลิมปิกโปรแกรม ลอสแองเจอลิส 2028 เนื่องจากคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ได้ถอดถอน สหพันธ์กีฬามวยสากลนานาชาติออกจากการรับรอง (Recognised Federations) เป็นผลให้ มวยสากลไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ตามธรรมนูญโอลิมปิก ในบทบัญญัติ 46 บทบาทของสหพันธ์กีฬานานาชาติต่อโอลิมปิกเกมส์ แต่มวยสากลยังมีความหวังอยู่ หากมีการประชุมโอลิมปิกเซสชั่นแบบเร่งด่วน หรือ มีการรับรองสหพันธ์สวยนานาชาติทั้งใหม่และเก่า ก็ยังสามารถบรรจุเพิ่มได้ก่อนการแข่งขัน 3 ปี ซึ่งในประเด็นนี้ผู้เขียนจะนำมาขยายความอีกครั้งในบทความต่อไป
เส้นทางของกีฬา “มวยไทย” หากจะเข้าสู่โอลิมปิกโปรแกรมก็จะต้องเข้าสู่ 2 ช่องทางนี้เท่านั้นคือ 1) เป็นกีฬาที่ถูกรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (Recognised Federations) ซึ่งในข้อนี้ มวยไทยภายใต้ International Federation of Muaythai Associations (IFMA) ได้ถูกรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติแล้ว จัดอยู่ในกลุ่ม The Association of the IOC Recognised International Sports Federations คือ สหพันธ์กีฬานานาชาติที่ถูกรับรองโดย IOC แล้วแต่ยังไม่ได้บรรจุแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ซึ่งถ้าพิจารณาจากตรงนี้ซึ่ง IFMA ได้นำมาเป็นประเด็นหลักตลอดมาในการประชาสัมพันธ์ถึงโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ก็ถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใด แต่หากทว่าก็ยังมีกีฬาที่โอลิมปิกให้การรับรองไว้ในกลุ่มนี้มากถึง 30 กว่าชนิดกีฬา ซึ่งหมายถึงว่า ทั้ง 30 ชนิดกีฬานี้รอจังหวะเข้าสู่โอลิมปิกโปรแกรมเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันกีฬาที่อยู่ในโอลิมปิกโปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ กีฬาถาวร ปัจจุบันมี 27 ชนิดกีฬาที่ได้กล่าวไว้แล้ว หากมวยไทยจะเข้าในกลุ่มนี้ก็มีโอกาสน้อยมาก เพราะกีฬาที่อยู่ในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากและการจะเข้าไปสู้ในกลุ่มนี้ได้ก็หมายถึงว่าจะต้องมีบางชนิดกีฬาถูกถอดถอนออกไป เช่น มวยสากลในปัจจุบัน กีฬาใหม่ๆที่เข้าสู่ในกลุ่มกีฬาถาวรจะสังเกตได้ว่าจะต้องมีลักษณะของกีฬาที่เป็นไปตามวาระโอลิมปิก (Olympic Agenda) เช่น สหพันธ์มีรูปแบบการแข่งขันที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เน้นการคุ้มครองนักกีฬา ความเท่าเทียม ต้นทุนน้อย จำนวนนักกีฬาไม่มากนัก เยาวชนทั่วโลกให้ความสนใจ หากสังเกตจะเห็นว่ากีฬาใหม่ที่เข้าไปเช่น ปีนผา สเก็ตบอร์ด นั้นผ่านการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชน Youth Olympic Game มาแล้วทั้งสิ้น
เมื่อวิเคราะห์มาถึงตรงนี้โอกาสที่มวยไทยจะเข้าเป็นกีฬาถาวรในโอลิมปิกโปรแกรมมีน้อยมาก หากแต่เรายังมีโอกาสอีก 1 ช่องทางคือ “กีฬาที่เจ้าภาพเลือก” ที่ผ่านมาคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติได้เปิดโอกาสให้เจ้าภาพเสนอชนิดกีฬาเพิ่มเติมโดยจะพิจารณาร่วมกันทั้งเมืองเจ้าภาพ คณะกรรมการโอลิมปิก และ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และสุดท้ายคือการรับรองจากการประชุมเซสชั่น ซึ่งรูปแบบนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ โอลิมปิกโตเกียว 2020 ซึ่งได้เพิ่มเติมจำนวน 5 ชนิดกีฬาได้แก่ คาราเต้, ปีนหน้าผา, เซิร์ฟฟิ่ง/กระดานโต้คลื่น สเก็ตบอร์ด และ เบสบอลซอร์ฟบอล อย่างไรก็ดีในการแข่งขันโอลิมปิกปารีส 2024 เจ้าภาพเสนอเพียง 4 ชิดกีฬาซึ่งเป็นชนิดกีฬาเดิมจาก โตเกียว 2020 จำนวน 3 ชนิดกีฬาได้แก่ ปีนหน้าผา, เซิร์ฟฟิ่ง/กระดานโต้คลื่น, สเก็ตบอร์ด และเพิ่ม เบรกแดนซ์ รวมเป็น 4 ชนิดกีฬา และล่าสุดก็คือ โอลิมปิก ลอสเองเจอลิส 2028 ที่ได้กล่าวไว้แล้ว คำถามที่ดีที่สุดตอนนี้คือ หากเราจะผลักดันมวยไทยให้บรรจุในการแข่งขันโอลิมปิกโดยผ่านเมืองเจ้าภาพครั้งต่อไป ที่ยังไม่ได้มีการประชุมเพื่อรับรองชนิดกีฬาก็คือ บริสเบน(ประเทศออสเตรเลีย) 2032 มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ส่วนตัวแล้วน้อยมากเหลือเกินที่จะถูกบรรจุ
มาถึงตรงนี้ส่วนตัวค่อนข้างมั่นใจว่า “มวยไทย” จะยังไม่ถูกบรรจุในโอลิมปิกเกมส์อย่างน้อยจนถึงปี 2032 ความหวังของกีฬามวยไทยอาจจะมีมากขึ้นหากเมืองเจ้าภาพในปี 2036 ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ได้ประกาศ เป็นประเทศที่นิยมและสนใจกีฬามวยไทยเป็นพิเศษ หากประเมินความเป็นไปได้แล้วน้อยมากและอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนที่จะผลักดันในเส้นทางนี้ ในมุมมองส่วนตัวมองว่าควรผลักดันมวยไทยให้เป็น กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ใช้มวยไทยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเยาวชนให้รูจักรากฐานของความเป็นไทย ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องตลอดจนความรู้สึกถึงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติที่มีคุณค่า หรือใช้เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในการพัฒนาเยาวชนผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมผ่านกีฬามวยไทย บทความนี้ผู้เขียนไม่มีเจตนาอื่นนอกจากใช้ความรู้ทางวิชาการที่สนใจซึ่งไม่มากมายอะไรนักมีผู้รู้มากมายในประเด็นนี้ แต่อยากจะชี้ให้เห็นถึงเส้นทางและความคุ้มค่า และสิ่งสุดท้ายที่อยากบอกคือผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบในกีฬามวยไทยจนอยากเห็น “กีฬามวยไทย” ถูกบรรจุในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน โดยเน้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประจำชาติต่อไป
มวยไทยกับโอลิมปิกโปรแกรมโอกาสน้อยนิดที่จะเกิดขึ้น
ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่าโอลิมปิกโปรแกรมก่อน (Olympic Program) “โอลิมปิกโปรแกรม” หมายถึง โปรแกรมการแข่งขันกีฬาทั้งหมดที่กำหนดโดย International Olympic Committee : IOC สำหรับแต่ละครั้งของโอลิมปิกเกมส์ (Olympic Game) ตามบทบัญญัติและบทเฉพาะกาลปัจจุบัน (บทบัญญัติที่ 45 ว่าด้วยเรื่องโอลิมปิกโปรแกรม Olympic Charter, 2024) หากจะอธิบายให้เข้าใจง่าย โอลิมปิกโปรแกรมคือ กีฬาที่มีแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย โอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน (Summer Olympic Game) และ โอลิมปิกฤดูหนาว (Winter Olympic Game) (บทบัญญัติที่ 6 “โอลิมปิกโปรแกรม” Olympic Charter, 2024) คำถามที่สำคัญคือ “มวยไทย” จะเข้าไปอยู่ในโปรแกรมโอลิมปิกได้อย่างไร
ทำอย่างไร “มวยไทย” จึงจะเป็นส่วนหนึ่งในโอลิมปิกโปรแกรม ก็ต้องกลับไปศึกษาธรรมนูญโอลิมปิก หรือ Olympic Charter หลายคนถามว่าทำไมจึงต้องศึกษาธรรมนูญโอลิมปิก ก็เพราะว่า ธรรมนูญโอลิมปิก คือ บทบัญญัติแห่งหลักพื้นฐานของอุดมการณ์โอลิมปิก เป็นข้อบังคับและบทเฉพาะกาลที่ยอมรับโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ซึ่งคลอบคุลมองค์กร การดำเนินงานและการปฏิบัติของยุทธศาสตร์โอลิมปิก (Olympic Movement) รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเฉลิมฉลอง โอลิมปิกเกมส์ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า “ธรรมนูญโอลิมปิก” เปรียบเป็นกฎหมายสูงสุดในการดำเนินงานของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ เพราะฉนั้นกิจกรรมใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นโดยเป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ จะต้องดำเนินการตามธรรมนูญโอลิมปิก เพราะฉะนั้นหากจะศึกษาเส้นทางหรือขั้นตอนในการนำ “มวยไทย” เข้าสู่กีฬาที่ถูกจัดการแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ก็ต้องไปพิจารณาในส่วนของบทบัญญัติเรื่องโอลิมปิกโปรแกรมในธรรมนูญโอลิมปิกว่าบัญญัติไว้อย่างไร ธรรมนูญโอลิมปิก บทบัญญัติที่ 45 “โปรแกรมโอลิมปิก” ข้อที่ 2 กล่าวว่า โปรแกรมโอลิมปิกประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ 1) โปรแกรมกีฬา (Sports Program) ซึ่งรวมทุกชนิดกีฬาสำหรับโอลิมปิกเกมส์เฉพาะครั้ง ตามกำหนดโดย Session เซสชั่น จากกีฬาที่ปกครองโดยสหพันธ์กีฬานานาชาติ (IFs) ที่รับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ 2) โปรแกรมรายการแข่งขัน (Event Program) ซึ่งรวมทุกรายการแข่งขันตามกำหนด โดยคณะผู้บริหาร (IOC Executive Board) สำหรับโอลิมปิกเกมส์ในแต่ละครั้ง เมื่อพิจารณาจากบัญญัติในธรรมนูญโอลิมปิกจะเห็นได้ว่า ชนิดกีฬาหรือ โปรแกรมกีฬา (Sports Program) ในโอลิมปิกเกมส์นั้นจะต้องถูกพิจารณาผ่านการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติที่เรียกว่า การประชุมโอลิมปิก (Olympic Session) ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ของสมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (IOC) มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์และยุทธศาสตร์โอลิมปิก การกำปรแกรมกีฬาที่จะเกิดขึ้นใน โอลิมปิก ลอสแองเจอลีส Los Angeles 2028 ได้ดำเนินการไปแล้วในการประชุม Olympic Session ครั้งที่ 141 เมื่อปี 2023 โดยจัดขึ้นที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย โดยมีสาระสำคัญในการประชุมครั้งนั้นคือการประกาศโปรแกรมกีฬาในการแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ Los Angeles 2028 ซึ่งได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 32 ชนิดกีฬาตามสหพันธ์กีฬานานาชาติที่คณะกรรมการโอลิมปิกรับรอง โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มแก่ กลุ่มกีฬาถาวร (Permanent Sports)ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน จำนวน 27 ชนิดกีฬา ตามสหพันธ์กีฬานานชาติ ซึ่งได้แก่ แบดมินตัน, ยกน้ำหนัก, ฟุตบอล, บาสเกตบอล, เรือแคนู, ฟันดาบ, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, ฮอกกี้, ยูโด, ยิงปืน, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, วอลเลย์บอล, มวยปล้ำ, ว่ายน้ำ (กระโดดน้ำ, โปโลน้ำ, ระบำใต้น้ำ), ยิงธนู, กรีฑา, พายเรือ, รักบี้ 7 คน, เรือใบ, สเก็ตบอร์ด, เทควันโด, ไตรกีฬา, ปีนผา และ จักรยาน ในกลุ่มที่ 2 กีฬาที่เมืองเจ้าภาพเสนอเพิ่มเติม อีก 5 ชนิดกีฬาได้แก่ คริกเก็ต, แฟลกฟุตบอล, เบสบอล/ซอฟต์บอล, ลาครอส และ สควอช อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นนี้ มวยสากลที่ปกครองโดย สหพันธ์กีฬามวยสากลนานาชาติ (International Boxing Association – IBA) นั้นไม่ปรากฏในโอลิมปิกโปรแกรม ลอสแองเจอลิส 2028 เนื่องจากคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ได้ถอดถอน สหพันธ์กีฬามวยสากลนานาชาติออกจากการรับรอง (Recognised Federations) เป็นผลให้ มวยสากลไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ตามธรรมนูญโอลิมปิก ในบทบัญญัติ 46 บทบาทของสหพันธ์กีฬานานาชาติต่อโอลิมปิกเกมส์ แต่มวยสากลยังมีความหวังอยู่ หากมีการประชุมโอลิมปิกเซสชั่นแบบเร่งด่วน หรือ มีการรับรองสหพันธ์สวยนานาชาติทั้งใหม่และเก่า ก็ยังสามารถบรรจุเพิ่มได้ก่อนการแข่งขัน 3 ปี ซึ่งในประเด็นนี้ผู้เขียนจะนำมาขยายความอีกครั้งในบทความต่อไป
เส้นทางของกีฬา “มวยไทย” หากจะเข้าสู่โอลิมปิกโปรแกรมก็จะต้องเข้าสู่ 2 ช่องทางนี้เท่านั้นคือ 1) เป็นกีฬาที่ถูกรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (Recognised Federations) ซึ่งในข้อนี้ มวยไทยภายใต้ International Federation of Muaythai Associations (IFMA) ได้ถูกรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติแล้ว จัดอยู่ในกลุ่ม The Association of the IOC Recognised International Sports Federations คือ สหพันธ์กีฬานานาชาติที่ถูกรับรองโดย IOC แล้วแต่ยังไม่ได้บรรจุแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ ซึ่งถ้าพิจารณาจากตรงนี้ซึ่ง IFMA ได้นำมาเป็นประเด็นหลักตลอดมาในการประชาสัมพันธ์ถึงโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ก็ถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใด แต่หากทว่าก็ยังมีกีฬาที่โอลิมปิกให้การรับรองไว้ในกลุ่มนี้มากถึง 30 กว่าชนิดกีฬา ซึ่งหมายถึงว่า ทั้ง 30 ชนิดกีฬานี้รอจังหวะเข้าสู่โอลิมปิกโปรแกรมเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันกีฬาที่อยู่ในโอลิมปิกโปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ กีฬาถาวร ปัจจุบันมี 27 ชนิดกีฬาที่ได้กล่าวไว้แล้ว หากมวยไทยจะเข้าในกลุ่มนี้ก็มีโอกาสน้อยมาก เพราะกีฬาที่อยู่ในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากและการจะเข้าไปสู้ในกลุ่มนี้ได้ก็หมายถึงว่าจะต้องมีบางชนิดกีฬาถูกถอดถอนออกไป เช่น มวยสากลในปัจจุบัน กีฬาใหม่ๆที่เข้าสู่ในกลุ่มกีฬาถาวรจะสังเกตได้ว่าจะต้องมีลักษณะของกีฬาที่เป็นไปตามวาระโอลิมปิก (Olympic Agenda) เช่น สหพันธ์มีรูปแบบการแข่งขันที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เน้นการคุ้มครองนักกีฬา ความเท่าเทียม ต้นทุนน้อย จำนวนนักกีฬาไม่มากนัก เยาวชนทั่วโลกให้ความสนใจ หากสังเกตจะเห็นว่ากีฬาใหม่ที่เข้าไปเช่น ปีนผา สเก็ตบอร์ด นั้นผ่านการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชน Youth Olympic Game มาแล้วทั้งสิ้น
เมื่อวิเคราะห์มาถึงตรงนี้โอกาสที่มวยไทยจะเข้าเป็นกีฬาถาวรในโอลิมปิกโปรแกรมมีน้อยมาก หากแต่เรายังมีโอกาสอีก 1 ช่องทางคือ “กีฬาที่เจ้าภาพเลือก” ที่ผ่านมาคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติได้เปิดโอกาสให้เจ้าภาพเสนอชนิดกีฬาเพิ่มเติมโดยจะพิจารณาร่วมกันทั้งเมืองเจ้าภาพ คณะกรรมการโอลิมปิก และ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และสุดท้ายคือการรับรองจากการประชุมเซสชั่น ซึ่งรูปแบบนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ โอลิมปิกโตเกียว 2020 ซึ่งได้เพิ่มเติมจำนวน 5 ชนิดกีฬาได้แก่ คาราเต้, ปีนหน้าผา, เซิร์ฟฟิ่ง/กระดานโต้คลื่น สเก็ตบอร์ด และ เบสบอลซอร์ฟบอล อย่างไรก็ดีในการแข่งขันโอลิมปิกปารีส 2024 เจ้าภาพเสนอเพียง 4 ชิดกีฬาซึ่งเป็นชนิดกีฬาเดิมจาก โตเกียว 2020 จำนวน 3 ชนิดกีฬาได้แก่ ปีนหน้าผา, เซิร์ฟฟิ่ง/กระดานโต้คลื่น, สเก็ตบอร์ด และเพิ่ม เบรกแดนซ์ รวมเป็น 4 ชนิดกีฬา และล่าสุดก็คือ โอลิมปิก ลอสเองเจอลิส 2028 ที่ได้กล่าวไว้แล้ว คำถามที่ดีที่สุดตอนนี้คือ หากเราจะผลักดันมวยไทยให้บรรจุในการแข่งขันโอลิมปิกโดยผ่านเมืองเจ้าภาพครั้งต่อไป ที่ยังไม่ได้มีการประชุมเพื่อรับรองชนิดกีฬาก็คือ บริสเบน(ประเทศออสเตรเลีย) 2032 มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ส่วนตัวแล้วน้อยมากเหลือเกินที่จะถูกบรรจุ
มาถึงตรงนี้ส่วนตัวค่อนข้างมั่นใจว่า “มวยไทย” จะยังไม่ถูกบรรจุในโอลิมปิกเกมส์อย่างน้อยจนถึงปี 2032 ความหวังของกีฬามวยไทยอาจจะมีมากขึ้นหากเมืองเจ้าภาพในปี 2036 ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ได้ประกาศ เป็นประเทศที่นิยมและสนใจกีฬามวยไทยเป็นพิเศษ หากประเมินความเป็นไปได้แล้วน้อยมากและอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนที่จะผลักดันในเส้นทางนี้ ในมุมมองส่วนตัวมองว่าควรผลักดันมวยไทยให้เป็น กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ใช้มวยไทยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเยาวชนให้รูจักรากฐานของความเป็นไทย ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องตลอดจนความรู้สึกถึงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติที่มีคุณค่า หรือใช้เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในการพัฒนาเยาวชนผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมผ่านกีฬามวยไทย บทความนี้ผู้เขียนไม่มีเจตนาอื่นนอกจากใช้ความรู้ทางวิชาการที่สนใจซึ่งไม่มากมายอะไรนักมีผู้รู้มากมายในประเด็นนี้ แต่อยากจะชี้ให้เห็นถึงเส้นทางและความคุ้มค่า และสิ่งสุดท้ายที่อยากบอกคือผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบในกีฬามวยไทยจนอยากเห็น “กีฬามวยไทย” ถูกบรรจุในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน โดยเน้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประจำชาติต่อไป