บทพิสูจน์ว่า “ชื่อของสมาชิก” สามารถทรงพลังได้มากกว่าชื่อของวง และ
Jeanz (forfree) กำลังแสดงให้เห็นถึงการตลาดที่พลิกโฉมวงการได้อย่างแท้จริง
เป็นบทความจาก twitter เห็นว่าเขียนได้ดีเลยอยากเอามาแบ่งปันครับ
> ต่อจากนี้จะเรียกว่า “Jeanz” ซึ่งเป็นชื่อ Unofficial ไปก่อน
เราอาจคุ้นเคยกับแนวทางการตลาดในวงการ K-Pop ที่มักให้ความสำคัญกับ
การสร้างมูลค่าแบรนด์วง (Group Branding) ก่อนจะค่อย ๆ ขยายแบรนด์สู่สมาชิกแต่ละคนในภายหลัง
แต่กรณีของ Jeanz ได้พลิกโฉมรูปแบบนี้ไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่การสร้าง แบรนด์ส่วนบุคคล (Personal Branding) อย่างเต็มรูปแบบ
หลังจากการยุติสัญญากับเอเจนซีเดิมในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2024 สมาชิกทั้ง 5 คน Minji, Hanni, Danielle, Haerin และ Hyein ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ แม้ชื่อ NewJeans จะยังคงต้องต่อสู้เพื่อกลับมาในอนาคต
แต่ในตอนนี้พวกเธอต้องมุ่งสร้างมูลค่าของตนเองในฐานะบุคคล
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ สมาชิกทุกคนยังคงปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับแบรนด์ในยุค NewJeans จนกว่าจะหมดวาระ ขณะที่งานใหม่ ๆ จะถูกเซ็นต์ในชื่อของแต่ละคนแทน การตลาดรูปแบบนี้จึงเน้นที่
การเพิ่มมูลค่าชื่อสมาชิกแต่ละคน (Individual Value) เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและให้แต่ละคนยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง
.
การตลาดที่สะท้อน “พลังของชื่อบุคคล”
.
ในโลกที่ชื่อของสมาชิกสำคัญยิ่งกว่าชื่อวง กลยุทธ์นี้สะท้อนให้เห็นถึง
อิทธิพลของ Personal Branding ที่สามารถแซงหน้ามูลค่าของแบรนด์วงเดิมได้ แม้ว่าบางคนอาจเสียดายภาพลักษณ์และมูลค่าที่ชื่อ NewJeans สร้างขึ้นมาในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ
NewJeans ที่ไม่มีสมาชิกทั้งห้าคน ก็ไม่ใช่ NewJeans อีกต่อไป
.
การตลาดแบบ “ผสมผสาน” สู่เส้นทางใหม่
การตลาดของ Jeanzคือ การสร้างความร่วมมือในรูปแบบใหม่
แบรนด์ต่างๆ และโปรเจกต์ใหม่ ๆ จะต้องเลือกทำงานร่วมกับสมาชิกแต่ละคนโดยตรง
.
การตลาดแบบนี้ช่วยลบภาพจำที่ว่าสมาชิกต้องอยู่ภายใต้ชื่อ NewJeans เท่านั้น
ขณะเดียวกัน
พลังของทีม (Collective Branding) ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญ โดยอาจใช้การรวมตัวในโปรเจกต์พิเศษหรืออีเวนต์บางครั้ง เพื่อรักษาฐานแฟนคลับเดิมและดึงดูดกลุ่มแฟนคลับใหม่
.
กลยุทธ์ที่ท้าทาย จุดเปลี่ยนใน K-Pop ?
กลยุทธ์แบบนี้คล้าย Hybrid Marketing Strategy ซึ่งโดยปกติจะเกิดในช่วงปีที่ 5 หรือ 6 ของวง เมื่อแบรนด์ของวงคงที่และพร้อมเปิดโอกาสให้สมาชิกเติบโต แต่ในกรณีของ Jeanz สมาชิกจำเป็นต้องเร่งสร้างตัวตนของตัวเองอย่างรวดเร็ว และทำให้ชื่อของพวกเธอแต่ละคนกลายเป็น
“ทรัพย์สินที่ทรงพลัง”
แม้แบรนด์วงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่ก็ไม่ใช่จุดจบของเรื่องราวนี้... การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงสะท้อนการปรับตัวของ Jeanz แต่ยังอาจกำหนดแนวทางใหม่ให้กับวงการ K-Pop ในอนาคต
นี่คือบทพิสูจน์ว่า “ชื่อของสมาชิก” สามารถทรงพลังได้มากกว่าชื่อของวง และ Jeanz (forfree) กำลังแสดงให้เห็นถึงการตลาดที่พลิกโฉมวงการได้อย่างแท้จริง...
credit: 1
บทพิสูจน์ “ชื่อของสมาชิก” ทรงพลังได้มากกว่าชื่อของวง
Jeanz (forfree) กำลังแสดงให้เห็นถึงการตลาดที่พลิกโฉมวงการได้อย่างแท้จริง
เป็นบทความจาก twitter เห็นว่าเขียนได้ดีเลยอยากเอามาแบ่งปันครับ
> ต่อจากนี้จะเรียกว่า “Jeanz” ซึ่งเป็นชื่อ Unofficial ไปก่อน
เราอาจคุ้นเคยกับแนวทางการตลาดในวงการ K-Pop ที่มักให้ความสำคัญกับ การสร้างมูลค่าแบรนด์วง (Group Branding) ก่อนจะค่อย ๆ ขยายแบรนด์สู่สมาชิกแต่ละคนในภายหลัง แต่กรณีของ Jeanz ได้พลิกโฉมรูปแบบนี้ไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่การสร้าง แบรนด์ส่วนบุคคล (Personal Branding) อย่างเต็มรูปแบบ
หลังจากการยุติสัญญากับเอเจนซีเดิมในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2024 สมาชิกทั้ง 5 คน Minji, Hanni, Danielle, Haerin และ Hyein ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ แม้ชื่อ NewJeans จะยังคงต้องต่อสู้เพื่อกลับมาในอนาคต แต่ในตอนนี้พวกเธอต้องมุ่งสร้างมูลค่าของตนเองในฐานะบุคคล
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ สมาชิกทุกคนยังคงปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับแบรนด์ในยุค NewJeans จนกว่าจะหมดวาระ ขณะที่งานใหม่ ๆ จะถูกเซ็นต์ในชื่อของแต่ละคนแทน การตลาดรูปแบบนี้จึงเน้นที่ การเพิ่มมูลค่าชื่อสมาชิกแต่ละคน (Individual Value) เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและให้แต่ละคนยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง
.
การตลาดที่สะท้อน “พลังของชื่อบุคคล”
.
ในโลกที่ชื่อของสมาชิกสำคัญยิ่งกว่าชื่อวง กลยุทธ์นี้สะท้อนให้เห็นถึง อิทธิพลของ Personal Branding ที่สามารถแซงหน้ามูลค่าของแบรนด์วงเดิมได้ แม้ว่าบางคนอาจเสียดายภาพลักษณ์และมูลค่าที่ชื่อ NewJeans สร้างขึ้นมาในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ NewJeans ที่ไม่มีสมาชิกทั้งห้าคน ก็ไม่ใช่ NewJeans อีกต่อไป
.
การตลาดแบบ “ผสมผสาน” สู่เส้นทางใหม่
การตลาดของ Jeanzคือ การสร้างความร่วมมือในรูปแบบใหม่
แบรนด์ต่างๆ และโปรเจกต์ใหม่ ๆ จะต้องเลือกทำงานร่วมกับสมาชิกแต่ละคนโดยตรง
.
การตลาดแบบนี้ช่วยลบภาพจำที่ว่าสมาชิกต้องอยู่ภายใต้ชื่อ NewJeans เท่านั้น
ขณะเดียวกัน พลังของทีม (Collective Branding) ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญ โดยอาจใช้การรวมตัวในโปรเจกต์พิเศษหรืออีเวนต์บางครั้ง เพื่อรักษาฐานแฟนคลับเดิมและดึงดูดกลุ่มแฟนคลับใหม่
.
กลยุทธ์ที่ท้าทาย จุดเปลี่ยนใน K-Pop ?
กลยุทธ์แบบนี้คล้าย Hybrid Marketing Strategy ซึ่งโดยปกติจะเกิดในช่วงปีที่ 5 หรือ 6 ของวง เมื่อแบรนด์ของวงคงที่และพร้อมเปิดโอกาสให้สมาชิกเติบโต แต่ในกรณีของ Jeanz สมาชิกจำเป็นต้องเร่งสร้างตัวตนของตัวเองอย่างรวดเร็ว และทำให้ชื่อของพวกเธอแต่ละคนกลายเป็น “ทรัพย์สินที่ทรงพลัง”
แม้แบรนด์วงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่ก็ไม่ใช่จุดจบของเรื่องราวนี้... การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงสะท้อนการปรับตัวของ Jeanz แต่ยังอาจกำหนดแนวทางใหม่ให้กับวงการ K-Pop ในอนาคต
นี่คือบทพิสูจน์ว่า “ชื่อของสมาชิก” สามารถทรงพลังได้มากกว่าชื่อของวง และ Jeanz (forfree) กำลังแสดงให้เห็นถึงการตลาดที่พลิกโฉมวงการได้อย่างแท้จริง...
credit: 1