หม้อแปลงทำงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อแม่สนามแม่เหล็กยุบตัวหรือพองตัว 50/60 ครั้งต่อวินาทีตามความถี่ไฟฟ้าก็จะเกิดแรงสั่นสะเทือนและแรงสั่นสะเทือนนี้จะทำให้แผ่นเหล็กที่ซ้อนกันหลายชั้นในหม้อแปลงกระทบกันเกิดเสียงดัง ปกติหม้อแปลงจะเคลือบน้ำยาเอาไว้ทำให้มีเสียงเบามากจนแทบไม่ได้ยิน ถ้าน้ำยาที่เคลือบไว้ปริแตกเนื่องจากเหตุใดก็ตามก็จะได้ยินเสียงดังบางครั้งก็ดังจนน่ารำคาญ มาดูวิธีแก้ไขให้เสียงเงียบกันครับ
หม้อแปลงทั้งสองลูกผมได้มาจากลำโพง 2.1 Ch ลูกบนแรงดัน 24V.-0-24V. ลูกล่างแรงดัน 21V.-0-21V. ผมได้มายังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้งานอะไรแต่ลองทดสอบจ่ายไฟเข้าไปขณะไม่มีโหลดลูกด้านล่างมีเสียงดังได้ยินชัดเจนแม้จะอยู่ห่างออกไป 1 เมตร
วิธีแก้ ผมรื้อแผ่นเหล็กหุ้มหม้อแปลงออกซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะทำมาจากเหล็กอ่อน เมื่อรื้อออกมาแล้วก็ใช้ขี้ผึ้งวานิชทาที่แกนหม้อแปลง รอบแรกผสมวานิชกับทินเนอร์ให้เหลวเพื่อให้ซึมเข้าไปในช่องว่างของแผ่นเหล็กที่ซ้อนกันได้ง่าย เมื่อทาเสร็จให้จ่ายไฟเข้าหม้อแปลงเพื่อให้แกนเหล็กสะเทือนแรงสั่นสะเทือนจะทำให้วานิชเข้าไปในช่องว่างได้มากขึ้น พอวานิชหมาดก็ทารอบที่ 2 ที่ 3 รอบนี้ทาวานิชโดยไม่ผสมทินเนอร์ทาเสร็จพอวานิชหมาดก็ประกอบกลับคืนได้เลยไม่ต้องรอให้แห้ง
ปกติการผลิตหม้อแปลงเมื่อพันเสร็จเขาจะจุ่มลงน้ำยาวานิชอยู่แล้วแต่เป็นวานิชใส-เหลืองผมไม่มีก็เลยใช้วานิชดำที่เหลือมาจากการย้อมสีไม้ ไม่ว่าจะสีใส-เหลืองหรือสีดำมันก็เป็นวานิชเหมือนกันจึงใช้แทนกันได้เลย
เมื่อทำเสร็จประกอบกลับคืนเรียบร้อยดีแล้วผ่านไป 5 ชั่วโมงทดสอบจ่ายไฟเข้าไป ผลออกมาเงียบสนิทเอาหูไปแนบกับหม้อแปลงก็ไม่ได้ยินเสียง
ทดสอบจ่ายไฟให้หลอดใส้ 220V. 100W. พบว่าหม้อแปลงลูกนี้มีค่า Voltage regulation ดีกว่าลูกด้านบนมาก ที่โหลดเท่ากันลูกบนแรงดันจะตกลง 2% แต่ลูกนี้ตกลงแค่ 0.5% เท่านั้น หม้อแปลงลูกนี้ถือว่าเป็นหม้อแปลงชั้นดีครับ
หม้อแปลงสั่นสะเทือนมีเสียงรบกวน แก้ได้ด้วยวิธีนี้..
หม้อแปลงทั้งสองลูกผมได้มาจากลำโพง 2.1 Ch ลูกบนแรงดัน 24V.-0-24V. ลูกล่างแรงดัน 21V.-0-21V. ผมได้มายังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้งานอะไรแต่ลองทดสอบจ่ายไฟเข้าไปขณะไม่มีโหลดลูกด้านล่างมีเสียงดังได้ยินชัดเจนแม้จะอยู่ห่างออกไป 1 เมตร
วิธีแก้ ผมรื้อแผ่นเหล็กหุ้มหม้อแปลงออกซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะทำมาจากเหล็กอ่อน เมื่อรื้อออกมาแล้วก็ใช้ขี้ผึ้งวานิชทาที่แกนหม้อแปลง รอบแรกผสมวานิชกับทินเนอร์ให้เหลวเพื่อให้ซึมเข้าไปในช่องว่างของแผ่นเหล็กที่ซ้อนกันได้ง่าย เมื่อทาเสร็จให้จ่ายไฟเข้าหม้อแปลงเพื่อให้แกนเหล็กสะเทือนแรงสั่นสะเทือนจะทำให้วานิชเข้าไปในช่องว่างได้มากขึ้น พอวานิชหมาดก็ทารอบที่ 2 ที่ 3 รอบนี้ทาวานิชโดยไม่ผสมทินเนอร์ทาเสร็จพอวานิชหมาดก็ประกอบกลับคืนได้เลยไม่ต้องรอให้แห้ง
ปกติการผลิตหม้อแปลงเมื่อพันเสร็จเขาจะจุ่มลงน้ำยาวานิชอยู่แล้วแต่เป็นวานิชใส-เหลืองผมไม่มีก็เลยใช้วานิชดำที่เหลือมาจากการย้อมสีไม้ ไม่ว่าจะสีใส-เหลืองหรือสีดำมันก็เป็นวานิชเหมือนกันจึงใช้แทนกันได้เลย
เมื่อทำเสร็จประกอบกลับคืนเรียบร้อยดีแล้วผ่านไป 5 ชั่วโมงทดสอบจ่ายไฟเข้าไป ผลออกมาเงียบสนิทเอาหูไปแนบกับหม้อแปลงก็ไม่ได้ยินเสียง
ทดสอบจ่ายไฟให้หลอดใส้ 220V. 100W. พบว่าหม้อแปลงลูกนี้มีค่า Voltage regulation ดีกว่าลูกด้านบนมาก ที่โหลดเท่ากันลูกบนแรงดันจะตกลง 2% แต่ลูกนี้ตกลงแค่ 0.5% เท่านั้น หม้อแปลงลูกนี้ถือว่าเป็นหม้อแปลงชั้นดีครับ