เมืองไทยประกันชีวิต แจ้ง "Copayment" เริ่ม 20 มี.ค.นี้ ย้ำมีผลบังคับใช้เฉพาะลูกค้าใหม่ ลูกค้าเก่าไม่มีผล ลดปัญหาเคลมสูง
เมืองไทยประกันชีวิต แจ้ง "Copayment" เริ่ม 20 มี.ค.นี้ ย้ำมีผลบังคับใช้เฉพาะลูกค้าใหม่ ลูกค้าเก่าไม่มีผล ลดปัญหาเคลมสูง
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ในส่วนการเริ่มบังคับใช้เกณฑ์ประกันสุขภาพแบบให้ลูกค้ามีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) เมืองไทยประกันชีวิตจะมีการเริ่มบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.2568 เป็นต้นไป
ภายใต้เกณฑ์นี้ จะมีผลเฉพาะกรมธรรม์ที่ออกขายใหม่สำหรับลูกค้าใหม่เท่านั้น ส่วนการต่ออายุสัญญากรมธรรม์เดิมจะไม่มีผล
ทั้งนี้ ลูกค้าที่จะเข้าเงื่อนไข Copayment ที่ต้องจ่ายร่วม เมื่อสัญญากรมธรรม์มีผลบังคับใช้ หากมีการป่วยไม่รุนแรง หรือมีการเคลมมากกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพจะต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นเมื่อจ่ายเบี้ยประกันในกรมธรรม์ปีถัดไป
หรือ หากมีการเคลมเจ็บป่วย โรคร้ายแรงมากกว่า 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ หรือเคลมมากกว่า 400% ของเบี้ย ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย 30% เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สุดท้ายหากผู้ที่เข้าข่ายต้องร่วมจ่าย Copayment แต่หากมีการเคลมลดลง ที่อาจนำไปสู่การพิจารณายกเลิก “การร่วมจ่าย” ของบริษัทรับประกันได้เช่นเดียวกัน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
เมืองไทยประกันชีวิต แจ้ง "ลูกค้ามีส่วนร่วมจ่าย Co-payment" เริ่ม 20 มี.ค.นี้ ลดปัญหาเคลมสูง
เมืองไทยประกันชีวิต แจ้ง "Copayment" เริ่ม 20 มี.ค.นี้ ย้ำมีผลบังคับใช้เฉพาะลูกค้าใหม่ ลูกค้าเก่าไม่มีผล ลดปัญหาเคลมสูง
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ในส่วนการเริ่มบังคับใช้เกณฑ์ประกันสุขภาพแบบให้ลูกค้ามีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) เมืองไทยประกันชีวิตจะมีการเริ่มบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.2568 เป็นต้นไป
ภายใต้เกณฑ์นี้ จะมีผลเฉพาะกรมธรรม์ที่ออกขายใหม่สำหรับลูกค้าใหม่เท่านั้น ส่วนการต่ออายุสัญญากรมธรรม์เดิมจะไม่มีผล
ทั้งนี้ ลูกค้าที่จะเข้าเงื่อนไข Copayment ที่ต้องจ่ายร่วม เมื่อสัญญากรมธรรม์มีผลบังคับใช้ หากมีการป่วยไม่รุนแรง หรือมีการเคลมมากกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพจะต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นเมื่อจ่ายเบี้ยประกันในกรมธรรม์ปีถัดไป
หรือ หากมีการเคลมเจ็บป่วย โรคร้ายแรงมากกว่า 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ หรือเคลมมากกว่า 400% ของเบี้ย ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย 30% เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สุดท้ายหากผู้ที่เข้าข่ายต้องร่วมจ่าย Copayment แต่หากมีการเคลมลดลง ที่อาจนำไปสู่การพิจารณายกเลิก “การร่วมจ่าย” ของบริษัทรับประกันได้เช่นเดียวกัน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ