‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ฆ่าไม่ตาย! ผู้เสียหายหมดตัว

ปี 2566

สสส.-คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เผยงานวิจัย คนไทยกว่า 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ปี 66 พบความเสียหาย 49,845 ล้านบาท เฉลี่ย 2,660.94 บาท/คน กลุ่ม Gen Y มีจำนวนผู้เสียหายมากที่สุด มูลค่าความเสียหายสูงสุด ประเภทการหลอกลวง ส่วนใหญ่จากซื้อสินค้าออนไลน์และหลอกให้ลงทุน  https://www.hfocus.org/content/2024/05/30458



2567
วันนี้ (7 ม.ค. 68) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภค ปี 2567 โดยได้รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 1,361 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท (เฉพาะที่ มพบ. รับเรื่อง)
 
ทั้งนี้หากคิดตามมูลค่าความเสียหายแล้ว ภัยการเงิน ถือเป็นต้นเหตุที่สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค มากเป็นอันดับ 1 ของปี 2567 มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 70 ล้านบาท นี่เป็นข้อมูลจากฐานระบบของฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งบันทึกสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหาย ประกอบด้วย
 
ภัยทางการเงินและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (เสียหายกว่า 70 ล้านบาท)

อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (ความเสียหายกว่า 66 ล้านบาท)

สินค้าและบริการทั่วไป (เสียหายกว่า 57 ล้านบาท)

สื่อโทรคมนาคม  (เสียหายกว่า 20 ล้านบาท)

บริการขนส่งและยานพาหนะ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริการสุขภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ (เสียหายตั้งแต่หลักหมื่น-แสนบาท)
เครดิตภาพ และข้อมูล https://theactive.thaipbs.or.th/news/lawrights-20250107

Whoscall เผยคนไทย 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Credit : https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9670000095302
นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวถึงข้อมูลจากรายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 พบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกจากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 

การโทรเข้าและส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามด้วยโฆษณาออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชันต่างๆ สำหรับส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวงได้แก่ Facebook 50% ตามด้วย Line 43% Messenger 39% TikTok 25% และ Gmail 20%
ทั้งนี้ การได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีผ่านมา ผลสำรวจจพบว่ากว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ โดยมีเหยื่อเพียง 2% ได้เงินที่ ถูกหลอกไปคืนทั้งหมด แต่มีเหยื่อมากถึง 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และ 73% ระบุว่าได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอก
***แอบอ้าง ขโมยตัวตน หลอกเหยื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่