10 เรื่องราวไม่คาดฝัน หากแต่ตราตรึงในหัวใจที่ดอยอมก๋อย
ในครั้งแรกที่ได้ขึ้นไปจัดกิจกรรมวันเด็ก เดือนมกราคม พ.ศ. 2568
.
1.ครูดอยผู้เป็นมากกว่าครู
ครูดอยไม่ได้เป็นแค่คุณครูที่สอนหนังสือ แต่เป็นทุกอย่างของชุมชน ตั้งแต่เตรียมอาหารกลางวันให้เด็ก ๆ หายามารักษาชาวบ้านยามป่วยไข้ และยังต้องจัดเตรียมทุกอย่างเมื่อหมู่บ้านมีกิจกรรม เรียกได้ว่า “ครูดอย” คือหัวใจสำคัญอย่างแท้จริง
.
2.เรื่องเล่าของครูนิ่ง
ครูนิ่งเล่าว่า เมื่อได้รับหน้าที่เป็นครูดอยครั้งแรกเมื่อราวยี่สิบปีก่อน ต้องใช้เวลาเดินเท้าจากตีนดอยขึ้นไปสอนที่โรงเรียนถึง 3 วันเต็ม ระหว่างทางก็อาศัยนอนพักและทานอาหารที่ชาวบ้านแบ่งปันให้ ถือเป็นการเดินทางที่ยากลำบากแต่เปี่ยมด้วยน้ำใจ
.
3.ความคิดถึงที่ไม่อาจซ่อน
ครูนิ่งเล่าต่อว่าครูดอยจะต้องขึ้นไปสอนบนดอยเดือนละ 22 วัน และใช้เวลาอีก 8 วัน เพื่อจัดการเอกสารและประชุมต่าง ๆ ระหว่างที่ครูนิ่งเล่าเรื่องให้ผมฟัง จู่ ๆ ครูก็หยุดไปครู่หนึ่งก่อนพูดว่า “อยากกลับไปหาเด็ก ๆ แล้ว ไม่ได้เจอหลายวัน...คิดถึง”
.
4.โซลาร์เซลกับความหวัง
ครูโสเล่าว่านอกจากอาคารเรียนที่ต้องการการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนแล้ว โซลาร์เซลก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่อยากได้ไม่แพ้กัน เพราะของเดิมที่รัฐเคยสนับสนุนเริ่มทยอยเสีย ทำให้ทุกวันนี้ต้อง “จุดเทียน” เพื่อให้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน
.
5.เมื่อไฟฟ้าคือเทียนหนึ่งเล่ม
ในบางพื้นที่ที่ครูดอยไปสอนนั้นแทบไม่มีไฟฟ้าใช้ หากแผงโซลาร์เซลเสียก็คือต้องอาศัยแสงจากเทียนเท่านั้น ส่วนการติดต่อกับโลกภายนอก ครูเล่าว่าต้องพึ่งพาการชาร์จแบตโทรศัพท์ที่บ้านของชาวบ้าน เพื่อใช้สื่อสารกับส่วนกลางเรื่องการเรียนการสอน
.
6.เจตนารมณ์ของ “มะลิ”
ผมได้ถาม “มะลิ” เด็กนักเรียนทุนโครงการ “คืนรอยยิ้ม...สู่ถิ่นไกล” ซึ่งปัจจุบันเรียนอยู่ปี 4 ใกล้จบแล้ว ว่าหลังเรียนจบจะทำอะไรต่อ เพราะมีคนติดต่อให้ทำงานที่กรุงเทพ แต่มะลิก็ตอบอย่างหนักแน่นว่า “หนูอยากไปเป็นครูที่ดอย อยากไปให้ความรู้เด็ก ๆ ที่นั่น”
.
7.โอกาสหนึ่งเดียวของผู้ไม่เคยมีโอกาส
มะลิเล่าว่า ในชั้นเรียนของเธอ มีเพียงเธอ “คนเดียว” ที่ได้เรียนต่อชั้นมัธยม ส่วนคนอื่น ๆ ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ เธอจึงตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสนี้แล้ว ก็อยากส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้น้อง ๆ ในชุมชนของเธอให้ได้มากที่สุด แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
.
8.น้ำใจยามค่ำในอุณหภูมิ 4 องศา
หลังจบกิจกรรมวันเด็ก ค่ำคืนนั้นอากาศหนาวจนผิงไฟแล้วก็ยังไม่หายหนาว พี่คนหนึ่งจึงถาม “สริตา” เด็กนักเรียนอายุราว 7-8 ขวบ ว่าพอจะหาฟืนให้หน่อยได้ไหม ด้วยการเอ่ยเพียงครั้งเดียว เธอกับเพื่อนอีกห้าคนรีบไปขอฟืนจากชาวบ้านแล้วมาช่วยผ่าฟืน จัดเตาไฟให้พวกเราได้ผิงจนถึงเช้า โดยไม่เรียกร้องสิ่งใดตอบแทน
.
9.ขออยู่ต่อได้ไหม
ก่อนจะลงจากดอย “สริตา” ขอพวกเราเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว หลังเธอช่วยทุกอย่าง ทั้งทำอาหาร ผ่าฟืน ปลูกต้นกาแฟ เธอเงยหน้าขึ้นและเอ่ยอย่างออดอ้อนว่า “พี่อยู่กับพวกหนูต่อได้ไหมคะ”
.
10.บทเพลงขับกล่อมส่งลงดอย
เมื่อถึงเวลาที่พวกเราจะเดินขึ้นรถ เด็ก ๆ มายืนล้อมร้องเพลงลาและกล่าวขอบคุณ พอรถเคลื่อนตัวลงจากดอยแล้ว เด็ก ๆ ก็พากันวิ่งมายืนเรียงเป็นแถว ร้องเพลงส่งเราจนสุดสายตา
.
…หลังจากรถเคลื่อนผ่านเด็ก ๆ เป็นภาพสุดท้าย ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของครูนิ่งอย่างถ่องแท้ว่า “อยากกลับไปหาเด็ก ๆ แล้ว ไม่ได้เจอหลายวัน...คิดถึง” นั้นคือความรู้สึกแบบใด
.
โอกาสหน้า...ไปหาเด็ก ๆ กันเถอะครับ ไปให้เห็นด้วยตา ไปให้โอกาสทางการศึกษา ไปพัฒนาอาคารเรียน และก้าวไปสู่สังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน.
-----------------------------
ด้านบนคือ 10 เรื่องราวไม่คาดฝันที่สรุปมาให้ แต่ถ้าใครมีเวลา เชิญอ่านและซึมซับเรื่องราวฉบับเต็มจากนี้ได้เลย
จากวันแรกที่ไปถึงเชียงใหม่ ด้วยความที่การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ กว่าจะเดินทางไปถึงที่ อ.อมก๋อย ก็ใช้เวลามากกว่า 3ชั่วโมง เราจึงเลือกที่จะไปพักที่รีสอร์ทแถวๆตีนดอยก่อนในคืนแรก เพื่อที่จะได้ขึ้นดอยในช่วงเช้าตรู่ด้วยความสดชื่น รีสอร์ทที่เราไปนอนก็เก๋ดี คือเมื่อเข้าไปเช็คอินแล้วเดินไปที่ห้องพักจะเป็นชั้น 3 ถ้าใครได้ห้องพักชั้น 2 หรือชั้น 1 ต้องเดินลงไป เท่ากับว่าตั้งแต่ลานจอดรถจนถึงชั้นแรกที่เราเดินขึ้นไปคือชั้นบนสุดนั่นเอง ตื่นเช้ามาเป็นวันที่อากาศเย็นสบายดีมากที่ประมาณ 13องศา
ในรูปคือบรรยากาศจากที่บ้านตรงบริเวณที่รับประทานอาหารเช้า ถ่ายออกไปจะเห็นบรรยากาศด้านล่างและทิวทัศน์ดอยแต่ละลูก
พอได้เวลาเดินทางของคณะเรา ครูนิ่งกับครูอาร์ต จึงมาพร้อมรถกระบะ โดยคณะเรามีรถขึ้นไปทั้งหมด 3คัน อีกคันหนึ่งเป็นของพี่ซูซี่ ที่นำรถขึ้นไปเอง เพราะพี่ซูซี่ ชอบพกของไปแจกเด็กๆ วิธีการคือนั่งแค่สองคนด้านหน้า ส่วนข้างหลังพับเบาะหมดแล้วใส่ของเพื่อเอาไปแจกเด็กเต็มคันรถเลย โดยมีเรื่องเล่าว่าที่ตอนนี้พี่ซูซี่ใช้รถ SUV แทนคันเก่า เพราะเมื่อก่อนใช้รถตู้ที่มีเบาะแค่คนขับกับคนนั่งหน้า ส่วนด้านหลังเอาเบาะออกหมดไว้ใส่ของ แล้วใส่ของไปแจกเด็กเยอะเกินเหตุ จนทำให้เมื่อขับรถขึ้นดอย รถหนักเกินจนเกียร์หลุดเลยทีเดียว
ในรูป รถกระบะครูนิ่ง คันนี้มีผู้โดยสาร 3คน คือ ผม(เบิร์ด) อาร์ท(คนในรูป) และพี่อุ๊
พี่อุ๊ ที่เป็นคนพาผมก็คือเบิร์ด กับภรรยาคืออาร์ท ขึ้นไปเจอเด็กๆบนดอยอมก๋อยเห็นว่าพวกผมไปเป็น
"ครั้งแรก" จึงเลือกที่จะพาไปโรงเรียนที่เรียกได้ว่า
"ไปง่ายที่สุดแล้ว" กับสาธารณูปโภคดีกว่าโรงเรียนอื่นๆ แต่แม้จะถือว่าเป็นจุดที่เดินทางสะดวกกว่าที่อื่นแล้ว ในระยะทางแค่ 6กิโลเมตร ก็ยังต้องใช้เวลานานถึงครึ่งชั่วโมงทีเดียวกว่ารถจะขับเข้าไปถึง แล้วถนนก็มีบ้างไม่มีบ้าง บางช่วงก็ดูเป็นหลุมบ่อเดินทางลำบากพอสมควร
ในรูปเป็นทางช่วงก่อนถึงจุดหมายของเรา
โดยทางที่เราเห็นว่าค่อนข้างลำบากในการเดินทางเข้าไปถึง แต่ครูนิ่งก็บอกว่าที่นี่ถือว่าเดินทางง่ายที่สุดแล้ว ถ้าไปที่โรงเรียนอื่นบางแห่งต้องใช้เวลาเดินทางจากตีนดอยขึ้นไปถึง 4-6ชั่วโมงเลยทีเดียว เรียกว่าเดินทางไปยากมากจนแทบไม่มีใครเห็นหรือไม่มีใครเข้าใจว่า ทำไมถึงมีเด็กๆจำนวนมากที่ต้องการได้รับโอกาสทางการศึกษาอยู่
ในรูปเป็นบรรยากาศของโรงเรียน ในรูปจะเห็นว่าหน้าโรงเรียนพื้นดินเป็นร่อง ชาวบ้านเล่าว่าพอเวลาหน้าฝนพื้นถนนจะกลายเป็นร่องน้ำไหลจากดอยลงไปด้านล่าง ทำให้การเดินทางยิ่งลำบากขึ้นไปอีก
ครูนิ่งที่เป็นครูดอยมาประมาณ 20ปี เล่าให้ฟังว่าการเดินทางตอนนี้ก็ง่ายกว่าเมื่อก่อนแล้ว ตอนที่ครูนิ่งได้รับมอบหมายให้เป็นครูดอยครั้งแรก ต้องใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าถึง 3วัน กว่าจะถึงโรงเรียน แกเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนใครได้รับหน้าที่เป็นครูคนใหม่ มักจะได้มอบหมายให้ไปสอนที่โรงเรียนที่ไกลๆ โดยเฉพาะครูผู้ชาย ผมถามว่าแล้วเดินทางสามวันนอนอย่างไร ตอนแรกคิดว่าต้องกางเต๊นท์นอน แต่ฟังแล้วไม่ใช่ แกเล่าว่าก็เดินเท้าไปเรื่อยๆตามแผนที่ ซึ่งก็จะต้องผ่านหมู่บ้านของชาวบ้านต่างๆ ก็ขอแวะพักกับแวะนอนไปด้วยเลย ซึ่งแกเล่าว่าชาวบ้านก็มีน้ำใจมาก เมื่อเห็นมีคนผ่านมาก็เรียกทานข้าวทานอาหาร แถมยังให้แกทานก่อนคนในครอบครัวอีก กลัวว่าต้องเดินทางต่อแล้วจะไม่อิ่ม เป็นแบบนี้ตลอดทางเลย แต่ครูนิ่งก็บอกว่าบางช่วงเดินทางลำบากมาก ถึงกับเดินไปร้องไห้ไปเลยก็มี
ในรูป เด็กที่โรงเรียนออกมาต้อนรับแขกผู้มาเยือน แจกหมวกซานต้ากับอมยิ้มให้ซะเลย
พี่อุ๊กับพี่ซูซี่ เล่าให้ฟังว่า
"โรงเรียนบ้านพะอัน" คือโรงเรียนแรกๆที่โครงการ
"คืนรอยยิ้ม สู่ถิ่นไกล" เลือกที่สร้างอาคารเรียนให้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 15ปีที่แล้ว หลังจากได้ขึ้นมาบนดอยแล้วได้พบเห็นด้วยตาตนเองว่ามีเด็กอีกมากที่ขาดโอกาสทางการศึกษาอยู่ กลุ่มผู้ก่อตั้งจึงได้มีการตั้งปณิธานไว้ว่าจะสร้างอาคารเรียนให้ได้ 100โรงเรียน
ในรูป อาคารเรียนที่สร้างขึ้นใหม่จากโครงการคืนรอยยิ้มสู่ถิ่นไกล
ซึ่งหลายคนก็คงสงสัยเหมือนผมก่อนหน้านี้ว่าแล้วทำไมต้องไปสร้างโรงเรียนถึง 100โรงเรียน ทำไมไม่สร้างแค่ 10โรงเรียน แล้วทำโรงเรียนให้ดีไปเลย จากนั้นก็เอาครูมาสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษา พี่เขาจึงเล่าให้ฟังว่า ต่อให้เราไปสร้างโรงเรียนให้ใหญ่โตแค่ไหน ก็ไม่มีเด็กมาเรียนหรอก เพราะเด็กเขาเดินทางมาเรียนไม่ไหว เนื่องจากการเดินทางลำบากมาก ฉะนั้นต่อให้โรงเรียนดีแค่ไหนแต่เดินทางมาเรียนไม่ได้ก็เปล่าประโยชน์ เราจึงต้องเอาโรงเรียนไปหาเด็กๆแทน ผมฟังแล้วก็ทึ่งเลย
ในรูป อาร์ทกำลังจัดกระเป๋านักเรียนเพื่อเตรียมแจก ได้รับแจ้งจากครูว่าโรงเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 37คน ก็เตรียมมาครบจำนวนนักเรียน จะเห็นในป้ายว่าการเรียนการสอนที่โรงเรียนจะไม่ใช่แบบทั่วไป แต่จะสังกัดอยู่กับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภออมก๋อย สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ
ในรูป จะเห็นว่าไหนบอกมีนักเรียน 37คน ในนี้เห็นเขียนแค่ 31คน จึงได้รับการอธิบายว่าในกระดานนี้หมายถึงนักเรียนจนถึงชั้นประถม 6 แต่เด็กนักเรียนที่เรียนชั้นมัธยม เขาจะเรียกว่าเป็น "นักศึกษา" ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบที่ภาครัฐกำหนดมาให้ แต่จะไม่เหมือนการรับรู้ของพวกเราทั่วไปนัก
ครูนิ่งเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ครูดอยมีอยู่ประมาณ 200คน โดยที่แกเล่าว่าเดี๋ยวนี้ดีหน่อยที่โรงเรียนนึงมีครู 2คน จากที่เมื่อก่อนนี้ทั้งโรงเรียนจะมีครูแค่คนเดียวทำทุกอย่าง ตั้งแต่สอนนักเรียนทุกระดับชั้น ดูแลเรื่องอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน ซึ่งเพิ่งจะมีครูโรงเรียนละสองคนมาได้แค่ประมาณห้าหกปีนี้เอง โดยในเดือนนึง ครูดอยจะสอนเด็กที่โรงเรียน 22วัน แล้วต้องลงจากดอยมาที่อำเภอเพื่อทำรายงานการเรียนการสอนพร้อมกับประชุมเรื่องการสอนต่างๆอีก 8วัน แกเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนต้องรอให้ลงจากดอยมานั่นแหละถึงจะมีของสดให้ทาน พอกลับขึ้นไปบนดอยพกของสดขึ้นไปด้วยเช่นพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ก็มีให้ทานได้ไม่กี่วันหรอกเพราะไม่มีตู้เย็น จึงเก็บได้แค่วันสองวัน หลังจากนั้นอีก 20วัน ส่วนใหญ่ก็ทานแต่อาหารแห้ง
ในรูป ผลงานนักเรียนที่แปะไว้ที่บอร์ดในห้องเรียน
*ข้อความยาวเกินระบบรองรับ ขอไปต่อในช่องความคิดเห็น
**ฝากกดโหวตกระทู้ด้วย ถ้าสมาชิกท่านใดเห็นว่าเนื้อหาเป็นประโยชน์ หรืออยากให้กำลังใจเด็กๆบนดอย โดยการให้เรื่องราวเหล่านี้ได้รู้ถึงคนหมู่มาก เพื่อจะได้มีโอกาสไปช่วยกันคนละไม้คนละมือต่อไป
แชร์ประสบการณ์จริงกับ 10 เรื่องราวไม่คาดฝัน หากแต่ตราตรึงในหัวใจที่ "ดอยอมก๋อย" ไปดูแปลงกาแฟหลังโรงเรียนและการศึกษาเด็กๆ
ในครั้งแรกที่ได้ขึ้นไปจัดกิจกรรมวันเด็ก เดือนมกราคม พ.ศ. 2568
.
1.ครูดอยผู้เป็นมากกว่าครู
ครูดอยไม่ได้เป็นแค่คุณครูที่สอนหนังสือ แต่เป็นทุกอย่างของชุมชน ตั้งแต่เตรียมอาหารกลางวันให้เด็ก ๆ หายามารักษาชาวบ้านยามป่วยไข้ และยังต้องจัดเตรียมทุกอย่างเมื่อหมู่บ้านมีกิจกรรม เรียกได้ว่า “ครูดอย” คือหัวใจสำคัญอย่างแท้จริง
.
2.เรื่องเล่าของครูนิ่ง
ครูนิ่งเล่าว่า เมื่อได้รับหน้าที่เป็นครูดอยครั้งแรกเมื่อราวยี่สิบปีก่อน ต้องใช้เวลาเดินเท้าจากตีนดอยขึ้นไปสอนที่โรงเรียนถึง 3 วันเต็ม ระหว่างทางก็อาศัยนอนพักและทานอาหารที่ชาวบ้านแบ่งปันให้ ถือเป็นการเดินทางที่ยากลำบากแต่เปี่ยมด้วยน้ำใจ
.
3.ความคิดถึงที่ไม่อาจซ่อน
ครูนิ่งเล่าต่อว่าครูดอยจะต้องขึ้นไปสอนบนดอยเดือนละ 22 วัน และใช้เวลาอีก 8 วัน เพื่อจัดการเอกสารและประชุมต่าง ๆ ระหว่างที่ครูนิ่งเล่าเรื่องให้ผมฟัง จู่ ๆ ครูก็หยุดไปครู่หนึ่งก่อนพูดว่า “อยากกลับไปหาเด็ก ๆ แล้ว ไม่ได้เจอหลายวัน...คิดถึง”
.
4.โซลาร์เซลกับความหวัง
ครูโสเล่าว่านอกจากอาคารเรียนที่ต้องการการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนแล้ว โซลาร์เซลก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่อยากได้ไม่แพ้กัน เพราะของเดิมที่รัฐเคยสนับสนุนเริ่มทยอยเสีย ทำให้ทุกวันนี้ต้อง “จุดเทียน” เพื่อให้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน
.
5.เมื่อไฟฟ้าคือเทียนหนึ่งเล่ม
ในบางพื้นที่ที่ครูดอยไปสอนนั้นแทบไม่มีไฟฟ้าใช้ หากแผงโซลาร์เซลเสียก็คือต้องอาศัยแสงจากเทียนเท่านั้น ส่วนการติดต่อกับโลกภายนอก ครูเล่าว่าต้องพึ่งพาการชาร์จแบตโทรศัพท์ที่บ้านของชาวบ้าน เพื่อใช้สื่อสารกับส่วนกลางเรื่องการเรียนการสอน
.
6.เจตนารมณ์ของ “มะลิ”
ผมได้ถาม “มะลิ” เด็กนักเรียนทุนโครงการ “คืนรอยยิ้ม...สู่ถิ่นไกล” ซึ่งปัจจุบันเรียนอยู่ปี 4 ใกล้จบแล้ว ว่าหลังเรียนจบจะทำอะไรต่อ เพราะมีคนติดต่อให้ทำงานที่กรุงเทพ แต่มะลิก็ตอบอย่างหนักแน่นว่า “หนูอยากไปเป็นครูที่ดอย อยากไปให้ความรู้เด็ก ๆ ที่นั่น”
.
7.โอกาสหนึ่งเดียวของผู้ไม่เคยมีโอกาส
มะลิเล่าว่า ในชั้นเรียนของเธอ มีเพียงเธอ “คนเดียว” ที่ได้เรียนต่อชั้นมัธยม ส่วนคนอื่น ๆ ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ เธอจึงตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสนี้แล้ว ก็อยากส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้น้อง ๆ ในชุมชนของเธอให้ได้มากที่สุด แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
.
8.น้ำใจยามค่ำในอุณหภูมิ 4 องศา
หลังจบกิจกรรมวันเด็ก ค่ำคืนนั้นอากาศหนาวจนผิงไฟแล้วก็ยังไม่หายหนาว พี่คนหนึ่งจึงถาม “สริตา” เด็กนักเรียนอายุราว 7-8 ขวบ ว่าพอจะหาฟืนให้หน่อยได้ไหม ด้วยการเอ่ยเพียงครั้งเดียว เธอกับเพื่อนอีกห้าคนรีบไปขอฟืนจากชาวบ้านแล้วมาช่วยผ่าฟืน จัดเตาไฟให้พวกเราได้ผิงจนถึงเช้า โดยไม่เรียกร้องสิ่งใดตอบแทน
.
9.ขออยู่ต่อได้ไหม
ก่อนจะลงจากดอย “สริตา” ขอพวกเราเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว หลังเธอช่วยทุกอย่าง ทั้งทำอาหาร ผ่าฟืน ปลูกต้นกาแฟ เธอเงยหน้าขึ้นและเอ่ยอย่างออดอ้อนว่า “พี่อยู่กับพวกหนูต่อได้ไหมคะ”
.
10.บทเพลงขับกล่อมส่งลงดอย
เมื่อถึงเวลาที่พวกเราจะเดินขึ้นรถ เด็ก ๆ มายืนล้อมร้องเพลงลาและกล่าวขอบคุณ พอรถเคลื่อนตัวลงจากดอยแล้ว เด็ก ๆ ก็พากันวิ่งมายืนเรียงเป็นแถว ร้องเพลงส่งเราจนสุดสายตา
.
…หลังจากรถเคลื่อนผ่านเด็ก ๆ เป็นภาพสุดท้าย ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของครูนิ่งอย่างถ่องแท้ว่า “อยากกลับไปหาเด็ก ๆ แล้ว ไม่ได้เจอหลายวัน...คิดถึง” นั้นคือความรู้สึกแบบใด
.
โอกาสหน้า...ไปหาเด็ก ๆ กันเถอะครับ ไปให้เห็นด้วยตา ไปให้โอกาสทางการศึกษา ไปพัฒนาอาคารเรียน และก้าวไปสู่สังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน.
-----------------------------
ด้านบนคือ 10 เรื่องราวไม่คาดฝันที่สรุปมาให้ แต่ถ้าใครมีเวลา เชิญอ่านและซึมซับเรื่องราวฉบับเต็มจากนี้ได้เลย
จากวันแรกที่ไปถึงเชียงใหม่ ด้วยความที่การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ กว่าจะเดินทางไปถึงที่ อ.อมก๋อย ก็ใช้เวลามากกว่า 3ชั่วโมง เราจึงเลือกที่จะไปพักที่รีสอร์ทแถวๆตีนดอยก่อนในคืนแรก เพื่อที่จะได้ขึ้นดอยในช่วงเช้าตรู่ด้วยความสดชื่น รีสอร์ทที่เราไปนอนก็เก๋ดี คือเมื่อเข้าไปเช็คอินแล้วเดินไปที่ห้องพักจะเป็นชั้น 3 ถ้าใครได้ห้องพักชั้น 2 หรือชั้น 1 ต้องเดินลงไป เท่ากับว่าตั้งแต่ลานจอดรถจนถึงชั้นแรกที่เราเดินขึ้นไปคือชั้นบนสุดนั่นเอง ตื่นเช้ามาเป็นวันที่อากาศเย็นสบายดีมากที่ประมาณ 13องศา
ในรูปคือบรรยากาศจากที่บ้านตรงบริเวณที่รับประทานอาหารเช้า ถ่ายออกไปจะเห็นบรรยากาศด้านล่างและทิวทัศน์ดอยแต่ละลูก
พอได้เวลาเดินทางของคณะเรา ครูนิ่งกับครูอาร์ต จึงมาพร้อมรถกระบะ โดยคณะเรามีรถขึ้นไปทั้งหมด 3คัน อีกคันหนึ่งเป็นของพี่ซูซี่ ที่นำรถขึ้นไปเอง เพราะพี่ซูซี่ ชอบพกของไปแจกเด็กๆ วิธีการคือนั่งแค่สองคนด้านหน้า ส่วนข้างหลังพับเบาะหมดแล้วใส่ของเพื่อเอาไปแจกเด็กเต็มคันรถเลย โดยมีเรื่องเล่าว่าที่ตอนนี้พี่ซูซี่ใช้รถ SUV แทนคันเก่า เพราะเมื่อก่อนใช้รถตู้ที่มีเบาะแค่คนขับกับคนนั่งหน้า ส่วนด้านหลังเอาเบาะออกหมดไว้ใส่ของ แล้วใส่ของไปแจกเด็กเยอะเกินเหตุ จนทำให้เมื่อขับรถขึ้นดอย รถหนักเกินจนเกียร์หลุดเลยทีเดียว
ในรูป รถกระบะครูนิ่ง คันนี้มีผู้โดยสาร 3คน คือ ผม(เบิร์ด) อาร์ท(คนในรูป) และพี่อุ๊
พี่อุ๊ ที่เป็นคนพาผมก็คือเบิร์ด กับภรรยาคืออาร์ท ขึ้นไปเจอเด็กๆบนดอยอมก๋อยเห็นว่าพวกผมไปเป็น "ครั้งแรก" จึงเลือกที่จะพาไปโรงเรียนที่เรียกได้ว่า "ไปง่ายที่สุดแล้ว" กับสาธารณูปโภคดีกว่าโรงเรียนอื่นๆ แต่แม้จะถือว่าเป็นจุดที่เดินทางสะดวกกว่าที่อื่นแล้ว ในระยะทางแค่ 6กิโลเมตร ก็ยังต้องใช้เวลานานถึงครึ่งชั่วโมงทีเดียวกว่ารถจะขับเข้าไปถึง แล้วถนนก็มีบ้างไม่มีบ้าง บางช่วงก็ดูเป็นหลุมบ่อเดินทางลำบากพอสมควร
ในรูปเป็นทางช่วงก่อนถึงจุดหมายของเรา
โดยทางที่เราเห็นว่าค่อนข้างลำบากในการเดินทางเข้าไปถึง แต่ครูนิ่งก็บอกว่าที่นี่ถือว่าเดินทางง่ายที่สุดแล้ว ถ้าไปที่โรงเรียนอื่นบางแห่งต้องใช้เวลาเดินทางจากตีนดอยขึ้นไปถึง 4-6ชั่วโมงเลยทีเดียว เรียกว่าเดินทางไปยากมากจนแทบไม่มีใครเห็นหรือไม่มีใครเข้าใจว่า ทำไมถึงมีเด็กๆจำนวนมากที่ต้องการได้รับโอกาสทางการศึกษาอยู่
ในรูปเป็นบรรยากาศของโรงเรียน ในรูปจะเห็นว่าหน้าโรงเรียนพื้นดินเป็นร่อง ชาวบ้านเล่าว่าพอเวลาหน้าฝนพื้นถนนจะกลายเป็นร่องน้ำไหลจากดอยลงไปด้านล่าง ทำให้การเดินทางยิ่งลำบากขึ้นไปอีก
ครูนิ่งที่เป็นครูดอยมาประมาณ 20ปี เล่าให้ฟังว่าการเดินทางตอนนี้ก็ง่ายกว่าเมื่อก่อนแล้ว ตอนที่ครูนิ่งได้รับมอบหมายให้เป็นครูดอยครั้งแรก ต้องใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าถึง 3วัน กว่าจะถึงโรงเรียน แกเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนใครได้รับหน้าที่เป็นครูคนใหม่ มักจะได้มอบหมายให้ไปสอนที่โรงเรียนที่ไกลๆ โดยเฉพาะครูผู้ชาย ผมถามว่าแล้วเดินทางสามวันนอนอย่างไร ตอนแรกคิดว่าต้องกางเต๊นท์นอน แต่ฟังแล้วไม่ใช่ แกเล่าว่าก็เดินเท้าไปเรื่อยๆตามแผนที่ ซึ่งก็จะต้องผ่านหมู่บ้านของชาวบ้านต่างๆ ก็ขอแวะพักกับแวะนอนไปด้วยเลย ซึ่งแกเล่าว่าชาวบ้านก็มีน้ำใจมาก เมื่อเห็นมีคนผ่านมาก็เรียกทานข้าวทานอาหาร แถมยังให้แกทานก่อนคนในครอบครัวอีก กลัวว่าต้องเดินทางต่อแล้วจะไม่อิ่ม เป็นแบบนี้ตลอดทางเลย แต่ครูนิ่งก็บอกว่าบางช่วงเดินทางลำบากมาก ถึงกับเดินไปร้องไห้ไปเลยก็มี
ในรูป เด็กที่โรงเรียนออกมาต้อนรับแขกผู้มาเยือน แจกหมวกซานต้ากับอมยิ้มให้ซะเลย
พี่อุ๊กับพี่ซูซี่ เล่าให้ฟังว่า "โรงเรียนบ้านพะอัน" คือโรงเรียนแรกๆที่โครงการ "คืนรอยยิ้ม สู่ถิ่นไกล" เลือกที่สร้างอาคารเรียนให้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 15ปีที่แล้ว หลังจากได้ขึ้นมาบนดอยแล้วได้พบเห็นด้วยตาตนเองว่ามีเด็กอีกมากที่ขาดโอกาสทางการศึกษาอยู่ กลุ่มผู้ก่อตั้งจึงได้มีการตั้งปณิธานไว้ว่าจะสร้างอาคารเรียนให้ได้ 100โรงเรียน
ในรูป อาคารเรียนที่สร้างขึ้นใหม่จากโครงการคืนรอยยิ้มสู่ถิ่นไกล
ซึ่งหลายคนก็คงสงสัยเหมือนผมก่อนหน้านี้ว่าแล้วทำไมต้องไปสร้างโรงเรียนถึง 100โรงเรียน ทำไมไม่สร้างแค่ 10โรงเรียน แล้วทำโรงเรียนให้ดีไปเลย จากนั้นก็เอาครูมาสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษา พี่เขาจึงเล่าให้ฟังว่า ต่อให้เราไปสร้างโรงเรียนให้ใหญ่โตแค่ไหน ก็ไม่มีเด็กมาเรียนหรอก เพราะเด็กเขาเดินทางมาเรียนไม่ไหว เนื่องจากการเดินทางลำบากมาก ฉะนั้นต่อให้โรงเรียนดีแค่ไหนแต่เดินทางมาเรียนไม่ได้ก็เปล่าประโยชน์ เราจึงต้องเอาโรงเรียนไปหาเด็กๆแทน ผมฟังแล้วก็ทึ่งเลย
ในรูป อาร์ทกำลังจัดกระเป๋านักเรียนเพื่อเตรียมแจก ได้รับแจ้งจากครูว่าโรงเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 37คน ก็เตรียมมาครบจำนวนนักเรียน จะเห็นในป้ายว่าการเรียนการสอนที่โรงเรียนจะไม่ใช่แบบทั่วไป แต่จะสังกัดอยู่กับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภออมก๋อย สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ
ในรูป จะเห็นว่าไหนบอกมีนักเรียน 37คน ในนี้เห็นเขียนแค่ 31คน จึงได้รับการอธิบายว่าในกระดานนี้หมายถึงนักเรียนจนถึงชั้นประถม 6 แต่เด็กนักเรียนที่เรียนชั้นมัธยม เขาจะเรียกว่าเป็น "นักศึกษา" ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบที่ภาครัฐกำหนดมาให้ แต่จะไม่เหมือนการรับรู้ของพวกเราทั่วไปนัก
ครูนิ่งเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ครูดอยมีอยู่ประมาณ 200คน โดยที่แกเล่าว่าเดี๋ยวนี้ดีหน่อยที่โรงเรียนนึงมีครู 2คน จากที่เมื่อก่อนนี้ทั้งโรงเรียนจะมีครูแค่คนเดียวทำทุกอย่าง ตั้งแต่สอนนักเรียนทุกระดับชั้น ดูแลเรื่องอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน ซึ่งเพิ่งจะมีครูโรงเรียนละสองคนมาได้แค่ประมาณห้าหกปีนี้เอง โดยในเดือนนึง ครูดอยจะสอนเด็กที่โรงเรียน 22วัน แล้วต้องลงจากดอยมาที่อำเภอเพื่อทำรายงานการเรียนการสอนพร้อมกับประชุมเรื่องการสอนต่างๆอีก 8วัน แกเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนต้องรอให้ลงจากดอยมานั่นแหละถึงจะมีของสดให้ทาน พอกลับขึ้นไปบนดอยพกของสดขึ้นไปด้วยเช่นพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ก็มีให้ทานได้ไม่กี่วันหรอกเพราะไม่มีตู้เย็น จึงเก็บได้แค่วันสองวัน หลังจากนั้นอีก 20วัน ส่วนใหญ่ก็ทานแต่อาหารแห้ง
ในรูป ผลงานนักเรียนที่แปะไว้ที่บอร์ดในห้องเรียน
*ข้อความยาวเกินระบบรองรับ ขอไปต่อในช่องความคิดเห็น
**ฝากกดโหวตกระทู้ด้วย ถ้าสมาชิกท่านใดเห็นว่าเนื้อหาเป็นประโยชน์ หรืออยากให้กำลังใจเด็กๆบนดอย โดยการให้เรื่องราวเหล่านี้ได้รู้ถึงคนหมู่มาก เพื่อจะได้มีโอกาสไปช่วยกันคนละไม้คนละมือต่อไป