วิกฤติว่างงานในจีน คนรุ่นใหม่แห่เช่าออฟฟิศ พร้อมอาหาร วันละ 30 หยวน แสร้งมีงานทำ หนีแรงกดดันสังคม
“Summary“
บริษัทจีนหัวใส พลิกวิกฤตว่างงานสร้างรายได้ เสนอบริการ "แสร้งทำงาน" ให้คนตกงานเช่าพื้นที่ออฟฟิศ พร้อมอาหารกลางวัน วันละ 30 หยวน ใช้ชีวิตเหมือนมาทำงานปกติ ปิดบังความล้มเหลว หนีแรงกดดันทางสังคม
แม้เศรษฐกิจจีนจะส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่กลับมา ทำให้อัตราว่างงานอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่เลย์ออฟคนเพื่อลดต้นทุน รองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในภาวะที่คนรัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลล่าสุดในเดือน พ.ย. พบว่าอัตราว่างงานในเขตเมืองของคนอายุ 16-24 ปี (ไม่นับรวมนักเรียน-นักศึกษา) ลดลงมาอยู่ที่ 16.1% หลังจากที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 21.3% ในเดือน มิ.ย. ปี 2566 จนทำให้ทางการจีนต้องสั่งระงับรายงานตัวเลขว่างงานเยาวชนไปหลายเดือน เพื่อหาแนวทางคำนวณสถิติใหม่
ด้านคนวัย 25-29 ปี ก็มีอัตราว่างงานลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 6.7% ขณะที่คนวัย 30-59 ปี ยังว่างงานเท่าเดิมที่ 3.8%
ในยุคที่งานหายาก ทำให้คนจีนจำนวนไม่น้อยหันมาทำงานฟรีแลนซ์มากขึ้น เช่น เป็นไรเดอร์ส่งอาหาร อินฟลูเอนเซอร์ แต่บางคนก็ยังยืนหยัดที่จะทำงานประจำในออฟฟิศ ร่อนใบสมัครเป็นร้อยแผ่นเพื่อหวังว่าสักวันจะโชคดีมีบริษัทติดต่อกลับมา แต่ระหว่างนั้นก็ต้องแบกรับแรงกดดันรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากครอบครัว เนื่องจากจีนเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง วัดความสำเร็จจากการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน ดังนั้นใครที่หางานไม่ได้ หรือไม่มีงานทำจึงถูกมองว่า “ล้มเหลว”
หลายคนที่รับแรงกดดันไม่ไหว จึงเลือกที่จะโกหกหรือไม่บอกคนรอบตัวว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก จนเกิดเป็นเทรนด์ “แสร้งทำงาน” ใช้ชีวิตเหมือนออกไปทำงานตามปกติ เพื่อหนีแรงกดดันสังคม
Jiawei (เจีย เหว่ย) อดีตพนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซจากเมืองหางโจว กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทของเขาล้มละลาย เขาใช้เวลาทั้งวันที่ร้านกาแฟเพื่อสมัครงานและส่งเรซูเม่
“การว่างงานนั้นเครียดมาก แต่ฉันไม่อยากส่งต่อความรู้สึกแง่ลบให้กับครอบครัว” เขากล่าวกับสื่อแผ่นดินใหญ่ Yunxi Technology
ทุกวันเจียเหว่ยจะเข้าไปใช้บริการร้านกาแฟ และอยู่ที่นั่นจนดึก เพื่อเลียนแบบการทำงานล่วงเวลา
ในขณะเดียวกัน Chen (เฉิน) อดีตคนงานบริษัทเซมิคอนดักเตอร์วัย 29 ปี จากมณฑลหูเป่ย์เปิดเผยว่าหลังจากถูกเลิกจ้างเมื่อปีที่แล้ว เขาเลือกที่จะไม่บอกแฟนสาวของเขา ระหว่างที่ได้รับเงินชดเชยสองเดือน เขาใช้เวลาทั้งวันที่ห้องสมุดเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการ
เทรนด์การแสร้งทำงาน เพื่อหลีกหนีแรงกดดันสังคม จุดประกายให้บริษัทหลายแห่งที่มีพื้นที่ว่าง พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เสนอบริการ “แสร้งทำงาน” โดยเปิดให้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ พร้อมอาหารกลางวัน วันละ 30 หยวน (140 บาท) เพื่อให้คนที่ตกงานหรือยังไม่มีงานทำ แสร้งทำเป็นเหมือนว่ายังมีงานทำตามปกติ
บนโซเชียลมีเดีย มักมีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตน แวะเวียนเข้ามาโพสต์วิดีโอโฆษณาพื้นที่สำนักงานว่างให้เช่า สำหรับคนที่ตกงานอยู่เรื่อยๆ มีบริการเสริมที่แตกต่างกันไป เช่น การเสนอบริการให้เช่าห้อง พร้อมจัดฉาก ถ่ายรูปให้ดูเหมือนว่าลูกค้าเป็นพนักงานระดับสูงของบริษัท โดยมีค่าบริการ 50 หยวน เพื่อใช้หลักฐานยืนยันกับครอบครัว
เทรนด์ "แสร้งทำงาน" ได้รับความสนใจอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย โดยการค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องมียอดวิวมากกว่า 100 ล้านครั้ง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "การแสร้งทำงาน" เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนความโดดเดี่ยวในประเทศจีน
“สังคมกดดันผู้คนให้ประสบความสำเร็จอย่างมาก และบางครั้งคนหนุ่มสาวก็ตั้งความคาดหวังในการทำงานสูงเกินไป การตกงานอย่างกระทันหันอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้” Zhang Yong (จาง หย่ง) ศาสตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ที่ Wuhan University of Science and Technology กล่าว
เขาแนะนำให้ผู้ว่างงานขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแทนที่จะเก็บงำปัญหาไว้กับตัวเอง
“พวกเขาจำเป็นต้องมองสถานการณ์ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจตลาดงาน เปิดใจกับครอบครัว และสร้างแนวคิดที่เป็นบวกต่อการเลือกอาชีพ”
ที่มา
SCMP
ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ/2836823
วิกฤติว่างงานในจีน คนรุ่นใหม่แห่เช่าออฟฟิศ พร้อมอาหาร วันละ 30 หยวน แสร้งมีงานทำ หนีแรงกดดันสังคม
วิกฤติว่างงานในจีน คนรุ่นใหม่แห่เช่าออฟฟิศ พร้อมอาหาร วันละ 30 หยวน แสร้งมีงานทำ หนีแรงกดดันสังคม
“Summary“
บริษัทจีนหัวใส พลิกวิกฤตว่างงานสร้างรายได้ เสนอบริการ "แสร้งทำงาน" ให้คนตกงานเช่าพื้นที่ออฟฟิศ พร้อมอาหารกลางวัน วันละ 30 หยวน ใช้ชีวิตเหมือนมาทำงานปกติ ปิดบังความล้มเหลว หนีแรงกดดันทางสังคม
แม้เศรษฐกิจจีนจะส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่กลับมา ทำให้อัตราว่างงานอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่เลย์ออฟคนเพื่อลดต้นทุน รองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในภาวะที่คนรัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลล่าสุดในเดือน พ.ย. พบว่าอัตราว่างงานในเขตเมืองของคนอายุ 16-24 ปี (ไม่นับรวมนักเรียน-นักศึกษา) ลดลงมาอยู่ที่ 16.1% หลังจากที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 21.3% ในเดือน มิ.ย. ปี 2566 จนทำให้ทางการจีนต้องสั่งระงับรายงานตัวเลขว่างงานเยาวชนไปหลายเดือน เพื่อหาแนวทางคำนวณสถิติใหม่
ด้านคนวัย 25-29 ปี ก็มีอัตราว่างงานลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 6.7% ขณะที่คนวัย 30-59 ปี ยังว่างงานเท่าเดิมที่ 3.8%
ในยุคที่งานหายาก ทำให้คนจีนจำนวนไม่น้อยหันมาทำงานฟรีแลนซ์มากขึ้น เช่น เป็นไรเดอร์ส่งอาหาร อินฟลูเอนเซอร์ แต่บางคนก็ยังยืนหยัดที่จะทำงานประจำในออฟฟิศ ร่อนใบสมัครเป็นร้อยแผ่นเพื่อหวังว่าสักวันจะโชคดีมีบริษัทติดต่อกลับมา แต่ระหว่างนั้นก็ต้องแบกรับแรงกดดันรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากครอบครัว เนื่องจากจีนเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง วัดความสำเร็จจากการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน ดังนั้นใครที่หางานไม่ได้ หรือไม่มีงานทำจึงถูกมองว่า “ล้มเหลว”
หลายคนที่รับแรงกดดันไม่ไหว จึงเลือกที่จะโกหกหรือไม่บอกคนรอบตัวว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก จนเกิดเป็นเทรนด์ “แสร้งทำงาน” ใช้ชีวิตเหมือนออกไปทำงานตามปกติ เพื่อหนีแรงกดดันสังคม
Jiawei (เจีย เหว่ย) อดีตพนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซจากเมืองหางโจว กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทของเขาล้มละลาย เขาใช้เวลาทั้งวันที่ร้านกาแฟเพื่อสมัครงานและส่งเรซูเม่
“การว่างงานนั้นเครียดมาก แต่ฉันไม่อยากส่งต่อความรู้สึกแง่ลบให้กับครอบครัว” เขากล่าวกับสื่อแผ่นดินใหญ่ Yunxi Technology
ทุกวันเจียเหว่ยจะเข้าไปใช้บริการร้านกาแฟ และอยู่ที่นั่นจนดึก เพื่อเลียนแบบการทำงานล่วงเวลา
ในขณะเดียวกัน Chen (เฉิน) อดีตคนงานบริษัทเซมิคอนดักเตอร์วัย 29 ปี จากมณฑลหูเป่ย์เปิดเผยว่าหลังจากถูกเลิกจ้างเมื่อปีที่แล้ว เขาเลือกที่จะไม่บอกแฟนสาวของเขา ระหว่างที่ได้รับเงินชดเชยสองเดือน เขาใช้เวลาทั้งวันที่ห้องสมุดเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการ
เทรนด์การแสร้งทำงาน เพื่อหลีกหนีแรงกดดันสังคม จุดประกายให้บริษัทหลายแห่งที่มีพื้นที่ว่าง พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เสนอบริการ “แสร้งทำงาน” โดยเปิดให้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ พร้อมอาหารกลางวัน วันละ 30 หยวน (140 บาท) เพื่อให้คนที่ตกงานหรือยังไม่มีงานทำ แสร้งทำเป็นเหมือนว่ายังมีงานทำตามปกติ
บนโซเชียลมีเดีย มักมีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตน แวะเวียนเข้ามาโพสต์วิดีโอโฆษณาพื้นที่สำนักงานว่างให้เช่า สำหรับคนที่ตกงานอยู่เรื่อยๆ มีบริการเสริมที่แตกต่างกันไป เช่น การเสนอบริการให้เช่าห้อง พร้อมจัดฉาก ถ่ายรูปให้ดูเหมือนว่าลูกค้าเป็นพนักงานระดับสูงของบริษัท โดยมีค่าบริการ 50 หยวน เพื่อใช้หลักฐานยืนยันกับครอบครัว
เทรนด์ "แสร้งทำงาน" ได้รับความสนใจอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย โดยการค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องมียอดวิวมากกว่า 100 ล้านครั้ง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "การแสร้งทำงาน" เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนความโดดเดี่ยวในประเทศจีน
“สังคมกดดันผู้คนให้ประสบความสำเร็จอย่างมาก และบางครั้งคนหนุ่มสาวก็ตั้งความคาดหวังในการทำงานสูงเกินไป การตกงานอย่างกระทันหันอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้” Zhang Yong (จาง หย่ง) ศาสตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ที่ Wuhan University of Science and Technology กล่าว
เขาแนะนำให้ผู้ว่างงานขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแทนที่จะเก็บงำปัญหาไว้กับตัวเอง
“พวกเขาจำเป็นต้องมองสถานการณ์ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจตลาดงาน เปิดใจกับครอบครัว และสร้างแนวคิดที่เป็นบวกต่อการเลือกอาชีพ”
ที่มา
SCMP
ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ/2836823