(1) แน่นอนว่าด้วยหน้าหนังของ “คุณชายน์” เราจึงไม่ได้หวังอะไรมากไปกว่าความตลกจากการล้อเลียนละครไทย ความน่ารักสดใสของสาวๆ จากวง 4Eve ความโรแมนติกปนดราม่าเบาๆ และปิดท้ายด้วยฉากจบที่ประทับใจของพระนาง ทั้งหมดถูกเล่าผ่านพล็อตเรื่องสบายๆ ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเพื่อนปักชำ ซึ่งเมื่อเห็นชื่อผู้สร้างอย่าง Karman Line Studio และ Jungka ก็อาจจะพูดสรุปได้สั้นๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีกลิ่นอายและจังหวะการเล่าเรื่องไม่ต่างมากนักจากหนังรุ่นพี่อย่าง “อนงค์” ที่เพิ่งเข้าฉายไปก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน
(2) อาจจะบอกได้ว่าด้วยอิทธิพลตามบทประพันธ์ต้นฉบับที่เป็นละครเวทีอย่าง “ชายกลางเดอะมิวสิคัล” ทำให้มวลรวมของตัวภาพยนตร์มีความเป็นโรแมนติกคอมเมดี้เต็มรูปแบบ ทั้งโครงเรื่อง ตัวละคร รวมถึงแก่นหลักของเรื่องที่เหมือนกันอย่างกับแกะ ในการพูดถึงบรรดาละครน้ำเน่าที่ถูกสร้างมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าและมีพล็อตเรื่องเชยๆ หากเทียบกับปัจจุบัน แต่หากมันทำให้ผู้ชมเข้าไปอยู่ในโลกแห่งจินตนาการของผู้สร้างและมอบความประทับใจแก่พวกเขา เพื่อเป็นเครื่องปลอบประโลมและหลบหนีความโหดร้ายได้แล้ว มันก็ไม่มีเหตุผลที่จะต่อต้านหรือดูแคลนความสำเร็จของละครเหล่านั้น
(3) ซึ่งหากยึดตามนี้ชื่อฉบับภาษาอังกฤษของ “คุณชายน์” อย่าง The Cliche น่าจะสื่อความหมายได้เหมาะกว่าถึงความซ้ำซากจำเจของสื่อบันเทิงไทย และหากเราคล้อยตามแก่นเรื่องตรงนี้แล้ว มันก็ทำให้การตั้งธงในการดูหนังเรื่องนี้ ผ่อนคลายมากขึ้น ปล่อยใจไปตามเส้นเรื่องแบบไม่ต้องใช้ตรรกะมากนักก็จะพบว่า “มันก็ไม่เลวนี่หน่า”
(4) แต่หากใช้เกณฑ์ที่เท่าเทียมกันสำหรับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ก็จะพบว่า “คุณชายน์” ยังมีแผลอยู่หลายจุด อย่างแรกความเข้นข้นในการเล่าเรื่องที่ทำได้ “เนิบ” เกินไปในช่วงแรก ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งดูเป็ดยางสีเหลืองตัวน้อยลอยน้ำขึ้นลงอยู่ในอ่างน้ำ เพราะมันไม่มีประเด็นหรือพล็อตย่อยอะไรที่ชวนให้ติดตามเท่าไหร่นัก แม้การนั่งดูชีวิตการทำงานในฐานะผู้กำกับของ “ชู้ต” (อิชณน์กร พึ่งเกียรติ์รัศมี) กับโปรเจคละครเรื่องใหม่ของเขาจะเพลิดเพลินดี พ่วงด้วยความน่ารักสดใสของแฟนสาว “น้ำ” (อาทิตยา ตรีบุดารักษ์) แต่มันก็ไม่ได้สร้างมิติให้การเล่าเรื่องมากนัก แถมกว่าเรื่องจะเข้มข้น(ขึ้นมา)ก็ปาเข้าไปเกินครึ่งเรื่องแล้ว
(5) อย่างที่สองตัวละครพระนางยังมีพลังไม่มากพอ กล่าวตรงๆ เลย คือ เคมีของ จ๋าย-อิชณน์กร และมายด์-อาทิตยา ยังเข้ากันได้ไม่ดีนัก มีความเขินๆ เกร็งๆ และไม่เป็นธรรมชาติ ปรากฏขึ้นเมื่อทั้งคู่ต้องถูกเนื้อต้องตัวกัน(เข้าพระเข้านาง?) ซึ่งหากเทียบเคมีพระนางแล้วหนังรุ่นพี่อย่างอนงค์สามารถทำได้ดีกว่าอย่างชัดเจน แถมการยึดเอาตัวละครตามบทประพันธ์ต้นฉบับมาใช้โต้งๆ นั้นก็ทำให้เชื่อได้ยากว่าน้ำ (ฉบับละครเวทีใช้ชื่อว่า พร รับบทโดยลูกหว้า – พิจิกา จิตตะปุตตะ) เป็นคนที่ชอบละครไทยอย่างจริงจังเข้าเส้นขนาดนั้น
(6) ส่วนชู้ตถูกดัดแปลง(เพียงเล็กน้อย)มาจากตัวละคร “สมชาย” ในฉบับละครเวที ที่รับบทโดยจ๋าย-อิชณน์กร คนเดิม มีการเปลี่ยนจากคนเขียนนิยายอุดมการณ์แรงกล้าไส้แห้งแต่ดันประสบความสำเร็จเพราะนิยายน้ำเน่า มาเป็นคนทำหนังสะท้อนสังคมเพื่อเข้ากับปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่คาแรคเตอร์ของการเป็นผู้กำกับ การเป็นคนทำละคร ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาจากตัวละครนี้ได้ดีนัก (แข็งทื่อพอๆ กับชื่อ ชู้ต ที่มาจากคำว่า shoot ที่แปลว่าถ่ายภาพ) แน่นอนเมื่อตัวละครนำทั้งสองไม่สมบูรณ์จึงทำให้ภาพรวมของเรื่องมีปัญหา โดยเฉพาะในพาร์ทของความโรแมนติก
(7) อย่างที่สามการเสียดสีและล้อเลียนละครไทยผ่านการถ่ายทำละครของชู้ตเล่าเรื่องของคนเบื้องหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่โอบอุ้มความตลกของทั้งเรื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เป็นมุกเหล่านั้นไม่ได้มีความเป็นส่วนตัวหรือเป็นเชิงลึกสำหรับวงการเลย กลับกันมันเป็นมุกตลกทั่วไปที่พบได้ในมุกล้อคนเบื้องหลังจากหนังเรื่องอื่นหรือจากบนโลกโซเชียลด้วยซ้ำ เช่น การบีบน้ำตาที่สั่งได้ดั่งใจ การด้นสดตอนถ่ายทำ การมีตัวละครหญิงแต่งชายลวกๆ แต่ตบตาพระเอกได้ เป็นต้น รวมถึงแนวคิดการค่อนคอดพวกนายทุน ที่เห็นแก่เงินมากกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมในการทำละครไร้สาระมามอมเมาผู้คน ก็ยังเป็นอะไรที่คนทั่วไปรับรู้อยู่แล้ว มัน Cliche ไม่ต่างกันเลย
(8) และถ้าพูดถึงตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในฐานะที่รับผิดชอบด้านความตลก(จากการล้อเลียน)คงต้องยกให้ “ข้าวเปลือก” (กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ) ตัวละครที่เป็นภาพแทนนางเอกผู้อาภัพจากละครน้ำเน่า ส่วนฝั่งนางขี้อิจฉา “แฮนน่า โรสเซ็นบรูม” รับหน้าที่นี้ไป จะว่าก็ว่าเถอะสองตัวละครนี้ยังเข้าขากันและสร้างความบันเทิงได้มากกว่าคู่พระนางเสียอีก น่าเสียดายที่ไม่มีเรื่องราวของพวกเธอนอกจากนี้อีกแล้ว ในขณะที่รุ่นใหญ่อย่าง “รัดเกล้า อามรดิษ” ก็มาในสถานะคล้ายๆ กัน ถ้าจะให้คนที่สร้างมิติตัวละครได้ดีสุด “สัญญา คุณากร” ยังทำได้ดีเช่นเคย ตัวละครนี้น่าจะเป็นตัวละครเดียวที่พอจะสร้างความหนักแน่นให้ตัวเรื่องได้ ส่วน ตั๊ก-บริบูรณ์ จันทร์เรือง นั้นเราแยกไม่ออกแล้วว่าเขาแสดงหนังหรือเล่นซิสคอมอยู่กันแน่
(9) เราคงไม่อาจจะบอกได้ว่าภาพยนตร์เรื่อง “คุณชายน์” นั้น ตัวผู้กำกับชัชวาล วิศวบำรุงชัย ต้องการดัดแปลงละครเวทีเป็นภาพยนตร์หรือไม่ แม้ทุกอย่างจะแทบยกมาจากต้นฉบับหมดเลยก็ตาม แถมตัวเรื่องก็ยังพยายามล้อตัวเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งนั่นก็ทำให้ตัวหนังพลาดที่จะเล่าประเด็นดีๆ หลายอย่าง ที่น่าเสียดายเลย คือ มีฉากที่นักแสดงรุ่นใหญ่ถูกสัมภาษณ์ถึงการเล่นละครในวัยที่ร่วงโรยแล้ว เป็นประเด็นที่น่าจะถูกขยายหรือทำเป็นหนังเรื่องใหม่ยังได้เลย หรือฉากรวบรวมบรรดาละครไทยภาพจำในอดีตตอนท้ายเรื่องยังมอบอารมณ์โหยหาและมีพลังมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องด้วยซ้ำไป
Story Deocder
[รีวิว] คุณชายน์ - เสียดสี ยั่วล้อ ละครน้ำเน่า ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และส่งตามสายเคเบิล
(2) อาจจะบอกได้ว่าด้วยอิทธิพลตามบทประพันธ์ต้นฉบับที่เป็นละครเวทีอย่าง “ชายกลางเดอะมิวสิคัล” ทำให้มวลรวมของตัวภาพยนตร์มีความเป็นโรแมนติกคอมเมดี้เต็มรูปแบบ ทั้งโครงเรื่อง ตัวละคร รวมถึงแก่นหลักของเรื่องที่เหมือนกันอย่างกับแกะ ในการพูดถึงบรรดาละครน้ำเน่าที่ถูกสร้างมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าและมีพล็อตเรื่องเชยๆ หากเทียบกับปัจจุบัน แต่หากมันทำให้ผู้ชมเข้าไปอยู่ในโลกแห่งจินตนาการของผู้สร้างและมอบความประทับใจแก่พวกเขา เพื่อเป็นเครื่องปลอบประโลมและหลบหนีความโหดร้ายได้แล้ว มันก็ไม่มีเหตุผลที่จะต่อต้านหรือดูแคลนความสำเร็จของละครเหล่านั้น
(3) ซึ่งหากยึดตามนี้ชื่อฉบับภาษาอังกฤษของ “คุณชายน์” อย่าง The Cliche น่าจะสื่อความหมายได้เหมาะกว่าถึงความซ้ำซากจำเจของสื่อบันเทิงไทย และหากเราคล้อยตามแก่นเรื่องตรงนี้แล้ว มันก็ทำให้การตั้งธงในการดูหนังเรื่องนี้ ผ่อนคลายมากขึ้น ปล่อยใจไปตามเส้นเรื่องแบบไม่ต้องใช้ตรรกะมากนักก็จะพบว่า “มันก็ไม่เลวนี่หน่า”
(4) แต่หากใช้เกณฑ์ที่เท่าเทียมกันสำหรับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ก็จะพบว่า “คุณชายน์” ยังมีแผลอยู่หลายจุด อย่างแรกความเข้นข้นในการเล่าเรื่องที่ทำได้ “เนิบ” เกินไปในช่วงแรก ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งดูเป็ดยางสีเหลืองตัวน้อยลอยน้ำขึ้นลงอยู่ในอ่างน้ำ เพราะมันไม่มีประเด็นหรือพล็อตย่อยอะไรที่ชวนให้ติดตามเท่าไหร่นัก แม้การนั่งดูชีวิตการทำงานในฐานะผู้กำกับของ “ชู้ต” (อิชณน์กร พึ่งเกียรติ์รัศมี) กับโปรเจคละครเรื่องใหม่ของเขาจะเพลิดเพลินดี พ่วงด้วยความน่ารักสดใสของแฟนสาว “น้ำ” (อาทิตยา ตรีบุดารักษ์) แต่มันก็ไม่ได้สร้างมิติให้การเล่าเรื่องมากนัก แถมกว่าเรื่องจะเข้มข้น(ขึ้นมา)ก็ปาเข้าไปเกินครึ่งเรื่องแล้ว
(5) อย่างที่สองตัวละครพระนางยังมีพลังไม่มากพอ กล่าวตรงๆ เลย คือ เคมีของ จ๋าย-อิชณน์กร และมายด์-อาทิตยา ยังเข้ากันได้ไม่ดีนัก มีความเขินๆ เกร็งๆ และไม่เป็นธรรมชาติ ปรากฏขึ้นเมื่อทั้งคู่ต้องถูกเนื้อต้องตัวกัน(เข้าพระเข้านาง?) ซึ่งหากเทียบเคมีพระนางแล้วหนังรุ่นพี่อย่างอนงค์สามารถทำได้ดีกว่าอย่างชัดเจน แถมการยึดเอาตัวละครตามบทประพันธ์ต้นฉบับมาใช้โต้งๆ นั้นก็ทำให้เชื่อได้ยากว่าน้ำ (ฉบับละครเวทีใช้ชื่อว่า พร รับบทโดยลูกหว้า – พิจิกา จิตตะปุตตะ) เป็นคนที่ชอบละครไทยอย่างจริงจังเข้าเส้นขนาดนั้น
(6) ส่วนชู้ตถูกดัดแปลง(เพียงเล็กน้อย)มาจากตัวละคร “สมชาย” ในฉบับละครเวที ที่รับบทโดยจ๋าย-อิชณน์กร คนเดิม มีการเปลี่ยนจากคนเขียนนิยายอุดมการณ์แรงกล้าไส้แห้งแต่ดันประสบความสำเร็จเพราะนิยายน้ำเน่า มาเป็นคนทำหนังสะท้อนสังคมเพื่อเข้ากับปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่คาแรคเตอร์ของการเป็นผู้กำกับ การเป็นคนทำละคร ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาจากตัวละครนี้ได้ดีนัก (แข็งทื่อพอๆ กับชื่อ ชู้ต ที่มาจากคำว่า shoot ที่แปลว่าถ่ายภาพ) แน่นอนเมื่อตัวละครนำทั้งสองไม่สมบูรณ์จึงทำให้ภาพรวมของเรื่องมีปัญหา โดยเฉพาะในพาร์ทของความโรแมนติก
(7) อย่างที่สามการเสียดสีและล้อเลียนละครไทยผ่านการถ่ายทำละครของชู้ตเล่าเรื่องของคนเบื้องหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่โอบอุ้มความตลกของทั้งเรื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เป็นมุกเหล่านั้นไม่ได้มีความเป็นส่วนตัวหรือเป็นเชิงลึกสำหรับวงการเลย กลับกันมันเป็นมุกตลกทั่วไปที่พบได้ในมุกล้อคนเบื้องหลังจากหนังเรื่องอื่นหรือจากบนโลกโซเชียลด้วยซ้ำ เช่น การบีบน้ำตาที่สั่งได้ดั่งใจ การด้นสดตอนถ่ายทำ การมีตัวละครหญิงแต่งชายลวกๆ แต่ตบตาพระเอกได้ เป็นต้น รวมถึงแนวคิดการค่อนคอดพวกนายทุน ที่เห็นแก่เงินมากกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมในการทำละครไร้สาระมามอมเมาผู้คน ก็ยังเป็นอะไรที่คนทั่วไปรับรู้อยู่แล้ว มัน Cliche ไม่ต่างกันเลย
(8) และถ้าพูดถึงตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในฐานะที่รับผิดชอบด้านความตลก(จากการล้อเลียน)คงต้องยกให้ “ข้าวเปลือก” (กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ) ตัวละครที่เป็นภาพแทนนางเอกผู้อาภัพจากละครน้ำเน่า ส่วนฝั่งนางขี้อิจฉา “แฮนน่า โรสเซ็นบรูม” รับหน้าที่นี้ไป จะว่าก็ว่าเถอะสองตัวละครนี้ยังเข้าขากันและสร้างความบันเทิงได้มากกว่าคู่พระนางเสียอีก น่าเสียดายที่ไม่มีเรื่องราวของพวกเธอนอกจากนี้อีกแล้ว ในขณะที่รุ่นใหญ่อย่าง “รัดเกล้า อามรดิษ” ก็มาในสถานะคล้ายๆ กัน ถ้าจะให้คนที่สร้างมิติตัวละครได้ดีสุด “สัญญา คุณากร” ยังทำได้ดีเช่นเคย ตัวละครนี้น่าจะเป็นตัวละครเดียวที่พอจะสร้างความหนักแน่นให้ตัวเรื่องได้ ส่วน ตั๊ก-บริบูรณ์ จันทร์เรือง นั้นเราแยกไม่ออกแล้วว่าเขาแสดงหนังหรือเล่นซิสคอมอยู่กันแน่
(9) เราคงไม่อาจจะบอกได้ว่าภาพยนตร์เรื่อง “คุณชายน์” นั้น ตัวผู้กำกับชัชวาล วิศวบำรุงชัย ต้องการดัดแปลงละครเวทีเป็นภาพยนตร์หรือไม่ แม้ทุกอย่างจะแทบยกมาจากต้นฉบับหมดเลยก็ตาม แถมตัวเรื่องก็ยังพยายามล้อตัวเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งนั่นก็ทำให้ตัวหนังพลาดที่จะเล่าประเด็นดีๆ หลายอย่าง ที่น่าเสียดายเลย คือ มีฉากที่นักแสดงรุ่นใหญ่ถูกสัมภาษณ์ถึงการเล่นละครในวัยที่ร่วงโรยแล้ว เป็นประเด็นที่น่าจะถูกขยายหรือทำเป็นหนังเรื่องใหม่ยังได้เลย หรือฉากรวบรวมบรรดาละครไทยภาพจำในอดีตตอนท้ายเรื่องยังมอบอารมณ์โหยหาและมีพลังมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องด้วยซ้ำไป
Story Deocder