เรารู้ไหมว่า รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา แม้เวลาดับเครื่อง และรถจอดอยู่เฉยๆ
กล่อง ECU ยังคงทำงานอยู่ส่วนหนึ่งตลอดเวลา เพื่อรอรับรู้การใช้งานจากเรา เช่น รอการกดรีโหมด การเฝ้าระวัง รักษาความปลอดภัยของรถ รอการแสดงภาพบนหน้าปัดแบบจอดิจิตอล และอื่นๆ
โดยปรกติ รถยนต์ จะใช้ไฟอยู่ที่ 100-700 mA (ถ้ารถยนต์ใช้เกินกว่านี้ ถือว่าไฟรั่วลงกราวด์) รถเราใช้แบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ ซึ่งในความเป็นจริงขณะที่ไดชาร์จทำงาน ต้องคูณด้วย 1.14 ก็จะประมาณ 13.8 - 14 โวลต์ ความจุพลังงานแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้ไฟ ที่เราเห็นบ่อยๆ ก็จะเป็น 100 AH. 75 AH และ 45 AH AH นั้นหมายถึง แอมแปร์ (A) ฮาว (H).. คือ ความสามารถจ่ายพลังงาน ในระดับแรงดัน 12 V ด้วยปริมาณกระแสไฟฟ้า 100, 75 หรือ 45 แอมป์ (A) ในเวลา 1 ชั่วโมง แล้วยังคงมีแรงดัน มากกว่า หรือเท่ากับ 12 โวลต์ อยู่.......... ซึ่งอันที่จริง รถเราใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก หรือ แอมป์มาก ในช่วงเวลาที่เราบิตสวิทซ์กุญแจ ไดสตาร์ทเริ่มหมุน มันอาจจะสูงถึง 100-200 แอมป์ ในอึดใจแรกที่เราสตาร์ทรถ แล้วลดลง เหลือประมาณ 40-50 แอมป์ ไปอีก 1 วินาที และ 30 แอมป์ ในวินาทีต่อมา..
ปริมาณการใช้ไฟจำนวนมากเช่นนี้ ย่อมทำให้แรงดันไฟ หรือ โวลต์ ตกต่ำลงมา ซึ่งเป็นไปตามสมการ V=IR หรือ โวลต์ = แอมป์ คูณ ความต้านทาน
มอเตอร์ไดสตาร์ทในรถเรา ก็คือความต้านทาน (R) เดิม ดังนั้น I = V/R กระแสไฟจำนวนมาก มันจะดึงให้โวลต์น้อยลง.......คำถามคือ โวลต์ มาจากไหน??.. มันมาจาก เคมีในแบตเตอรี่ นั่นเอง ถ้าเคมีดีๆ มันก็ผลิตโวลต์ได้คงที่ ไม่ว่า R จะดึงไฟ ให้เกิดกระแสไหลมากเท่าไหน โวลต์ ก็ยังตกไม่มาก.. แล้วตกได้เท่าไร??..
รถยนต์ทั่วไปโวลต์ ตกได้ไม่ต่ำเกินกว่า 8.5 V ครับ ถ้าต่ำกว่านี้ การทำงานของกล่อง ECU จะเริ่มเพี้ยน......และถ้าต่ำกว่า 8 V มันก็จะหยุดทำงาน ทำให้คุณสตาร์ทรถไม่ได้.....มันจะดัง แต๊กๆๆๆ จอก็ดับไปด้วยความเพี้ยน......จะทำให้เกิดไฟโชว์มากมาย.....
การสตาร์ทไม่ได้คือ ไดสตาร์ทไม่หมุน หรือ บิด-เงียบไม่ได้ยินอะไรเลย.....การสตาร์ทไม่ติด คือไดสตาร์ทหมุน แต่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน.....อันนี้ไม่เกี่ยวกับแบตเตอรี่
ไฟตก เพราะบิดสตาร์ท.....ตกเหลือกี่โวลต์ นี่เราเรียกว่า Cranking Voltage หรือโวลต์ขณะสตาร์ทรถ แบตที่ดี จะอยู่ระหว่าง 9-11 โวลต์ครับ ไม่ต่ำกว่านี้
แต่ถ้า Cranking Voltage ของรถยนต์ ต่ำกว่า 9 โวลต์ แนะนำให้เราเปลี่ยนแบตเตอรี่
ถ้าแบตเตอรี่ที่มีเคมีดีๆ ก็อยู่ได้นานหลายปี (นานกว่า 2 ปี) ในขณะเดียวกัน แบตเตอรี่เคมีดี จอดนิ่งเป็นปี ไม่มีการถ่ายเทประจุอะไรเลย มันจะเกิดความสมดุลทางเคมี ทำให้การถ่ายเทประจุเกิดขึ้นน้อย มันคือเกิดมีเกลือเกาะแผ่นธาตุ (ซัลเฟต)
สรุปว่า........แบตเตอรี่ที่ใกล้เสื่อม มันสามารถเป็นต้นเหตุให้ เกิดความผิดพลาดระบบ เช่นไฟโชว์ที่หน้าปัดหลังการสตาร์ทเครื่อง โดยอุปกรณ์ไม่ได้เสียจริง.....
แบตเตอรี่กับรถยนต์ในยุคปัจจุบัน
กล่อง ECU ยังคงทำงานอยู่ส่วนหนึ่งตลอดเวลา เพื่อรอรับรู้การใช้งานจากเรา เช่น รอการกดรีโหมด การเฝ้าระวัง รักษาความปลอดภัยของรถ รอการแสดงภาพบนหน้าปัดแบบจอดิจิตอล และอื่นๆ
โดยปรกติ รถยนต์ จะใช้ไฟอยู่ที่ 100-700 mA (ถ้ารถยนต์ใช้เกินกว่านี้ ถือว่าไฟรั่วลงกราวด์) รถเราใช้แบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ ซึ่งในความเป็นจริงขณะที่ไดชาร์จทำงาน ต้องคูณด้วย 1.14 ก็จะประมาณ 13.8 - 14 โวลต์ ความจุพลังงานแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้ไฟ ที่เราเห็นบ่อยๆ ก็จะเป็น 100 AH. 75 AH และ 45 AH AH นั้นหมายถึง แอมแปร์ (A) ฮาว (H).. คือ ความสามารถจ่ายพลังงาน ในระดับแรงดัน 12 V ด้วยปริมาณกระแสไฟฟ้า 100, 75 หรือ 45 แอมป์ (A) ในเวลา 1 ชั่วโมง แล้วยังคงมีแรงดัน มากกว่า หรือเท่ากับ 12 โวลต์ อยู่.......... ซึ่งอันที่จริง รถเราใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก หรือ แอมป์มาก ในช่วงเวลาที่เราบิตสวิทซ์กุญแจ ไดสตาร์ทเริ่มหมุน มันอาจจะสูงถึง 100-200 แอมป์ ในอึดใจแรกที่เราสตาร์ทรถ แล้วลดลง เหลือประมาณ 40-50 แอมป์ ไปอีก 1 วินาที และ 30 แอมป์ ในวินาทีต่อมา..
ปริมาณการใช้ไฟจำนวนมากเช่นนี้ ย่อมทำให้แรงดันไฟ หรือ โวลต์ ตกต่ำลงมา ซึ่งเป็นไปตามสมการ V=IR หรือ โวลต์ = แอมป์ คูณ ความต้านทาน
มอเตอร์ไดสตาร์ทในรถเรา ก็คือความต้านทาน (R) เดิม ดังนั้น I = V/R กระแสไฟจำนวนมาก มันจะดึงให้โวลต์น้อยลง.......คำถามคือ โวลต์ มาจากไหน??.. มันมาจาก เคมีในแบตเตอรี่ นั่นเอง ถ้าเคมีดีๆ มันก็ผลิตโวลต์ได้คงที่ ไม่ว่า R จะดึงไฟ ให้เกิดกระแสไหลมากเท่าไหน โวลต์ ก็ยังตกไม่มาก.. แล้วตกได้เท่าไร??..
รถยนต์ทั่วไปโวลต์ ตกได้ไม่ต่ำเกินกว่า 8.5 V ครับ ถ้าต่ำกว่านี้ การทำงานของกล่อง ECU จะเริ่มเพี้ยน......และถ้าต่ำกว่า 8 V มันก็จะหยุดทำงาน ทำให้คุณสตาร์ทรถไม่ได้.....มันจะดัง แต๊กๆๆๆ จอก็ดับไปด้วยความเพี้ยน......จะทำให้เกิดไฟโชว์มากมาย.....
การสตาร์ทไม่ได้คือ ไดสตาร์ทไม่หมุน หรือ บิด-เงียบไม่ได้ยินอะไรเลย.....การสตาร์ทไม่ติด คือไดสตาร์ทหมุน แต่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน.....อันนี้ไม่เกี่ยวกับแบตเตอรี่
ไฟตก เพราะบิดสตาร์ท.....ตกเหลือกี่โวลต์ นี่เราเรียกว่า Cranking Voltage หรือโวลต์ขณะสตาร์ทรถ แบตที่ดี จะอยู่ระหว่าง 9-11 โวลต์ครับ ไม่ต่ำกว่านี้
แต่ถ้า Cranking Voltage ของรถยนต์ ต่ำกว่า 9 โวลต์ แนะนำให้เราเปลี่ยนแบตเตอรี่
ถ้าแบตเตอรี่ที่มีเคมีดีๆ ก็อยู่ได้นานหลายปี (นานกว่า 2 ปี) ในขณะเดียวกัน แบตเตอรี่เคมีดี จอดนิ่งเป็นปี ไม่มีการถ่ายเทประจุอะไรเลย มันจะเกิดความสมดุลทางเคมี ทำให้การถ่ายเทประจุเกิดขึ้นน้อย มันคือเกิดมีเกลือเกาะแผ่นธาตุ (ซัลเฟต)
สรุปว่า........แบตเตอรี่ที่ใกล้เสื่อม มันสามารถเป็นต้นเหตุให้ เกิดความผิดพลาดระบบ เช่นไฟโชว์ที่หน้าปัดหลังการสตาร์ทเครื่อง โดยอุปกรณ์ไม่ได้เสียจริง.....