ให้ญาติเป็นผู้ซื้อบ้านแทน และเราเป็นผู้ส่งบ้านเอง แล้วเหตการต่อมาคือ ญาติคนที่ซื้อแทน

เรื่องมีอยู่ว่า ผมเอาชื่อญาติเป็นลูกพี่ลูกน้องกันไปซื้อบ้านตนเอง ที่ธนาคารยึดไป และใช้ชื่อญาติคนนี้ ผ่อนกับธนาคารเรื่อยมา และมีเหตุการ คือ ญาติคนนี้ได้ไปทำการ ข้อตกลงกับธนาคาร เรื่องเงินที่เราเป็นคนส่งเงินค่างวดบ้านในแต่ละเดือนที่มรการส่งเข้าไป และทำกาประนอมหนี้ เมื่อมีการชำระค่าบ้าน ก็จะมีเงินส่วนเกินที่ผมส่งค่างวด เอาออกไปใช้ ท้ายสุด เงินค่างวดไม่ส่งค่าบ้านและ ปล่อยไม่ไปประนอมหนี้ บ้านถูกธนาคารขายทอดตลาด ผมไปประมูลผ่านกรมบังคับคดีมา ได้มา ซื่งเป็นราคาที่สูงกว่าเดิม ( วันประมูลทรัพย์ ) ญาติคนที่ซื่อทรัพย์ก็ไปงานประมูลทรัพย์ เป็นการจงใจให้ทรัพย์นี้ ถูกขายทอดตลาด 
        เราเป็นผู้เสียหายในการส่งค่าบ้านในนาม ให้คนที่เป็น ญาติซื้อแทน จะฟ้องร้องเอาความผิด ได้หรือไม่ และ มีความใด ที่จะต้องเอาผิด คนที่ซื้อแทน เนื่องจาก ค่าเสียหาย และเสียโอกาส เป็นเงินที่เราสูนเสียไปไม่สามารถ ยอมรับได้ 

ขอบคุณผู้ที่ชี้แนะความรู้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
มันเป็นนิติกรรมอำพรางไปแต่ต้น

ถ้าไปฟ้องศาลแล้วเขาบอกว่า เขากู้เอง ผ่อนเอง  ส่วนเงินที่คุณโอนไป เป็นการให้โดยเสน่หา  คุณจะบอกว่าไงให้ศาลเชื่อละครับ

ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ก็มีความเสี่ยงแบบนี้แหละครับ
พี่น้องกันเรื่องทรัพย์สินมีปัญหากันมาเยอะ จะฟ้องศาลชาวบ้านก็หาว่าขี้ฟ้อง ฟ้องแม้แต่ญาติตัวเอง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
หลายคนอธิบายไปหมดแล้ว  แต่เจ้าของกระทู้น่าจะยังหูดับอยู่ด้วยความโมโหญาติ โมโหธนาคาร  จึงยังไม่เข้าใจ

ไว้รอให้ใจเย็นๆ ตั้งสติดีๆ  น่าจะพอเข้าใจ
ความคิดเห็นที่ 35
1.  มูลเหตุแห่งการฟ้องร้อง
- ผิดสัญญา/ละเมิดข้อตกลง เนื่องจากญาติไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการส่งค่างวดบ้าน
- ฉ้อโกง เพราะมีการนำเงินค่างวดที่คุณส่งไปใช้ส่วนตัว
- จงใจให้เกิดความเสียหาย โดยปล่อยให้บ้านถูกขายทอดตลาด

2.  หลักฐานที่ควรรวบรวม
- หลักฐานการโอนเงินค่างวดบ้านให้ญาติ
- เอกสารข้อตกลงระหว่างคุณกับญาติ (ถ้ามี)
- หลักฐานการประนอมหนี้กับธนาคาร
- เอกสารการขายทอดตลาดและการประมูล

3.  แนวทางดำเนินการทางกฎหมาย
- ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง สำหรับ
  * เงินค่างวดที่เสียไป
  * ส่วนต่างราคาบ้านที่ต้องประมูลเพิ่ม
  * ค่าเสียโอกาสและค่าเสียหายอื่นๆ
- ดำเนินคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกง (ถ้ามีหลักฐานชัดเจน)

คำแนะนำเพิ่มเติม
1. ควรปรึกษาทนายความเพื่อประเมินคดีและรวบรวมพยานหลักฐาน
2. พิจารณาเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นคดีระหว่างญาติ
3. เตรียมเอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องให้พร้อม

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของคดีขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่มี โดยเฉพาะหลักฐานที่แสดงว่ามีการตกลงกันอย่างไร และมีการส่งเงินจริงเท่าไร คุณควรปรึกษาทนายความเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของคดีและวางแผนดำเนินการอย่างรอบคอบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่