คำบ่นคลาสสิคของหลายคน ตอนกำลังเขียน ๆ นี่เราก็ขำตัวเอง และต้องถามตัวเองไปด้วยว่า (เคย) เป็นหนึ่งในนั้นรึเปล่า ? ก็คือชอบบ่นแกมงงกับคำถามที่ว่า “ทำไม เราทำบุญคนไม่ขึ้น ?”
วันนี้จะมาชวนแชร์กันค่ะ ว่าใครบ้างที่มีประสบการณ์แบบนี้ แล้วแก้ไขยังไง ?
แล้วเราจะขอแบ่งปันมุมมองส่วนของเราบ้างว่า ที่ว่าทำคุณคนไม่ขึ้นน่ะ มันเป็นยังไง ลักษณะไหน
เท่าที่เคยเจอมานะคะ เราว่าคนบ่นแบบนี้ จะเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งในนี้ค่ะ
1. ช่วยด้วยเงื่อนไขที่มีข้อแม้เสมอ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า string attached แหละค่ะ คนที่คุณช่วย เค้าเลยไม่รู้สึกว่ามันเป็นการช่วย บางที เค้าอึดอัดด้วยซ้ำว่า มันเป็นการแลกเปลี่ยนแบบที่อีกฝ่ายก็ไม่สบายใจเลย
2. ช่วยคนอื่น แต่เล่าไปสามบ้านแปดบ้านแบบเล่าแล้วเล่าอีก เล่าแล้วเล่าอีก บางที ก็อาศัยคนที่ตัวเองเข้าไปช่วยนี่ละเป็นส่วนหนึ่งของคอนเทนต์เรียกยอดไลค์ของตัวเอง หรือไม่บางทีก็ขยายความไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญ “ทวงไม่หยุด” ค่ะ ถึงจะทวงแบบทีเล่นทีจริงก็เถอะค่ะ บางคนนี่เล่าแบบ ทำให้คนที่ได้รับความช่วยเหลือดูแย่ ดูสิ้นสภาพ ดูจนตรอกในสายตาคนอื่นเลยด้วยซ้ำ แต่เค้าก็พูดอะไรไม่ได้มากเพราะบุญคุณมัน “ค้ำคอ” สถานการณ์นี้ ทำให้ดิฉันนึกถึงประโยคที่เคยมีผู้ใหญ่เคยสอนไว้ตอนเด็ก ๆ ว่า “จำไว้นะว่า บุญคุณน่ะ มันใช้กันไม่หมดหรอก แต่มันจะหมดก็เพราะโดนทวงบ่อย ๆ นี่ละ”
คนรับความช่วยเหลือบางทีก็รู้สึกเหมือนถูกกดทับ จนอยากจะตะโกนว่า ไม่ต้องทวงบ่อยนักก็ได้ “สำนึกไม่ทัน” (โว้ย)
3. บางคนก็ช่วยไป ด่าไป จะด่า จะเหน็บทีเล่นบ้าง ทีจริงบ้าง ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจบ้าง ก็เถอะนะคะ แต่คุณไม่อาจหาความชอบธรรมของการ “ด่า” นั้นด้วยการบอกว่า “ชั้นกำลังช่วยเธออยู่นะ จะว่าบ้าง ด่าบ้างจะเป็นไร ฮึ ?”
ทั้งนี้ ทั้งนั้น คำด่า กับ คำวิจารณ์โดยสุจริตใจ เส้นแบ่งมันบางเฉียบค่ะ มันต้องอาศัย ความเชื่อใจ ความจริงใจ และความรู้จักตื้นลึกหนาบางและความศรัทธาในกันและกันมาเป็นตัวตัดสิน
4. ช่วยคนผิด งูเห่ามันก็ยังคงเป็นงูเห่าวันยังค่ำ ที่พูดนี่ไม่ได้จะด้อยค่างูเห่านะคะ เพียงแต่จะเปรียบเทียบว่า ธรรมชาติของคนเค้าเป็นแบบนั้นของเค้าเอง อย่าไปคิดว่า เค้าเลว แต่มันเป็นธรรมชาติของเค้า ที่เปรียบเทียบกับน้องงู เพราะว่า นิทานบอกว่า ชาวนาไปกกงูที่หนาวจนอุ่นแล้วงูก็ฉก คนก็มาด่างู แต่จริง ๆ ธรรมชาติงูน่ะ ยังไงมันก็ฉกอยู่แล้ว เพราะงั้นคนช่วยหรือคนเมตตาจริง ๆ ก็ต้อง take it at your own risk สำหรับคนบางคนนี่เหมือนไม่รู้ดีเลวอ่ะ คล้าย ๆ ที่ฝรั่งเรียกว่า amoral รู้อย่างนี้แต่แรก ถ้ายังคิดจะช่วย ก็ต้องปล่อยวาง และทำใจไว้ล่วงหน้าค่ะว่า จะโดนฉก
5. วางความคาดหวังไว้ผิด เวลาเราช่วยใครบางคน บางครั้ง เราจะมีความคาดหวังบางอย่างแอบซ่อนอยู่ บางคนก็หวังใหญ่ บางคนก็มักน้อยหวังแค่คำขอบคุณ หรือบางคนไม่คาดหวังอะไรเลยแต่กลับเจอ surprise ได้รับการหลู่คุณ หรือ เนรคุณ ความช่วยเหลือ ความไว้ใจและสนิทใจที่แชร์ข้อมูลบางอย่างด้วย กลับถูกใช้นำมา “ย้อนเกล็ด” ทำให้คนที่ยื่นมือเข้าไปช่วยทีแรกตกใจ ประหลาดใจ อาจจะถึงขั้นโกรธ เจ็บใจหรือเสียใจเลย
6. บางคนซวยจริงค่ะ ดวงมันเป็นแบบนั้นเอง ช่วยแบบไม่หวัง ไม่ทวง ไม่คิดมาก แต่ผลตอบรับก็ไม่เคยดีเหมือนชาวบ้านเค้า อันนี้ คุณต้องกลับมาประเมินตัวเองแล้วล่ะว่า จะ “จิตแข็ง” พอที่จะเดินตามเสียงของหัวใจคุณที่รู้สึกว่าอยากจะช่วยรึเปล่า ?
ที่เราเล่าเรื่องนี้ เพราะนึกถึงพี่คนนึงขึ้นมาได้ แกเคยรอคิวอาจารย์ที่ท่านมองเหตุการณ์ด้วยตาในได้อย่างแม่นยำท่านนึง รอนานมากกกกกก แบบรอแทบจะท้อเลย พอถึงตาแกปุ๊บ นี่คือ คำถามที่แกถามนี่แหละค่ะ
เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า การที่คนเรารู้สึกว่า เรา “ทำบุญคนไม่ขึ้น” เนี่ย จริง ๆ แล้ว มันถึงขนาดเป็น trauma หรือแผลใจในใจคนทั่วไปด้วยรึเปล่า ?
ทำคุณคนไม่ขึ้น ?
วันนี้จะมาชวนแชร์กันค่ะ ว่าใครบ้างที่มีประสบการณ์แบบนี้ แล้วแก้ไขยังไง ?
แล้วเราจะขอแบ่งปันมุมมองส่วนของเราบ้างว่า ที่ว่าทำคุณคนไม่ขึ้นน่ะ มันเป็นยังไง ลักษณะไหน
เท่าที่เคยเจอมานะคะ เราว่าคนบ่นแบบนี้ จะเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งในนี้ค่ะ
1. ช่วยด้วยเงื่อนไขที่มีข้อแม้เสมอ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า string attached แหละค่ะ คนที่คุณช่วย เค้าเลยไม่รู้สึกว่ามันเป็นการช่วย บางที เค้าอึดอัดด้วยซ้ำว่า มันเป็นการแลกเปลี่ยนแบบที่อีกฝ่ายก็ไม่สบายใจเลย
2. ช่วยคนอื่น แต่เล่าไปสามบ้านแปดบ้านแบบเล่าแล้วเล่าอีก เล่าแล้วเล่าอีก บางที ก็อาศัยคนที่ตัวเองเข้าไปช่วยนี่ละเป็นส่วนหนึ่งของคอนเทนต์เรียกยอดไลค์ของตัวเอง หรือไม่บางทีก็ขยายความไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญ “ทวงไม่หยุด” ค่ะ ถึงจะทวงแบบทีเล่นทีจริงก็เถอะค่ะ บางคนนี่เล่าแบบ ทำให้คนที่ได้รับความช่วยเหลือดูแย่ ดูสิ้นสภาพ ดูจนตรอกในสายตาคนอื่นเลยด้วยซ้ำ แต่เค้าก็พูดอะไรไม่ได้มากเพราะบุญคุณมัน “ค้ำคอ” สถานการณ์นี้ ทำให้ดิฉันนึกถึงประโยคที่เคยมีผู้ใหญ่เคยสอนไว้ตอนเด็ก ๆ ว่า “จำไว้นะว่า บุญคุณน่ะ มันใช้กันไม่หมดหรอก แต่มันจะหมดก็เพราะโดนทวงบ่อย ๆ นี่ละ”
คนรับความช่วยเหลือบางทีก็รู้สึกเหมือนถูกกดทับ จนอยากจะตะโกนว่า ไม่ต้องทวงบ่อยนักก็ได้ “สำนึกไม่ทัน” (โว้ย)
3. บางคนก็ช่วยไป ด่าไป จะด่า จะเหน็บทีเล่นบ้าง ทีจริงบ้าง ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจบ้าง ก็เถอะนะคะ แต่คุณไม่อาจหาความชอบธรรมของการ “ด่า” นั้นด้วยการบอกว่า “ชั้นกำลังช่วยเธออยู่นะ จะว่าบ้าง ด่าบ้างจะเป็นไร ฮึ ?”
ทั้งนี้ ทั้งนั้น คำด่า กับ คำวิจารณ์โดยสุจริตใจ เส้นแบ่งมันบางเฉียบค่ะ มันต้องอาศัย ความเชื่อใจ ความจริงใจ และความรู้จักตื้นลึกหนาบางและความศรัทธาในกันและกันมาเป็นตัวตัดสิน
4. ช่วยคนผิด งูเห่ามันก็ยังคงเป็นงูเห่าวันยังค่ำ ที่พูดนี่ไม่ได้จะด้อยค่างูเห่านะคะ เพียงแต่จะเปรียบเทียบว่า ธรรมชาติของคนเค้าเป็นแบบนั้นของเค้าเอง อย่าไปคิดว่า เค้าเลว แต่มันเป็นธรรมชาติของเค้า ที่เปรียบเทียบกับน้องงู เพราะว่า นิทานบอกว่า ชาวนาไปกกงูที่หนาวจนอุ่นแล้วงูก็ฉก คนก็มาด่างู แต่จริง ๆ ธรรมชาติงูน่ะ ยังไงมันก็ฉกอยู่แล้ว เพราะงั้นคนช่วยหรือคนเมตตาจริง ๆ ก็ต้อง take it at your own risk สำหรับคนบางคนนี่เหมือนไม่รู้ดีเลวอ่ะ คล้าย ๆ ที่ฝรั่งเรียกว่า amoral รู้อย่างนี้แต่แรก ถ้ายังคิดจะช่วย ก็ต้องปล่อยวาง และทำใจไว้ล่วงหน้าค่ะว่า จะโดนฉก
5. วางความคาดหวังไว้ผิด เวลาเราช่วยใครบางคน บางครั้ง เราจะมีความคาดหวังบางอย่างแอบซ่อนอยู่ บางคนก็หวังใหญ่ บางคนก็มักน้อยหวังแค่คำขอบคุณ หรือบางคนไม่คาดหวังอะไรเลยแต่กลับเจอ surprise ได้รับการหลู่คุณ หรือ เนรคุณ ความช่วยเหลือ ความไว้ใจและสนิทใจที่แชร์ข้อมูลบางอย่างด้วย กลับถูกใช้นำมา “ย้อนเกล็ด” ทำให้คนที่ยื่นมือเข้าไปช่วยทีแรกตกใจ ประหลาดใจ อาจจะถึงขั้นโกรธ เจ็บใจหรือเสียใจเลย
6. บางคนซวยจริงค่ะ ดวงมันเป็นแบบนั้นเอง ช่วยแบบไม่หวัง ไม่ทวง ไม่คิดมาก แต่ผลตอบรับก็ไม่เคยดีเหมือนชาวบ้านเค้า อันนี้ คุณต้องกลับมาประเมินตัวเองแล้วล่ะว่า จะ “จิตแข็ง” พอที่จะเดินตามเสียงของหัวใจคุณที่รู้สึกว่าอยากจะช่วยรึเปล่า ?
ที่เราเล่าเรื่องนี้ เพราะนึกถึงพี่คนนึงขึ้นมาได้ แกเคยรอคิวอาจารย์ที่ท่านมองเหตุการณ์ด้วยตาในได้อย่างแม่นยำท่านนึง รอนานมากกกกกก แบบรอแทบจะท้อเลย พอถึงตาแกปุ๊บ นี่คือ คำถามที่แกถามนี่แหละค่ะ
เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า การที่คนเรารู้สึกว่า เรา “ทำบุญคนไม่ขึ้น” เนี่ย จริง ๆ แล้ว มันถึงขนาดเป็น trauma หรือแผลใจในใจคนทั่วไปด้วยรึเปล่า ?