ขอความรู้เรื่องการใช้...ว่าที่ร้อยตรี และการแต่งกายในงานแต่งค่ะ

ขอความรู้และคำชี้แนะหน่อยค่ะ

น้องสาวเราจะแต่งงานปลายปีหน้า ตอนนี้อยู่ในช่วงเตรียมงาน แล้วมีการคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง การใช้คำนำหน้าชื่อของว่าที่เจ้าบ่าว
และการแต่งชุดขาวของว่าที่เจ้าบ่าว ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ค่ะ เพราะว่าแฟนของน้องเราไม่ได้รับราชการใดๆ
เขาทำงานเอกชนที่เดียวกับน้องสาวเราค่ะ แต่ตอนสมัยเรียนมัธยมผู้ชายเรียน รด. 5 ปี (ฝ่ายผู้ชายบอกมาค่ะ)
***ประเด็นมันอยู่ตรงที่วันแต่งทางบ้านผู้ชายจะให้ลูกชายเขาแต่งชุดขาวเข้าพิธีสงฆ์เช้า แต่น้องสาวเราคุยกันว่าจะใส่ได้หรอ ในเมื่อไม่ได้รับราชการใดๆเลย
และยศตำแหน่งนี้ก็เป็นยศที่ได้รับตอนเรียน รด.มา และก็ไม่ได้ไปสอบเข้ารับทำงานราชการใดๆ กลัวว่าจะเข้าประเด็นแต่งชุดแอบอ้างค่ะ แต่ทางบ้านผู้ชายก็ยืนยันว่าจะต้องให้ใส่ชุดขาวเพื่อทำพิธีสงฆ์เช้า  

ใครชำนาญหรือมีความรู้ด้านนี้ช่วยตอบคำถามหน่อยนะคะ จะได้ไปคุยกันในครอบครัวให้เข้าใจกันค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สำหรับนักศึกษาวิชาทหารที่จบ ร.ด.ปี 3 ถ้าไม่ได้เข้ารับราชการต่อเป็นทหารกองประจำการต่อไม่มีสิทธิ์แต่งชุดขาว ยกเว้นตั้งแต่ชั้นยศ ว่าที่ ร.ต. ขึ้นไปสามารถแต่งชุดขาวได้ (การใช้ชุดขาวเฉพาะในงานรัฐพิธี หรืองานพระราชทาน หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมา เช่น การใส่ชุดขาวแต่งงาน ถ้าไม่ใช่งานพระราชทานมงคลสมรสไม่สมควรแต่ง แต่ถ้างานพระราชทานปริญญาบัตร งานพระราชทานเพลิงศพ อันนี้ได้ ) พระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้านายชั้น หม่อมเจ้าขึ้นไปเท่านั้น กฎกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2499 ออกความในพระราชบัญญัติเครื่งแบบทหาร พ.ศ. 2477 ว่าด้วยสิทธิและโอกาสในการแต่งเครื่องแบบทหาร สรุปโดยย่อว่าด้วยสิทธิในการแต่งการเครื่องแบบของนายทหารประทวนดังนี้ ........
ข้อ 4 . พลทหารและนายทหารประทวนนอกประจำการ แต่งเครื่องแบบทหารได้เฉพาะในโอกาสต่อไปนี้
1.ถูกเรียกระดมพล
2.ถูกเรียกเข้ารับราชการทหาร
ข้อ 5 . สรุปได้ใจความว่า กฏกระทรวงได้ยกเว้น ไว้ให้กับพลทหารหรือ นายทหารประทวนที่ได้รับพระราชทาน เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ หรือเหรียญที่มีสิทธิเช่นเดียวกับ
เหรียญที่กล่าว สามารถแต่งเครื่องแบบได้ แต่ต้องเป็นในโอกาสนี่เท่านั้นคือ ไปในงานดังนี้
1.งานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี
2.งานของทหาร
3. งานที่เกียวกับราชการ
4.งานพิธีอันมีเกียรติทั่วไป
ข้อ 6 . นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการมีสิทธิแต่งเครื่องแบบทหารได้ทุกโอกาส
ข้อ 7. สรุปได้ใจความว่า ผู้ที่มีสิทธิตามข้อ 6 และ 5 ถ้าประพฤติตนไม่เหมาะสมกระทรวงมีสิทธิห้ามแต่งเครื่องแบบได้ สรุปคำตอบอีกครั้งว่า นายทหารประทวนกองหนุนแต่เครื่องแบบทหารในโอกาสปกติไม่ได้ครับ ยกเว้น ตามข้อ 4 และ ข้อ 5 ตามกฎกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2499 เท่านั้นครับ(นายทหารประทวนกองหนุนสามารถแต่งเครื่องแบบทหารตามข้อ 5 ได้ เมื่อเคยได้รับพระราชทาน เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ หรือเหรียญที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเหรียญที่กล่าวเท่านั้น)
อ้างอิงจากอันนี้

ผมก็จบปี 5 แต่ไม่ใส่ชุดขาวเลย ไม่ว่างานไหนเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรครับ
พวกนายร้อยของจริงที่จบมาเค้าฝึกกันหนักกว่าเยอะ ระเบียบอะไรเข้มงวดกว่าเยอะ
ดูแล้วไม่เหมาะเมื่อพิจารณาจากข้อที่กล่าวไว้ข้างบน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่