มันได้ผลจริงๆใช่มั้ย วิธีนี้
1.การปัดเศษค่างวดให้เป็นเลขกลมๆ เท่าที่ผ่อนไหว แต่ต้องไม่เพิ่มจนตึงเกินไป เน้นทำได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนในระยะยาว เช่น ปกติจ่ายค่างวดบ้านเดือนละ 13,500 บาท ปัดให้เป็น 15,000 บาท
นั่นหมายความว่าจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 1,500 บาท ซึ่งเงินส่วนเกินนี้อาจจะดูไม่มากนัก แต่ในระยะยาวหากทำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน ก็จะช่วยลดเงินต้นได้โดยไม่ต้องรอเงินก้อน
2. โปะเงินก้อน สำหรับพนักงานเงินเดือนที่มีรายจ่ายต่อเดือนค่อนข้างมาก ไม่อาจทำตามเทคนิคแรกได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน อาจเลือกวิธีช่วยลดเงินต้นด้วยการโปะเงินก้อน
เช่น เงินโบนัสปลายปี เมื่อได้มาแล้วให้ทำการแบ่งบางส่วนไปโปะหนี้บ้าน ก็จะทำให้เงินต้นลดลง ช่วยประหยัดค่าดอกเบี้ยไปได้อีก ซึ่งการโปะเงินก้อนนั้นยิ่งทำในปีแรก ๆ ที่ผ่อนบ้านจะยิ่งดี เพราะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ทำให้สามารถลดเงินต้นได้มากขึ้น
3. รีไฟแนนซ์บ้าน เทคนิคยอดฮิตที่ช่วยลดดอกเบี้ยได้จริง โดยปกติแล้วจะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ทุก 3 ปี ซึ่งเป็นการขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านเพื่อย้ายจากธนาคารเจ้าหนี้เดิมไปอยู่กับธนาคารใหม่ เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่การย้ายธนาคารนั้นจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาด้วย
ดังนั้น ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้านจึงต้องคำนวณก่อนว่า เมื่อหักลบกับค่าดำเนินการทั้งหมดแล้ว เราจ่ายน้อยลงกว่าเดิมจริงหรือไม่
4. การรีเทนชั่น อีกเทคนิคหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากย้ายรีไฟแนนซ์ไปต่างธนาคาร ก็สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่เรากำลังผ่อนบ้านอยู่ได้เช่นกัน เพื่อให้ธนาคารพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหม่ให้ต่ำลง โดยไม่ต้องเสียเวลาทำเรื่องยื่นเอกสารใหม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่ารีเทนชั่น ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่สบายกว่า แต่ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจะลดลงไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าปีที่ 4 ที่ปรับขึ้นมาเป็นดอกเบี้ยลอยตัว
5. เงินต้นลด อย่าลดค่างวด หลังจากรีไฟแนนซ์บ้าน/รีเทนชั่นแล้ว ค่างวดต่อเดือนจะลดลงเนื่องจากได้อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ต่ำลง แต่หากต้องการปิดหนี้บ้านให้ไวขึ้น ควรจ่ายค่างวดเท่าเดิม เพื่อนำส่วนต่างของค่างวดไปลดเงินต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผ่อนบ้านหมดได้ไวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องโปะเงินก้อน
สำหรับ 5 เทคนิคข้างต้นนี้ เปรียบเสมือนคู่มือสำคัญที่ช่วยนำทางให้พนักงานเงินเดือนปลดล็อกภาระหนี้บ้านสู่อิสรภาพทางการเงินและเป็นเจ้าของบ้านได้ไวขึ้น โดยเฉพาะการรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปี ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะสกัดดอกเบี้ยบ้านไม่ให้เพิ่มพูน
มนุษย์เงินเดือนที่ยังอยู่ในวังวนหนี้บ้านสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแนวทางการบริหารจัดการการเงินและความพร้อมส่วนบุคคลของแต่ละคน จะช่วยให้ปิดหนี้บ้านได้ไวกว่าเดิมอย่างแน่นอน
สำหรับพนักงานเงินเดือนที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ทีทีบี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้มากถึงหลักแสนบาท และเป็นทางลัดที่ช่วยให้หลาย ๆ คนปิดหนี้บ้านได้เร็วขึ้น
https://www.facebook.com/share/p/1BQmvJrout/
5 เคล็ดลับมนุษย์เงินเดือน จบภาระบ้านไว ทำได้จริง
1.การปัดเศษค่างวดให้เป็นเลขกลมๆ เท่าที่ผ่อนไหว แต่ต้องไม่เพิ่มจนตึงเกินไป เน้นทำได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนในระยะยาว เช่น ปกติจ่ายค่างวดบ้านเดือนละ 13,500 บาท ปัดให้เป็น 15,000 บาท
นั่นหมายความว่าจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 1,500 บาท ซึ่งเงินส่วนเกินนี้อาจจะดูไม่มากนัก แต่ในระยะยาวหากทำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน ก็จะช่วยลดเงินต้นได้โดยไม่ต้องรอเงินก้อน
2. โปะเงินก้อน สำหรับพนักงานเงินเดือนที่มีรายจ่ายต่อเดือนค่อนข้างมาก ไม่อาจทำตามเทคนิคแรกได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน อาจเลือกวิธีช่วยลดเงินต้นด้วยการโปะเงินก้อน
เช่น เงินโบนัสปลายปี เมื่อได้มาแล้วให้ทำการแบ่งบางส่วนไปโปะหนี้บ้าน ก็จะทำให้เงินต้นลดลง ช่วยประหยัดค่าดอกเบี้ยไปได้อีก ซึ่งการโปะเงินก้อนนั้นยิ่งทำในปีแรก ๆ ที่ผ่อนบ้านจะยิ่งดี เพราะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ทำให้สามารถลดเงินต้นได้มากขึ้น
3. รีไฟแนนซ์บ้าน เทคนิคยอดฮิตที่ช่วยลดดอกเบี้ยได้จริง โดยปกติแล้วจะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ทุก 3 ปี ซึ่งเป็นการขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านเพื่อย้ายจากธนาคารเจ้าหนี้เดิมไปอยู่กับธนาคารใหม่ เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่การย้ายธนาคารนั้นจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาด้วย
ดังนั้น ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้านจึงต้องคำนวณก่อนว่า เมื่อหักลบกับค่าดำเนินการทั้งหมดแล้ว เราจ่ายน้อยลงกว่าเดิมจริงหรือไม่
4. การรีเทนชั่น อีกเทคนิคหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากย้ายรีไฟแนนซ์ไปต่างธนาคาร ก็สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่เรากำลังผ่อนบ้านอยู่ได้เช่นกัน เพื่อให้ธนาคารพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหม่ให้ต่ำลง โดยไม่ต้องเสียเวลาทำเรื่องยื่นเอกสารใหม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่ารีเทนชั่น ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่สบายกว่า แต่ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจะลดลงไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าปีที่ 4 ที่ปรับขึ้นมาเป็นดอกเบี้ยลอยตัว
5. เงินต้นลด อย่าลดค่างวด หลังจากรีไฟแนนซ์บ้าน/รีเทนชั่นแล้ว ค่างวดต่อเดือนจะลดลงเนื่องจากได้อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ต่ำลง แต่หากต้องการปิดหนี้บ้านให้ไวขึ้น ควรจ่ายค่างวดเท่าเดิม เพื่อนำส่วนต่างของค่างวดไปลดเงินต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผ่อนบ้านหมดได้ไวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องโปะเงินก้อน
สำหรับ 5 เทคนิคข้างต้นนี้ เปรียบเสมือนคู่มือสำคัญที่ช่วยนำทางให้พนักงานเงินเดือนปลดล็อกภาระหนี้บ้านสู่อิสรภาพทางการเงินและเป็นเจ้าของบ้านได้ไวขึ้น โดยเฉพาะการรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปี ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะสกัดดอกเบี้ยบ้านไม่ให้เพิ่มพูน
มนุษย์เงินเดือนที่ยังอยู่ในวังวนหนี้บ้านสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแนวทางการบริหารจัดการการเงินและความพร้อมส่วนบุคคลของแต่ละคน จะช่วยให้ปิดหนี้บ้านได้ไวกว่าเดิมอย่างแน่นอน
สำหรับพนักงานเงินเดือนที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ทีทีบี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้มากถึงหลักแสนบาท และเป็นทางลัดที่ช่วยให้หลาย ๆ คนปิดหนี้บ้านได้เร็วขึ้น
https://www.facebook.com/share/p/1BQmvJrout/