ทำไมเอาน้ำส้มสายชูผสมกับเบกกิ้งโซดา จริงๆแล้วมันไปหักล้างกันนะ

ผมสงสัยมาสักพักแล้วว่าทำไมต้องเอาน้ำส้มที่เป็นกรด กับ เบกกิ้งโซดาที่เป็นเบส(ด่าง) มาผสมกัน
เจอบ่อยมากๆ ถ้าเคยเรียนวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆ จะรู้ว่ากรด+ด่างในขนาดที่พอเหมาะจะเป็นกลาง
หักล้างกันและไม่ได้ช่วยอะไร เคยเห็นการทดลองที่เอากรดแก่+เบสแก่มาผสมกัน ถึงขั้นดื่มได้เลย
เจอหลายกระทู้และหลายเพจเลยลองหาในเนตดู เจออันนี้อธิบายดีไม่ยากเกินไป(ลิงค์ต้นทางอยู่ในสปอล์ย)  

ข้างล่างนี่ copy มาให้อ่านง่ายๆสำหรับคนไม่ต้องการตามไปอ่านต่อในลิงค์
ตรงไหนเป็นสูตรเคมีดูไม่รู้เรื่องก็ข้ามไป(ผมก็ข้ามไปเหมือนกัน 5555)อ่านครบก็จะเข้าใจว่า
ไม่ควรเอามาผสมกัน ให้ใช้แยกกันจะได้ประโยชน์มากกว่าครับ

❤️ น้ำส้มสายชูผสมเบคกิ้งโซดาใช้ทำความสะอาดพื้นผิวได้ จริงแท้หรือแค่มโน!! ❤️
บ่อยครั้งที่เราได้ยินเคล็ดลับในการทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆด้วยน้ำส้มสายชู (5% acetic acid : CH₃COOH)
และเบคกิ้งโซดา (Baking soda : NaHCO₃) มาเทรวมกันจนเกิดฟองฟู่ขึ้นสร้างความตื่นตาตื่นใจก่อน
แล้วขัดออกได้ง่ายขึ้น เช่น พื้นผิวห้องน้ำ ผิวพลาสติกเครื่องซักผ้า รอยเปื้อนผ้าบางอย่าง เป็นต้นนะครับ
ด้วยความคิดว่า “ฟองฟู่” ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถเสกอิทธิฤทธิ์ในการทำความสะอาดได้ 😱😱

📕 จากสมการเคมีที่เวลาน้ำส้มสายชูที่ทำปฏิกิริยากับเบคกิ้งโซดานั้นจะเกิดฟองฟู่ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ดังนี้
CH₃COOH (aq) + NaHCO₃ (aq) → CH₃COONa (aq) + H₂O (l) + CO₂ (g : ↑ ฟู่ออก)

📕 โดยทั้งคู่จะเกิดการทำปฏิกิริยาทำลายล้างกัน (acid-base neutralization) ออกแล้วได้เป็นเพียง
โซเดียมอาซีเตต (Sodium acetate : CH₃COONa) และ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ที่ “หนีหาย” ออกมาเท่านั้นนะครับ
ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างกิมมิคจากปฎิกิริยาที่ทำให้เกิดฟองฟู่ที่ไม่ได้ประโยชน์ในทางการใช้งานแต่อย่างใดเลยนะครับ
เพราะจะเหลือเพียงแค่เกลือกับน้ำเท่านั้น!!

📗 เว้นเสียแต่ว่าเราต้องการแรงดันจากฟองที่ใช้นั้นช่วยเท่านั้น ซึ่งก็ถ้าในระบบเปิดนั้นแรงดันนั้น “น้อยกว่า” แรงขัดเราเยอะเลย!!

📕 อ้าว!! ก็ใช้ผสมกันทุกที คราบหลายๆคราบก็ออกนี่นา แอดมั่วรึเปล่า??? (หลายคนที่เคยใช้คงคิดแบบนี้ 5555)

📕 แอดอยากจะบอกว่า ที่คราบมันออกเพราะ baking soda ที่ “เหลือจากการทำปฏิกิริยา” ต่างหากล่ะ เพราะว่าทุกครั้งที่ผสมกันนั้น
คนส่วนใหญ่มักจะใช้ baking soda มากกว่าอัตราส่วนการเกิดปฏิกิริยา (stoichiometric ratio) ต่างหากล่ะ!!

📕 เนื่องจากอัตราส่วนที่พอดีของปฏิกิริยานี้จะได้จาก baking soda 84 กรัม ต่อน้ำส้มสายชูถึง 1.2 กิโลกรัมกันเลยทีเดียว
ซึ่งคนส่วนใหญ่นั้นใช้น้ำส้มสายชูไม่ถึงปริมาณนี้แน่นอน!!
Note : มวลต่อโมล (Molar mass) ของ NaHCO₃ = 84 กรัม/โมล ในขณะที่มวลต่อโมลของกรดน้ำส้ม = 60 กรัม/โมล
แต่เผอิญว่าน้ำส้มสายชูส่วนใหญ่ที่ใช้งานในตลาดนั้นมีเนื้อกรดเพียง 5% เท่านั้น ดังนั้นปริมาณน้ำส้มสายชูที่ใช้ดุลสมการนี้
จะต้องใช้ 60 x (100%/5%) = 1200 กรัม (1.2 กิโลกรัม) หรือเกือบ 1.2 ลิตรกันเลยทีเดียว ที่จะทำให้เกิด CO₂ ถึง 22.4 ลิตรที่ STP !!

📕 ดังนั้นการเติมน้ำส้มสายชูลงไปผสมนั้นจึงเป็นการสร้างกิมมิคฟองฟู่ที่ทำลายล้างเบคกิ้งโซดาไปเปล่าๆปลี้ๆเฉยๆนะครับ
คือ ถ้าจะใช้จริงๆแอดก็แนะนำว่า “ใช้เบคกิ้งโซดาอย่างเดียวเท่านั้น” ก็พอ / หรือบางคราบก็สามารถใช้ “น้ำส้มสายชูอย่างเดียวเท่านั้น” นะครับ

📕 ถ้าอยากจะให้ทำงานทั้งสองตัวอย่างเต็มที่ แอดแนะนำว่าให้ใช้แยกกระบวนการออกจากกันนะครับ
คือให้ด่างจากเบคกิ้งโซดาทำงานไปก่อน แล้วค่อยตามด้วยกรดจากน้ำส้มสายชูทำงานตามก็ได้
แต่อย่าโรยผสมรวมกันตรงๆ (แอดว่า มันม่ายช่ายยยย 😂😂)

#ด่างผสมกรดได้เกลือออกมาเป็นหลักและตัวอื่นที่ไร้คุณค่า
#เบคกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูไม่ได้ช่วยกันทำงาน
#แต่เค้าทำลายล้างกันต่างหาก
#ด่างที่แตกตอ เอ้ยยย!! #ด่างที่แตกตัว ก็สามารถทำงานได้แล้ว
#ถ้าจะใช้กด เอ้ย!! #ใช้กรดต้องใส่แยกกันทีหลังนะเออ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่