ประกันภัยรถประเภท 1 บริษัทปฎิเสธไม่คุ้มครองหม้อน้ำรั่วกรณีนี้ได้มั้ยครับ

ขับรถจากสวนธนบุรี เขตทุ่งครุ ไปถึงแถวพระราม 2 ซอย 69 ที่เกิดเหตุประมาณช่วงเย็น
ปรากฎจอไฟเตือนความร้อนขึ้น ไม่สามารถขับต่อได้
จึงรีบลงจากรถแล้วไปดูที่ห้องเครื่อง พบมีน้ำไหลนองที่พื้นหน้ารถ และถังเก็บน้ำหม้อน้ำไม่มีน้ำเหลืออยู่
ได้ขอน้ำจากชาวบ้านมาเติมหม้อน้ำที่น้ำรั่วหายไปจนเต็ม 2 ขวดลิตร
รถเริ่มเย็นลงสามารถขับต่อได้ จึงขับไปจอดยังที่พักใกล้ที่เกิดเหตุเตรียมเข้าอู่ตรวจสอบและทำการซ่อมวันรุ่งขึ้น

ได้ติดต่อแจ้งเคลมประกันภัยเรื่องหม้อน้ำรั่ว 
ฝ่ายสินไหมประกันภัยส่งคนมาตรวจสอบที่อู่พบหม้อน้ำรั่วจริงแต่ให้รอตรวจรายละเอียดและความคุ้มครองเพี่มเติมยังไม่ขอรับผิดชอบหรืออนุมัติสั่งซ่อม
รอจนเวลาผ่านไป 6 วัน* (*ทั้งที่ช่างซ่อมหม้อน้ำบอกว่าสามารถซ่อมหม้อน้ำรั่วได้เสร็จไม่เกิน 1 วัน ทำให้ไม่สามารถใช้รถไปทำธุระอะไรระหว่างนี้ได้)

จนท.สินไหมแจ้งสรุปวันสุดท้ายว่า ไม่สามารถรับผิดชอบได้เพราะไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุการกระแทกใดของรถ ไม่เห็นร่องรอยการกระแทกแผงใต้เครื่อง อ่างน้ำมันเครื่อง คานใต้เครื่องแต่อย่างใด และได้อ้าง
ข้อยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์ (ข้อ 7.1) ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถประเภท 1 ที่ระบุว่า "ไม่คุ้มครอง
การเสื่อมราคา หรือสึกหรอของรถยนต์ " ...จนท.บริษัทเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นจากสภาพการใช้งาน

หลังจากที่รอเวลาทราบผลเป็นเวลาเนิ่นนานจากบริษัทประกันภัยดังกล่าว โดยรถจอดไว้ที่อู่และไม่ได้รับอนุมัติให้ซ่อมจากประกันภัย ผมจึงแจ้งให้ทางอู่ทำการซ่อมและชำระค่าซ่อมหม้อน้ำที่รั่วไปเองเลย และได้ขอข้อมูลสาเหตุการเสียหายของหม้อน้ำที่รั่วจากช่างซ่อมที่อู่ว่าหม้อน้ำรั่วจากอะไร
ทางช่างซ่อมได้ส่งผลการวิเคราะห์สาเหตุของการรั่วของหม้อน้ำว่าเกิดจาก "โครงพัดลมแอร์เสียรูป เลยทำให้ไปเสียดสีกับคีบหม้อน้ำเลยทำให้รั่ว"
ตามรูป


เลยส่งสัยว่าเมื่อสาเหตุหม้อน้ำมันรั่วเกิดจากการถูกเสียดสีกับโครงพัดลมแอร์ มันเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นที่บริษัทประกันภัยกล่าวอ้างและปฎิเสธสินไหมได้มั้ยครับ จริงๆเรามีสิทธิ์เคลมค่าสินไหมและบริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบอะไรมั้ยครับ 

รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะให้ด้วยครับ เพราะส่วนตัวเข้าใจว่าหม้อน้ำไม่ได้เสื่อมสภาพเสียหายเองแต่บังเอิญไปถูกโครงใบพัดของแอร์ที่อยู่ใกล้ไปเสียดสีทำให้หม้อน้ำรั่ว ตามข้อมูลจากช่างซ่อมดังกล่าว
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
รู้ทั้งรู้ เหนื่อยแทนประกันเพี้ยนสะอื้น
ความคิดเห็นที่ 20


ลองอ่านทำความเข้าใจเงื่อนไขการตีความกรมธรรม์
ของ คปภ. ปี 2563 ดูครับ

https://www.tgia.org/newsandevents-detail-TH_984_1

ไปหน้า 99 ดูครับ ข้อ 7.2 ตรงนี้อธิบายเรื่องการรับผิดและข้อยกเว้น
ของการแตกของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์

ซึ่งจะรับผิดชอบนั้น ประกันภัยรับผิดชอบในกรณี
"เกิดอุบัติเหตุจากการชน"

ซึ่งยกตัวอย่างเรื่องการรับผิดชอบเรื่องยางในปัจจุบัน
ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ว่าจะรับผิดชอบนั้น
ต้องมีความเสียหายของตัวรถ ร่วมด้วย

ผมไม่ชี้ว่ายังไงนะ ท่านลองอ่านดู
และประกันทุกที่ ทุกบริษัท ก็จะปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่