เสียภาษีคริปโตฯ สำหรับมือใหม่: คู่มือเข้าใจง่าย แถม google sheet คำนวณภาษี


การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีได้รับความนิยมมากๆ ด้วยราคาพุ่งขึ้นไปสูงมากๆขณะนี้ สำหรับคนที่พึ่งเข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเข้ากันตอนไหน แต่การเข้าใจเรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน เพื่อช่วยให้ทำตามกฎหมายและยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่โดนคิดย้อนหลังกันแบบจุกๆ กระทู้นี้จะสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเสียภาษีคริปโตฯ

การขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ
สำหรับการแลกเปลี่ยนโอนสกุลเงิน ไทยเป็นคริปโตแล้วแลกกลับมา หรือเป็นคริปโตแล้วแลกกลับมาเป็นบาท
หลักการสำคัญ
มาตรา 40(4)(ฌ): กำไรจากการขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีประจำปี
= เงื่อนไขพิเศษสำหรับ Exchange ภายใต้การกำกับ ก.ล.ต.:
- สามารถหักผลขาดทุนในปีเดียวกันได้: 
- ขาดทุนจากการซื้อขายคริปโตฯ สามารถนำมาหักลบกับกำไรได้ สามารถนำมาหักกลบกับกำไรโทเคนดิจิทัลประเภทใดก็ได้(ต่างจากการลงทุนในต่างประเทศที่ปัจจุบันไม่สามารถหักขาดทุนได้)
= ยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย และ VAT: ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีนี้
การคำนวณต้นทุน:ใช้ได้ทั้ง FIFO (First In, First Out) และ ถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ
ต้องใช้วิธีการเดียวกันตลอดทั้งปี
= ต้นทุนกำไรคิดปีต่อปี:ต้นทุนที่เหลือจากปีปัจจุบันสามารถนำไปใช้เป็นต้นทุนในปีถัดไปได้
การแลกเหรียญระหว่างสกุลเงินคิดภาษี หากมูลค่าที่ไม่เท่ากันต้นทุนเงินบาทก็ต้องคิดเป็นกำไรขาดทุน เช่น 1,000 บาท ได้ 2 BTC จากนั้นนำ 2 BTC ไปแลก 10 ETH มูลค่า 2,000 บาทก็ถือว่าได้กำไร 1,000 บาทแล้ว

การขุดคริปโตฯ
มาตรา 40(8): วันที่ได้รับเหรียญจากการขุดยังไม่ต้องเสียภาษี
หากขายหรือแลกเปลี่ยนเหรียญ จะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
หักค่าใช้จ่ายต้นทุนการขุดได้:ค่าไฟฟ้า
ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ขุด เช่น การ์ดจอ หรือเครื่อง ASIC Miner

ได้คริปโตฯ เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
มาตรา 40(1) หรือ 40(2):รายได้ในรูปแบบนี้จะคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับคริปโตฯ
ตัวอย่างเช่น ได้รับ 0.1 Bitcoin ในวันที่ราคาอยู่ที่ 1,000,000 บาทต่อเหรียญ จะถือว่ามีรายได้ 100,000 บาท
ได้รับคริปโตฯ เป็นรางวัล
หลักการสำคัญ
มาตรา 40(8):หากได้รับเหรียญจากกิจกรรมส่งเสริมการขายหรือรางวัลใด ๆ จะถือเป็นรายได้
ต้องคำนวณภาษีจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับ

ผลตอบแทนจากการถือครอง (Yield Farming, Staking)
โทเคนดิจิทัล:เข้าข่ายมาตรา 40(4)(ซ)
คริปโทเคอร์เรนซี:เข้าข่ายมาตรา 40(8)
รายได้จะถูกคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับเหรียญ
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ผู้ถือครอง โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน Investment Token ที่ได้รับเงินปันผล,ผลประโยชน์อื่นใด และถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตรา 15% เป็น final tax ไม่ต้องคำนวณภาษีในปีนั้นได้

หมายเหตุสำคัญ
ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้รับ: ให้ยึดตามราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต.
กรณีที่คริปโตฯ ที่ได้รับมีการเสียภาษีไปแล้ว จะสามารถนำมูลค่าที่เสียภาษีไปใช้เป็นต้นทุนในอนาคตเมื่อขายหรือแลกเปลี่ยนได้
สรุปง่ายๆคือถ้าได้ผลตอบแทนคิดเป็นรายได้ก่อน ไปคิดฐานภาษี ตอนแลกคืนแล้วได้กำไรจะถูกนำไปคิดภาษีอีกรอบ

อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติมที่ละเอียดขึ้นได้ที่
คู่มือการเสียภาษีคริปโตฯ จากกรมสรรพากร (PDF)
คำนวณภาษีจาก iTax
บทความจาก Finnomena
วิดีโออธิบายภาษีคริปโตฯ บน YouTube

ภาษีคริปโตจากไทยรัฐ
คำเตือน: บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการความชัดเจนหรือคำปรึกษาเฉพาะด้าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายเพิ่มเติม
หวังว่าคู่มือนี้จะช่วยให้มือใหม่เข้าใจเรื่องการเสียภาษีคริปโตฯ ได้ง่ายขึ้น!

แถม google sheet  คำนวณภาษีรายปีว่าเราต้องเสียปีนี้เท่าไหร่กันแน่ มีแยกสองวิธีคิดต้นทุนคือ FIFO แล AVG
ลองใช้กันได้เลย
https://cutt.ly/feKTW8Lr
.
มีผิดพลาดประการใดแจ้งมาได้เลย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่