สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
เรื่องนี้คาบเกี่ยวเส้นคั่นบางๆระหว่างจิตสำนึกและกฎ มันไม่ผิดหรอกว่าตามกฎน่ะ เดี๋ยวน้องเปาก็จะมาแจ้งว่าทางบ.เซเว่นไม่มีนโยบายห้าม… บลาๆๆ แต่คนซับเรื่องนี้ไว้จริงคือผปก.ที่เป็นเจ้าของร้านสาขานั้นๆ น้ำกดมันถูกออกแบบต้นทุนมาสำหรับการทำเครื่องดื่มเย็น(ย้ำว่าเย็น) องค์ประกอบต้นทุนมีน้ำ+น้ำแข็ง คุณอาศัยช่องว่างพอเขาให้เซอวิสเอง คุณไปตัดเอาช่องว่างกดเอาแต่น้ำที่ตรงนั้นมันทุนรอนของเจ้าของสาขาเองไม่ใช่บ.เซเว่น มันไม่ได้ผิดร้ายแรงขนาดทำร้านเจ๊ง แต่มันก็ไม่งามถ้าทุกคนทำตามๆกันหมด บางร้านก็เลยป้องปราม บางร้านก็อลุ่มอล่วยปล่อยไปบ้าง คุณแค่โดนอลุ่มอล่วยมา 10 ปีจากบางร้าน เจอบางร้านเขาไม่ปล่อยวางก็แค่นั้น
เรื่องเล็กที่ยังไม่ถึงกับเป็นกฎหมายมีอีกเยอะ การตักบุฟเฟต์งี้เขาก็ไม่เคยกำหนดว่าให้ตักเท่าไหร่ แต่บางคนตักซะเหมาหมดถาด(มันไปตัดโอกาสคนรอกินถัดไป) นั่งพนักแขนแบบยึดไปทั้งอัน เรื่องจอดรถขวางบ้าน เรื่องทิ้งขยะไม่เป็นที่ ฯลฯ คือมีอีกเยอะที่ไม่ได้ผิดกฎ แต่สังคมเลยใช้มารยาทในการกำกับแทน ผมเองก็ไม่ใช่คนดีโลกสวย ไม่เคยทำผิดมารยาทสังคม แค่ว่าถ้าทำอะไรที่มันผิดครรลองผมจะไม่โง่เอามาอวดอ้างสังคมน่ะ หรือไม่ยกตัวว่าตูไม่ผิดนะตูทำได้หาทัวร์มาลง
เรื่องเล็กที่ยังไม่ถึงกับเป็นกฎหมายมีอีกเยอะ การตักบุฟเฟต์งี้เขาก็ไม่เคยกำหนดว่าให้ตักเท่าไหร่ แต่บางคนตักซะเหมาหมดถาด(มันไปตัดโอกาสคนรอกินถัดไป) นั่งพนักแขนแบบยึดไปทั้งอัน เรื่องจอดรถขวางบ้าน เรื่องทิ้งขยะไม่เป็นที่ ฯลฯ คือมีอีกเยอะที่ไม่ได้ผิดกฎ แต่สังคมเลยใช้มารยาทในการกำกับแทน ผมเองก็ไม่ใช่คนดีโลกสวย ไม่เคยทำผิดมารยาทสังคม แค่ว่าถ้าทำอะไรที่มันผิดครรลองผมจะไม่โง่เอามาอวดอ้างสังคมน่ะ หรือไม่ยกตัวว่าตูไม่ผิดนะตูทำได้หาทัวร์มาลง
ความคิดเห็นที่ 31
ขออนุญาตตอบจากความเห็นส่วนตัวนะคะ (ทั้งจากมุมผู้ประกอบธุรกิจ และลูกค้า) ไม่โกรธ หรือ ดราม่านะคะ พูดอย่างเป็นกลางที่ดี
จริง ๆ แล้วทางบริษัท ฯ ไม่ได้มีกฎหรือเงื่อนไขระบุชัดเจน แต่บางสาขาเป็น franchise ซึ่งธุรกิจย่อมมีผลกำไร ขาดทุน เป็นตัวกำหนดให้สินค้าประเภทนั้นสามารถขายอยู่ได้ ลูกค้าไม่ผิด* แต่ของแบบนี้มันอยู่ที่จิตสำนึก ยกตัวอย่างร้านกาแฟต่าง ๆ ที่พนักงานเป็นคนทำสังเกตุว่าถ้าไม่เอาน้ำแข็ง ก็เป็นกาแฟร้อน หรือ จะได้ปริมาณครึ่งแก้ว หรือ หากต้องการเต็มแก้วก็จะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเป็นเรื่องปกติ (ทั่วโลก) หรือ คิดเป็น Shot เป็นต้น
อยากให้ จขกท. มองในมุมกลับกัน (ใจเขา ใจเรา) ถ้าตนเองเป็นผู้ประกอบการลูกค้าทุกคนทำแบบนี้แน่นอนว่า... สินค้าตัวนี้ก็คงจะต้องถอดออกเพราะขาดทุน หรือไม่คุ้มทุน เหมือนเช่นสินค้าบางตัว เช่น เครื่องดื่มสเลอบี้ ไส้กรอกต่าง ๆ ที่มีให้ใส่ผัก ใส่ซอส เป็นต้น เพราะบริษัทไม่ได้มานั่งจับจ้องว่าลูกค้าจะใส่น้ำแข็ง หรือ ไม่ใส่ จะกดน้ำเต็มแก้ว หรือ ไม่เต็มแก้ว แต่ถ้าสินค้าขาดทุน ไม่คุ้มทุน ก็แค่ถอดออก และผู้บริโภคก็ต้องซื้อแบบกระป๋อง หรือ ซื้อแบบพนักงานเป็นคนทำ บางสาขาที่เป็น franchise เค้าจึงต้องมีการควบคุมปริมาณ เพื่อให้สามารถยังคงขายสินค้านี้ต่อได้ และลูกค้าท่านอื่น ๆ ที่ซื้อแบบปกติยังคงได้ใช้บริการนี้จนกว่าจะขาดทุน แล้วทำต่อไปไม่ไหว สินค้านี้ก็จะถูกถอดออก และหายไปเหมือนสินค้าอื่น
ความสุขที่เป็นรูปธรรมอันเห็นได้ชัดด้วยวัตถุทั้งหลายที่แวดล้อมรอบตัวเรานั้น จะเป็นสุขที่แท้จริงได้ย่อมก่อเกิดมาจากความสุขและความมีธรรมะจากในใจของบุคคลทั้งหลายด้วยสัจธรรม 5 ประการ ที่พอดี 5 ประการ
1. ความพอดีด้านจิตใจ หมายถึง คนเราต้องมีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อ อะลุ่มอะหล่วย ซื่อสัตย์มีเมตตาต่อผู้อื่น รู้จักพอ ไม่เอาเปรียบในสิ่ง
ที่เกินพอดี หรือ ไม่ควรได้
2. ความพอดีด้านสังคม หมายถึง คนเราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น สร้างเครือข่ายที่โยงใยความเป็นอยู่และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและ
สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกัน
3. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ หมายถึง การอยู่อย่าง " พออยู่ พอกิน " ปรับชีวิตให้เรียบง่ายสอดคล้องกับสภาพรายได้และเศรษฐกิจ รายได้ ของ
ตนเอง และลด ละ ความฟุ่มเฟือยที่เกินจำเป็น เกินจากการใช้ประโยชน์จริงที่พอดี
4. ความพอดีด้านทรัพยากร ทางธรรมยถึง การรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยยึกหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีระบบจัดการบริหารที่ดี แม้ว่าบางกรณีจะต้องลงทุนและเสียทรัพยากรบางอย่างไป ก็เพื่อผลประโยชน์ที่กลับคืนมาที่มากกว่าและดีกว่า
5. ความพอดีด้านเทคโนโลยี หมายถึง การปรับตัวให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน ด้วยการเลือกใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของเราด้วย
ก็จะประมาณนี้ค่ะ
จริง ๆ แล้วทางบริษัท ฯ ไม่ได้มีกฎหรือเงื่อนไขระบุชัดเจน แต่บางสาขาเป็น franchise ซึ่งธุรกิจย่อมมีผลกำไร ขาดทุน เป็นตัวกำหนดให้สินค้าประเภทนั้นสามารถขายอยู่ได้ ลูกค้าไม่ผิด* แต่ของแบบนี้มันอยู่ที่จิตสำนึก ยกตัวอย่างร้านกาแฟต่าง ๆ ที่พนักงานเป็นคนทำสังเกตุว่าถ้าไม่เอาน้ำแข็ง ก็เป็นกาแฟร้อน หรือ จะได้ปริมาณครึ่งแก้ว หรือ หากต้องการเต็มแก้วก็จะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเป็นเรื่องปกติ (ทั่วโลก) หรือ คิดเป็น Shot เป็นต้น
อยากให้ จขกท. มองในมุมกลับกัน (ใจเขา ใจเรา) ถ้าตนเองเป็นผู้ประกอบการลูกค้าทุกคนทำแบบนี้แน่นอนว่า... สินค้าตัวนี้ก็คงจะต้องถอดออกเพราะขาดทุน หรือไม่คุ้มทุน เหมือนเช่นสินค้าบางตัว เช่น เครื่องดื่มสเลอบี้ ไส้กรอกต่าง ๆ ที่มีให้ใส่ผัก ใส่ซอส เป็นต้น เพราะบริษัทไม่ได้มานั่งจับจ้องว่าลูกค้าจะใส่น้ำแข็ง หรือ ไม่ใส่ จะกดน้ำเต็มแก้ว หรือ ไม่เต็มแก้ว แต่ถ้าสินค้าขาดทุน ไม่คุ้มทุน ก็แค่ถอดออก และผู้บริโภคก็ต้องซื้อแบบกระป๋อง หรือ ซื้อแบบพนักงานเป็นคนทำ บางสาขาที่เป็น franchise เค้าจึงต้องมีการควบคุมปริมาณ เพื่อให้สามารถยังคงขายสินค้านี้ต่อได้ และลูกค้าท่านอื่น ๆ ที่ซื้อแบบปกติยังคงได้ใช้บริการนี้จนกว่าจะขาดทุน แล้วทำต่อไปไม่ไหว สินค้านี้ก็จะถูกถอดออก และหายไปเหมือนสินค้าอื่น
ความสุขที่เป็นรูปธรรมอันเห็นได้ชัดด้วยวัตถุทั้งหลายที่แวดล้อมรอบตัวเรานั้น จะเป็นสุขที่แท้จริงได้ย่อมก่อเกิดมาจากความสุขและความมีธรรมะจากในใจของบุคคลทั้งหลายด้วยสัจธรรม 5 ประการ ที่พอดี 5 ประการ
1. ความพอดีด้านจิตใจ หมายถึง คนเราต้องมีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อ อะลุ่มอะหล่วย ซื่อสัตย์มีเมตตาต่อผู้อื่น รู้จักพอ ไม่เอาเปรียบในสิ่ง
ที่เกินพอดี หรือ ไม่ควรได้
2. ความพอดีด้านสังคม หมายถึง คนเราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น สร้างเครือข่ายที่โยงใยความเป็นอยู่และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและ
สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกัน
3. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ หมายถึง การอยู่อย่าง " พออยู่ พอกิน " ปรับชีวิตให้เรียบง่ายสอดคล้องกับสภาพรายได้และเศรษฐกิจ รายได้ ของ
ตนเอง และลด ละ ความฟุ่มเฟือยที่เกินจำเป็น เกินจากการใช้ประโยชน์จริงที่พอดี
4. ความพอดีด้านทรัพยากร ทางธรรมยถึง การรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยยึกหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีระบบจัดการบริหารที่ดี แม้ว่าบางกรณีจะต้องลงทุนและเสียทรัพยากรบางอย่างไป ก็เพื่อผลประโยชน์ที่กลับคืนมาที่มากกว่าและดีกว่า
5. ความพอดีด้านเทคโนโลยี หมายถึง การปรับตัวให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน ด้วยการเลือกใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของเราด้วย
ก็จะประมาณนี้ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 15
เหมือนน้องเปาเคยบอกไว้ว่าทำได้นะ
ถ้าจำไม่ผิดร้านมี 2 แบบ คือ เจ้าของซื้อแฟรนไชส์มาทำ กับ cpall เป็นเจ้าของ
หลักการของ 7-11 เองคือนับแก้ว แต่สาขาที่ซื้อแฟรนไชส์ไปทำเอง ถ้าไม่กดน้ำแข็ง ภาระต้นทุนก็ไปตกอยู่กับเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ 7-11 ยังคงหลักการเดียวกัน
ที่เจ้าของกระทู้ทำ กดน้ำไม่กดน้ำแข็ง ไม่ผิด
ถ้าอนาคตมีคนทำแบบนี้มากขึ้น จนกระทบต้นทุน เจ้าของร้านแจ้งไปยัง 7-11 หลายร้าน ก็คงมีมาตรการออกมาอย่างที่ จขกท เสนอไว้
เหมือนที่เมื่อก่อนมีผักให้ใส่พวกแฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก แต่คนเอาไปใส่กับมาม่าหรืออาหารอย่างอื่นกัน หลัง ๆ เลยยกเลิกไป
จริง ๆ มีคนโวยเรื่องนี้มานานแล้ว แต่พวกเครื่องดื่มพวกนี้ คนส่วนใหญ่ทานแบบใส่น้ำแข็งอร่อยกว่า สะดวกกว่าไปซื้อน้ำแข็งแยก จึงยังไม่ได้กระทบกับต้นทุนอย่างมีนัยยะ เลยยังทำแบบนี้ได้
ถ้าจำไม่ผิดร้านมี 2 แบบ คือ เจ้าของซื้อแฟรนไชส์มาทำ กับ cpall เป็นเจ้าของ
หลักการของ 7-11 เองคือนับแก้ว แต่สาขาที่ซื้อแฟรนไชส์ไปทำเอง ถ้าไม่กดน้ำแข็ง ภาระต้นทุนก็ไปตกอยู่กับเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ 7-11 ยังคงหลักการเดียวกัน
ที่เจ้าของกระทู้ทำ กดน้ำไม่กดน้ำแข็ง ไม่ผิด
ถ้าอนาคตมีคนทำแบบนี้มากขึ้น จนกระทบต้นทุน เจ้าของร้านแจ้งไปยัง 7-11 หลายร้าน ก็คงมีมาตรการออกมาอย่างที่ จขกท เสนอไว้
เหมือนที่เมื่อก่อนมีผักให้ใส่พวกแฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก แต่คนเอาไปใส่กับมาม่าหรืออาหารอย่างอื่นกัน หลัง ๆ เลยยกเลิกไป
จริง ๆ มีคนโวยเรื่องนี้มานานแล้ว แต่พวกเครื่องดื่มพวกนี้ คนส่วนใหญ่ทานแบบใส่น้ำแข็งอร่อยกว่า สะดวกกว่าไปซื้อน้ำแข็งแยก จึงยังไม่ได้กระทบกับต้นทุนอย่างมีนัยยะ เลยยังทำแบบนี้ได้
แสดงความคิดเห็น
เราไปซื้อกาแฟเซเว่นแบบกดเป็นแก้ว โดยไม่ใส่น้ำแข็ง แ