ปรึกษาเรื่องหารเงินในมหาลัยค่ะ

หนูอยากปรึกษาเรื่องการเงินช่วงมหาลัยค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนวิศวะคอม รู้สึกยังไม่มีเงินสำรองที่มากพออยากจะเก็บให้ได้มากๆไว้ก่อนค่ะ
อย่างน้อยก็emergency fundซัก4-6เดือน + อยากได้แผนชีวิตจากคนมีประสบการณ์ไว้เป็นไกด์ค่ะ

หนูได้เงินรายสัปดาห์ละ 1500 บาท(บางสัปดาห์1000บาท ตามกำลังครอบครัวค่ะ)
มีทำงานpart time 2วัน(วันหยุด เวลา9โมงเช้าถึง5โมงเย็น)วันละ400 หักลบค่าเดินทางเหลือวันละ300


มีรายจ่ายที่ต้องจ่ายแน่ๆเลยคือ
เงินค่าฝากประจำเดือนละ 1000 บาท
ค่าน้ำ+ไฟประมาณเดือนละ 600 บาท
ค่ากินประมาณมื้อละ40-60บาท
ค่าเน็ตมือถือ 250บาท/เดือน
ค่าซักผ้าประมาณ25-40บาท/ครั้ง (2ครั้ง/สัปดาห์)
อันนี้คือรายจ่ายหลักๆค่ะ

ตอนนี้เข้ามหาลัยเรียนมาได้1เทอมแล้ว เทอมที่แล้วลองใช้ชีวิตแบบชิวๆค่ะ ช่วงที่ครอบครัวส่งเงินอาทิตย์ละ1500ก็ไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ(พอกินพอเก็บประมาณอาทิตย์ละ60)
แต่พอเงินในครอบครัวมีปัญหา เราก็มีปัญหาไปด้วย ทำให้ต้องดึงเงินส่วนที่เก็บไว้ช่วงมัธยมมาใช้+เงินจาก กยศ. +เห็นเป็นวันหยุดเลยกลับบ้านโดนค่ารถค่ากินไปตก1000-1500บาท (กลับบ้านไป2รอบจากเปิดเทอม อยู่บ้านตกรอบละ2วัน)
และดันเป็นช่วงที่มองกระดานไม่เห็นแล้วจ่ายค่าแว่นไป3000บาท หมดตัวเลยค่ะ เงินเก็บหายหมด เลยทำให้รู้ค่ะว่าบางทีเก็บอาทิตย์ละ50-60บาท อาจจะไม่พอถ้ามีมรสุมเข้า

ทุกคนมีความเห็นอย่างไงคะ ส่วนตัวถ้าเดือนไหนไม่พอก็ขอจากครอบครัวได้ค่ะ แต่ไม่อยากขอซักเท่าไหร่ เขาก็ทำงานกันหนักแต่เราก็แค่เรียนTT

ที่อยากได้emergency fundมากๆ เพราะอีก3ปี(ปี4+จบป.ตรี)เป็นช่วงที่เราจะได้ฝึกงาน(ไม่รู้มีรายจ่ายรึรายได้ที่มากกว่า ) ต้องการที่จะอยู่ให้ได้ด้วยตัวเองค่ะ และอยากต่อโทมากๆค่ะ(ครอบครัวไม่ส่งแล้ว)+เงินที่ต้องจ่ายกยศ.เพราะกู้มาเรียนอีก

ไม่รู้นะคะที่เขียนไปน้ำรึเนื้ออะไรเยอะกว่ากัน ตอนนี้ปิดเทอมเงินติดตัวไม่ถึงพันก็เลยกำลังคิดว่าจะทำอะไรได้บ้าง ลดรายจ่ายกินตรงไหนได้บ้าง รึว่าทุกคนมีวิธีเพิ่มรายได้ตรงไหนบ้าง
เวลาปัจจุบันเริ่มเรียน9โมงเช้าเลิกทุ่มครึ่ง(จ-ศ)

แล้วเนื่องจากเรากลับบ้านน้อยด้วย(ไม่มีเงิน ไม่ค่อยอยากขอ)แม่เลยชอบโทรมาบ่น ทำให้รู้สึกเครียดสะสมค่ะ บวกกันเอาเงินช่วงมัธยมมาใช้(ประมาณหมื่นห้าเอาไปช่วยครอบครัวจ่ายsomethingจำไม่ได้แล้ว+เราช็อต) ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยมากๆเลยค่ะ เหมือนกำลังถังแตก(ใช่)

เป็นทุกคนควรเริ่มจากตรงไหนดีคะ แล้วจะมีแผนอย่างไงกับมันดีคะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่