โครงการเกษตรเพื่อชีวิต

กระทู้สนทนา
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี


พ.ศ.2539 คุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต โดยรับผู้จบการศึกษาชั้น ม.3  จากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เข้าเรียนหลักสูตร  ปวช.สาขาเกษตรศาสตร์  โดยยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดระยะเวลา  3  ปีที่เรียน      และให้เป็นนักเรียนประจำได้รับเงินอุดหนุน 5,000 บาทต่อปี

วันที่  26  กันยายน  2539  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วประเทศ  เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  วิทยาลัยจึงใช้ชื่อว่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี มาตั้งแต่บัดนั้น

โครงการเรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ หรือเกษตรเพื่อชีวิต ของคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ผ่านมา เกือบ 30 ปีแล้ว แต่ไม่มีการต่อยอด เกษตรและเทคโนโลยี ตามเจตนารมณ์ของชื่อวิทยาลัย

และ

นอกจากนี้ใน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยได้จัดทำโครงการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาพืชศาสตร์ ร่วมกับ (ARAVA)  INTERNATIONAL CENTER FOR AGRICULTURAL TRAINING ( AICAT ) ประเทศอิสราเอล ตั้งแต่ปีการศึกษา2539 ไม่มีการขยายความร่วมมือด้านเกษตรกับประเทศอื่น และ เปลี่ยนการฝึกงานการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต ด้วยเกษตรและเทคโนโลยี ประเทศอิสราเอล กลายเป็นไปทำงานรับค่าแรงงขั้นต่ำ ในอิสราเอล แม้กระทั่งมีสงคราม นับเป็นยุคซึ่งสิ้นหวังของเกษตรกรไทย เพราะ 30 ปี ผ่านไปกลับถอยหลัง 

30ปีแล้ว เรื่องการใช้ Soft Power ด้านเกษตร และ เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมรายได้ของประชาชน และ สนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศ   และได้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในยุคพัฒนาโดยมีคน หรือ ประชาชนเป็นศูนย์กลางซึ่งถูกยกเลิกหลังจบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เมื่อปี 2544

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่