เห็นประเด็นเรื่อง “คนชนบทมีลูกก็เอาลูกให้พ่อแม่ (ปู่ย่าตายาย)เลี้ยงให้ แล้วตัวเองก็ไปทำงานในเมือง”
หลายคนแสดงความคิดเห็นในเชิงเหยียดกันเยอะ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในสังคมเมืองตั้งแต่เกิดกัน
แต่จะหารู้ไม่ คนวัยเกษียณในชนบท มีหลายบ้านเต็มใจอยากเลี้ยงหลานกัน เพราะคนแก่อยู่บ้านคนเดียวหรือ 2 คนตายาย มันเหงา
ในสังคมชนบท อายุ 45-50+ ก็กลายเป็นปู่ย่าตายาย กันแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก
ปู่ย่าตายาย หลายคนอายุยังไม่มาก (อายุยังไม่ถึงวัยเกษียณ) เดิมทีก็มีอาชีพทำไร่ทำสวนหรือทำงานประจำแถวบ้านกันอยู่แล้ว
ส่วนลูกๆที่โตก็ออกไปทำงานในเมืองกันหมด
ถ้าลูกมีลูก(หลาน) มีหลายบ้าน คนที่เป็นปู่ย่าตายายเขาก็เต็มใจอยากจะเลี้ยงหลานให้ ขอแค่ส่งเงินมาให้ทุกเดือน โทรคุยติดต่อกันทุกวันก็พอ
เพราะอยู่บ้านแค่ 2 คนตายาย มันค่อนข้างเหงาครับ
ที่ชนบท มีหลายบ้าน คนที่เป็นพ่อแม่ไปทำงานในเมือง ทำงานดี การศึกษาดี รายได้ค่อนข้างดี มีทุกอย่างพร้อมหมด มีเวลาพร้อมเลี้ยงลูกด้วย
แต่พอมีลูก ตัวลูกกลับไม่ได้อยู่กับตัวเอง
เพราะพ่อแม่(ปู่ย่าตายาย) ที่บ้านเกิดในชนบท
ขอร้องกับเขา ว่าอยากเลี้ยงหลานให้ ขอแค่ส่งเงินมาให้หลานทุกๆเดือน โทรมาคุยติดต่อทุกๆวันก็พอ เพราะอยู่บ้าน 2 คนตายาย มันเหงานี่แหละ คือจะให้ปู่ย่าตายาย ไปอยู่บ้านในเมืองด้วย เขาก็ไม่เอา เพราะกลัวจะไม่มีใครเฝ้าไร่นา
ไม่รู้ว่าคนในสังคมเมืองจะพอเข้าใจ Mindset คนชนบทหรือไม่
ผมว่า
- พ่อแม่ ที่มีหน้าที่การงาน รายได้ และฐานะที่มั่นคงพอในระดับนึง ซึ่งพอมีลูก ปู่ย่าตายายเต็มใจอยากเลี้ยงหลานให้เอง ส่วนพ่อแม่ก็ส่งเงินให้ทุกเดือน โทรคุยติดต่อทุกวัน วันหยุดหรือช่วงเทศกาลก็ไปแวะเยี่ยมหาประจำ สำหรับผมแบบนี้ “ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก“ นะ
- แต่ถ้าพ่อแม่ ประเภทแว้นสก๊อย ติดยา งานการไม่ทำ หรือไม่มีหลักแหล่ง แถมพอมีลูก ก็ฝากให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง ส่วนตัวเองก็ไม่ได้ส่งเงินมา ตัดขาดการติดต่อ ไม่แวะเวียนมาเยี่ยมหา ก็คือหายไปเลย แบบนี้คือ “การทอดทิ้งลูก“ แบบที่เราเห็นในข่าวบ่อยๆนี่แหละ
คนวัยเกษียณในสังคมเมือง ส่วนใหญ่เขาไม่ชอบเลี้ยงเด็กเลี้ยงหลาน กันเหรอครับ
หลายคนแสดงความคิดเห็นในเชิงเหยียดกันเยอะ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในสังคมเมืองตั้งแต่เกิดกัน
แต่จะหารู้ไม่ คนวัยเกษียณในชนบท มีหลายบ้านเต็มใจอยากเลี้ยงหลานกัน เพราะคนแก่อยู่บ้านคนเดียวหรือ 2 คนตายาย มันเหงา
ในสังคมชนบท อายุ 45-50+ ก็กลายเป็นปู่ย่าตายาย กันแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก
ปู่ย่าตายาย หลายคนอายุยังไม่มาก (อายุยังไม่ถึงวัยเกษียณ) เดิมทีก็มีอาชีพทำไร่ทำสวนหรือทำงานประจำแถวบ้านกันอยู่แล้ว
ส่วนลูกๆที่โตก็ออกไปทำงานในเมืองกันหมด
ถ้าลูกมีลูก(หลาน) มีหลายบ้าน คนที่เป็นปู่ย่าตายายเขาก็เต็มใจอยากจะเลี้ยงหลานให้ ขอแค่ส่งเงินมาให้ทุกเดือน โทรคุยติดต่อกันทุกวันก็พอ
เพราะอยู่บ้านแค่ 2 คนตายาย มันค่อนข้างเหงาครับ
ที่ชนบท มีหลายบ้าน คนที่เป็นพ่อแม่ไปทำงานในเมือง ทำงานดี การศึกษาดี รายได้ค่อนข้างดี มีทุกอย่างพร้อมหมด มีเวลาพร้อมเลี้ยงลูกด้วย
แต่พอมีลูก ตัวลูกกลับไม่ได้อยู่กับตัวเอง
เพราะพ่อแม่(ปู่ย่าตายาย) ที่บ้านเกิดในชนบท
ขอร้องกับเขา ว่าอยากเลี้ยงหลานให้ ขอแค่ส่งเงินมาให้หลานทุกๆเดือน โทรมาคุยติดต่อทุกๆวันก็พอ เพราะอยู่บ้าน 2 คนตายาย มันเหงานี่แหละ คือจะให้ปู่ย่าตายาย ไปอยู่บ้านในเมืองด้วย เขาก็ไม่เอา เพราะกลัวจะไม่มีใครเฝ้าไร่นา
ไม่รู้ว่าคนในสังคมเมืองจะพอเข้าใจ Mindset คนชนบทหรือไม่
ผมว่า
- พ่อแม่ ที่มีหน้าที่การงาน รายได้ และฐานะที่มั่นคงพอในระดับนึง ซึ่งพอมีลูก ปู่ย่าตายายเต็มใจอยากเลี้ยงหลานให้เอง ส่วนพ่อแม่ก็ส่งเงินให้ทุกเดือน โทรคุยติดต่อทุกวัน วันหยุดหรือช่วงเทศกาลก็ไปแวะเยี่ยมหาประจำ สำหรับผมแบบนี้ “ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก“ นะ
- แต่ถ้าพ่อแม่ ประเภทแว้นสก๊อย ติดยา งานการไม่ทำ หรือไม่มีหลักแหล่ง แถมพอมีลูก ก็ฝากให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง ส่วนตัวเองก็ไม่ได้ส่งเงินมา ตัดขาดการติดต่อ ไม่แวะเวียนมาเยี่ยมหา ก็คือหายไปเลย แบบนี้คือ “การทอดทิ้งลูก“ แบบที่เราเห็นในข่าวบ่อยๆนี่แหละ