อนุสรณ์ มอง โอกาส-ความเสี่ยง ไทย หาก ‘ทรัมป์’ นั่งปธน.สหรัฐ อีกสมัย จับตานโยบายต่อจีน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4884955
อนุสรณ์ มอง โอกาส-ความเสี่ยง ต่อไทย หาก ‘ทรัมป์’ นั่งปธน.สหรัฐ อีกสมัย จับตามาตรการกำแพงภาษี
ทั่วโลกต่างจับตามองการเลือกตั้งสหรัฐ ที่ถูกระบุว่าเป็นการขับเคี่ยวที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ ระหว่าง นาย
โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และ นาง
คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต ซึ่ง ผู้ที่มีคะแนนถึง 270 คะแนน จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
โดยล่าสุด
ทรัมป์ ได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปแล้ว 248 เสียง ขาดเพียง 22 เสียง จะถือว่าเป็นผู้ชนะอย่างเป็นทางการ
ในเรื่องนี้ รศ.ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ได้วิเคราะห์การเมืองโลก ที่จะส่งผลต่อการเมืองไทย ภายหลังจากทรัมป์ ได้นั่งประธานาธิบดีสหรัฐ ผ่าน มติชน TV ในเรื่องนี้ว่า คิดว่า โอกาสที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้เป็นประธานาธิบดี เป็นไปได้สูง ซึ่งก็จะมีด้านที่จะเป็นโอกาส และ เป็นความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง
รศ.ดร.
อนุสรณ์ กล่าวว่า โอกาส ก็ค่อนข้างชัดว่า ทรัมป์ อาจจะมีนโยบายการค้าที่เข้มงวดกับจีนมากขึ้น เก็บภาษีสูงขึ้น อาจจะสูงถึง 60% ตามที่ทรัมป์ได้หาเสียงเอาไว้ แต่การดำเนินการจริง ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ตามที่หาเสียงไว้ทั้งหมด เนื่องจาก บางเรื่องต้องผ่านรัฐสภา ต้องดูผลเลือกตั้งรัฐสภาด้วยว่าเสียงข้างมากเป็นของพรรคไหน หากทำได้ตามที่ประกาศ ก็คงมีการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนครั้งใหญ่ และ คนที่จะได้รับผลบวก ที่จะตอบรับการลงทุนจากจีน ที่จะย้ายฐานมาคือ ไทย อาเซียน และ เวียดนาม ที่ได้ประโยชน์มากเป็นพิเศษ
“
ส่วนมาตรการกำแพงภาษี กระทบกับทุกคน และ รูปแบบการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยพื้นฐาน ทรัมป์เป็นนักธุรกิจมาก่อน เป็นนักเจรจาต่อรอง ไม่ได้ยึดติดกฎกติกาองค์การการค้าโลก ข้อตกลงของเวทีพหุภาคี สิ่งที่ต้องการคือ 2 ต่อ 2 เป็นทวิภาคีมากขึ้น จะทำให้อำนาจอยู่ที่สหรัฐ เพราะสหรัฐเป็นประเทศใหญ่ เวลาไปเจรจากับใครตัวต่อตัว สหรัฐจะได้เปรียบ กรณีไทย สหรัฐอาจจะกดดันให้ไทยเปิดตลาดให้ธุรกิจ หรือ สินค้า ที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐ และ อาจจะให้ไทย ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้าที่เป็นประโยชน์กับสหรัฐมากขึ้น”
กับประเด็นข้อกังวลว่าสหรัฐจะกดดันให้ไทยได้ดุลน้อยลงไหม รศ.ดร.
อนุสรณ์ กล่าวว่า ถูกต้อง ช่วงที่ทรัมป์เป็นสมัยแรก ไทยอยู่ในประเทศที่อยู่ในรายชื่อเอาเปรียบดุลการค้าของสหรัฐ โดยเฉพาะมุ่งประเด็นไปที่การกดค่าเงินบาทให้อ่อนกว่าความเป็นจริง ซึ่ง ต้องไปใช้เหตุผล ข้อมูล ไปแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ทำแบบนั้น
นอกจากนี้ รศ.ดร.
อนุสรณ์ ยังให้มุมน่าสนใจอีกหลายประเด็นของนโยบายทรัมป์ อาทิ “
มีอีกมุมคือ บริษัทอเมริกันที่ลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลก ถ้าไปลงทุนและไม่ได้ประโยชน์เท่าย้อนกลับไปลงทุนในสหรัฐ เขาอาจจะย้ายฐานกลับสหรัฐ เพราะนโยบายของทรัมป์เอง เขาต้องการให้บริษัทข้ามชาติสหรัฐกลับไปลงทุนในสหรัฐ เพื่อจะได้จ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจดี”
“
เรื่องการขึ้นกำแพงภาษีสินค้านำเข้า 100% กับประเทศที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์ เพราะระบบการเงินโลก มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ มีกลุ่ม BRIC ขึ้นมา และกลุ่มนี้บอกว่า การค้าขายจะพยายามใช้เงินสกุลท้องถิ่น และเพิ่มบทบาทของทองคำในเงินสำรองระหว่างประเทศ เพื่อลดบทบาทการพึ่งพาดอลลาร์ ทรัมป์จะใช้วิธีว่า ถ้าประเทศไหนไม่ค้าขายสกุลดอลลาร์ ก็ตั้งกำแพงภาษี 100% เป็นกลยุทธ์ ที่จะรักษาความสำคัญของเงินสกุลดอลลาร์ต่อไป”
“แกนหลักคือ อเมริกัน เฟิร์สท์ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลให้เขาได้รับคะแนนเสียงมาก นโยบายต่างประเทศ ก็จะลดบทบาทสหรัฐ ในเวทีระหว่างประเทศ อะไรที่ทำให้สหรัฐเกิดต้นทุน มีค่าใช้จ่ายมาก ก็จะลดบทบาทลงมา แต่ไม่ถึงขั้นโดดเดี่ยวตัวเอง ซึ่งมันก็มีทิศทางว่า สหรัฐจะลดบทบาทต่อเนื่อง เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ได้รับคะแนนเสียง เช่น บทบาทต่อสงคราม มีแนวโน้มที่สงครามใหญ่ๆ จะมีทิศทางในการเจรจามากขึ้น เพราะทรัมป์เป็นนักธุรกิจ เขาก็จะไม่มองเรื่องอุดมการณ์เสรีภาพ อุดมการณ์ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง มันไม่มีฐานของความคิดแบบนี้ในทางนโยบายเท่าไหร่ นโยบายก็จะออกมาเป็นว่าไปตามความเป็นจริงเรื่องผลประโยชน์”
ส่วนผลกับไทยนั้น รศ.ดร.
อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ยังไงไทยก็ต้องใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลัก เพราะค่าเงินของ BRIC ไม่ใช่เงินสกุลสากล ทั้งปริมาณและเชิงมูลค่า ในการซื้อขายเงินตรา สกุลดอลลาร์มัน 80-90% เงินสกุลอื่นไม่ได้มีผลอะไร แม้ในการค้าโลก หยวน มีบทบาทบ้าง แต่เล็กน้อยมาก สิ่งที่จะแทนดอลลาร์ได้คือทองคำ ธนาคารกลางทุกประเทศ ต้องถือทองคำ ดอลลาร์ สำรอง แต่ดอลลาร์ เป็นสกุลหลักของโลก การจะเปลี่ยนโครงสร้างของการเมืองโลก มันใช้เวลา ไม่สามารถเกิดขึ้นทันที เรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายโดยรวม ต้องรักษาสมดุล ในระบบที่เป็นพหุขั้วอำนาจมากขึ้น แต่ไม่ชัดมาก สหรัฐเป็นมหาอำนาจหลัก ไม่ต่ำกว่า 10-20% ปี ประเทศอื่นมีบทบาทขึ้นก็จริง แต่โครงสร้างใหญ่เหมือนเดิม
ถามว่า ไทยจะวางสถานะตำแหน่งระหว่างจีนและสหรัฐยากขึ้นหรือไม่นั้น รศ.ดร.
อนุสรณ์ กล่าวว่า ยากขึ้น เราต้องมีการวางสถานะทางยุทธศาสตร์ให้ดี การวางสถานะตรงนี้ มองว่าต้องเป็นลักษณะการเป็นอิสระอย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ผูกกับขั้วไหน แต่ดำเนินกลยุทธ์เพื่อผลประโยชน์กับประเทศ และถ่วงดุลให้เหมาะสม
“
เวลาเราวิเคราะห์ทรัมป์ ต้องให้ลึก อย่าวิตกเกินเหตุ ช่วงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง เดโมแครตจะพุ่งเป้าว่า ทรัมป์เป็นฟาสซิสต์ เผด็จการ แต่เราต้องดูความเป็นจริงว่า ระบบและกลไกสหรัฐ มันไม่สามารถทำให้ผู้นำการเมืองคนไหนเป็นฟาสซิสต์ได้ จะถูกตรวจสอบถ่วงดุลอย่างหนัก อย่างมากที่สุดก็อยู่ได้ 4 ปี ก็ลงจากอำนาจ และไม่สามารถกลับมาได้อีกแล้ว โอกาสจะเป็นแบบฮิตเลอร์แบบที่โจมตีกัน ก็เป็นสิ่งที่ คล้ายๆ Politicize มากเกินไป เป็นการถูกต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเอาชนะ”
“
ขณะที่การเป็นปฏิปักษ์กับจีน ส่วนหนึ่งมันเป็นเทคนิคในการหาเสียง พอบริหารประเทศจริงๆ ทรัมป์ก็อาจจะไม่ได้ขึ้นกำแพงภาษีกับจีนมากขนาดนั้นก็ได้ อาจจะพยายามเป็นมิตรกับจีนมากขึ้น เหมือนที่เป็นมิตรกับเกาหลีเหนือเพื่อลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เขาเป็นนักกลยุทธ์”
ก่อนทิ้งท้ายว่า
ทรัมป์มาเป็นผู้นำ จะมีปัญหาหลายๆอย่างกับโลก อย่าง Globle warming ภาวะโลกร้อน เพราะเขาปฏิเสธ อาจจะถอนตัวจากการเข้าร่วมข้อตกลงปารีส หรือ ข้อตกลงอะไรหลายอย่าง ซึ่งก็มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง
“สมชัย”ข้องใจ “นายกฯอิ๊งค์” จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือไม่ หลังอ้างเลิก “MOU44” ไม่ได้หวั่นถูกฟ้อง
https://siamrath.co.th/n/578605
“สมชัย”ข้องใจ “นายกฯอิ๊งค์” จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือไม่ หลังอ้างเลิก “MOU44” ไม่ได้หวั่นถูกฟ้อง
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก “
ปั่นไปไหน - สมชัย ศรีสุทธิยากร” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณี MOU44 และเรื่อง “เกาะกูด” ดังนี้...
เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลกๆว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน
1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราด คืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตกนั้นเป็นของฝรั่งเศส
2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้
แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น
3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย
4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid031Rv8C8bJtFX5K13Tg8wpWZnaDen4vYUWSu1t22g5S6D8Y68WTA8fQqruiWhuWnG2l
พริษฐ์ ชี้ถ้าทรัมป์ชนะ นโยบายจีนตรึงเครียด มีผลถึงไทยแน่ แนะรบ.ชิงโอกาสนี้ ดึงนักลงทุน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4884914
“พริษฐ์” ชี้หาก “ทรัมป์”นั่ง ปธน.สหรัฐ ความสัมพันธ์ “เมกา-จีน”ตึงเครียด อาจกระทบไทย แนะรบ.ฉวยโอากาสดึงนักลงทุนเข้าประเทศ
เมื่อเวลา 12.45 น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐที่มีแนวโน้มว่า
โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้รับชัยชนะ มองว่าจะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร ว่า หากเป็น
โดนัลด์ ทัมป์ จะมี 2 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึง ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย คือ
1. ความตึงเครียดในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนสูงขึ้นแน่นอนเป็นพิเศษ ซึ่งตนคิดว่าเป็นทั้งวิกฤตที่เราต้องรับมือ
หากความตึงเครียดสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลสหรัฐ อาจจะมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ทำให้สินค้าจีนอาจจะถูกส่งไปที่สหรัฐยากขึ้น ก็ต้องหาช่องทางอื่นในการระบาย ที่เป็นไปได้ว่าจะมีบางส่วนที่ระบายมาประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลไทยก็ต้องวางแผนรับมือว่า ถ้ามีสินค้าจากจีนเข้ามาในประเทศไทยสูงขึ้นจะช่วยผู้ประกอบการอย่างไร และโอกาสที่เราจะพยายามฉวยมาให้ได้ หากสถานการณ์ทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตมาหาประเทศอื่นที่นอกเหนือจากประเทศจีน จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทย จะดึงดูดนักลงทุนในส่วนนี้เข้ามาเพื่อสร้างงาน ส้รางอาชีพให้กับคนไทย
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า
2. ปัญหาโลกรวน เข้าใจว่านโยบายของ
โดนัลด์ ทรัมป์ จะให้ความสำคัญกับเรื่องโลกรวนน้อยว่า ประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ และน้อยว่านโยบายของ นาง
คามาลา แฮร์ริส จึงเป็นสิ่งสำคัญว่าประเทศไทยจะแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือที่ผ่านมา เป็นตัวบ่งบอกชัดว่าถ้าเราไม่แก้ปัญหาโลกรวน สิ่งที่ตามมาคือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นอย่างคาดการณ์ไม่ถึง และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตคนไทยจำนวนมาก และเข้าใจว่าในเร็วๆ นี้ มีการประชุมรัฐภาคีสมาชิกความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศ (Conference of Parties-COP) ซึ่งตนก็ยังไม่รัว่ารัฐบาลจะส่งใครไป เพื่อจะหาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม ไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน
JJNY : 5in1 อนุสรณ์จับตานโยบายต่อจีน│ข้องใจอิ๊งค์จบจุฬาฯ│พริษฐ์แนะรบ.│ม.หอค้าชี้ห่วงสงครามการค้า│ชี้จีนเตรียมเผชิญกับ4ปี
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4884955
อนุสรณ์ มอง โอกาส-ความเสี่ยง ต่อไทย หาก ‘ทรัมป์’ นั่งปธน.สหรัฐ อีกสมัย จับตามาตรการกำแพงภาษี
ทั่วโลกต่างจับตามองการเลือกตั้งสหรัฐ ที่ถูกระบุว่าเป็นการขับเคี่ยวที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ ระหว่าง นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และ นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต ซึ่ง ผู้ที่มีคะแนนถึง 270 คะแนน จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
โดยล่าสุด ทรัมป์ ได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปแล้ว 248 เสียง ขาดเพียง 22 เสียง จะถือว่าเป็นผู้ชนะอย่างเป็นทางการ
ในเรื่องนี้ รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ได้วิเคราะห์การเมืองโลก ที่จะส่งผลต่อการเมืองไทย ภายหลังจากทรัมป์ ได้นั่งประธานาธิบดีสหรัฐ ผ่าน มติชน TV ในเรื่องนี้ว่า คิดว่า โอกาสที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้เป็นประธานาธิบดี เป็นไปได้สูง ซึ่งก็จะมีด้านที่จะเป็นโอกาส และ เป็นความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง
รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า โอกาส ก็ค่อนข้างชัดว่า ทรัมป์ อาจจะมีนโยบายการค้าที่เข้มงวดกับจีนมากขึ้น เก็บภาษีสูงขึ้น อาจจะสูงถึง 60% ตามที่ทรัมป์ได้หาเสียงเอาไว้ แต่การดำเนินการจริง ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ตามที่หาเสียงไว้ทั้งหมด เนื่องจาก บางเรื่องต้องผ่านรัฐสภา ต้องดูผลเลือกตั้งรัฐสภาด้วยว่าเสียงข้างมากเป็นของพรรคไหน หากทำได้ตามที่ประกาศ ก็คงมีการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนครั้งใหญ่ และ คนที่จะได้รับผลบวก ที่จะตอบรับการลงทุนจากจีน ที่จะย้ายฐานมาคือ ไทย อาเซียน และ เวียดนาม ที่ได้ประโยชน์มากเป็นพิเศษ
“ส่วนมาตรการกำแพงภาษี กระทบกับทุกคน และ รูปแบบการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยพื้นฐาน ทรัมป์เป็นนักธุรกิจมาก่อน เป็นนักเจรจาต่อรอง ไม่ได้ยึดติดกฎกติกาองค์การการค้าโลก ข้อตกลงของเวทีพหุภาคี สิ่งที่ต้องการคือ 2 ต่อ 2 เป็นทวิภาคีมากขึ้น จะทำให้อำนาจอยู่ที่สหรัฐ เพราะสหรัฐเป็นประเทศใหญ่ เวลาไปเจรจากับใครตัวต่อตัว สหรัฐจะได้เปรียบ กรณีไทย สหรัฐอาจจะกดดันให้ไทยเปิดตลาดให้ธุรกิจ หรือ สินค้า ที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐ และ อาจจะให้ไทย ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้าที่เป็นประโยชน์กับสหรัฐมากขึ้น”
กับประเด็นข้อกังวลว่าสหรัฐจะกดดันให้ไทยได้ดุลน้อยลงไหม รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า ถูกต้อง ช่วงที่ทรัมป์เป็นสมัยแรก ไทยอยู่ในประเทศที่อยู่ในรายชื่อเอาเปรียบดุลการค้าของสหรัฐ โดยเฉพาะมุ่งประเด็นไปที่การกดค่าเงินบาทให้อ่อนกว่าความเป็นจริง ซึ่ง ต้องไปใช้เหตุผล ข้อมูล ไปแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ทำแบบนั้น
นอกจากนี้ รศ.ดร.อนุสรณ์ ยังให้มุมน่าสนใจอีกหลายประเด็นของนโยบายทรัมป์ อาทิ “มีอีกมุมคือ บริษัทอเมริกันที่ลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลก ถ้าไปลงทุนและไม่ได้ประโยชน์เท่าย้อนกลับไปลงทุนในสหรัฐ เขาอาจจะย้ายฐานกลับสหรัฐ เพราะนโยบายของทรัมป์เอง เขาต้องการให้บริษัทข้ามชาติสหรัฐกลับไปลงทุนในสหรัฐ เพื่อจะได้จ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจดี”
“เรื่องการขึ้นกำแพงภาษีสินค้านำเข้า 100% กับประเทศที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์ เพราะระบบการเงินโลก มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ มีกลุ่ม BRIC ขึ้นมา และกลุ่มนี้บอกว่า การค้าขายจะพยายามใช้เงินสกุลท้องถิ่น และเพิ่มบทบาทของทองคำในเงินสำรองระหว่างประเทศ เพื่อลดบทบาทการพึ่งพาดอลลาร์ ทรัมป์จะใช้วิธีว่า ถ้าประเทศไหนไม่ค้าขายสกุลดอลลาร์ ก็ตั้งกำแพงภาษี 100% เป็นกลยุทธ์ ที่จะรักษาความสำคัญของเงินสกุลดอลลาร์ต่อไป”
“แกนหลักคือ อเมริกัน เฟิร์สท์ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลให้เขาได้รับคะแนนเสียงมาก นโยบายต่างประเทศ ก็จะลดบทบาทสหรัฐ ในเวทีระหว่างประเทศ อะไรที่ทำให้สหรัฐเกิดต้นทุน มีค่าใช้จ่ายมาก ก็จะลดบทบาทลงมา แต่ไม่ถึงขั้นโดดเดี่ยวตัวเอง ซึ่งมันก็มีทิศทางว่า สหรัฐจะลดบทบาทต่อเนื่อง เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ได้รับคะแนนเสียง เช่น บทบาทต่อสงคราม มีแนวโน้มที่สงครามใหญ่ๆ จะมีทิศทางในการเจรจามากขึ้น เพราะทรัมป์เป็นนักธุรกิจ เขาก็จะไม่มองเรื่องอุดมการณ์เสรีภาพ อุดมการณ์ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง มันไม่มีฐานของความคิดแบบนี้ในทางนโยบายเท่าไหร่ นโยบายก็จะออกมาเป็นว่าไปตามความเป็นจริงเรื่องผลประโยชน์”
ส่วนผลกับไทยนั้น รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ยังไงไทยก็ต้องใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลัก เพราะค่าเงินของ BRIC ไม่ใช่เงินสกุลสากล ทั้งปริมาณและเชิงมูลค่า ในการซื้อขายเงินตรา สกุลดอลลาร์มัน 80-90% เงินสกุลอื่นไม่ได้มีผลอะไร แม้ในการค้าโลก หยวน มีบทบาทบ้าง แต่เล็กน้อยมาก สิ่งที่จะแทนดอลลาร์ได้คือทองคำ ธนาคารกลางทุกประเทศ ต้องถือทองคำ ดอลลาร์ สำรอง แต่ดอลลาร์ เป็นสกุลหลักของโลก การจะเปลี่ยนโครงสร้างของการเมืองโลก มันใช้เวลา ไม่สามารถเกิดขึ้นทันที เรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายโดยรวม ต้องรักษาสมดุล ในระบบที่เป็นพหุขั้วอำนาจมากขึ้น แต่ไม่ชัดมาก สหรัฐเป็นมหาอำนาจหลัก ไม่ต่ำกว่า 10-20% ปี ประเทศอื่นมีบทบาทขึ้นก็จริง แต่โครงสร้างใหญ่เหมือนเดิม
ถามว่า ไทยจะวางสถานะตำแหน่งระหว่างจีนและสหรัฐยากขึ้นหรือไม่นั้น รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า ยากขึ้น เราต้องมีการวางสถานะทางยุทธศาสตร์ให้ดี การวางสถานะตรงนี้ มองว่าต้องเป็นลักษณะการเป็นอิสระอย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ผูกกับขั้วไหน แต่ดำเนินกลยุทธ์เพื่อผลประโยชน์กับประเทศ และถ่วงดุลให้เหมาะสม
“เวลาเราวิเคราะห์ทรัมป์ ต้องให้ลึก อย่าวิตกเกินเหตุ ช่วงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง เดโมแครตจะพุ่งเป้าว่า ทรัมป์เป็นฟาสซิสต์ เผด็จการ แต่เราต้องดูความเป็นจริงว่า ระบบและกลไกสหรัฐ มันไม่สามารถทำให้ผู้นำการเมืองคนไหนเป็นฟาสซิสต์ได้ จะถูกตรวจสอบถ่วงดุลอย่างหนัก อย่างมากที่สุดก็อยู่ได้ 4 ปี ก็ลงจากอำนาจ และไม่สามารถกลับมาได้อีกแล้ว โอกาสจะเป็นแบบฮิตเลอร์แบบที่โจมตีกัน ก็เป็นสิ่งที่ คล้ายๆ Politicize มากเกินไป เป็นการถูกต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเอาชนะ”
“ขณะที่การเป็นปฏิปักษ์กับจีน ส่วนหนึ่งมันเป็นเทคนิคในการหาเสียง พอบริหารประเทศจริงๆ ทรัมป์ก็อาจจะไม่ได้ขึ้นกำแพงภาษีกับจีนมากขนาดนั้นก็ได้ อาจจะพยายามเป็นมิตรกับจีนมากขึ้น เหมือนที่เป็นมิตรกับเกาหลีเหนือเพื่อลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เขาเป็นนักกลยุทธ์”
ก่อนทิ้งท้ายว่า ทรัมป์มาเป็นผู้นำ จะมีปัญหาหลายๆอย่างกับโลก อย่าง Globle warming ภาวะโลกร้อน เพราะเขาปฏิเสธ อาจจะถอนตัวจากการเข้าร่วมข้อตกลงปารีส หรือ ข้อตกลงอะไรหลายอย่าง ซึ่งก็มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง
“สมชัย”ข้องใจ “นายกฯอิ๊งค์” จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือไม่ หลังอ้างเลิก “MOU44” ไม่ได้หวั่นถูกฟ้อง
https://siamrath.co.th/n/578605
“สมชัย”ข้องใจ “นายกฯอิ๊งค์” จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือไม่ หลังอ้างเลิก “MOU44” ไม่ได้หวั่นถูกฟ้อง
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก “ปั่นไปไหน - สมชัย ศรีสุทธิยากร” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณี MOU44 และเรื่อง “เกาะกูด” ดังนี้...
เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลกๆว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน
1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราด คืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตกนั้นเป็นของฝรั่งเศส
2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้
แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น
3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย
4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid031Rv8C8bJtFX5K13Tg8wpWZnaDen4vYUWSu1t22g5S6D8Y68WTA8fQqruiWhuWnG2l
พริษฐ์ ชี้ถ้าทรัมป์ชนะ นโยบายจีนตรึงเครียด มีผลถึงไทยแน่ แนะรบ.ชิงโอกาสนี้ ดึงนักลงทุน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4884914
“พริษฐ์” ชี้หาก “ทรัมป์”นั่ง ปธน.สหรัฐ ความสัมพันธ์ “เมกา-จีน”ตึงเครียด อาจกระทบไทย แนะรบ.ฉวยโอากาสดึงนักลงทุนเข้าประเทศ
เมื่อเวลา 12.45 น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐที่มีแนวโน้มว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะได้รับชัยชนะ มองว่าจะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร ว่า หากเป็นโดนัลด์ ทัมป์ จะมี 2 เรื่องที่เราต้องคำนึงถึง ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย คือ
1. ความตึงเครียดในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนสูงขึ้นแน่นอนเป็นพิเศษ ซึ่งตนคิดว่าเป็นทั้งวิกฤตที่เราต้องรับมือ
หากความตึงเครียดสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลสหรัฐ อาจจะมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน ทำให้สินค้าจีนอาจจะถูกส่งไปที่สหรัฐยากขึ้น ก็ต้องหาช่องทางอื่นในการระบาย ที่เป็นไปได้ว่าจะมีบางส่วนที่ระบายมาประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลไทยก็ต้องวางแผนรับมือว่า ถ้ามีสินค้าจากจีนเข้ามาในประเทศไทยสูงขึ้นจะช่วยผู้ประกอบการอย่างไร และโอกาสที่เราจะพยายามฉวยมาให้ได้ หากสถานการณ์ทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตมาหาประเทศอื่นที่นอกเหนือจากประเทศจีน จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทย จะดึงดูดนักลงทุนในส่วนนี้เข้ามาเพื่อสร้างงาน ส้รางอาชีพให้กับคนไทย
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า
2. ปัญหาโลกรวน เข้าใจว่านโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ จะให้ความสำคัญกับเรื่องโลกรวนน้อยว่า ประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ และน้อยว่านโยบายของ นางคามาลา แฮร์ริส จึงเป็นสิ่งสำคัญว่าประเทศไทยจะแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือที่ผ่านมา เป็นตัวบ่งบอกชัดว่าถ้าเราไม่แก้ปัญหาโลกรวน สิ่งที่ตามมาคือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นอย่างคาดการณ์ไม่ถึง และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตคนไทยจำนวนมาก และเข้าใจว่าในเร็วๆ นี้ มีการประชุมรัฐภาคีสมาชิกความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศ (Conference of Parties-COP) ซึ่งตนก็ยังไม่รัว่ารัฐบาลจะส่งใครไป เพื่อจะหาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม ไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน