ทำไมจึงยังมีคนในสังคมอยู่จำนวนหนึ่งหลงไหลเชื่อในความงมงาย

ทำไมคนในสังคมนี้จำนวหนึ่ง (ส่วนใหญ่จะเป็น คนต่างจังหวัด) ยังหลงไหล ยังเชื่อ ยังงมงาย ศรัทธา และบูชา  ในเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติในธรรมชาติ  ทำไมกลุ่มคนเหล่านั้น จึงได้เชื่อว่า นี้เป็นสิ่งที่มีอิทธิฤทธิ์  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของขลัง เป็นของมีองค์ ต้องบูชา ต้องกราบ และแน่นอนต้องขอโชคลาภ 
อะไรเป็นปัจจัยให้คนเหล่านี้ยังยึดติดกับความเชื่อแบบโบราณแบบนี้อยู่อีก 
ต้นกล้วย ออกลูกกลางลำต้น  = บูชา จุดธูป  ขอหวย
ต้นปาล์ม มีใบหงิกงอเหมือนพญานาค = ผ้าแดงมาคลุม จุดธูป ถวายเครื่องเซ่น ขอหวย 
จอมปลวกก่อตัว มองให้เป็นหัวพญานาค = ปะแป้งจุดธูปคลุมผ้าแดง ถวายเครื่องเซ่น ขอหวย 
น้ำผุดใต้ดิน = สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาให้พร มามอบน้ำอมฤตเป็นยารักษาโรค ตักกินเชื่อว่าช่วยรักษาโรค  = สุดท้าย พิสูจน์ออกมาเป็นน้ำซึมใต้ดินจากส้วม

ทำไมจึงยัง (ขอโทษ) โง่งมงายกับเรื่องพวกนี้ ซึ่งหลายๆอย่างมันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มันไม่ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรเลย เขาสิ้นหวังในโชคชะตาของตัวเองถึงขนาดนี้เลยเหรอ จึงต้องคอยพึ่งพา ปรากฏการณ์พวกนี้ แล้วเชื่อว่าเป็นโชคลาภที่ ล่องลอยมาหา ทั้งๆที่หลายเรื่องสามารถอธิบายได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ ว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ

การประทับร่างทรง องค์ลง แล้วรำใบ้หวยอะไรพวกนี้อีก  ก็ยังมีคนศรัทธาเป็นจำนวนมาก ยังเชื่อว่าเป็นการประทับองค์ของ ผู้มีอิทธิ์ฤทธิ์ ของหลวงปู่ หลวงพ่อ อะไรก็ว่าไป    ทั้งๆที่เห็นว่ามันเป็นอุปทานของคนที่เชื่อว่าองค์ลงเข้าตัวเขาจริงๆ 

เมื่อไร คนกลุ่มนี้จะเลิกเชื่อเรื่องงมงายพวกนี้  ระบบการเรียนการสอนการศึกษาของไทยก็พัฒนาไปเยอะกว่าสมัยก่อนเยอะมากแล้ว น่าจะไม่เหลือคนทียังเชื่อเรื่องพวกอยู่อีก การที่ยังมีกลุ่มคนแบบหลงเหลืออยู่ในสังคม ก็ทำให้พวกหลอกลวงยังมองเห็นช่องว่างเห็นช่องโหว่ ในการเข้ามาหลอกลวงโกงทรัพย์โกงสินได้อยู่ต่อไป 

เมื่อไหร่ กลุ่มคนพวกนี้จะเลิกงมงายกับเรื่องพวกนี้ครับ 
 


คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ปฐมบท : การไหว้ผี-นับถือผี ขอพร บูชายันต์ บรวงสรวงเทพเทวา-องค์เทพต่างๆ จากหลากหลายความเชื่อในอดีต > สั่งสมถ่ายทอด จากรุ่นสู่รุ่น > หลากหลายชนเผ่ากลายเป็นประเพณี-วัฒนธรรมถิ่นแห่งศรัทธา/ความเชื่อ > ล้วนสะท้อนมาจาก "ความกลัว-ความไม่รู้" (อวิชชา) จากธรรมชาติในการเปลี่ยนแปลงของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ จึงทำให้เขาขาดที่พึ่ง จึงมุ่งแสวงหาคำตอบด้านจิตวิญญาณนั้น > เป็นที่พึ่งทางใจ เกิดสันติสุขในชนเผ่า ง่ายต่อการปกครอง

ปัจฉิมบท : หลง-งมงาย/ความเชื่อ/ศรัทธา มันมีเส้นบางๆ กั้นแบ่ง คือ สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นถูก)

ตราบใด สังคมยังวัดคุณค่าของคนที่เปลือกนอก > สังคมแห่งทางลัด สังคมแห่งอวิชชา ยังคงไม่หมดไปจากสังคมทั้งโลกใบนี้ เพราะต่างยังฉกฉวย-แสวงหาผลประโยชน์จาก ความหลง ความเชื่อ เพื่อยังความศรัทธาแก่กลุ่มตน ไม่จบสิ้น (ได้เสียผลประโยชน์-ช่องทางทำมาหากิน)

หากสังคมวัดคุณค่าของคนที่จิตใจ ศึกษาสัจธรรม-แก่นของความจริงในแต่ละศาสนาของตน = คนจะสร้างนิสัยที่ใฝ่ดี (ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมจะกลับมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่