ไม่ต้องซ่อนความผิดพลาด ให้แสดงมันออกมา
อีลอน มัสก์ ขอให้ผู้ออกแบบ Tesla Cybertruck เอาลูกบอลเหล็กขว้างใส่กระจกรถ เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของรถที่ออกแบบมาระดับกันกระสุนได้
บนเวทีเปิดตัว ท่ามกลางสายตานับไม่ถ้วน ฟรานซ์ วอน โฮลเชาเซน ถามอีลอนว่า “แน่ใจหรือ?”
“แน่ใจ” อีลอนตอบ
ฟรานซ์ขว้างลูกบอลเหล็กใส่กระจกหน้าต่างหน้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือกระจกแตก !
“เรือหาย แล้ว ฮาฮา” อีลอนพูดไปขำไป “บางทีอาจขว้างแรงไป”
ฟรานซ์ขว้างลูกที่สองเบาลงหน่อยใส่กระจกหน้าต่างหลัง กระจกก็แตกอีก
“ฮาฮา มันไม่ทะลุเข้าไป” อีลอนพูดบนเวที
นี่ถือเป็นความผิดพลาด ตั้งใจจะทดสอบความแข็งแกร่งของรถ แต่แค่กระจกแตกยังไม่พอ หน้าแตกคาเวทีหนักกว่ากระจกอีก
ก่อนจะเล่าวิธีรับมือของ Tesla แอดขอพาไปฟังเรื่องรถเต่า Volkswagen Beetle กันก่อน
ในยุค 1970 ทุกคนประสานเสียงกันว่า รถเต่านี้ออกแบบได้แย่มาก ไม่สวยเลย
Volkswagen ไม่แก้ตัว ไม่อธิบาย แต่ยอมรับตรง ๆ และทำสโลแกนออกมาว่า “รถ VW รุ่นปี 1970 จะยังคงน่าเกลียดต่อไปอีกนาน”
เมื่อ Volkswagen เล่นท่านี้ ยอมรับซื่อ ๆ ว่าน่าเกลียด ผู้คนก็ค่อย ๆ เปิดใจ และไตร่ตรองว่า “จริง ๆ ของน่าเกลียดมันน่าเชื่อถือนะ”
ปฏิกิริยาของผู้คนจะเป็นเชิงบวก
แต่ถ้า Volkswagen ยืนกราน เถียงว่ารถเราสวยนะ ผู้คนจะไม่เปิดใจ เพราะมันฝังหัวไปแล้วว่าน่าเกลียด
กลับมาที่ Cybertruck อีลอนแก้สถานการณ์อย่างไร?
ออกแถลงข่าวเพื่อควบคุมความเสียหาย?
ปล่อยวิดีโอพิสูจน์มาตรฐานคุณภาพ?
ไม่ !
Tesla ผลิตเสื้อยืดลายกระจกแตกบนหน้าอก และโพสต์ขายบนเว็บไซต์ 45 ดอลลาร์
มันแสดงถึงการยอมรับความผิดพลาด ไม่แก้ตัว ยิ่งกว่านั้นคือล้อเลียนความผิดพลาดของตัวเอง
เมื่อ Tesla เล่นท่านี้เหมือน Volkswagen ผู้คนก็ค่อย ๆ เปิดใจ และยิ่งไปพูดต่อ ๆ กันบนโลกออนไลน์ กลายเป็นกระแสไปเลย
ในสัปดาห์เดียว Tesla ได้ยอดจอง Cybertruck 250,000 คัน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ผลิต ไม่ได้ให้ทดลองขับอะไรทั้งสิ้น
ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า Pratfall effect ครับ ถ้าคนที่ยิ่งใหญ่หรือน่าเชื่อถือ ทำเรื่องผิดพลาด หรือทำเรื่องเปิ่น ๆ มันกลับกลายเป็นว่าเราจะชอบคน ๆ นั้นมากขึ้น ให้ความรู้สึกว่าคน ๆ นั้นก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเหมือนกับเรา ขนาดคนระดับนั้นยังทำพลาดได้เลย
เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบตลอดเวลาก็ได้ ผิดพลาดบ้างจะเป็นไร
ตอนอายุเกือบ 80 เบนจามิน เกรแฮม เคยพูดไว้ว่า เขาหวังจะได้ทำ “บางเรื่องที่โง่เขลา บางเรื่องที่สร้างสรรค์ และบางเรื่องที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่”
ในทุก ๆ วัน ยิ้มให้กับความผิดพลาดของตัวเองกันครับ
ที่มา : เพื่อนลงทุน
ไม่ต้องซ่อนความผิดพลาด ให้แสดงมันออกมา กับ Tesla Cybertruck โดย Elon musk
อีลอน มัสก์ ขอให้ผู้ออกแบบ Tesla Cybertruck เอาลูกบอลเหล็กขว้างใส่กระจกรถ เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของรถที่ออกแบบมาระดับกันกระสุนได้
บนเวทีเปิดตัว ท่ามกลางสายตานับไม่ถ้วน ฟรานซ์ วอน โฮลเชาเซน ถามอีลอนว่า “แน่ใจหรือ?”
“แน่ใจ” อีลอนตอบ
ฟรานซ์ขว้างลูกบอลเหล็กใส่กระจกหน้าต่างหน้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือกระจกแตก !
“เรือหาย แล้ว ฮาฮา” อีลอนพูดไปขำไป “บางทีอาจขว้างแรงไป”
ฟรานซ์ขว้างลูกที่สองเบาลงหน่อยใส่กระจกหน้าต่างหลัง กระจกก็แตกอีก
“ฮาฮา มันไม่ทะลุเข้าไป” อีลอนพูดบนเวที
นี่ถือเป็นความผิดพลาด ตั้งใจจะทดสอบความแข็งแกร่งของรถ แต่แค่กระจกแตกยังไม่พอ หน้าแตกคาเวทีหนักกว่ากระจกอีก
ก่อนจะเล่าวิธีรับมือของ Tesla แอดขอพาไปฟังเรื่องรถเต่า Volkswagen Beetle กันก่อน
ในยุค 1970 ทุกคนประสานเสียงกันว่า รถเต่านี้ออกแบบได้แย่มาก ไม่สวยเลย
Volkswagen ไม่แก้ตัว ไม่อธิบาย แต่ยอมรับตรง ๆ และทำสโลแกนออกมาว่า “รถ VW รุ่นปี 1970 จะยังคงน่าเกลียดต่อไปอีกนาน”
เมื่อ Volkswagen เล่นท่านี้ ยอมรับซื่อ ๆ ว่าน่าเกลียด ผู้คนก็ค่อย ๆ เปิดใจ และไตร่ตรองว่า “จริง ๆ ของน่าเกลียดมันน่าเชื่อถือนะ”
ปฏิกิริยาของผู้คนจะเป็นเชิงบวก
แต่ถ้า Volkswagen ยืนกราน เถียงว่ารถเราสวยนะ ผู้คนจะไม่เปิดใจ เพราะมันฝังหัวไปแล้วว่าน่าเกลียด
กลับมาที่ Cybertruck อีลอนแก้สถานการณ์อย่างไร?
ออกแถลงข่าวเพื่อควบคุมความเสียหาย?
ปล่อยวิดีโอพิสูจน์มาตรฐานคุณภาพ?
ไม่ !
Tesla ผลิตเสื้อยืดลายกระจกแตกบนหน้าอก และโพสต์ขายบนเว็บไซต์ 45 ดอลลาร์
มันแสดงถึงการยอมรับความผิดพลาด ไม่แก้ตัว ยิ่งกว่านั้นคือล้อเลียนความผิดพลาดของตัวเอง
เมื่อ Tesla เล่นท่านี้เหมือน Volkswagen ผู้คนก็ค่อย ๆ เปิดใจ และยิ่งไปพูดต่อ ๆ กันบนโลกออนไลน์ กลายเป็นกระแสไปเลย
ในสัปดาห์เดียว Tesla ได้ยอดจอง Cybertruck 250,000 คัน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ผลิต ไม่ได้ให้ทดลองขับอะไรทั้งสิ้น
ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า Pratfall effect ครับ ถ้าคนที่ยิ่งใหญ่หรือน่าเชื่อถือ ทำเรื่องผิดพลาด หรือทำเรื่องเปิ่น ๆ มันกลับกลายเป็นว่าเราจะชอบคน ๆ นั้นมากขึ้น ให้ความรู้สึกว่าคน ๆ นั้นก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเหมือนกับเรา ขนาดคนระดับนั้นยังทำพลาดได้เลย
เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบตลอดเวลาก็ได้ ผิดพลาดบ้างจะเป็นไร
ตอนอายุเกือบ 80 เบนจามิน เกรแฮม เคยพูดไว้ว่า เขาหวังจะได้ทำ “บางเรื่องที่โง่เขลา บางเรื่องที่สร้างสรรค์ และบางเรื่องที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่”