ก่อนการเดินทางจะเริ่มขึ้น เราได้รับโจทย์สำหรับการท่องเที่ยวในครั้งนี้ โดยสถานที่ที่เราต้องไปนั้นต้องมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 300 กิโลเมตร โดยมีระยะเวลาในการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 วัน ในการเดินทางครั้งนี้เรามีเพื่อนร่วมเดินทางไปทั้งหมด 7 คน ออโต้ ต้น โอบ ภีม นน แก้ม และพลอย หลังจากรวบรวมสมาชิกกันได้ พวกเราได้ร่วมกันเลือกว่าจะไปเที่ยวจังหวัดไหนดี มีหลายจังหวัดที่ถูกเสนอขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น แม่ฮ่องสอน ตราด นครพนม เลย สุราษฎร์ธานี และอีกมากมาย รวมไปถึงไปต่างประเทศ นั่นก็คือ ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายเราก็ได้ข้อสรุปว่าจะไปเที่ยวจังหวัดแพร่ ซึ่งมาจากการชักชวนจากออโต้ ให้ไปเที่ยวบ้านยายของเขาที่จังหวัดแพร่
เดินทางชิวๆด้วยรถไฟ
ในการเดินทางไปเที่ยวจังหวัดแพร่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณเราวางแผนที่จะเดินทางไปจังหวัดแพร่ด้วยรถไฟ โดยขึ้นที่สถานีกลางบางซื่อไปลงที่สถานีเด่นชัย จ.แพร่ รถไฟที่เราขึ้นคือขบวน 107 ประเภทรถเร็ว พวกเราเลือกที่จะจองเป็นที่นั่งชั้น 3 เพราะพวกเราจองชั้นอื่นไม่ทัน(จริงๆอยากนั่งชั้น 2 คงจะสบายขึ้นมาไม่น้อย) ก่อนวันเดินทางเราก็ได้สมาชิกมาเพิ่มอีก 1 คนคือ ไม้ ผู้ที่อาสาจะมาเป็นตากล้องคอยเก็บภาพการเดินทางให้กับเราในทริปนี้ ในวันเดินทางเราก็มีอุปสรรคตั้งแต่ออกจากแถวบางมด เนื่องจากวันนั้นพายุเข้าแถวบางมดจนน้ำท่วมทั้งแถวบ้านสวนธนและหน้ามอ เวลาประมาณ 2-3 ทุ่ม สมาชิก 5 คนคือ ไม้ แก้ม พลอย ภีม นน ได้ขึ้นรถไฟแล้วออกเดินทางออกจากสถานีกลางบางซื่อ การเดินทางด้วยรถไฟครั้งนี้ทำให้เราได้พบกับประสบการณ์ที่หาจากที่ไหนไม่ได้มาก่อน เริ่มต้นที่แก้มที่ต้องนั่งกับป้าหลานคู่หนึ่ง ที่จองมาเพียงหนึ่งที่นั่ง แต่กลับจะนั่งสองคน ทำให้แก้มต้องนั่งให้ตัวเล็กที่สุดเพื่อให้หลานของป้านั่งด้วยได้ แค่นั้นยังไม่พอ น้องคนนี้ยังชวนแก้มเล่นบนรถด้วย หลักจากนั้นเวลาประมาณตี 1 สมาชิกอีก 3 คนคือ ออโต้ ต้น โอบ ก็ได้ขึ้นรถไฟมาสมทบที่สถานีรถไฟนครสวรรค์ โอบที่ต้องนั่งกับคนที่ไม่รู้จัก ก็ต้องเจอกับสกิลของมนุษย์ป้าที่ทำทุกอย่างได้แบบไม่สนโลก ทั้งยกเท้าขึ้นมาบนที่นั่งและอีกมากมาย จากนั้นทั้งคืนบนรถไฟขอเราก็ได้พบกับประสบการณ์ดีๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัดบนรถไฟ กลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มาจากห้องน้ำและลอยตามลมมา เสียงของรถไฟที่วิ่งบนรางและเสียงรถไฟที่สวนกัน ทำให้การที่เราจะนอนหลับนั้นเป็นไปได้ยาก จนเวลาล่วงเลยไปถึงประมาณตี 5 ครึ่งเราก็เดินทางมาถึงสถานีเด่นชัยโดยสวัสดิภาพ
เริ่มต้นกันที่เด่นชัย
ช่วงเช้าของวันที่ไปถึง ตามแผนนั้นเราจะไปกินข้าวเช้ากันที่ตลาดเช้าใกล้กับสถานีรถไฟเด่นชัย และเดินทางไปไหว้พระธาตุสุโทนด้วยรถของคุณน้าของออโต้ แต่ในระหว่างที่เดินเท้าไปที่ตลาดเช้า ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นนั้นก็คือ “ฝนตก“ ทำให้ต้องยกเลิกแผนที่จะไปวัดพระธาตุสุโทน ในระหว่างที่เราเดินหาของกินในตลาดเด่นชัยก็พบว่าตลาดเด่นชัยไม่มีอะไรกิน เนื่องจากตลาดที่นี่นั้นเน้นขายของสดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราต้องเดินเท้าหาของกินกันต่อไป และแล้วเราก็ได้พบกับร้านโจ๊กทีเด็ดของอำเภอเด่นชัยบริเวณหน้าสถานีตำรวจเด่นชัย ในระหว่างที่กินข้าวเช้ากันอยู่นั้นก็ได้มีแม่ค้านำขนมโบราณมาขายให้กับพวกเรานั้นคือ “กลอยนึ่ง” ขนมพื้นบ้านที่ทำมาจากหัวกลอยกินกับน้ำตาล มีรสสัมผัสกรุบกรอบ มีความมัน และความหวานจากน้ำตาลที่คลุกลงไปและอีกเมนูคือ “ข้าวต้มหัวหงอก” ขนมที่มีความคล้ายกับข้าวต้มมัดแต่จะมีการเอาไปคลุกกับมะพร้าวที่ขูดเป็นเส้นและกินกับน้ำตาลอีกเช่นเคย มีรสชาติหวานมัน มีใส้กล้วยข้างใน มะพร้าวที่นำไปคลุกทำให้เพิ่มรสสัมผัสในการเคี้ยว หลักจากทานข้าวเช้าเสร็จ แม่เต๋า(น้าของออโต้) ได้นำรถมารับพวกเราทั้ง 8 คนไปที่พักผ่อนและเก็บกระเป๋าที่บ้านยายของออโต้ ในระหว่างทางไปนั้นสองข้างทางก็เต็มไปได้ภูเขา สายหมอก ทุ่งนา และฝูงวัวควาย บรรยากาศของธรรมชาติและความเป็นชนบท ทำให้ลืมความวุ่นวายในเมืองกรุง และเพลิดเพลินไปกับความเป็นธรรมชาติของสองข้างทาง ใช้เวลาไม่นานพวกเราก็เดินทางจากอำเภอเด่นชัยเข้าสู่ บ้านปงท่าข้าม อำเภอสูงเม่น หรือบ้านของยายของออโต้ ที่จะเป็นที่พักของเราในครั้งนี้
บ้านปงท่าข้าม อ.สูงเม่น จ.แพร่
บ้านปงท่าข้าม เป็นที่ตั้งของบ้านของคุณยายสายหยุด(ยายของออโต้) ที่เราจะใช้พักกันในจังหวัดแพร่ ทำไมถึงพูดว่าในจ.แพร่ เพราะเราจะเดินทางไปจังหวัดอื่นด้วยนั่นเอง ลักษณะของบ้านหลังนี้เป็นบ้านสองชั้นกึ่งไม้กึ่งปูน จากคำบอกเล่าของยาย ในตอนแรกบ้านหลังนี้นั้นเป็นบ้านไม้ทั้งหลัง แต่เนื่องด้วยเวลาที่ผ่านไป อายุของบ้านหลังนี้ก็ล่วงไปเกือบร้อยปี ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมโดยการใช้ปูน เพื่อความคุ้มค่าและอายุการใช้งานที่มากขึ้น สภาพแวดล้อมในหมู่บ้านนี้ ก็จะเป็นบ้านเดี่ยวที่ตั้งติดๆกัน อาศัยการพึ่งพากัน มีอะไรก็แบ่งปันกัน อย่างเช่นตอนไปพักบ้านยาย เราได้ไปทานมื้อเช้าที่ร้านอาหาร ซึ่งเป็นบ้านของญาติออโต้ที่อยู่ใกล้ๆ เราทานกันไปเยอะมาก เจ้าของร้านกลับไม่เก็บเงินเราสักบาทเดียว แถมยังดีใจที่เราไปเยี่ยมเยือน ถึงเราพยายามจะให้เงินอย่างไร เขาก็ไม่เอา และอาชีพเก่าแก่ของคนในหมู่บ้าน คือ การค้าไม้ เพราะเมืองแพร่มีดีเรื่องไม้ ไม้ที่ขึ้นชื่อของเมืองแพร่นั่นก็คือ ไม้สักทอง ซึ่งไม้สักทองจะมีสีเหลืองทองที่สวยกว่าไม้สักทั่วไป บ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน เป็นบ้านไม้ ประมาณร้อยละแปดสิบเลยก็ว่าได้ มีเพียงบ้านที่สร้างขึ้นใหม่ที่ใช้ปูน เพราะไม้สักก็เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ และบ้านปงยังเป็นหมู่บ้านที่ Slow Life เพราะหนึ่งทุ่มก็เงียบมากแล้ว ร้านค้าร้านชำก็ปิดเกือบหมดแล้ว แต่ทุกคนตื่นเช้ามาก ตื่นมาทำอาหารเช้า กินข้าวเช้า แล้วก็นอนพักผ่อนต่อ เพราะคนที่อยู่บ้านส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเฒ่า คนแก่ จึงไม่มีกิจกรรมอะไรทำมากนัก รถที่ใช้สัญจรส่วนใหญ่ก็เป็นรถเครื่อง(รถมอเตอร์ไซต์) จึงบอกว่าเป็นหมู่บ้านที่ Slow Life นั่นเอง
คุ้มเจ้าหลวง
หลังจากที่ได้เข้าไปเก็บกระเป๋า และพักผ่อนที่บ้านปง ระหว่างนั้นทางออโต้ ต้น โอบ ก็ได้เข้าไปเอารถในเวียง(อ.เมือง) ซึ่งเป็นรถของแม่เต๋า ทำให้เราประหยัดค่าเช่ารถไปได้ในส่วนนี้ เป็นรถ CR-V ลักษณะเป็นรถ 5 ประตู แต่พวกเรามีทั้งหมด 8 คน ซึ่งแน่นอนว่าเราอัดกันไปในรถคันเดียว ตลอดทั้งทริป และก็ได้ขับกลับไปรับเพื่อนที่บ้านปง หลังจากนั้นเราก็เดินทางมาที่คุ้มเจ้าหลวง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้สามารถเดินทางไปที่อื่นได้สะดวก
เมื่อเราไปถึงคุ้มเจ้าหลวง ก็มีพี่วิทยากรมาแนะนำสถานที่ ได้ความว่า คุ้มเจ้าหลวงนั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ในอดีตคุ้มเจ้าหลวงนั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์และครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ จึงกลายเป็นที่ตั้งของกองบังคับการทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบที่เมืองแพร่ และได้มีการใช้พื้นที่ข้างล่างที่เดิมเคยใช้เพื่อเก็บสิ่งของต่างๆ มาใช้เป็นคุกเพื่อกักนักโทษ ซึ่งบรรยากาศข้างล่างนั้นวังเวงมาก แม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันก็ตาม ต่อมาก็ได้กลายเป็นจวนข้าหลวงหรือเป็นบ้านพักสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด และได้กลายมาเป็นสถานที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับจังหวัดแพร่
วัดจอมสวรรค์
สถานที่เเห่งนี้เป็นวัดที่มีการเเนะนำมาจากคุณยายของออโต้ เนื่องจากยังมีเวลาเหลือก่อนที่เราจะทานข้าวเที่ยง โดยวัดจอมสวรรค์เป็นวัดโบราณที่มีอายุกว่าร้อยปีหรือมีมาตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความสวยงามจากสถาปัตยกรรมของพม่าอยู่ โดยที่เเห่งนี้จะมีเรื่องเล่าว่าเดิมวัดเคยเป็นวัดรกร้าง จากนั้น พ่อเฒ่ากันตี กับ นายฮ้อยคำมาก พ่อค้าชาวไทใหญ่ อพยพพาครอบครัวเข้ามาอาศัยบริเวณที่ตั้งของวัดจอมสวรรค์ในปัจจุบัน พ่อค้าทั้งสองและชาวบ้านที่อพยพจึงได้ทำการบูรณะวัดร้างด้วยความศรัทธา โดยความรู้สึกที่ได้ไปสถานที่เเห่งนี้พบว่าเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามในความเก่าแก่ ทำให้รู้สึกถึงความขลัง สภาพเเวดล้อมมีความร่มเย็น สะอาด กว้างขว้าง เเละผู้คนในบริเวณเป็นมิตรจิตใจดี โดยรวมเเล้วถือว่าเป็นสถานที่สำหรับพักใจได้เป็นอย่างดี
วัดสวรรคนิเวศ
ก่อนจะไปกินข้าวเที่ยงเเสนอร่อย เนื่องจากวัดสวรรคนิเวศอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับวัดจอมสวรรค์พวกเราจึงตัดสินใจไปสถานที่เเห่งนี้กันก่อน เนื่องจากวัดสวรรคนิเวศเป็นอีกหนึ่งสถานที่โดดเด่นของเมืองเเพร่ โดยสถานที่เเห่งนี้มีถ้ำพญานาคราชอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลต์ของวัดเเห่งนี้เลยทีเดียว ด้านในของถ้ำจะมีการตกเเต่งอย่างสวยงามจากไฟที่หลากหลายสีสัน รูปปั้นพยานาคต่างๆ พระพุทธรูป เมื่อได้เข้าไปเเล้วจะรู้สึกถึงความสงบ ความสักสิทธิ์ เนื่องจากความเย็นและความชื้นจากตัวถ้ำ ถือว่าเหมาะเเก่การนั่งพักสงบอารมณ์ และความหิวได้เลย หลังจากนั้นจะมีบันไดเป็นทางขึ้นเพื่อไปไหว้พระราหู ซึ่งระหว่างทางจะมีทั้ง รูปปั้นพระเกจิอาจาร์ยชื่อดังอย่างหลวงพ่อโตเเละหลวงปู่ทวด เจ้าเเม่กวนอิม เเละพระพิฆเนศอยู่ สามารถทำการบูชาสักการะได้ หลังจากที่ได้ทำบุญกันอย่างอิ่มอกอิ่มใจ วันที่พวกเราไปยังมีน้ำส้มเเละน้ำเปล่าเเจกให้กินอีกด้วย จึงอยากเเนะนำให้มาเที่ยวกันเยอะๆครับ
ขนมจีนน้ำย้อย เมืองแพร่
ขนมจีนน้ำย้อย ที่จริงแล้วมันคือ ขนมจีนน้ำหมู ที่กินกับพริกน้ำย้อย จะเสริฟเป็นเส้นขนมจีนเส้นสด ย้ำว่าต้องเส้นสดเท่านั้น ทานคู่กับน้ำหมู(ซุปกระดูกหมู ใส่เลือดหมูและมะเขือเทศ) ให้อารมณ์คล้ายๆกับก๋วยจั๊บญวน และพริกน้ำย้อย(น้ำพริกหอมเจียว ใส่หมูกระจก) ขนมจีนน้ำย้อย ถือว่าเป็นของขึ้นชื่อเมืองแป้ ที่ถือว่าใครมาแล้วไม่ได้ทาน ถือว่ามาไม่ถึงเมืองแป้ ในร้านก็จะมีอาหารเหนืออีกมากมายให้เราได้ลิ้มรส เช่น ข้าวกั้นจิ้น ไส้อั่ว ตำสัม(ส้มตำ) เป็นต้น ใครได้มาเมืองแป้แล้ว แนะนำให้มาทานร้านนี้ครับ ราคาดีมาก 3 โต๊ะ 10 กว่าคน หมดไปเพียง 800 บาทเต้าอั้นนน
8 ชีวิต พิชิต เมืองแป้ l Backpack Trip l Gen441
ในการเดินทางไปเที่ยวจังหวัดแพร่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณเราวางแผนที่จะเดินทางไปจังหวัดแพร่ด้วยรถไฟ โดยขึ้นที่สถานีกลางบางซื่อไปลงที่สถานีเด่นชัย จ.แพร่ รถไฟที่เราขึ้นคือขบวน 107 ประเภทรถเร็ว พวกเราเลือกที่จะจองเป็นที่นั่งชั้น 3 เพราะพวกเราจองชั้นอื่นไม่ทัน(จริงๆอยากนั่งชั้น 2 คงจะสบายขึ้นมาไม่น้อย) ก่อนวันเดินทางเราก็ได้สมาชิกมาเพิ่มอีก 1 คนคือ ไม้ ผู้ที่อาสาจะมาเป็นตากล้องคอยเก็บภาพการเดินทางให้กับเราในทริปนี้ ในวันเดินทางเราก็มีอุปสรรคตั้งแต่ออกจากแถวบางมด เนื่องจากวันนั้นพายุเข้าแถวบางมดจนน้ำท่วมทั้งแถวบ้านสวนธนและหน้ามอ เวลาประมาณ 2-3 ทุ่ม สมาชิก 5 คนคือ ไม้ แก้ม พลอย ภีม นน ได้ขึ้นรถไฟแล้วออกเดินทางออกจากสถานีกลางบางซื่อ การเดินทางด้วยรถไฟครั้งนี้ทำให้เราได้พบกับประสบการณ์ที่หาจากที่ไหนไม่ได้มาก่อน เริ่มต้นที่แก้มที่ต้องนั่งกับป้าหลานคู่หนึ่ง ที่จองมาเพียงหนึ่งที่นั่ง แต่กลับจะนั่งสองคน ทำให้แก้มต้องนั่งให้ตัวเล็กที่สุดเพื่อให้หลานของป้านั่งด้วยได้ แค่นั้นยังไม่พอ น้องคนนี้ยังชวนแก้มเล่นบนรถด้วย หลักจากนั้นเวลาประมาณตี 1 สมาชิกอีก 3 คนคือ ออโต้ ต้น โอบ ก็ได้ขึ้นรถไฟมาสมทบที่สถานีรถไฟนครสวรรค์ โอบที่ต้องนั่งกับคนที่ไม่รู้จัก ก็ต้องเจอกับสกิลของมนุษย์ป้าที่ทำทุกอย่างได้แบบไม่สนโลก ทั้งยกเท้าขึ้นมาบนที่นั่งและอีกมากมาย จากนั้นทั้งคืนบนรถไฟขอเราก็ได้พบกับประสบการณ์ดีๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัดบนรถไฟ กลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มาจากห้องน้ำและลอยตามลมมา เสียงของรถไฟที่วิ่งบนรางและเสียงรถไฟที่สวนกัน ทำให้การที่เราจะนอนหลับนั้นเป็นไปได้ยาก จนเวลาล่วงเลยไปถึงประมาณตี 5 ครึ่งเราก็เดินทางมาถึงสถานีเด่นชัยโดยสวัสดิภาพ
เริ่มต้นกันที่เด่นชัย
ช่วงเช้าของวันที่ไปถึง ตามแผนนั้นเราจะไปกินข้าวเช้ากันที่ตลาดเช้าใกล้กับสถานีรถไฟเด่นชัย และเดินทางไปไหว้พระธาตุสุโทนด้วยรถของคุณน้าของออโต้ แต่ในระหว่างที่เดินเท้าไปที่ตลาดเช้า ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นนั้นก็คือ “ฝนตก“ ทำให้ต้องยกเลิกแผนที่จะไปวัดพระธาตุสุโทน ในระหว่างที่เราเดินหาของกินในตลาดเด่นชัยก็พบว่าตลาดเด่นชัยไม่มีอะไรกิน เนื่องจากตลาดที่นี่นั้นเน้นขายของสดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราต้องเดินเท้าหาของกินกันต่อไป และแล้วเราก็ได้พบกับร้านโจ๊กทีเด็ดของอำเภอเด่นชัยบริเวณหน้าสถานีตำรวจเด่นชัย ในระหว่างที่กินข้าวเช้ากันอยู่นั้นก็ได้มีแม่ค้านำขนมโบราณมาขายให้กับพวกเรานั้นคือ “กลอยนึ่ง” ขนมพื้นบ้านที่ทำมาจากหัวกลอยกินกับน้ำตาล มีรสสัมผัสกรุบกรอบ มีความมัน และความหวานจากน้ำตาลที่คลุกลงไปและอีกเมนูคือ “ข้าวต้มหัวหงอก” ขนมที่มีความคล้ายกับข้าวต้มมัดแต่จะมีการเอาไปคลุกกับมะพร้าวที่ขูดเป็นเส้นและกินกับน้ำตาลอีกเช่นเคย มีรสชาติหวานมัน มีใส้กล้วยข้างใน มะพร้าวที่นำไปคลุกทำให้เพิ่มรสสัมผัสในการเคี้ยว หลักจากทานข้าวเช้าเสร็จ แม่เต๋า(น้าของออโต้) ได้นำรถมารับพวกเราทั้ง 8 คนไปที่พักผ่อนและเก็บกระเป๋าที่บ้านยายของออโต้ ในระหว่างทางไปนั้นสองข้างทางก็เต็มไปได้ภูเขา สายหมอก ทุ่งนา และฝูงวัวควาย บรรยากาศของธรรมชาติและความเป็นชนบท ทำให้ลืมความวุ่นวายในเมืองกรุง และเพลิดเพลินไปกับความเป็นธรรมชาติของสองข้างทาง ใช้เวลาไม่นานพวกเราก็เดินทางจากอำเภอเด่นชัยเข้าสู่ บ้านปงท่าข้าม อำเภอสูงเม่น หรือบ้านของยายของออโต้ ที่จะเป็นที่พักของเราในครั้งนี้
บ้านปงท่าข้าม อ.สูงเม่น จ.แพร่
บ้านปงท่าข้าม เป็นที่ตั้งของบ้านของคุณยายสายหยุด(ยายของออโต้) ที่เราจะใช้พักกันในจังหวัดแพร่ ทำไมถึงพูดว่าในจ.แพร่ เพราะเราจะเดินทางไปจังหวัดอื่นด้วยนั่นเอง ลักษณะของบ้านหลังนี้เป็นบ้านสองชั้นกึ่งไม้กึ่งปูน จากคำบอกเล่าของยาย ในตอนแรกบ้านหลังนี้นั้นเป็นบ้านไม้ทั้งหลัง แต่เนื่องด้วยเวลาที่ผ่านไป อายุของบ้านหลังนี้ก็ล่วงไปเกือบร้อยปี ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมโดยการใช้ปูน เพื่อความคุ้มค่าและอายุการใช้งานที่มากขึ้น สภาพแวดล้อมในหมู่บ้านนี้ ก็จะเป็นบ้านเดี่ยวที่ตั้งติดๆกัน อาศัยการพึ่งพากัน มีอะไรก็แบ่งปันกัน อย่างเช่นตอนไปพักบ้านยาย เราได้ไปทานมื้อเช้าที่ร้านอาหาร ซึ่งเป็นบ้านของญาติออโต้ที่อยู่ใกล้ๆ เราทานกันไปเยอะมาก เจ้าของร้านกลับไม่เก็บเงินเราสักบาทเดียว แถมยังดีใจที่เราไปเยี่ยมเยือน ถึงเราพยายามจะให้เงินอย่างไร เขาก็ไม่เอา และอาชีพเก่าแก่ของคนในหมู่บ้าน คือ การค้าไม้ เพราะเมืองแพร่มีดีเรื่องไม้ ไม้ที่ขึ้นชื่อของเมืองแพร่นั่นก็คือ ไม้สักทอง ซึ่งไม้สักทองจะมีสีเหลืองทองที่สวยกว่าไม้สักทั่วไป บ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน เป็นบ้านไม้ ประมาณร้อยละแปดสิบเลยก็ว่าได้ มีเพียงบ้านที่สร้างขึ้นใหม่ที่ใช้ปูน เพราะไม้สักก็เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ และบ้านปงยังเป็นหมู่บ้านที่ Slow Life เพราะหนึ่งทุ่มก็เงียบมากแล้ว ร้านค้าร้านชำก็ปิดเกือบหมดแล้ว แต่ทุกคนตื่นเช้ามาก ตื่นมาทำอาหารเช้า กินข้าวเช้า แล้วก็นอนพักผ่อนต่อ เพราะคนที่อยู่บ้านส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเฒ่า คนแก่ จึงไม่มีกิจกรรมอะไรทำมากนัก รถที่ใช้สัญจรส่วนใหญ่ก็เป็นรถเครื่อง(รถมอเตอร์ไซต์) จึงบอกว่าเป็นหมู่บ้านที่ Slow Life นั่นเอง
คุ้มเจ้าหลวง
หลังจากที่ได้เข้าไปเก็บกระเป๋า และพักผ่อนที่บ้านปง ระหว่างนั้นทางออโต้ ต้น โอบ ก็ได้เข้าไปเอารถในเวียง(อ.เมือง) ซึ่งเป็นรถของแม่เต๋า ทำให้เราประหยัดค่าเช่ารถไปได้ในส่วนนี้ เป็นรถ CR-V ลักษณะเป็นรถ 5 ประตู แต่พวกเรามีทั้งหมด 8 คน ซึ่งแน่นอนว่าเราอัดกันไปในรถคันเดียว ตลอดทั้งทริป และก็ได้ขับกลับไปรับเพื่อนที่บ้านปง หลังจากนั้นเราก็เดินทางมาที่คุ้มเจ้าหลวง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้สามารถเดินทางไปที่อื่นได้สะดวก
เมื่อเราไปถึงคุ้มเจ้าหลวง ก็มีพี่วิทยากรมาแนะนำสถานที่ ได้ความว่า คุ้มเจ้าหลวงนั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ในอดีตคุ้มเจ้าหลวงนั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์และครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ จึงกลายเป็นที่ตั้งของกองบังคับการทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบที่เมืองแพร่ และได้มีการใช้พื้นที่ข้างล่างที่เดิมเคยใช้เพื่อเก็บสิ่งของต่างๆ มาใช้เป็นคุกเพื่อกักนักโทษ ซึ่งบรรยากาศข้างล่างนั้นวังเวงมาก แม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันก็ตาม ต่อมาก็ได้กลายเป็นจวนข้าหลวงหรือเป็นบ้านพักสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด และได้กลายมาเป็นสถานที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับจังหวัดแพร่
วัดจอมสวรรค์
สถานที่เเห่งนี้เป็นวัดที่มีการเเนะนำมาจากคุณยายของออโต้ เนื่องจากยังมีเวลาเหลือก่อนที่เราจะทานข้าวเที่ยง โดยวัดจอมสวรรค์เป็นวัดโบราณที่มีอายุกว่าร้อยปีหรือมีมาตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความสวยงามจากสถาปัตยกรรมของพม่าอยู่ โดยที่เเห่งนี้จะมีเรื่องเล่าว่าเดิมวัดเคยเป็นวัดรกร้าง จากนั้น พ่อเฒ่ากันตี กับ นายฮ้อยคำมาก พ่อค้าชาวไทใหญ่ อพยพพาครอบครัวเข้ามาอาศัยบริเวณที่ตั้งของวัดจอมสวรรค์ในปัจจุบัน พ่อค้าทั้งสองและชาวบ้านที่อพยพจึงได้ทำการบูรณะวัดร้างด้วยความศรัทธา โดยความรู้สึกที่ได้ไปสถานที่เเห่งนี้พบว่าเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามในความเก่าแก่ ทำให้รู้สึกถึงความขลัง สภาพเเวดล้อมมีความร่มเย็น สะอาด กว้างขว้าง เเละผู้คนในบริเวณเป็นมิตรจิตใจดี โดยรวมเเล้วถือว่าเป็นสถานที่สำหรับพักใจได้เป็นอย่างดี
วัดสวรรคนิเวศ
ก่อนจะไปกินข้าวเที่ยงเเสนอร่อย เนื่องจากวัดสวรรคนิเวศอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับวัดจอมสวรรค์พวกเราจึงตัดสินใจไปสถานที่เเห่งนี้กันก่อน เนื่องจากวัดสวรรคนิเวศเป็นอีกหนึ่งสถานที่โดดเด่นของเมืองเเพร่ โดยสถานที่เเห่งนี้มีถ้ำพญานาคราชอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลต์ของวัดเเห่งนี้เลยทีเดียว ด้านในของถ้ำจะมีการตกเเต่งอย่างสวยงามจากไฟที่หลากหลายสีสัน รูปปั้นพยานาคต่างๆ พระพุทธรูป เมื่อได้เข้าไปเเล้วจะรู้สึกถึงความสงบ ความสักสิทธิ์ เนื่องจากความเย็นและความชื้นจากตัวถ้ำ ถือว่าเหมาะเเก่การนั่งพักสงบอารมณ์ และความหิวได้เลย หลังจากนั้นจะมีบันไดเป็นทางขึ้นเพื่อไปไหว้พระราหู ซึ่งระหว่างทางจะมีทั้ง รูปปั้นพระเกจิอาจาร์ยชื่อดังอย่างหลวงพ่อโตเเละหลวงปู่ทวด เจ้าเเม่กวนอิม เเละพระพิฆเนศอยู่ สามารถทำการบูชาสักการะได้ หลังจากที่ได้ทำบุญกันอย่างอิ่มอกอิ่มใจ วันที่พวกเราไปยังมีน้ำส้มเเละน้ำเปล่าเเจกให้กินอีกด้วย จึงอยากเเนะนำให้มาเที่ยวกันเยอะๆครับ
ขนมจีนน้ำย้อย เมืองแพร่
ขนมจีนน้ำย้อย ที่จริงแล้วมันคือ ขนมจีนน้ำหมู ที่กินกับพริกน้ำย้อย จะเสริฟเป็นเส้นขนมจีนเส้นสด ย้ำว่าต้องเส้นสดเท่านั้น ทานคู่กับน้ำหมู(ซุปกระดูกหมู ใส่เลือดหมูและมะเขือเทศ) ให้อารมณ์คล้ายๆกับก๋วยจั๊บญวน และพริกน้ำย้อย(น้ำพริกหอมเจียว ใส่หมูกระจก) ขนมจีนน้ำย้อย ถือว่าเป็นของขึ้นชื่อเมืองแป้ ที่ถือว่าใครมาแล้วไม่ได้ทาน ถือว่ามาไม่ถึงเมืองแป้ ในร้านก็จะมีอาหารเหนืออีกมากมายให้เราได้ลิ้มรส เช่น ข้าวกั้นจิ้น ไส้อั่ว ตำสัม(ส้มตำ) เป็นต้น ใครได้มาเมืองแป้แล้ว แนะนำให้มาทานร้านนี้ครับ ราคาดีมาก 3 โต๊ะ 10 กว่าคน หมดไปเพียง 800 บาทเต้าอั้นนน