คุณเป็นพนักงานแบบไหน McKinsey เปิดผลรายงาน พนักงาน 6 แบบ ที่เจอได้ในบริษัท

เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มตระหนักว่า พนักงานมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท จึงพยายามหาทางสนับสนุนและผลักดันให้พวกเขามีความสุขกับงานที่ทำ แล้วบริษัทควรทำยังไง ในเมื่อพนักงานแต่ละคนล้วนมีความต้องการต่างกัน 

ล่าสุด McKinsey เปิดผลรายงาน พนักงาน 6 แบบที่เจอได้ในบริษัท เพื่อที่หัวหน้างานจะได้เข้าใจพนักงานของตัวเองได้ดีขึ้น  โดยรายงานชุดนี้ทำขึ้นมาจาก AI ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของพนักงานในบริษัท รวบรวมข้อมูลและนำมาให้ AI วิเคราะห์ 
มาดูกันว่าคุณมีพนักงานแบบไหน หรือเป็นพนักงานประเภทไหนกันแน่ !

พนักงาน 6 แบบที่เจอได้บ่อยในบริษัท

1. The Quitters

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ดูเหมือนยากลาออกจากงาน จากการศึกษาพบว่าจะมีพนักงานประเภทนี้อยู่ราว ๆ 10% สิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นแบบนี้ คือ พวกเขาไม่มีความสุขและไม่มีแรงจูงใจให้ยากทำงาน

บริษัทจึงควรหาต้นตอของปัญหาที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่มีความสุขกับงาน และเร่งแก้ไขก่อนที่พวกเขาจะลาออกไปจริง ๆ ซึ่ง AI ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือพนักงานกลุ่มนี้ คือ การพูดคุยกันตัวต่อตัว สร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน หรือการให้รางวัลเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกถึงการประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้รู้สึกดีกับงานมากขึ้น

2. The Disruptors

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ไม่มีความสุขกับงานที่ทำและอาจแสดงพฤติกรรมไม่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน จึงเป็นพนักงานประเภทที่บริษัทต้องรีบรับมือ เพราะคนเหล่านี้มีส่วนที่ทำให้คนในที่ทำงานรู้สึกแย่ พนักงานเหล่านี้มีประมาณ 11% ของพนักงานทั้งหมด

สาเหตุหลัก ๆ ที่คนเหล่านี้มีพฤติกรรมแบบนี้ก็เพราะ พวกเขารู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม ดังนั้นสิ่งที่บริษัทควรทำคือ แสดงให้พนักงานกลุ่มนี้เห็นว่างานที่เขาทำก็มีความสำคัญต่อบริษัท และพวกเขาเองก็มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานที่ทำอยู่เช่นเดียวกัน

3. The Mildly Disengaged

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ รู้สึกเบื่อหน่ายและไม่กระตือรือร้นกับงาน โดยพนักงานประเภทนี้จะไม่มีความคิดริเริ่ม พยายามทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ค่อยมุ่งมั่นกับงานเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับพนักงานที่อาจจะไม่ทำงานตามความสนใจ โดยมีถึง 32% จากพนักงานทั้งหมด

สิ่งที่บริษัทสามารถช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ก็คือ การให้อิสระและความยืดหยุ่นในการทำงาน เปิดโอกาสให้พนักงานกลุ่มนี้ได้มีสิทธิในการควบคุมการทำงานของตนเอง โดยที่ไม่ต้องให้ใครมาคอยตรวจสอบการทำงานของพวกเขา จะช่วยให้คนกลุ่มนี้กล้าที่จะทำ เรียนรู้ และเติบโตได้

4. The Double-Dippers

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ทำงานหลายตำแหน่ง พนักงานประเภทนี้จะมีอยู่ประมาณ 5% ในบริษัท ปัญหาหลัก ๆ คือเมื่อบทบาทหน้าที่ไม่ชัดเจนทำให้พวกเขาต้องทำงานที่ไม่ถนัดในบางครั้ง สิ่งที่ทำออกมาจึงอาจไม่โดดเด่น ซึ่งจุดนี้อาจทำให้พวกเขามองไม่เห็นถึงการเติบโตในหน้าที่การงาน
สิ่งที่บริษัทจะช่วยให้พวกเขาพอใจและมีความสุขกับงานมากขึ้น ก็คือ การเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่พนักงานเหล่านี้ รวมถึงพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ของพวกเขาให้ชัดเจน

5. The Reliable and Committed

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่มีความสุขกับงานและมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อบริษัท มีพนักงานแบบนี้อยู่ถึง 38% ถึงแม้ดูเหมือนว่าพนักงานกลุ่มนี้จะทำดีอยู่แล้ว บริษัทไม่จำเป็นต้องช่วยเหลืออะไร แต่ในความจริงแล้วยิ่งมีพนักงานที่ดีอยู่ในมือมากเท่าไหร่ ก็ควรจะพยายามรักษาพวกเขาไว้มากเท่านั้น

โดยบริษัทสามารถให้คนเหล่านี้ได้จับชิ้นงานที่สำคัญหรืองานใหญ่ ๆ ที่ได้แสดงศักยภาพ รวมถึงทำให้พวกเขาเห็นว่าบริษัทพร้อมให้การสนับสนุนพวกเขาอยู่เสมอ

6. The Thriving Stars

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมและทำให้บริษัทดีขึ้น เป็นเหมือนดาวเด่นของบริษัท ซึ่งมีพนักงานประเภทนี้อยู่ประมาณ 4% คนในกลุ่มนี้นอกจากจะทำงานดีแล้ว ยังทำให้เพื่อนร่วมงานรอบข้างรู้สึกดีอีกด้วย เพราะเป็นคนที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนในทีม

แต่ปัญหาใหญ่ที่คนกลุ่มนี้มักจะเจอก็คือ การที่ต้องเหนื่อยและเครียดมากกว่า เพราะบริษัทเชื่อใจให้คนเก่ง ๆ ทำงานยาก ๆ เมื่อเป็นแบบนี้งานส่วนมากจึงตกมาที่คนกลุ่มนี้ ดังนั้นบริษัทควรดูแลและตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานดาวเด่นไม่มีภาระงานที่มากเกินไป และมี Work-life balance ที่ดีอยู่เสมอ

ที่มา : Techsauce 

แล้วเพื่อนๆหล่ะคิดว่าตัวเองเป็นพนักงานแบบไหนกันบ้าง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่